สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ | |
---|---|
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก | |
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก | |
ดำรงพระยศ | 31 มกราคม พ.ศ. 2488 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 (13 ปี 284 วัน) |
สถาปนา | 31 มกราคม พ.ศ. 2488 |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (แพ ติสฺสเทโว) |
ถัดไป | สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปลด กิตฺติโสภโณ) |
สถิต | วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
ประสูติ | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2415 วังกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ หม่อมราชวงศ์ชื่น |
สิ้นพระชนม์ | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 (85 ปี) |
พระบิดา | หม่อมเจ้าถนอม นพวงศ์ |
พระมารดา | หม่อมเอม (คชเสนี) นพวงศ์ ณ อยุธยา |
ลายพระนาม |
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์ชื่น นพวงศ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเมื่อปี พ.ศ. 2488 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 14 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 สิริพระชันษา 85 ปี 354 วัน
พระประวัติ
[แก้]พระกำเนิด
[แก้]สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ มีพระนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์ชื่น เป็นโอรสในหม่อมเจ้าถนอม นพวงศ์ และหม่อมเอม (สกุลเดิม คชเสนี) ประสูติภายในวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส (ต้นราชสกุลนพวงศ์) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2415 ตรงกับวันแรม 7 ค่ำ เดือน 12 ปีวอก[1] ส่วนหม่อมเอมพระชนนีเป็นธิดาพระยาดำรงราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) ซึ่งเป็นบุตรเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี)
ต่อมาได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร โดยทำหน้าที่เป็นคะเดททหารม้าในกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภ มีหน้าที่ตามเสด็จรักษาพระองค์
ผนวชและศึกษาพระปริยัติธรรม
[แก้]พระองค์บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2428 โดยมีพระพรหมมุนี (เหมือน สุมิตฺโต) วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วทรงศึกษาพระปริยัติธรรมกับอาจารย์หลายท่าน เช่น หม่อมเจ้าประภากร มาลากุล พระสุทธสีลสังวร (สาย) และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเข้าสอบไล่ครั้งแรกเมื่อปีขาล พ.ศ. 2433 ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สอบไล่ได้เปรียญธรรม 5 ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร[2] และได้รับพระราชทานพัดเปรียญในวันที่ 29 พฤศจิกายน ร.ศ. 112[3]
ต่อมาวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2435 ได้อุปสมบท ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร โดยพระพรหมมุนี (แฟง กิตฺติสาโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร
ในตอนแรกทรงตั้งพระทัยจะสอบถึงเพียงเปรียญธรรม 5 ประโยคเท่านั้น แต่สมเด็จฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส โปรดให้สอบต่อ และทรงส่งพระองค์เข้าสอบในปีมะเมีย พ.ศ. 2437 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม[4] จึงได้อีก 2 ประโยค รวมเป็นเปรียญธรรม 7 ประโยค[5]
พระกรณียกิจ
[แก้]พระองค์ได้มีส่วนร่วมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มาตั้งแต่ต้น คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์บำรุงการศึกษามณฑลหัวเมือง ทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ให้ทรงเป็นผู้อำนวยการจัดการศึกษา มีการจัดพิมพ์แบบเรียนต่าง ๆ พระราชทานแก่พระภิกษุสงฆ์ ไปไว้ใช้ฝึกสอน ให้ยกโรงเรียนพุทธศาสนิกชนในหัวเมืองทั้งปวง มารวมขึ้นอยู่ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า เพื่อจะได้เป็นหมวดเดียวกัน พระองค์ขณะที่ดำรงสมณศักดิ์พระสุคุณคุณาภรณ์ ได้เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลจันทบุรี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2445 ได้มีการออกพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 อันเป็นผลเนื่องมาจากการจัดการพระศาสนา และการศึกษาในหัวเมือง
พระองค์ทรงเป็นแม่กองสอบไล่พระปริยัติธรรมหลายครั้ง ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองต่างจังหวัด เมื่อพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ชราและอาพาธ ก็ได้ทรงมอบหน้าที่เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตให้ทรงบัญชาการแทน เมื่อปี พ.ศ. 2477 และเมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2480 พระองค์ก็ได้ทรงเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตสืบต่อมา และให้ทรงจัดการปกครองคณะธรรมยุตที่สำคัญหลายประการ
เมื่อเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าแล้ว ได้ทรงปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์ให้ดียิ่งขึ้น โดยจัดการปกครองคณะสงฆ์ทั้งสองนิกายคือ มหานิกายและธรรมยุติกนิกาย เมื่อปี พ.ศ. 2494 ดังนี้
