อำเภอเสริมงาม
อำเภอเสริมงาม | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Soem Ngam |
คำขวัญ: ศูนย์ศิลปาชีพบ้านแม่ต๋ำ เลิศล้ำถ้ำผากาน คู่บ้านวัดนางอย งามชดช้อยผ้าทอ เพียงพอเกษตรกรรม น้ำใจงามคนเมืองเสริม | |
แผนที่จังหวัดลำปาง เน้นอำเภอเสริมงาม | |
พิกัด: 18°3′55″N 99°14′50″E / 18.06528°N 99.24722°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ลำปาง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 631.727 ตร.กม. (243.911 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 30,340 คน |
• ความหนาแน่น | 48.03 คน/ตร.กม. (124.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 52210 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5204 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเสริมงาม เลขที่ 94 หมู่ที่ 11 ตำบลทุ่งงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง 52210 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
เสริมงาม (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นหนึ่งในอำเภอของจังหวัดลำปาง
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอเสริมงามตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอแม่ทา (จังหวัดลำพูน) และอำเภอห้างฉัตร
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอห้างฉัตรและอำเภอเกาะคา
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสบปราบ อำเภอเถิน และอำเภอทุ่งหัวช้าง (จังหวัดลำพูน)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอทุ่งหัวช้าง (จังหวัดลำพูน)
ลักษณะภูมิประเทศ
[แก้]สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาประมาณ ร้อยละ 50 พื้นที่ดินดอนประมาณ ร้อยละ 20 พื้นที่ภูเขาและที่ดินดังกล่าวส่วนใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณทางทิศตะวันตกของอำเภอในเขตตำบลเสริมขวา และบริเวณตอนกลางค่อนไปทางทิศใต้ของอำเภอ มีกลุ่มดินตื้นประมาณร้อยละ 23 ในพื้นที่ทางทิศตะวันออกและบริเวณตอนกลางของอำเภอ มีกลุ่มดินนา ประมาณร้อยละ 7 การคมนาคม อำเภอเสริมงามสามารถติดต่อระหว่างจังหวัด-อำเภอ โดยอาศัยทางหลวง หมายเลข 1274 สายเกาะคา-ลี้
ประวัติ
[แก้]เมื่อสมัยโบราณเมืองเสริมแห่งนี้ได้มีชนชาติหนึ่งอาศัยเรียกว่า “ลั๊วะ” ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองเสริมแห่งนี้มาก่อน มีจำนวนประชากรไม่มากนัก แต่บางกระแสก็กล่าวว่าความจริงในเมืองเสริมแห่งนี้ได้มีพวกชาวยองหรือชาวลื้อได้ตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้มาก่อน (จึงไม่ทราบแน่ชัดว่าคนทั้งสองกลุ่มนี้ใครอยู่ก่อนกันแน่) ต่อมาได้มี “คนไต” หรือ “คนไทย” ได้อพยพมาจากแคว้นหนองแส ได้แก่ เมืองยู เมืองยอง ตอนใต้ของประเทศ จีน ซึ่งถูกพวกจีนรุกราน ได้อพยพถอยร่นมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตเมืองเสริมแห่งนี้เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ จนกลืนผู้อาศัยอยู่ก่อน คือพวกชนชาติลั๊วะ และชาวยองหายสาบสูญไปในที่สุด เมื่อมีพลเมืองเพิ่มมากขึ้น จึงได้เกิดมีผู้นำ เป็นเจ้าพระยาปกครองเมือง เมื่อมี เจ้าเมืองปกครองแล้วจึงได้ช่วยกันสร้างเมืองเล็ก ๆ ขึ้นเมืองหนึ่ง เรียกว่า “เมืองเสริม” ตามสภาพแวดล้อมของภูมิประเทศที่ตั้งอยู่บนแม่น้ำแม่เสริมนั่นเอง พระยาเจ้าเมืองท่านแรกชื่อเสียงอย่างไรไม่ปรากฏ ต่อมาบ้านเมืองได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดขึ้นส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร ได้เปลี่ยนแปลงปรับปรุงการปกครองขึ้นใหม่ ส่วนกลางเป็นกระทรวง กรม กอง ส่วนท้องถิ่นเป็นมณฑล เป็นเมือง เป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ออกเป็นสัดส่วนเหมาะสม