ศาลแขวง (ประเทศไทย)
ศาลแขวง คือ ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย กำหนดจำนวนผู้พิพากษาเพียง 1 คน เป็นองค์คณะ มีหน้าที่และอำนาจตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม[1] และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาคดีในศาลแขวง พ.ศ. 2499 ได้แก่ การออกหมายเรียก หมายอาญา หรือหมายสั่งให้ส่งคนมาจากหรือไปยังจังหวัดอื่น การออกคำสั่งใด ๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 ประกอบมาตรา 24) ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอที่ยื่นต่อศาลแขวงในคดีทั้งปวง ไต่สวนและมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย ไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งในคดีอาญา พิจารณาพิพากษาทั้งคดีแพ่งซึ่งมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 300,000 บาท และคดีอาญาซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่จะลงโทษจำคุกเกิน 6 เดือน หรือปรับเกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับนั้นอย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้ (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 ประกอบมาตรา 25)
ประวัติ
[แก้]ในสมัยรัชกาลที่ 1 ประเทศไทยยังปกครองแบบจตุสดมภ์ กรมเมืองหรือที่เรียกกันว่า “กรมพระนครบาล” เป็นกรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในกรุงเทพมหานคร มีศาลในสังกัดเรียกว่า “ศาลนครบาล” กรมพระนครบาลได้จัดตั้งกองตระเวนขึ้น 2 กอง คือ กองตระเวนซ้ายและกองตระเวนขวา มีพลตระเวนทำหน้าที่จับผู้ร้ายให้ผู้ใหญ่ในกรมชำระตัดสินความได้เอง โดยยังไม่มีผู้พิพากษาตัดสินความได้อย่างในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2417 มีการปรับปรุงกิจการตำรวจซึ่งเรียกว่า “พลตระเวน” ในกรุงเทพมหานครออกเป็น 3 กอง พลตระเวนทั้งสามกองนี้ เมื่อจับผู้ร้ายได้ก็ชำระความเอง เรียกว่า “ศาลพลตระเวน” สังกัดกรมพระนครบาล หลังจากประกาศตั้งกระทรวงยุติธรรมแล้ว ในปี พ.ศ. 2436 (ร.ศ.111) ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้ง "ศาลโปริสภา" เป็นศาลกองตระเวนสำหรับกรุงเทพมหานคร โดยยกเลิกศาลพลตระเวนเดิม ศาลโปริสภาที่จัดตั้งขึ้นมีอำนาจชำระและตัดสินความอาญาลหุโทษเฆี่ยน (ทวน) 50 ทีลงมา และโทษจำไม่ถึงคุก จำที่ตะรางตั้งแต่ 6 เดือนลงมา หรือปรับไม่เกิน 2 ชั่ง (160 บาท) ส่วนคดีแพ่งมีอำนาจชำระและตัดสินความทุนทรัพย์ไม่เกิน 2 ชั่ง (160 บาท)
ในปี พ.ศ. 2437 (ร.ศ.113) มีประกาศตั้งศาลโปริสภาขึ้นในกรุงเทพมหานครเพิ่มอีก 3 ศาล รวมเป็น 4 ศาล คือ ศาลโปริสภาเดิมเป็นศาลโปริสภาที่ 1 มีเขตอำนาจตามเขตอำนาจของศาลแขวงพระนครใต้ในปัจจุบัน ศาลโปริสภาที่ 2 มีเขตอำนาจตามเขตอำนาจของศาลแขวงพระนครเหนือในปัจจุบัน ศาลโปริสภาที่ 3 มีเขตอำนาจตามเขตอำนาจของศาลแขวงธนบุรีในปัจจุบัน และศาลโปริสภาที่ 4 มีเขตอำนาจตามเขตอำนาจของศาลจังหวัดตลิ่งชันในปัจจุบัน นอกจากประกาศตั้งศาลโปริสภาเพิ่มแล้ว ตามประกาศดังกล่าวยังให้งดเว้นการลงโทษทวน (เฆี่ยนตีด้วยลวดหนัง) เปลี่ยนเป็นโทษจำขังแทนเป็นครั้งแรก ศาลโปริสภาที่ 1 และที่ 2 ตั้งอยู่ฝั่งพระนครมีปริมาณคดีมาก ส่วนศาลโปริสภาที่ 3 ที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งธนบุรีมีปริมาณคดีน้อย ในปี พ.ศ. 2438 จึงประกาศยกเลิกศาลโปริสภาที่ 4 ศาลโปริสภาที่ 3 จึงมีเขตอำนาจในท้องที่ฝั่งธนบุรีทั้งหมด
ในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ได้จัดทำพระธรรมนูญศาลยุติธรรมเรียกว่า “พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ร.ศ.127 (พ.ศ. 2452) ” แบ่งศาลออกเป็น ศาลในกรุงเทพมหานครและศาลหัวเมือง ศาลโปริสภาเป็นศาลในกรุงเทพฯ ศาลแขวงเป็นศาลในหัวเมือง ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมฉบับนี้ บัญญัติชื่อศาลแขวงในหัวเมือง ส่วนในกรุงเทพมหานคร ยังใช้คำว่าศาลโปริสภาอยู่ต่อไปจนถึง พ.ศ. 2478 มีการประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2478 ใช้คำว่าศาลแขวงทั้งในกรุงเทพมหานครและหัวเมือง ในปีเดียวกันนี้ มีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงสำหรับจังหวัดพระนครและธนบุรี พ.ศ. 2478 ให้ตั้งศาลแขวงพระนครใต้ ศาลแขวงพระนครเหนือ และศาลแขวงธนบุรีขึ้น แบ่งเขตอำนาจตามเขตอำนาจเดิมของศาลโปริสภาที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ตามลำดับ
