เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
เจ้าคณะใหญ่ คณะธรรมยุต | |
---|---|
จวน | วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร |
ผู้แต่งตั้ง | พระมหากษัตริย์ โดยพระราชดำริ สมเด็จพระสังฆราช โดยมีพระบัญชาแต่งตั้ง มหาเถรสมาคม โดยมีมติเห็นชอบ |
วาระ | ตลอดชีวิต |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ |
สถาปนา | พ.ศ. 2394 |
เงินตอบแทน | 23,900 บาท[1] |
เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต คือเจ้าคณะใหญ่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายทุกภาค
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตรูปปัจจุบันตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2560 โดยอนุวัตตามมติมหาเถรสมาคม[2]
ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 กำหนดให้มีเจ้าคณะใหญ่ปฏิบัติหน้าที่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตามที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม[3]
มหาเถรสมาคมจึงตรา "กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2535) ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์" กำหนดให้มีเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตปฏิบัติหน้าที่ในเขตปกครองคณะธรรมยุตภาคทุกภาค[4]
หน้าที่
[แก้]เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต มีหน้าที่ดังนี้[4]
- ดำเนินการปกครองคณะสงฆ์ธรรมยุตให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย กฎหมาย กฎมหาเถรสมาคม ข้องบังคับ ระเบียบ คำสั่ง มติ ประกาศ พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช
- ควบคุมและส่งเสริมการรักษาความเรียบร้อยดีงามการศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การสาธารณูปการ และสาธารณสงเคราะห์ ให้ดำเนินไปด้วยดี
- วินิจฉัยการลงนิคหกรรม วินิจฉัยข้ออุทธรณ์คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยชั้นภาค หรือมีอำนาจหน้าที่ในกรณีที่ได้รับมอบหมายอย่างอื่นจากมหาเถรสมาคม
- แก้ไขข้อขัดข้องของเจ้าคณะภาคให้เป็นไปโดยชอบ
- ควบคุมบังคับบัญชาเจ้าคณะและเจ้าอาวาส ตลอดถึงพระภิกษุสามเณรผู้อยู่ในบังคับบัญชา หรืออยู่ในเขตปกครองของตน และชี้แจงแนะนำการปฏิบัติหน้าที่ของผู้อยู่ในบังคับบัญชาให้เป็นไปโดยความเรียบร้อย
รายนามเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
[แก้]คณะธรรมยุตยุคแรกยังรวมอยู่กับคณะสงฆ์ดั้งเดิม เพิ่งได้รับอำนาจในการปกครองตนเองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีพระเถระดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตสืบมาดั้งนี้[5]
ลำดับ | รูป | รายพระนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | สถิต ณ |
1 | สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ | พ.ศ. 2394 | พ.ศ. 2435 | วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร | |
2 | สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส | พ.ศ. 2436 | พ.ศ. 2464 | ||
3 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า |
พ.ศ. 2465 | พ.ศ. 2471 | วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร | |
4 | สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ | พ.ศ. 2471 | พ.ศ. 2501 | วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร | |
5 | สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฺฐายี) | พ.ศ. 2501 | พ.ศ. 2514 | วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร | |
6 | สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ | พ.ศ. 2515 | พ.ศ. 2531 | วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร | |
7 | สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร | พ.ศ. 2532 | พ.ศ. 2556 | วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร | |
8 | สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) | พ.ศ. 2558 | พ.ศ. 2560 | ||
9 | สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) | พ.ศ. 2560 | ปัจจุบัน | วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "บัญชีนิตยภัต ฉบับปรับปรุงใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2554 เป็นต้นไป". สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดภูเก็ต. 27 เมษายน 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-18. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เสนอแต่งตั้งเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต". มหาเถรสมาคม. 20 มิถุนายน 2560. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535, เล่ม 109, ตอนที่ 16, 4 มีนาคม 2535, หน้า 8
- ↑ 4.0 4.1 "กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2535) ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์". วัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร. 2555. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ประวัติคณะธรรมยุต, กรุงเทพฯ:มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2547, หน้า 313-42