เพื่อสะดวกต่อการปกครองบ้านเมืองยิ่งขึ้น เมืองเสริมซึ่งเป็นเมืองขนาดเล็ก ทางราชการเห็นควรที่จะจัดตั้งเป็นตำบลตามพระราชบัญญัติการปกครองใหม่โดยส่งเจ้าหน้าที่ระดับเมืองนครลำปาง กับเจ้าหน้าที่อำเภอเกาะคาสมัยนั้นออกมาสำรวจแบ่งเขตพื้นที่เมืองเสริมเป็นตำบล ครั้งหนึ่งคณะเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด ระดับอำเภอเกาะคา ได้ออกเดินทางมาพักค้างแรมอยู่ที่วัด ทุ่งงามหลวง เพื่อสำรวจอาณาเขตเมืองเสริมและจัดแบ่งตำบล ณ วัดทุ่งงามหลวง หลังจากคณะได้ออกสำรวจพื้นที่แล้ว ได้กลับมาปรึกษากันและได้สรุปว่า ในเมืองเสริมแห่งนี้มีแม่น้ำสายเล็ก ๆ 4 สาย ไหล่ผ่านพื้นที่ ได้แก่ น้ำแม่เลียง น้ำแม่เสริม น้ำแม่ลา และน้ำแม่ต๋ำ ไหลมาบรรจบกันที่เขตบ้านทุ่งงามติดกับหมู่บ้านใกล้เคียง เช่น น้ำแม่เสริมมาบรรจบกับน้ำแม่ต๋ำ ตรงเขตบ้านสบเสริมกับบ้านทุ่งงามหลวง และมาบรรจบน้ำแม่เลียง ณ เขตบ้านทุ่งงามพัฒนา กับบ้านนาบอน เราเรียกตรงนั้นว่าสบเลียง และได้ไหลไปผ่านบ้านแม่ต๋ำใต้ไหลไปบรรจบกับน้ำแม่วังที่บ้านสบต๋ำ ตำบลนาแส่ง อำเภอเกาะคา ในช่วงนี้เราเรียกน้ำแม่ต๋ำตลอดสาย แม่น้ำ 4 สาย ในเขตเมืองเสริมจะมีน้ำแม่เสริมอยู่ตรงกลาง ตามปกติในการแบ่งเขตการปกครองท้องที่จึงได้อาศัยน้ำแม่เสริมเป็นหลักในการจัดตั้งแบ่งเขตตำบล ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2513 ทางการมีความประสงค์ให้อำเภอต่าง ๆ ที่มีท้องที่กว้างขวางและมีเขตตำบลอยู่ห่างไกลจากที่ตั้งของอำเภอ หาทางขยับขยายตั้งเป็นกิ่งอำเภอ ประกอบกับเมืองเสริมมีอัตราการเพิ่มของประชากรมากขึ้น รายได้ของประชาชนเพิ่มมากขึ้น เพื่อความสะดวกในการปกครอง จึงเห็นสมควรให้จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอใหม่ได้ ดังนั้นทางคณะข้าราชการอำเภอเกาะคา จึงได้นำคณะกรรมการอำเภอออกประชุม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการครูในพื้นที่ ณ ตำบล ทุ่งงาม และได้แจ้งวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกิ่งอำเภอขึ้นที่เมืองเสริมแห่งนี้ สร้างความปิติยินดีเป็นอย่างมากให้กับสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมในวันนั้นแล้วให้มีการกำหนดชื่อกิ่งอำเภอ โดยสมาชิกในที่ประชุมได้เสนอชื่อกิ่งอำเภอเพื่อร่วมกันพิจารณาคัดเลือกหลายชื่อ ในที่ประชุมแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระในที่สุดก็ได้ข้อสรุปว่าให้นำเอาคำว่า “เสริม” ซึ่งเป็นคำนำหน้าชื่อตำบลเสริมซ้าย และ ตำบลเสริมขวา มารวมกันกับคำว่า “งาม” ที่เป็นคำลงท้ายของตำบลทุ่งงาม เป็นชื่อ “กิ่งอำเภอเสริมงาม” เมื่อได้ชื่อกิ่งอำเภอแล้ว ก็ได้พิจารณาเลือกสถานที่ตั้งกิ่งอำเภอต่อเนื่องกันในเวลานั้นเลยได้มีผู้เสนอสถานที่จะตั้งกิ่งหลายแห่งด้วยกัน ในที่สุดมีมติที่ประชุมออกมา ให้เลือกเอาสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางของพื้นที่สามตำบลเป็นสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเสริมงาม ก็คือที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเสริมงามตั้งอยู่ปัจจุบันนั่นเอง ต่อมาได้จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอเสริมงาม อำเภอเกาะคา เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2460 และได้ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเสริมงามเป็นอำเภอเสริมงามเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2518[1]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอเสริมงามแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 42 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ | ชื่อตำบล | ตัวเมือง | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนครัวเรือน | จำนวนประชากร[2] |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | ทุ่งงาม | Thung Ngam | 11 หมู่บ้านประกอบด้วย 1. บ้านแม่กี๊ด 2. บ้านนาบอน 3. บ้านทุ่งงาม4. บ้านมั่ว 5. บ้านสาแล
