ข้ามไปเนื้อหา

ศาลปกครอง (ประเทศไทย)

พิกัด: 13°53′23″N 100°34′05″E / 13.8896519°N 100.5681273°E / 13.8896519; 100.5681273
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ศาลปกครองสูงสุด)
ราชอาณาจักรไทย
ศาลปกครอง
Administrative Court
ตราสัญลักษณ์ศาลปกครอง
อาคารที่ทำการศาลปกครองสูงสุด
แผนที่
สถาปนา11 ตุลาคม พ.ศ. 2542; 25 ปีก่อน (2542-10-11)[1]
อำนาจศาลทั่วราชอาณาจักร
ที่ตั้งเลขที่ 120 หมู่ที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
พิกัด13°53′23″N 100°34′05″E / 13.8896519°N 100.5681273°E / 13.8896519; 100.5681273
ที่มาพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
จำนวนตุลาการ292 คน (พ.ศ. 2566)[3]
งบประมาณต่อปี3,364,448,100 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ประเภทของศาลศาลปกครอง
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
ประธานศาลปกครองสูงสุด
ปัจจุบันประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ
ตั้งแต่1 ตุลาคม พ.ศ. 2567
สำนักงานศาลปกครอง
Administrative Court Office
ตราสัญลักษณ์
ภาพรวมสำนักงาน
ก่อตั้ง11 ตุลาคม พ.ศ. 2542; 25 ปีก่อน (2542-10-11)
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
บุคลากร3,474 คน (พ.ศ. 2566)[3]
งบประมาณต่อปี3,364,448,100 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารสำนักงาน
  • จำนงค์ ถาวรวิสิทธิ์, รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ
  • ชำนาญ ทิพยชนวงศ์, รองเลขาธิการ
  • เจตน์ สถาวรศีลพร, รองเลขาธิการ
  • จิตติมา ยอดพริ้ง, รักษาการในตำแหน่งรองเลขาธิการ
  • ว่าง, รองเลขาธิการ
ต้นสังกัดสำนักงานศาลปกครอง
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

ศาลปกครอง (อังกฤษ: Administrative Court) เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 276 และมีการจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีฐานะเทียบเท่าศาลยุติธรรมและมีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษา “คดีปกครอง” ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนกรณีหนึ่ง และข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันอีกกรณีหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและเพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องในการปฏิบัติราชการ

ศาลปกครอง เป็นศาลที่ใช้ระบบไต่สวน โดยในแต่ละคดีจะมีการพิจารณาโดยองค์คณะของตุลาการ ต่างจากศาลยุติธรรมซึ่งใช้ระบบกล่าวหา

อำนาจพิจารณาพิพากษา

[แก้]

ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้

  1. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มี อำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิด กับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
  2. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
  3. คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎคำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
  4. คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
  5. คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด
  6. คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง

เรื่องที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง

[แก้]
  1. การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร
  2. การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการฝ่ายตุลาการ
  3. คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย หรือศาลชำนัญพิเศษอื่น

อำนาจศาลปกครองสูงสุด

[แก้]

ศาลปกครองสูงสุดมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ดังต่อไปนี้

  1. คดีพิพาทเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทตามที่ที่ประชุม ใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดประกาศกำหนด
  2. คดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือกฎที่ออก โดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
  3. คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุด
  4. คดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น

เขตอำนาจ[4]

[แก้]

ศาลปกครองแบ่งออกเป็น "ศาลปกครองชั้นต้น" และ "ศาลปกครองสูงสุด"

