เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา | |
---|---|
สมญา: เมืองแปดริ้ว | |
พิกัด: 13°41′25″N 101°04′13″E / 13.69028°N 101.07028°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ฉะเชิงเทรา |
อำเภอ | เมืองฉะเชิงเทรา |
จัดตั้ง | เป็นสุขาภิบาล พ.ศ. 2474 เป็นเทศบาลเมือง พ.ศ. 2478 |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | กลยุทธ ฉายแสง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 12.76 ตร.กม. (4.93 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561)[1] | |
• ทั้งหมด | 39,233 คน |
• ความหนาแน่น | 3,074.69 คน/ตร.กม. (7,963.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 04240102 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 1 ถนนจุลละนันทน์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000 |
เว็บไซต์ | www |
เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงในอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหน้าเมืองทั้งตำบล
ประวัติ
[แก้]เทศบาลเมืองฉะเชิงเทราเดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลเมืองฉะเชิงเทรา จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127 โดยให้ยกฐานะตำบลหน้าเมือง ที่ตั้งอำเภอเมืองขึ้นเป็น "สุขาภิบาลเมืองฉะเชิงเทรา มณฑลปราจีน"[2] มีกรรมการสุขาภิบาลชุดแรก ประกอบด้วย พระยาสิทธิสินสาทร ข้าหลวงประจำจังหวัดในสมัยนั้นเป็นประธาน นายอำเภอและกรรมการอื่นอีกรวม 8 ท่าน เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็น "เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา" ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 หน้า 1645 ลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 [3] มีเนื้อที่ 5.52 ตารางกิโลเมตร โดยมีพระยาพิพัฒน์ภูมิพิเศษ เป็นนายกเทศมนตรี มีสมาชิกสภาเทศบาลชุดเริ่มการ จำนวน 39 ท่าน และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองจะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2516 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 90 ตอนที่ 180 ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2516 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลจากเติมออกไปอีกรวมเป็นเนื้อที่เขตเทศบาลทั้งสิ้น 12.76 ตารางกิโลเมตร[4]
ด้านเหนือ
[แก้]ตั้งแต่หลักเชตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่วิมคลองลาวฝั่งใต้ ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่มดินหมายเลข 304 ตอนมีนบุรี - ฉะเชิงเทรา ฟากตะวันตกตามแนวเส้นตั้งฉากระยะ 200 เมตร เสียบตามริมคลองลาวและคลองท่าไข่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ปลายถนนศุภกิจ ริมคลองท่าไข่
จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองบ้านใหม่ฝังตะวันตก ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3200 ฉะเชิงเทรา - บางน้ำเปรี้ยว วัดตามแนวคลองบ้านใหม่ ระยะ 400 เมตร
จากหลักเขตที่ 3 เลียบตามริมคลองบ้านใหม่ฝั่งตะวันตกไปทางทิตเหนือ ระยะ 1,000 เมตร ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองบ้านใหม่
จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นตั้งจากกับทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3200 ฉะเชิงเทรา - บางน้ำเปรี้ยว ไปทางทิศตะวันออก ข้ามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3200 ฉะเชิงเทรา - บางน้ำเปรี้ยว ถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงจังหวัด หมายเลข 3200 ฉะเชิงเทรา - บางน้ำเปรี้ยว ตามแนวเส้นตั้งลาก ระยะ 200 เมตร