- การปกครองส่วนกลาง คณะสังฆมนตรีคงบริหารรวมกัน แต่การปกครองบังคับบัญชาให้เป็นไปตามนิกาย
- การปกครองส่วนภูมิภาคให้แยกตามนิกาย
พระองค์ได้เป็นพระราชอุปัชฌยาจารย์เมื่อพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จออกผนวชในปี พ.ศ. 2499 และในงานฉลองพุทธศตวรรษในประเทศไทย รัฐบาลประเทศพม่าได้ถวายสมณศักดิ์สูงสุดของพม่าคือ อภิธชมหารัฏฐคุรุ แด่พระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2500
ตำแหน่ง
[แก้]- พ.ศ. 2445 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะมณฑลจันทบุรี[6]
- พ.ศ. 2467 ได้เป็นเจ้าคณะมณฑลอยุธยา[7]
- พ.ศ. 2476 ทรงเป็นประธานมหาเถรสมาคม บัญชาการคณะสงฆ์แทนพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- พ.ศ. 2485 ทรงเป็นประธานคณะวินัยธร ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484
สมณศักดิ์
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ | |
---|---|
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พะย่ะค่ะ/เพคะ |
- พ.ศ. 2439 ได้รับโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระสุคุณคณาภรณ์[8]
- พ.ศ. 2446 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นเทพพิเศษที่พระญาณวราภรณ์ สุนทรศีลวิสุทธินายก ไตรปิฎกเมธา มหาคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี[9]
- พ.ศ. 2451 ลาออกจากหน้าที่พระราชาคณะเพื่อเตรียมลาสิกขาบท[10] แต่ยังทรงอาลัยในสมณเพศจึงรั้งรออยู่[1]
- พ.ศ. 2454 รับพระราชทานพัดยศเดิมและกลับเข้ารับราชการตามตำแหน่งเดิม[11]
- พ.ศ. 2455 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมในราชทินนามเดิม[12]
- พ.ศ. 2464 ได้รับสถาปนาสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมพิเศษที่ พระญาณวราภรณ์ สุนทรธรรมปาโมกข์ ยุตโยคญาณดิลก ไตรปิฎกธารี ธรรมวาทียติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี[13]
- พ.ศ. 2471 โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตติกา ในพระราชทินนามพิเศษว่า สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ปาพจนงคญาณวราภรณ์ สุนทรวิสุทธิพรหมจารี ตรีปิฎกธรรมโกศล วิมลศีลขันธ์สรรพสุจิตต์ มหากิริฏราชประนับดา นพวงศวรานุวรรตน์ อุตกฤษฏรัตตัญญูกาพยปฏิภาณ คุโณธารสังฆประมุข ธรรมยุกติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี[14]
- ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (แพ ติสฺสเทโว) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้สถาปนาสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์เป็นสมเด็จพระสังฆราชในราชทินนามเดิม เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2488[15]
- ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามเป็น
"สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ วิสุทธิสงฆคุณาลังการ อริยวงศาคตญาณวิมล สกลมหาสังฆปรินายก ตรีปิฎกกลากุสโลภาส ภูมิพลมหาราชสรณคมนาจารย์ สุจิตตาภิธานสังฆวิสุต มหามกุฎมหาราชประนัปดา นพวงศราชกุลาภิวรรธน์ สุขุมอรรถธรรมวิจารปรีชา กาพยรจนาฉันทพากยปฏิภาน ปาวจนุตตมญาณวราภรณ์ สุนทรวิสุทธิพรหมจรรย์ วิมลศีลขันธสมาจารวัตร พุทธศาสนิกบริษัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภานพัฒนคุณ อดุลยคัมภีรญาณบัณฑิต สรรพคณิสสรมหาปธานาธิบดี คามวาสี อรัณยวาสี สมเด็จพระสังฆราช[16]
- และในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม พร้อมเฉลิมพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า[17]
"สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วิสุทธิสงฆคุณาลังการ อริยวงศาคตญาณวิมล สกลมหาสังฆปรินายก ตรีปิฎกกลากุสโลภาส ภูมิพลมหาราชหิโตปัธยาจารย์ สุจิตตาภิธานสังฆวิสุต มหามกุฎมหาราชประนัปดา นพวงศราชกุลาภิวรรธน์ สุขุมอรรถธรรมวิจารปรีชา กาพรจนาฉันทพากยปฏิภาน ปาวจนุตตมญาณวราภรณ์ สุนทรวิสุทธิพรหมจรรย์ วิมลศีลขันธสมาจารวัตร พุทธศาสนิกบริษัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภานพัฒนคุณ อดุลยคัมภีรญาณบัณฑิต สรรพคณิสสรมหาปธานาธิบดี ศรีสมณุดมบรมบพิตร คชนาม"
สิ้นพระชนม์
[แก้]สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 เวลา 01:08 น. พระศพตั้งบำเพ็ญพระกุศล ณ ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร คณะปฏิวัติให้สถานที่ราชการทุกแห่งลดธงลงครึ่งเสา 3 วัน และให้ข้าราชการไว้ทุกข์ 15 วันเพื่อถวายความอาลัย[18] และได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาสเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2503[19] เป็นพระองค์แรกที่ใช้พระเมรุถาวร และใช้เป็นพระเมรุและเมรุ ในงานพระราชทานเพลิงพระศพและงานพระราชทานเพลิงศพ พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนบุคคลสำคัญจนถึงปัจจุบัน
พระนิพนธ์
[แก้]ผลงานพระนิพนธ์มีอยู่เป็นจำนวนมาก พอประมวลได้ดังนี้
- พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้า ฯ ให้ชำระพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ พระองค์ได้ทรงชำระ 2 เล่ม คือ เล่ม 25 และเล่ม 26
- พ.ศ. 2467 ทรงชำระอรรถกถาชาดก ภาคที่ 3 จากจำนวน 10 ภาค ที่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า โปรดให้ชำระพิมพ์