  • ศาลปกครองชั้นต้น โดยมี สำนักงานศาลปกครองกลาง และสำนักงานศาลปกครองในภูมิภาค ทำหน้าที่รับผิดชอบในงานธุรการศาลและงานอื่นๆ ตามมาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
    • 1. ศาลปกครองกลาง เปิดทำการวันที่  9 มีนาคม 2544 : เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ : 0 2141 1111 , Call Center ศาลปกครอง 1355 โดยมีเขตอำนาจตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร  รวมทั้งจังหวัดที่มิได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองในภูมิภาค คือ จังหวัดนครนายก และจังหวัดสระบุรี
    • 2. ศาลปกครองเชียงใหม่ เปิดทำการวันที่  30 กรกฎาคม 2544  : เลขที่ 333 ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก (ในบริเวณศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่) อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50300 โทรศัพท์ : 0 5310 7999 โทรสาร : 0 5310 7336-8 โดยมีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่
    • 3. ศาลปกครองสงขลา เปิดทำการวันที่  31 สิงหาคม 2544 เลขที่ 1111 หมู่ 2 ถนนสงขลา-เกาะยอ ตำบลพะวง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 90100 โทรศัพท์ : 0 7433 4945-8   โทรสาร : 0 7433 4931โดยมีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดสงขลา จังหวัดตรัง จังหวัดพัทลุง จังหวัดสตูล
    • 4. ศาลปกครองนครราชสีมา เปิดทำการวันที่  3 ตุลาคม 2544 : เลขที่ 345 หมู่ 6 ถนนมิตรภาพ (เลี่ยงเมือง) ตำบลหนองกระทุ่ม อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000 โทรศัพท์ 0 4430 7300-2   โทรสาร 0 4430 7300-2 ต่อ 1122 โดยมีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์
    • 5. ศาลปกครองขอนแก่น เปิดทำการวันที่  30 เมษายน 2545 : เลขที่ 333 หมู่ที่ 2 ถนนเหล่านาดี ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000 โทรศัพท์ : 0 4325 8681-2  โทรสาร : 0 4325 8660 โดยมีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดขอนแก่น จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดมหาสารคาม และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดมุกดาหาร
    • 6. ศาลปกครองพิษณุโลก เปิดทำการวันที่  1 ตุลาคม 2545 : เลขที่ 111 หมู่ที่ 8 ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ตำบลท่าทอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ : 0 5590 9550-9   โทรสาร : 0 5590 9560 โดยมีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดตาก จังหวัดพิจิตร จังหวัดสุโขทัย และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดอุตรดิตถ์
    • 7. ศาลปกครองระยอง เปิดทำการวันที่  28 มกราคม 2546 : เลขที่ 777 ถนนสุขุมวิท ตำบลเนินพระ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 21150 โทรศัพท์ : 0 3869 4513-30   โทรสาร : 0 3869 4511-12 โดยมีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว
    • 8. ศาลปกครองนครศรีธรรมราช เปิดทำการวันที่  15 สิงหาคม 2546 : อาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ นครศรีธรรมราช เลขที่ 345 ถนนพัฒนาการคูขวาง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000 โทรศัพท์ : 0 75355130 - 5  โทรสาร : 0 75355136 - 9 โดยมีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดชุมพร  
    • 9. ศาลปกครองอุดรธานี เปิดทำการวันที่  24 กันยายน 2553 : เลขที่ 999 หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านขาว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000 โทรศัพท์ : 0 4223 0664-6 โทรสาร : 0 4223 0627โดยมีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดอุดรธานี จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู  และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดนครพนม จังหวัดบึงกาฬ และจังหวัดสกลนคร
    • 10. ศาลปกครองอุบลราชธานี เปิดทำการวันที่  1 เมษายน 2554 : เลขที่ 444 หมู่ 3 ถนนแจ้งสนิท (กิโลเมตรที่ 9) ตำบลแจระแม อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 34000 โทรศัพท์ : 0 4531 9600-04 โทรสาร: 0 4531 9600-4 ต่อ 119โดยมีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดศรีสะเกษ  และจังหวัดอำนาจเจริญ
    • 11. ศาลปกครองเพชรบุรี เปิดทำการวันที่  19 มกราคม 2558 : เลขที่ 980/98 ถนนเพชรเกษม ตําบลชะอํา อําเภอชะอํา จังหวัดเพชรบุรี 76120 โทรศัพท์ : 0 3270 9400 โทรสาร : 0 3270 9444 โดยมีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสมุทรสงคราม
    • 12. ศาลปกครองนครสวรรค์ : เลขที่ 9/9 หมู่ที่ 7 ตำบลกลางแดด อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 60000 โทรศัพท์ : 0 5621 9234  โทรสาร : 0 5621 9244 เปิดทำการวันที่  17 พฤษภาคม 2559 โดยมีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดชัยนาท จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดอุทัยธานี และมีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดลพบุรี
    • 13. ศาลปกครองสุพรรณบุรี : เลขที่ 333 หมู่ที่ 6 ตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี 72000 หมายเลขโทรศัพท์ 0 3543 2333 เปิดทำการวันที่  1 ตุลาคม 2561โดยมีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสิงห์บุรี  และจังหวัดอ่างทอง  
    • 14. ศาลปกครองภูเก็ต เปิดทำการวันที่ 1 ตุลาคม 2561 : เลขที่ 33/3 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 83110 หมายเลขโทรศัพท์  0 7639 7400โดยมีเขตอำนาจท้องที่จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา และจังหวัดระนอง
    • 15. ศาลปกครองยะลา เปิดทำการวันที่ 18 มกราคม 2562 : เลขที่ 199 หมู่ 1 ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา 95000 หมายเลขโทรศัพท์ 0 7336 2462 โดยมีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส
  • ศาลปกครองสูงสุด เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง คือ (1) คดีพิพาทเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทตามที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดประกาศกำหนด  (2) คดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี  (3) คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุด (4) คดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น หรือมีกฎหมายเฉพาะให้ผู้มีสิทธิฟ้องคดียื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด เช่นโดยตรง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ.ฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553