รายชื่อศาลแขวงในประเทศไทย
[แก้]ศาลแขวงได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อยังให้การพิจารณาคดีบางประเภทที่ไม่ซับซ้อนเสร็จสิ้นไปโดยเร็ว โดยศาลแขวงส่วนใหญ่จัดตั้งขึ้นโดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกาซึ่งอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยจัดตั้งศาลแขวง บางส่วนจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ ปัจจุบันศาลแขวงในประเทศไทยมีจำนวน 39 แห่ง[2][3] ดังนี้ :-
- ศาลแขวงกระบี่
- ศาลแขวงขอนแก่น
- ศาลแขวงชลบุรี
- ศาลแขวงเชียงดาว
- ศาลแขวงเชียงราย
- ศาลแขวงเชียงใหม่
- ศาลแขวงดอนเมือง
- ศาลแขวงดุสิต
- ศาลแขวงตรัง
- ศาลแขวงทุ่งสง
- ศาลแขวงธนบุรี
- ศาลแขวงนครไทย
- ศาลแขวงนครปฐม
- ศาลแขวงนครราชศรีมา
- ศาลแขวงนครศรีธรรมราช
- ศาลแขวงนครสวรรค์
- ศาลแขวงนนทบุรี
- ศาลแขวงบางบอน
- ศาลแขวงปทุมวัน
- ศาลแขวงพยัคฆภูมิพิสัย
- ศาลแขวงพระนครใต้
- ศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา
- ศาลแขวงพระนครเหนือ
- ศาลแขวงพัทยา
- ศาลแขวงพิษณุโลก
- ศาลแขวงภูเก็ต
- ศาลแขวงระยอง
- ศาลแขวงราชบุรี
- ศาลแขวงลพบุรี
- ศาลแขวงลำปาง
- ศาลแขวงเวียงป่าเป้า
- ศาลแขวงสงขลา
- ศาลแขวงสมุทรปราการ
- ศาลแขวงสระบุรี
- ศาลแขวงสุพรรณบุรี
- ศาลแขวงสุราษฎร์ธานี
- ศาลแขวงสุรินทร์
- ศาลแขวงอุดรธานี
- ศาลแขวงอุบลราชธานี
รายชื่อศาลแขวงในประเทศไทยแบ่งตามพื้นที่ในกรุงเทพมหานครและสำนักงานศาลยุติธรรมภาค 1 - 9
[แก้]1. ศาลแขวงในกรุงเทพมหานคร
[แก้]ที่ | ชื่อศาล | จังหวัด | เขตอำนาจ | เปิดทำการ |
---|---|---|---|---|
1 | ศาลแขวงดอนเมือง[4] | กรุงเทพมหานคร | บางเขต
|
1 เมษายน 2557 |
2 | ศาลแขวงดุสิต[5] | กรุงเทพมหานคร | บางเขต
|
7 สิงหาคม 2532 |
3 | ศาลแขวงธนบุรี[6] | กรุงเทพมหานคร | บางเขต[7] | ไม่ทราบแน่ชัด |
4 | ศาลแขวงปทุมวัน[8] | กรุงเทพมหานคร | บางเขต | 30 มิถุนายน 2538 |
5 | ศาลแขวงพระนครใต้[9] | กรุงเทพมหานคร | บางเขต[10] | ไม่ทราบแน่ชัด |
6 | ศาลแขวงพระนครเหนือ[11] | กรุงเทพมหานคร | บางเขต[12] | ไม่ทราบแน่ชัด |
7 | ศาลแขวงบางบอน[13] | กรุงเทพมหานคร | บางเขต | 1 เมษายน 2562 |
2. ศาลแขวงสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมภาค 1 (จังหวัดในภาคกลาง)
[แก้]ที่ | ชื่อศาล | จังหวัด | เขตอำนาจ | เปิดทำการ |
---|---|---|---|---|
1 | ศาลแขวงนนทบุรี[14] | นนทบุรี | บางอำเภอ | 1 พฤษภาคม 2532 |
2 | ศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา[15] | พระนครศรีอยุธยา | ทุกอำเภอ[16] | 1 มิถุนายน 2500 |
3 | ศาลแขวงลพบุรี[17] | ลพบุรี | บางอำเภอ[18] | 1 มิถุนายน 2500 |
4 | ศาลแขวงสระบุรี[19] | สระบุรี | ทุกอำเภอ | 1 เมษายน 2558 |
3. ศาลแขวงสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมภาค 2 (จังหวัดในภาคตะวันออก)
[แก้]ที่ | ชื่อศาล | จังหวัด | เขตอำนาจ | เปิดทำการ |
---|---|---|---|---|
1 | ศาลแขวงชลบุรี[20] | ชลบุรี | บางอำเภอ[21]
|
1 มิถุนายน 2500 |
2 | ศาลแขวงพัทยา[23] | ชลบุรี | บางอำเภอ
|
1 เมษายน 2558 |
3 | ศาลแขวงระยอง[24] | ระยอง | ทุกอำเภอ | 1 ตุลาคม 2561 |
4. ศาลแขวงสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมภาค 3 (จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง)
[แก้]ที่ | ชื่อศาล | จังหวัด | เขตอำนาจ | เปิดทำการ |
---|---|---|---|---|
1 | ศาลแขวงนครราชศรีมา[25] | นครราชสีมา | บางอำเภอ[26] | 1 มิถุนายน 2500 |
2 | ศาลแขวงสุรินทร์[27] | สุรินทร์ | บางอำเภอ[28] | 1 มิถุนายน 2500 |
3 | ศาลแขวงอุบลราชธานี[29] | อุบลราชธานี | บางอำเภอ[30] | 1 มิถุนายน 2500 |
5. ศาลแขวงสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมภาค 4 (จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน)
[แก้]ที่ | ชื่อศาล | จังหวัด | เขตอำนาจ | เปิดทำการ |
---|---|---|---|---|
1 | ศาลแขวงขอนแก่น[31] | ขอนแก่น | บางอำเภอ[32] | 1 มิถุนายน 2500 |
2 | ศาลแขวงพยัคฆภูมิพิสัย[33] | มหาสารคาม | บางอำเภอ | 1 เมษายน 2559 |
3 | ศาลแขวงอุดรธานี[34] | อุดรธานี | ทุกอำเภอ[35] | 1 มิถุนายน 2500 |
6. ศาลแขวงสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมภาค 5 (จังหวัดในภาคเหนือ)
[แก้]ที่ | ชื่อศาล | จังหวัด | เขตอำนาจ | เปิดทำการ |
---|---|---|---|---|
1 | ศาลแขวงเชียงราย[36] | เชียงราย | บางอำเภอ | 1 เมษายน 2562 |
2 | ศาลแขวงเวียงป่าเป้า[37] | เชียงราย | บางอำเภอ | 1 เมษายน 2558 |
3 | ศาลแขวงเชียงดาว[38] | เชียงใหม่ | บางอำเภอ | 1 เมษายน 2563 |
4 | ศาลแขวงเชียงใหม่[39] | เชียงใหม่ | บางอำเภอ[40] | 1 มิถุนายน 2500 |
5 | ศาลแขวงลำปาง[41] | ลำปาง | บางอำเภอ[42] | 1 มิถุนายน 2500 |
7. ศาลแขวงสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมภาค 6 (จังหวัดในภาคกลางตอนบน)
[แก้]ที่ | ชื่อศาล | จังหวัด | เขตอำนาจ | เปิดทำการ |
---|---|---|---|---|
1 | ศาลแขวงนครสวรรค์[43] | นครสวรรค์ | บางอำเภอ[44] | 1 มิถุนายน 2500 |
2 | ศาลแขวงนครไทย[45] | พิษณุโลก | บางอำเภอ | 1 เมษายน 2558 |
3 | ศาลแขวงพิษณุโลก[46] | พิษณุโลก | บางอำเภอ[47] | 1 มิถุนายน 2500 |
4 | ศาลแขวงสมุทรปราการ[48] | สมุทรปราการ | บางอำเภอ[49] | 1 พฤษภาคม 2532 |
8. ศาลแขวงสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมภาค 7 (จังหวัดในภาคตะวันตก)
[แก้]ที่ | ชื่อศาล | จังหวัด | เขตอำนาจ | เปิดทำการ |
---|---|---|---|---|
1 | ศาลแขวงนครปฐม[50] | นครปฐม | ทุกอำเภอ | 1 พฤษภาคม 2532 |
2 | ศาลแขวงราชบุรี[51] | ราชบุรี | บางอำเภอ[52] | 1 มิถุนายน 2500 |
3 | ศาลแขวงสุพรรณบุรี[53] | สุพรรณบุรี | บางอำเภอ[54] | 1 มิถุนายน 2500 |
9. ศาลแขวงสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมภาค 8 (จังหวัดในภาคใต้ตอนบน)
[แก้]ที่ | ชื่อศาล | จังหวัด | เขตอำนาจ | เปิดทำการ |
---|---|---|---|---|
1 | ศาลแขวงกระบี่[55] | กระบี่ | ทุกอำเภอ | 1 ตุลาคม 2563 |
2 | ศาลแขวงทุ่งสง[56] | นครศรีธรรมราช | บางอำเภอ | 1 เมษายน 2558 |
3 | ศาลแขวงนครศรีธรรมราช[57] | นครศรีธรรมราช | บางอำเภอ[58] | 1 มิถุนายน 2500 |
4 | ศาลแขวงภูเก็ต[59] | ภูเก็ต | ทุกอำเภอ | 1 เมษายน 2561 |
5 | ศาลแขวงสุราษฎร์ธานี[60] | สุราษฎร์ธานี | บางอำเภอ[61] | 1 มิถุนายน 2500 |
10. ศาลแขวงสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมภาค 9 (จังหวัดในภาคใต้ตอนล่าง)
[แก้]ที่ | ชื่อศาล | จังหวัด | เขตอำนาจ | เปิดทำการ |
---|---|---|---|---|
1 | ศาลแขวงตรัง[62] | ตรัง | ทุกอำเภอ | 1 ตุลาคม 2563 |
2 | ศาลแขวงสงขลา[63] | สงขลา | บางอำเภอ[64] | 1 มิถุนายน 2500 |
ศาลแขวงที่มีกฎหมายยกฐานะเป็นศาลจังหวัดแต่ยังมิได้เปิดทำการ
[แก้]ที่ | ชื่อศาล | จังหวัด | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1 | ศาลแขวงดุสิต | กรุงเทพมหานคร | มีกฎหมายให้ยกฐานะเป็นศาลจังหวัดแล้ว แต่ยังมิได้มีการประกาศวันเปิดทำการในพระราชกฤษฎีกา โดยในระหว่างที่ศาลจังหวัดดุสิตยังไม่เปิดทำการให้ศาลแพ่งกับศาลอาญารับผิดชอบไปพลางก่อน[65] |
2 | ศาลแขวงปทุมวัน | กรุงเทพมหานคร | มีกฎหมายให้ยกฐานะเป็นศาลจังหวัดแล้ว แต่ยังมิได้มีการประกาศวันเปิดทำการในพระราชกฤษฎีกา โดยในระหว่างที่ศาลจังหวัดดุสิตยังไม่เปิดทำการให้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้กับศาลอาญากรุงเทพใต้รับผิดชอบไปพลางก่อน[66] |
3 | ศาลแขวงเวียงป่าเป้า | เชียงราย | มีกฎหมายให้ยกฐานะเป็นศาลจังหวัดแล้ว แต่ยังมิได้มีการประกาศวันเปิดทำการในพระราชกฤษฎีกา โดยในระหว่างที่ศาลจังหวัดเวียงป่าเป้ายังไม่เปิดทำการให้ศาลจังหวัดเชียงรายรับผิดชอบไปพลางก่อน[67] |