หนังสือที่ทรงนิพนธ์ ได้แก่ ศาสนาโดยประสงค์ พระโอวาทธรรมบรรยาย ตายเกิด ตายสูญ ทศพิธราชธรรม พร้อมทั้งเทวตาทิสนอนุโมทนากถา สังคหวัตถุ จักรวรรดิวัตร และขัตติยพละ พุทธศาสนคติ บทความต่าง ๆ รวมเล่ม ชื่อว่า ความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาตั้งแต่เบื้องต้น ทีฆาวุคำฉันท์ และพระธรรมเทศนาที่สำคัญได้แก่ ธรรมเทศนาทศพิธราชธรรม ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระธรรมเทศนาวชิรญาณวงศ์เทศนา 55 กัณฑ์
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. หน้า 231-2. ISBN 974-417-530-3
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, จำนวนพระสงฆ์สามเณรซึ่งสอบไล่พระปริยัติธรรมได้ ในปี ๑๐๙ ปี ๑๑๐, เล่ม ๘, ตอน ๑๓, ๒๘ มิถุนายน ร.ศ. ๑๑๐, หน้า ๑๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, จำนวนพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานพัดเปรียญ, เล่ม ๑๐, ตอน ๓๗, ๑๐ ธันวาคม ร.ศ. ๑๑๒, หน้า ๑๐๕
- ↑ กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. หน้า 18. ISBN 974-417-530-3
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, จำนวนพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานพัดเปรียญ ปเรียญ ๗ ประโยค, เล่ม ๑๓, ตอน ๒๗, ๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๕, หน้า ๒๙๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งพระราชาคณะเจ้าคณะมณฑล, เล่ม ๑๙, ตอน ๑๖, ๒๐ กรกฎาคม ๒๔๔๕, หน้า ๒๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่องตั้งเจ้าคณะมณฑล, เล่ม ๔๑, ตอน ๐ ง, ๘ มีนาคม ๒๔๖๗, หน้า ๔๓๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชพิธีฉัตรมงคล แลพระราชทานพระสุพรรณบัตร หิรัญบัตร แลสัญญาบัตร พระสงฆ์, เล่ม ๑๓, ๓๔, ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๔, หน้า ๔๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การตั้งตำแหน่งสมณะศักดิ์, เล่ม ๒๐, ๒๙ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๒, หน้า ๖๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกสังฆการี (เรื่อง พระญาณวราภรณ์ลาจากหน้าที่พระราชาคณะ), เล่ม ๒๕, ตอน ๑๕, ๑๒ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๗, หน้า ๔๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การตั้งตำแหน่งสมณศักดิ์และเปลี่ยนพัดยศ, เล่ม ๒๘, ตอน ๐ ง, ๒๕ มิถุนายน ร.ศ. ๑๓๐, หน้า ๖๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งพระราชาคณะ, เล่ม ๒๙, วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๓๑, หน้า ๒๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ, เล่ม ๓๘, ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๔, หน้า ๑๘๒๖ - ๑๘๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม ๔๕, ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๑, หน้า 173-4
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช, เล่ม ๖๒, ตอน ๙ ก, ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๘, หน้า ๑๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนาเฉลิมพระนามสมเด็จพระสังฆราช, เล่ม 67, ตอน 27, 9 มกราคม พ.ศ. 2493, หน้า 487
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาพระสังฆราชขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวง, เล่ม ๗๔, ตอน ๖ ก ฉบับพิเศษ, ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐, หน้า ๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๕, เล่ม ๗๕, ตอน ๙๓ ก ฉบับพิเศษ, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๑, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ ที่ ๗/๒๕๐๓ พระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์, เล่ม ๗๗, ตอน ๓๕ ง ฉบับพิเศษ, ๒๕ เมษายน ๒๕๐๓, หน้า ๒
ก่อนหน้า | สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (แพ ติสฺสเทโว) |
สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2488 - พ.ศ. 2501) |
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปลด กิตฺติโสภโณ) | ||
สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) | แม่กองบาลีสนามหลวง (พ.ศ. 2477 - พ.ศ. 2478) |
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปลด กิตฺติโสภโณ) | ||
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า |
เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต (พ.ศ. 2471 - พ.ศ. 2501) |
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฺฐายี) | ||
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส | เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (พ.ศ. 2464–พ.ศ. 2501) |
พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2415
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2501
- สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- พระองค์เจ้าตั้ง
- กรมหลวง
- แม่กองบาลีสนามหลวง
- เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
- เจ้าคณะมณฑล
- เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
- เปรียญธรรม 7 ประโยค
- ราชสกุลนพวงศ์
- ภิกษุที่เป็นเจ้านายในราชวงศ์จักรี
- สกุลคชเสนี
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์
- หม่อมราชวงศ์