6. บ้านดอนแก้ว 7. บ้านใหม่ 8. บ้านดอนงาม 9. บ้านห้วยส้ม 10. บ้านแม่ต๋ำใต้ 11. บ้านทุ่งงามพัฒนา |
2,596 | 8,211 | |
2. | เสริมขวา | Soem Khwa | 12 หมู่บ้าน ประกอบด้วย 1. บ้านปงหลวง 2. บ้านปงแพ่ง 3. บ้านปงป่าป๋อ 4. บ้านทุ่งไผ่ 5. บ้านแม่ผึ้ง
6. บ้านแม่เลียงพัฒนา7. บ้านแม่เลียง 8. บ้านปงหัวทุ่ง 9. บ้านปงแล้ง 10. บ้านแม่ห้อม 11. บ้านปงประดู่ 12. บ้านห้วยหลวง |
2,257 | 7,344 | |
3. | เสริมซ้าย | Soem Sai | 10 หมู่บ้าน ประกอบด้วย 1. บ้านแม่ต๋ำ 2. บ้านสบแม่ทำ 3. บ้านนาจะลา
4. บ้านนาไผ่ 5. บ้านท่าโป่ง 6. บ้านนาเดา 7. บ้านน้ำหลง 8. บ้านนาสันติสุข 9. บ้านดงหนอกจอก 10. บ้านนางอย |
2,527 | 8,347 | |
4. | เสริมกลาง | Soem Klang | 9 หมู่บ้าน ประกอบด้วย 1. บ้านโป่งน้ำร้อน 2. บ้านกิ่วห้วยเบิก 3. บ้านสันโป่ง
4. บ้านเหล่ายาว 5. บ้านศรีลังกา 6. บ้านฮ่องฮี 7. บ้านนาเอี้ยง 8. บ้านทุ่งต๋ำ 9. บ้านสบเสริม |
2,338 | 8,366 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอเสริมงามประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลเสริมงาม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลทุ่งงาม ตำบลเสริมซ้าย และตำบลเสริมกลาง
- เทศบาลตำบลทุ่งงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งงาม (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเสริมงาม)
- เทศบาลตำบลเสริมซ้าย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสริมซ้าย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเสริมงาม)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเสริมขวา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสริมขวาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเสริมกลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสริมกลาง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเสริมงาม)
สถานที่สำคัญ
[แก้]- วัดหลวงนางอย[3]
- โครงการศูนย์ศิลปาชีพในพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ [4]
- ถ้ำผากาน[5]
- น้ำตกแม่แฮด[6]
- น้ำตกแม่ห้อม[7]
สถานศึกษา
[แก้]- โรงเรียนเสริมงามวิทยาคม[8]
- โรงเรียนอนุบาลเสริมงาม
- โรงเรียนเสริมซ้ายวิทยา
- โรงเรียนเสริมขวาวิทยา
- โรงเรียนศรีลังกาวิทยา
- โรงเรียนสันโป่งวิทยา
เหตุการณ์สำคัญ
[แก้]- พายุลูกเห็บตกที่ตำบลเสริมซ้ายเสียหายมากกว่า 800 หลังคาเรือน [9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2518/A/166/1.PDF เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน พระราชกฤษฎีกา
- ↑ จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดลำปาง ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ http://www.m-culture.in.th/album/128997/วัดหลวงนางอย
- ↑ http://hmq.dss.go.th/โครงการศูนย์ศิลปาชีพในพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์[ลิงก์เสีย] พระบรมราชินีนาถ
- ↑ https://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:http://lampang.dnp.go.th/Web%2520Doijong%2520Park/doijong6.php/ถ้ำผากาน
- ↑ https://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:http://lampang.dnp.go.th/Web%2520Doijong%2520Park/doijong6.php/น้ำตกแม่แฮด
- ↑ http://info.dla.go.th/public/travel.do?cmd=goDetail&id=400862&random=1452097295031/น้ำตกแม่ห้อม[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.swt.ac.th/เว็บไซต์โรงเรียนเสริมงามวิทยาคม[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.thairath.co.th/content/region/324520