รายนามประธานศาลปกครองสูงสุดของไทย

[แก้]
  1. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.อักขราทร จุฬารัตน (21 ตุลาคม พ.ศ. 2543 – 30 กันยายน พ.ศ. 2553[5])
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 23 กันยายน พ.ศ. 2558[6])
  3. ดร.ปิยะ ปะตังทา (31 มีนาคม พ.ศ. 2559 – 27 กันยายน พ.ศ. 2564[7])
  4. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชาญชัย แสวงศักดิ์ (27 กันยายน พ.ศ. 2564 – 30 กันยายน พ.ศ. 2565[8])
  5. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – 30 กันยายน 2567[9])
  6. ประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน[10])

รายนามตุลาการศาลปกครองสูงสุดของไทย

[แก้]

รายนามทั้งหมดมีผล 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567[11]

  1. สมเกียรติ บุตรดี
  2. พินิจ มั่นสัมฤทธิ์
  3. สมมาศ รัฐพิทักษ์สันติ
  4. เกียรติภูมิ แสงศศิธร
  5. วิชัย พจนโพธา
  6. สายทิพย์ สุคติพันธ์
  7. อภิรัฐ ปานเทพอินทร์
  8. เมธี ชัยสิทธิ์
  9. ชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว
  10. สิทธานต์ สิทธิสุข
  11. อาทร คุระวรรณ
  12. อุดมศักดิ์ อังศุพิสิฐ
  13. ประพันธ์ คล้ายสุบรรณ
  14. วุฒิชัย ไทยเจริญ
  15. พรทิภา ไสวสุวรรณวงศ์
  16. เชิดชู รักตะบุตร
  17. บุญเสริม นาคสาร
  18. สมฤทธิ์ ชัยวงค์

รายนามตุลาการศาลปกครองชั้นต้นของไทย

[แก้]

มีรายนาม[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒, เล่ม 116 ตอนที่ 94 ก, หน้า 1, 10 ตุลาคม 2542
  2. 2.0 2.1 ราชกิจจกานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๑๐๑, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  3. 3.0 3.1 ศาลปกครอง, รายงานประจำปี 2566 ศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครอง, สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2567
  4. https://www.admincourt.go.th/admincourt/site/01area.html
  5. ประกาศ แต่งตั้งประธานศาลปกครองสูงสุด
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ตุลาการศาลปกครองพ้นจากตำแหน่ง
  7. ประกาศ แต่งตั้งประธานศาลปกครองสูงสุด
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานศาลปกครองสูงสุด
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานศาลปกครองสูงสุด
  10. "โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 'ประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ' เป็นประธานศาลปกครองสูงสุด". ไทยโพสต์. 28 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2024.
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งตุลาการศาลปกครองสูงสุด
  12. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตุลาการศาลปกครองชั้นต้น https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/51444.pdf

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]