โรงพยาบาลพระพุทธบาท
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงพยาบาลพระพุทธบาท | |
---|---|
Phra Phuthabat Hospital | |
ประเภท | รัฐ (โรงพยาบาลทั่วไป) |
ที่ตั้ง | 86 หมู่ 8 ตำบลธารเกษม อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี 18120 |
ข้อมูลทั่วไป | |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2497 |
สังกัด | กระทรวงสาธารณสุข |
ผู้อำนวยการ | นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ |
จำนวนเตียง | 315 เตียง[1] |
แพทย์ | 27 |
บุคลากร | 987 |
เว็บไซต์ | [2] |
โรงพยาบาลพระพุทธบาท ตั้งอยู่เลขที่ 86 หมู่ 8 ตำบลธารเกษม อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีห่างจากตัวจังหวัด 28 กิโลเมตร โดยประมาณ มีเนื้อที่ 70 ไร่ มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ : จดพื้นที่อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ทิศใต้: จดพื้นที่อำเภอบ้านหมอ อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี ทิศตะวันออก :จดพื้นที่อำเภอเสาไห้ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี และทิศตะวันตก: จดพื้นที่อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
ประวัติ
[แก้]โรงพยาบาลพระพุทธบาทได้ทำการก่อสร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2497 ในสมัยรัฐบาล ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยความดำริที่จะช่วยเหลือสมาชิกนิคมสร้างตนเองพระพุทธบาท เพราะเขตพื้นที่ดินของนิคมฯ เป็นป่าดงดิบมีต้นไม้ขึ้นหนาทึบ จึงเป็นแหล่งของเชื้อไข้มาเลเรีย เป็นเหตุให้สมาชิกนิคมฯ ต้องเสียชีวิตด้วย โรคมาลาเรีย ปีหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนมาก โดยในขั้นแรก ดำริที่จะขยายสุขศาลาชั้นหนึ่งที่มีอยู่เดิมให้เป็นโรงพยาบาล แต่ พ.ท.นิตย์ เวชวิศิษย์ อธิบดีกรมการแพทย์ ในขณะนั้น มีความเห็นว่า ควรมีการสร้างโรงพยาบาลขึ้นใหม่ ดีกว่าการขยายสุขศาลา เพื่อให้ได้โรงพยาบาลที่สมบูรณ์จริง ๆ ในที่สุด ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เห็นชอบด้วยจึงได้มีคำสั่งให้กรมประชาสงเคราะห์จัดหาที่ดินสำหรับโรงพยาบาลขนาด 100 เตียงขึ้น พร้อมทั้งเตรียมที่ดินไว้ให้เพียงพอเพื่อสร้างโรงเรียนพยาบาลพดุงครรภ์และอนามัยในโอกาสต่อไปอีกด้วย
ต่อมากรมประชาสงเคราะห์จึงได้จัดสรรที่ดินของสมาชิกนิคมฯ ให้ทั้งหมดจำนวน 99 ไร่ 75 ตารางวา มีขนาดกว้าง 4 เส้น 12 วา ยาว 21 เส้น โดยทางโรงพยาบาลจ่ายเงินชดเชยให้เจ้าของที่ดินไปรายละ 5,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 35,000 บาท ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติเงิน ก.ศ.ส. จำนวน 5,000,000 บาท เพื่อดำเนินการก่อสร้าง เริ่มทำการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2497 เป็นเวลา 1 ปี จึงแล้วเสร็จเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2498 และได้ทำพิธีเปิดเป็นทางการในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 โดย ฯพณฯนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงคราม มาเป็นประธานในพิธี
ตลอดเวลาที่ผ่านมา โรงพยาบาลพระพุทธบาท มีค่านิยมการทำงาน คือ ทำงานร่วมกันเป็นทีม ยึดผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งได้รับความร่วมมือจากชุมชน และองค์กรส่วนท้องถิ่น ตลอดจนบุคลากร ที่ร่วมแรงร่วมใจ ในการพัฒนาบริการ สิ่งแวดล้อม อาคารสถานที่ จนได้รับรางวัลเป็นโรงพยาบาลดีเยี่ยมของเขต 1 (ระดับโรงพยาบาลทั่วไป) ในโครงการโรงพยาบาลสาธารณสุขยุคใหม่ เพื่อคนไทยสุขภาพดี มีรอยยิ้ม (3 ดี) ผ่านการประเมินซ้ำ(Recrredit HA) เพื่อรับรองกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาล จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน) (สรพ.)
การแบ่งส่วนราชการ
[แก้]โรงพยาบาลพระพุทธบาท มีการแบ่งส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
รายชื่อผู้บริหารโรงพยาบาลพระพุทธบาท[แก้]1. นายแพทย์เล็ก มโนมัยอุดม พ.ศ. 2496 – 2499 2. นายแพทย์ดนัย สุวารี พ.ศ. 2499 (รักษาการ) 3. นายแพทย์ณรงค์ สดุดี พ.ศ. 2499 – 2517 4. นายแพทย์จำลอง บ่อเกิด พ.ศ. 2501 – 2503(รักษาการ) 5. นายแพทย์แถม ทัพยุทธ์พิจารณ์ พ.ศ. 2517 – 2519 6. นายแพทย์ชลิต ธรรมรักษา พ.ศ. 2519 – 2532 7. นายแพทย์พนม สนิทประชากร พ.ศ. 2532 – 2535 8. นายแพทย์วิศิษฐ์ เบญจพงษ์ พ.ศ. 2535 – 2537 9. นายแพทย์สุพัฒน์ เนยปฏิมานนท์ พ.ศ. 2537 – 2538 10. นายแพทย์ดนัย ทุริยานนท์ พ.ศ. 2538 – 2554 11. นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ พ.ศ. 2554 - 2557 12.แพทย์หญิงรจนา ขอนทอง พ.ศ. 2557 - 2558 13.แพทย์หญิงเพิ่มศิริ เลอมานุวรรัตน์ พ.ศ. 2558 - กันยายน 2559 14.นายแพทย์ทศพร สิริโสภิตกุล ตุลาคม 2559 - ปัจจุบัน อ้างอิง[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
|