ด้านตะวันออก
[แก้]จากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นขนานกับทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3200 ฉะเชิงเทรา - บางน้ำเปรี้ยว ไปทางหิศใต้ถึงหลักเขตที่ 6 ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกงฝั่งเหนือ
จากหลักเขตที่ 6 เลียบตามแม่น้ำบางปะกงฝั่งเหนือไปทางทิศตะวันตกเถียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 7 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากสะพาน ข้ามแม่น้ำบางปะกงฟากตะวันออก ตามแนวเส้นตั้งจาก ระยะ 200 เมตร
จากหลักเขตที่ 7 เป็นเส้นขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ตอนฉะเชิงเทรา - พนมสารตาม ไปทางทิศตะวันออกเถียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 8 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ตอนฉะเชิงเทรา - พนมสารคาม ฟากเหนือตรงสามแยกตัตกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 315 ตอนพนัสนิคม - ฉะเชิงเทรา
ด้านใต้
[แก้]จากหลักเขตที่ 8 เป็นเส้นตรงเลียบตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ตอนฉะเชิงเทรา - พนมสารคามไปทางทิศตะวันตก ข้ามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ตอนฉะเชิงเทรา - พนมสารคาม แล้วหักเป็นเส้นตรง ถึงหลักเขตที่ 9 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ตอนฉะเชิงเทรา - พนมสารคาม ฟากตะวันตก ตามแนวเส้นตั้งฉาก ระยะ 200 เมตร
จากหลักเขตที่ 9 เป็นเส้นขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ตอนฉะเชิงเทรา - พนมสารคาม ไปทางทิศตะวันตกเสียงเหนือข้ามแม่น้ำบางปะกง ถึงหลักเขตที่ 10 ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกงฝั่งเหนือ
จากหลักเขตที่ 10 เสียบตามริมแม่น้ำบางปะกงฝั่งเหมือไปทางทิศใต้ ถึงหลักเขตที่ 11 ซึ่งตั้งอยู่ริมปากคลองศรีโสธร ฝั่งใต้ที่บรรจบกับแม่น้ำบางปะกง
จากหลักเขตที่ 11 เลียบตามริมคลองศรีโสธร ไปทางทิศตะวันตกเยงใต้ แล้วหักขนานกับถนนเข้าวัดโสธรฟากใต้ ตามแนวเส้นตั้งฉาก ระยะ 200 เมตร ถึงหลักเขตที่ 12 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 365 บางปะกง - ฉะเชิงเทรา ฟากตะวันออก
จากหลักเขตที่ 12 เป็นเส้นตั้งจากกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 314 (ถนนสิริโสธร) บางปะกง - ฉะเชิงเทรา ไปทางทิศตะวันตก ถึงหลักเขตที่ 13 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 314 บางปะกง - ฉะเชิงเทรา ฟากตะวันตก ตามแนวเส้นตั้งฉาก ระยะ 200 เมตร
ด้านตะวันตก
[แก้]จากหลักเขตที่ 13 เป็นเส้นขนานกับทางหลวงแผ่นตินหมายเลข 314 บางปะกง - ฉะเชิงเทรา ไปทางทิศเหนือ ถึงหลักเขตที่ 14 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนยักลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ตอนมีนบุรี - ฉะเชิงเทรา ฟากใต้ ตามแนวเส้นตั้งฉาก ระยะ 200 เมตร
จากหลักเขตที่ 14 เป็นเส้นขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ตอนมีนบุรี - ฉะเชิงเทรา ไปทางทิศตะวันตก แล้ววกไปทางทิศเหนือบรรจบกับหลักเขตที่ 1
เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ จดคลองลาวและคลองบ้านใหม่
ทิศใต้ ขนานกับถนนศุขประยูรในรัศมี 200 เมตร และแม่น้ำบางปะกง
ทิศตะวันออก จดแม่น้ำบางปะกงและขนานกับถนนศุขประยูรในรัศมี 200 เมตร
