จิ้นชู
ผู้ประพันธ์ | ฝาง เสฺวียนหลิงและคนอื่น ๆ |
---|---|
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | 晉書 |
ประเทศ | จีน |
ภาษา | ภาษาจีนโบราณ |
หัวเรื่อง | ประวัติศาสตร์จีนโบราณ (ราชวงศ์จิ้น) |
วันที่พิมพ์ | ค.ศ. 648 |
จิ้นชู | |||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 晉書 | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 晋书 | ||||||||||
|
จิ้นชู (จีน: 晉書) เป็นตำราประวัติศาสตร์จีนอย่างเป็นทางการซึ่งครอบคลุมประวัติศาสตร์ของราชวงศ์จิ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 266 ถึง ค.ศ. 420 รวบรวมในปี ค.ศ. 648 โดยข้าราชการจำนวนหนึ่งที่ได้รับมอบหมายจากราชสำนักของราชวงศ์ถัง โดยมีอัครมหาเสนาบดีฝาง เสฺวียนหลิงเป็นหัวหน้าบรรณาธิการ ข้อมูลส่วนใหญ่นำมาจากเอกสารราชการที่หลงเหลือจากหอจดหมายเหตุในยุคก่อน ๆ บางบทในเล่มที่ 1, 3, 54 และ 80 ทรงพระอักษรด้วยพระองค์เองโดยจักรพรรดิถังไท่จง อย่างไรก็ตาม เนื้อหาของจิ้นชูไม่ได้มีเพียงเฉพาะประวัติศาสตร์ของราชวงศ์จิ้นเท่านั้น แต่ยังมีประวัติศาสตร์ของยุคสิบหกรัฐซึ่งเป็นยุคร่วมสมัยกับราชวงศ์จิ้นตะวันออกด้วย
การวบรวม
[แก้]ตำราประวัติศาสตร์ราชวงศ์จิ้นมากกว่า 20 ชุดถูกเขียนขึ้นในยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ โดยมี 18 ชุดที่ยังคงอยู่ในอยู่ช่วงต้นยุคราชวงศ์ถัง แต่จักรพรรดิถังไท่จงยังทรงเห็นว่าตำราเหล่านี้ทั้งหมดยังมีเนื้อหาไม่เพียงพอ จึงมีรับสั่งให้รวบรวมตำราประวัติศาสตร์มาตรฐานชุดใหม่ของยุคราชวงศ์จิ้น[1] โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการประวัติศาสตร์ 6 ชุดที่ครอบคลุมมาขึ้นเพื่อเติมเต็มช่องว่างระหว่างจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ) , ซ่งชู, ฉีชู, เว่ย์ชู และยุคสมัยของจักรพรรดิถังไท่จงเอง[2] ตำราประวัติศาสตร์นี้ไม่เพียงครอบคลุมยุคราชวงศ์จิ้นเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงยุคสามก๊กที่อยู่ก่อนหน้านี้ด้วย เป็นการเติมเต็มส่วนที่ขาดหายในจดหมายเหตุสามก๊ก[3]
ตำราประวัติศาสตร์นี้ได้รับการรวบรวมอย่างเร่งด่วนในช่วงระหว่าง ค.ศ. 646 ถึง ค.ศ. 648 โดยคณะทำงาน 21 คนนำโดยฝาง เสฺวียนหลิงเป็นหัวหน้าบรรณาธิการ บางบททรงพระอักษรโดยจักรพรรดิถังไท่จง บางครั้งผลงานนี้จึงขึ้นชื่อว่า "ทรงพระราชนิพนธ์โดยจักรพรรดิ"[1]
จิ้นชูเป็นตำราประวัติศาสตร์จีนอย่างเป็นทางการที่เขียนห่างจากยุคสมัยที่เป็นเนื้อหามากที่สุด คือ 229 ปีหลังการสิ้นสุดของราชวงศ์จิ้น[4]
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Book of Jin 《晉書》 Chinese text with matching English vocabulary