4 | ศาลแขวงนครไทย | พิษณุโลก | มีกฎหมายให้ยกฐานะเป็นศาลจังหวัดแล้ว แต่ยังมิได้มีการประกาศวันเปิดทำการในพระราชกฤษฎีกา โดยในระหว่างที่ศาลจังหวัดนครไทยยังไม่เปิดทำการให้ศาลจังหวัดพิษณุโลกรับผิดชอบไปพลางก่อน[68] |
5 | ศาลแขวงพยัคฆภูมิพิสัย | มหาสารคาม | มีกฎหมายให้ยกฐานะเป็นศาลจังหวัดแล้ว แต่ยังมิได้มีการประกาศวันเปิดทำการในพระราชกฤษฎีกา โดยในระหว่างที่ศาลจังหวัดพยัคฆภูมิพิสัยยังไม่เปิดทำการให้ศาลจังหวัดมหาสารคามรับผิดชอบไปพลางก่อน[69] |
ศาลแขวงในอดีต
[แก้]ที่ | ชื่อศาล | จังหวัด (เทียบในปัจจุบัน) | พ.ศ. ที่ถูกยุบ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
1 | ศาลแขวงตลิ่งชัน | กรุงเทพมหานคร | 2549 | ได้รับการยกฐานะเป็นศาลจังหวัด[70] และเปิดทำการเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2550[71] ต่อมาปรากฏว่าจำนวนคดีในศาลจังหวัดตลิ่งชันมีจำนวนมากเทียบเท่าศาลแพ่งกับศาลอาญา จึงตรากฎหมายตั้งเป็นศาลแพ่งตลิ่งชัน[72]และศาลอาญาตลิ่งชันขึ้น[73] |
2 | ศาลแขวงพระโขนง | กรุงเทพมหานคร | 2549 | ได้รับการยกฐานะเป็นศาลจังหวัด[74] และเปิดทำการเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2550[75] ต่อมาปรากฏว่าจำนวนคดีในศาลจังหวัดพระโขนงมีจำนวนมากเทียบเท่าศาลแพ่งกับศาลอาญา จึงตรากฎหมายตั้งเป็นศาลแพ่งพระโขนงและศาลอาญาพระโขนงขึ้น[76] |
3 | ศาลแขวงหลังสวน | ชุมพร | 2479 | ได้รับการยกฐานะเป็นศาลจังหวัดหลังสวน[77] |
4 | ศาลแขวงแม่สอด | ตาก | 2479 | ได้รับการยกฐานะเป็นศาลจังหวัดแม่สอด[78] |
5 | ศาลแขวงตะกั่วป่า | พังงา | 2479 | ได้รับการยกฐานะเป็นศาลจังหวัดตะกั่วป่า[79] |
6 | ศาลแขวงแม่สะเรียง | แม่ฮ่องสอน | 2479 | ได้รับการยกฐานะเป็นศาลจังหวัดแม่สะเรียง[80] |
7 | ศาลแขวงเมืองเถิน | ลำปาง | 2448 | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เลิกศาลแขวงเมืองนี้ตามที่พระยาเจริญราชไมตรีทูลเสนอความเห็นเนื่องจากมีคดีความน้อย[81] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2543
- ↑ https://www.coj.go.th/th/content/page/index/id/13
- ↑ ศาลยุติธรรม (ประเทศไทย)#:~:text=ศาลยุติธรรม เป็นศาลที่มี,คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/2003732.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1594063.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1100321.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17075626.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1658108.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1100321.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1658108.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1100321.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/2003732.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17075626.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1593928.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1175015.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1593996.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1175015.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/205534.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/2036563.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1175015.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1593996.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/2037664.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/2037664.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/2145636.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1175015.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/2003733.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1175015.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/19104.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1175015.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/153575.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1175015.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/2068869.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/2068872.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1175015.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/19105.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17075627.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/2037665.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17117982.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1175015.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17117982.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1175015.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1534248.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1175015.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1365599.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/2036567.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1175015.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/2036567.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1593983.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/21456.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1593928.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1175015.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1305011.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1175015.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1576670.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17138500.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/2037666.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1175015.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1448414.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/2136285.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1175015.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1965032.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1594063.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1175015.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/212797.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/180393.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/180393.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17171100.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17171100.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17171100.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/180393.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/212794.pdf
- ↑ https://civiltlc.coj.go.th/th/content/page/index/id/240520
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17074760.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/180393.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/212794.pdf
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17074760.pdf
- ↑ https://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/20.500.13072/16869/SOP-DIP_P_401292_0001.pdf?sequence=1
- ↑ https://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/20.500.13072/16869/SOP-DIP_P_401292_0001.pdf?sequence=1
- ↑ https://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/20.500.13072/16869/SOP-DIP_P_401292_0001.pdf?sequence=1
- ↑ https://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/20.500.13072/16869/SOP-DIP_P_401292_0001.pdf?sequence=1
- ↑ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1029298.pdf