อำเภอบ้านแพรก
อำเภอบ้านแพรก | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Ban Phraek |
คำขวัญ: หลวงพ่อเขียว หลวงพ่อขาว หลวงพ่อเภาคู่บ้าน พัดสานคู่เมือง พิพิธภัณฑ์ลือเลื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม เลิศล้ำหัตถศิลป์ แผ่นดินลิเก | |
แผนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เน้นอำเภอบ้านแพรก | |
พิกัด: 14°38′52″N 100°34′57″E / 14.64778°N 100.58250°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | พระนครศรีอยุธยา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 39.87 ตร.กม. (15.39 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 8,684 คน |
• ความหนาแน่น | 217.81 คน/ตร.กม. (564.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 13240 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1416 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอบ้านแพรก เลขที่ 333 หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านแพรก อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13240 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
บ้านแพรก เป็นอำเภอหนึ่งในสิบหกอำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมเป็นเขตท้องที่ของอำเภอมหาราชทั้งหมด ก่อนที่จะขอจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอโดยการปกครองบางส่วนออกจากอำเภอมหาราชในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2481[1] และยกฐานะเป็นอำเภอในวันที่ 10 มกราคม 2502[2] รวมระยะเวลาการเป็นกิ่งอำเภอ 20 ปี
ประวัติ
[แก้]อำเภอบ้านแพรก คำว่า "แพรก" มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 ว่า ชื่อเรียกหญ้าชนิดหนึ่ง ต้นเป็นฝอย ใช้เป็นเครื่องสักการะห้า และอีกนัยหนึ่งคือทางแยกของน้ำ มีที่มาของชื่อจากทางแยกของแม่น้ำที่เปลี่ยนทางเดินคือแม่น้ำลพบุรีสายเก่ากับคลองตาเมฆ เรื่องเล่าว่าตาเมฆเป็นชาวสุพรรณบุรี มารับราชการในกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับบิดามีหน้าที่ดูแลช้างหลวง ตาเมฆได้นำโขลงช้างมามาพักเลี้ยงอยู่ริมแม่น้ำลพบุรี โขลงช้างเดินขึ้นลงในแม่น้ำลพบุรีเกิดเป็นลำรางกลายเป็นคลอง จึงได้ชื่อว่า "คลองตาเมฆ"
- วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2481 ได้แยกพื้นที่ตำบลบ้านแพรก ตำบลคลองน้อย ตำบลโพลาว และตำบลสำพะเนียง จากอำเภอมหาราช ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอบ้านแพรก[1] ขึ้นกับอำเภอมหาราช
- วันที่ 30 กรกฎาคม 2483 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลโพลาว กิ่งอำเภอบ้านแพรก อำเภอมหาราช เป็น ตำบลบ้านโพ[3]
- วันที่ 28 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านแพรก ในท้องที่บางส่วนของตำบลบ้านแพรก[4]
- วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลคลองน้อย ในท้องที่ตำบลคลองน้อย กิ่งอำเภอบ้านแพรก อำเภอมหาราช[5]
- วันที่ 10 มกราคม 2502 ยกฐานะกิ่งอำเภอบ้านแพรก อำเภอมหาราช เป็น อำเภอบ้านแพรก[2]
- วันที่ 14 สิงหาคม 2505 ตั้งตำบลสองห้อง แยกออกจากตำบลคลองน้อย[6]
- วันที่ 17 สิงหาคม 2514 ตั้งตำบลบ้านใหม่ แยกออกจากตำบลบ้านแพรก[7]
- วันที่ 24 สิงหาคม 2516 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลคลองน้อย อำเภอบ้านแพรก เป็นสภาตำบลคลองน้อย[8]
- วันที่ 25 ธันวาคม 2539 ยกฐานะสภาตำบลสำพะเนียง สภาตำบลคลองน้อย เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสำพะเนียง และองค์การบริหารส่วนตำบลคลองน้อย[9] ตามลำดับ
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบ้านแพรก เป็นเทศบาลตำบลบ้านแพรก[10] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ยุบสภาตำบลบ้านแพรก กับสภาตำบลบ้านใหม่ รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลสำพะเนียง และยุบสภาตำบลสองห้อง รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลคลองน้อย[11]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอบ้านแพรกตั้งอยู่ทางเหนือสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองลพบุรี (จังหวัดลพบุรี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอดอนพุด (จังหวัดสระบุรี)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอมหาราช
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอไชโย (จังหวัดอ่างทอง)
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอบ้านแพรกแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 5 ตำบล 27 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | บ้านแพรก | (Ban Phraek) | 5 หมู่บ้าน | 5. | สองห้อง | (Song Hong) | 5 หมู่บ้าน | ||||||||||||
2. | บ้านใหม่ | (Ban Mai) | 5 หมู่บ้าน | ||||||||||||||||
3. | สำพะเนียง | (Sam Phaniang) | 6 หมู่บ้าน | ||||||||||||||||
4. | คลองน้อย | (Khlong Noi) | 6 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอบ้านแพรกประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบ้านแพรก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแพรก เฉพาะหมู่ที่ 1 และบางส่วนของหมู่ที่ 2–4; และตำบลสำพะเนียง เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1–2
- องค์การบริหารส่วนตำบลสำพะเนียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ทั้งตำบล; ตำบลบ้านแพรก เฉพาะหมู่ที่ 5 และบางส่วนของหมู่ที่ 2–4; และตำบลสำพะเนียง เฉพาะหมู่ที่ 3–6 และบางส่วนของหมู่ที่ 1–2
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองน้อยและตำบลสองห้องทั้งตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอบ้านแพรก ขึ้นอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3879. February 20, 1938.
- ↑ 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอชุมพวง อำเภอเชียงยืน อำเภอแก้งคร้อ อำเภอสำโรงทาบ อำเภอคอนสาร อำเภอเซกา อำเภอทุ่งเสลี่ยม อำเภอบ้านด่าน อำเภอขนอม อำเภอบ้านแพรก อำเภอกระทู้ และอำเภอคลองใหญ่ พ.ศ. ๒๕๐๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (113 ก): (ฉบับพิเศษ) 8-11. January 10, 1959. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2021-06-08.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอและตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ก): 263–267. July 30, 1940. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2021-06-08.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านแพรก กิ่งอำเภอบ้านแพรก อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 45-46. November 28, 1956.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล [จำนวน ๕๙ แห่ง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-6. March 1, 1958.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (73 ง): 1744–1746. August 14, 1961.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (87 ง): 2212–2214. August 17, 1971.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-72. August 24, 1973.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. January 30, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-06-08.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-06-08.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). July 1, 2004: 1–3.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ข้อมูลตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจากเว็บไซต์ ThaiTambon.com เก็บถาวร 2011-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- อยุธยา