ทิศตะวันตก ขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 314 บางปะกง - ฉะเชิงเทรา ในรัศมี 200 เมตร
เทศบาลเมืองฉะเชิงเหรา มีพื้นที่ 12.76 ตารางกิโลเมตร สภาพพื้นที่ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำบางปะกงไหลผ่านกลางเขตเทศบาล จากแนวเขตเทศบาลด้านทิศใต้ไปจดแนวเชตเทศบาลด้านทิศเหนือ
เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา มีเขตการปกครองครอบคลุมตำบลหน้าเมือง มีพื้นที่ 12.76 ตารางกิโลเมตร
ตราสัญลักษณ์
[แก้]ตราประจำเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา เป็นตรารูปวงกลมซ้อนกัน 2 ชั้น วงกลมชั้นในประกอบด้วยตรานกยูงรำแพน ซึ่งเป็นตราประจำมณฑลปราจิณบุรี และปรากฏบนธงประจำกองลูกเสือมณฑลปราจีนบุรี วงกลมชั้นนอกเบื้องบนมีข้อความว่า "เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา" เบื้องล่างมีข้อความว่า "จังหวัดฉะเชิงเทรา" มีดอกประจำยามคั่นระหว่างข้อความ
การคมนาคม
[แก้]รถไฟ
[แก้]เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ประกอบไปด้วยระบบขนส่งมวลชนทางรางคือสถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา เป็นสถานีชุมทางสำหรับทางรถไฟสายตะวันออก และทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก นอกจากนี้ยังมีป้ายหยุดรถอีก 1 แห่งในเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราคือ ที่หยุดรถไฟแปดริ้ว[6]
รถโดยสาร
[แก้]เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ประกอบไปด้วยสถานีขนส่งผู้โดยสารจำนวน 1 สถานี ชื่อว่า สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ในความดูแลของเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่บริเวณถนนสิริโสธร[7]
ทางหลวงท้องถิ่น
[แก้]เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ประกอบไปด้วยทางหลวงท้องถิ่นที่ได้ขึ้นทะเบียนในระบบ (ทถ.6) และได้รับการกำหนดรหัสสายทางแล้ว จำนวน 6 สาย คือ
- ถนนศรีโสธรตัดใหม่ (ทางหลวงท้องถิ่น ฉช.ถ 2-0001) ระยะทางประมาณ 2.156 กิโลเมตร
- ถนนศุภกิจ (ทางหลวงท้องถิ่น ฉช.ถ 2-0002) ระยะทางประมาณ 1.06 กิโลเมตร
- ถนนเทพคุณากร (ทางหลวงท้องถิ่น ฉช.ถ 2-0003) ระยะทางประมาณ 2.359 กิโลเมตร
- ฉช.ถ 2-0004 ถนนหมู่บ้านวนาแลนด์ (ทางหลวงท้องถิ่น ฉช.ถ 2-0004) ระยะทางประมาณ 0.78 กิโลเมตร
- ฉช.ถ 2-0005 ถนนเลียบทางรถไฟ (ทางหลวงท้องถิ่น ฉช.ถ 2-0005) ระยะทางประมาณ 1.025 กิโลเมตร
สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]วัดโสธรวรารามวรวิหาร
[แก้]วัดโสธรวรารามวรวิหาร ตั้งอยู่ถนนเทพคุณากร แต่เดิมมีชื่อว่า วัดหงษ์ ได้สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยมีหลวงพ่อพุทธโสธรซึ่งเป็นพระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถหลังใหม่ ซึ่งออกแบบพิเศษเฉพาะรัชกาลที่ 9 โดยมีลักษณะเป็นอาคารมีหลังคาแบบจตุรมุขอย่างปราสาทไทย มีความกว้าง 44.50 เมตร ความยาว 123.50 เมตร และตรงส่วนกลางพระอุโบสถมียอดมณฑปสูงถึง 85 เมตร ยอดมณฑปนั้นมีลักษณะเป็นฉัตร 5 ชั้น มีความสูง 4.90 เมตร และยอดฉัตรเป็นทองคำ น้ำหนัก 77 กิโลกรัม เมื่อก่อสร้างเสร็จจะเป็นพระอุโบสถที่มีขนาดใหญ่และสวยงามที่สุดในโลก
ตลาดบ้านใหม่
[แก้]ตลาดบ้านใหม่ตั้งอยู่บนถนนศุภกิจภายในเมืองฉะเชิงเทรา เป็นตลาดริมแม่น้ำบางปะกงมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5[ต้องการอ้างอิง] สมัยก่อนมีชาวจีนหลายเชื้อสาย ทั้งจีนฮกเกี้ยน จีนแต้จิ๋ว และจีนแคะ อาศัยอยู่จำนวนมาก เนื่องจากถนนหนทางยังมีไม่ทั่วถึงมากนัก การเดินทางของผู้คนส่วนใหญ่ที่อาศัยในสวนจึงจำเป็นต้องพึ่งพาแม่น้ำบางปะกงเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ตลอดทั้งวันจะเห็นเรือพาย เรือแจว และเรือโดยสารประจำทางแล่นขวักไขว่ไปมา ผู้คนที่อาศัยอยู่ในสวนฝั่งตรงข้ามจะพายเรือข้ามฝั่งมาขึ้นที่ท่าเรือหรือโป๊ะของร้านค้าและอาศัยฝากเรือ ผู้คนที่อยู่ไกลออกไปก็มักนั่งเรือประจำทางมายังตลาดบ้านใหม่เพื่อจับจ่ายใช้สอยซื้อของที่ตลาดแห่งนี้ เดิมที่นี่เคยมีโรงสี โรงรำ ร้านค้าข้าว ค้ารำ ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำและขนส่งสินค้าทางน้ำ ปัจจุบันไม่มีโรงสีและโรงรำต่าง ๆ แล้ว
ปัจจุบันที่นี่เป็นแหล่งการค้าขายของที่ระลึก ของเล่นโบราณ ไอศกรีมโบราณ และอื่น ๆ เป็นย่านชุมชนค้าขายของเก่า โดยเฉพาะอาหาร เช่น อาหารจีน อาหารไทย และอาหารประจำจังหวัด ร้านขายก๋วยเตี๋ยวแบบโบราณ ร้านกาแฟโบราณ เป็นต้น เป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวแปดริ้วและต่างจังหวัด
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ฉะเชิงเทรา
[แก้]สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ฉะเชิงเทรา เป็นสวนที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองรายล้อมไปด้วยอาคารที่ทำการของรัฐ โดยแต่ละหน่วยงานมีสวนของตนเองที่จัดแต่งให้สอดคล้องกับสวนใหญ่ ทางเข้าสวนมีหลายทาง แต่ละทางมีซุ้มประตูทางเข้าที่สวยงาม ถนนเดิมที่ผ่านกลางสวนมีคูน้ำขนาดใหญ่ที่มีน้ำสะอาดคู่ขนานไป ริมน้ำปลูกต้รนนทรีและปาล์มเรยงรายตามคูน้ำ ถนนแบ่งสวนออกเป็นสองฝั่ง ฝั่งด้านตรงข้ามศาลากลางจังหวัดมีอาคารทรงไทยซึ่งเป็นศาลาที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เมื่อครั้งสเด็จมาเป็นประธานพิธีเปิดสวน ปัจจุบันใช้ในกิจกรรมหลายด้าน หน้าศาลามีต้นเฟื่องฟ้าทรงปลูกในวันสเด็จ
อีกฝั่งหนึ่งของถนนมีสนามฟุตบอล ติดกับสนามฟุตบอลเป็นที่ตั้งของ "สวนเกษม" มีรั้วกั้นและมีสวนที่ออกแบบสวยงามประกอบด้วยบึงที่มีน้ำใสสะอาด มีพรรณไม้ต่างๆ ปลูกตามริมน้ำ โดยเฉพาะปาล์มชนิดต่างๆ มีไม้ตัดแต่งพุ่มเป็นลวดลายและสีสันที่หลากหลาย รวมทั้งแปลงไม้ดอกจำนวนมาก บริเวณริมน้ำมีศาลาขนาดเล็กใหญ่และม้านั่งสบายเรียงรายเพื่อการนั่งพักผ่อน สวนแห่งนี้ยังมีสนามเด็กเล่นพร้อมเครื่องเล่นหลากหลายชนิด จึงมีประชาชนมาใช้พักผ่อนออกกำลังกายตั้งแต่เช้าตรู่ถึงตอนค่ำซึ่งจะมีไฟแสงสว่างเปิดรับกับแสงไฟประดับน้ำพุ
ศาลหลักเมืองฉะเชิงเทรา
[แก้]ศาลหลักเมืองฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ถนนมรุพงษ์ อยู่ข้างโรงพยาบาลพุทธโสธร เป็นศาลหลักเมืองที่ก่อสร้างขึ้นมาใหม่ ภายในบริเวณศาลหลักเมืองมีศาลเจ้าพ่อหลักเมืองตั้งอยู่ จะเป็นศิลปะแบบจีน และภายในศาลหลักเมือง มีเสาหลักอีก 2 เสา เสาแรกสร้างเมื่อ พ.ศ. 2377 ส่วนเสาที่สองสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2438
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 48 ตอนที่ 38 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474
- ↑ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 หน้า 1645 ลงวันที่ 10 ธันวาคม 2478
- ↑ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 90 ตอนที่ 180 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2516
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-29. สืบค้นเมื่อ 2021-08-26.
- ↑ "การเดินทางด้วยรถไฟ – ILove8Riew". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-21. สืบค้นเมื่อ 2023-06-21.
- ↑ "กรมการขนส่งทางบก". cco.dlt.go.th.