ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอสทิงพระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอสทิงพระ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Sathing Phra
วัดจะทิ้งพระ
คำขวัญ: 
เมืองเก่าสองทะเล มนต์เสน่ห์นกน้ำ งามหาดมหาราช พระไสยาสน์ค่าล้น ผลิตผลต้นตาล ตำนานหลวงปู่ทวด
แผนที่จังหวัดสงขลา เน้นอำเภอสทิงพระ
แผนที่จังหวัดสงขลา เน้นอำเภอสทิงพระ
พิกัด: 7°28′N 100°26′E / 7.467°N 100.433°E / 7.467; 100.433
ประเทศ ไทย
จังหวัดสงขลา
พื้นที่
 • ทั้งหมด120 ตร.กม. (50 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด47,759 คน
 • ความหนาแน่น397.98 คน/ตร.กม. (1,030.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 90190
รหัสภูมิศาสตร์9002
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอสทิงพระ 60 หมู่ที่ 4 ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา 90190
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สทิงพระ เป็นอำเภอในจังหวัดสงขลา

วัดบ่อดานตก

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอสทิงพระ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

หาดมหาราช

ประวัติ

[แก้]

แคว้นสทิงพระ หรือ เกาะสทิงพระ เกิดขึ้นบริเวณรอบทะเลสาบสงขลา ตั้งแต่อำเภอหัวไทรลงมา ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดในเขตจังหวัดสงขลาและพัทลุงบริเวณที่เป็นศูนย์กลางของแคว้น คือบริเวณที่เรียกว่า "แผ่นดินบก" เริ่มตั้งแต่บ้านระโนด ผ่านอำเภอสทิงพระ มายังหัวเขาแดง อำเภอเมืองสงขลา เป็นแหล่งอยู่อาศัยของชนชาวบก ซึ่งเป็นชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์ในสมัยศรีวิชัย เกิดเป็นท่าเรือหลายแห่งทำให้ต่อมามีการสร้างบ้านแปลงเมืองเกิดขึ้นโดยมี เมืองสทิงพระเป็นเมืองท่าและเป็นศูนย์กลางของบ้านและเมืองในท้องถิ่น โดยมีศาสนสถานทั้งพราหมณ์และพุทธอยู่มากมายตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง      

เกาะสทิงพระ มีความสำคัญอีกครั้งหนึ่ง คือ มีพ่อค้าชาวอาหรับสร้างเมืองขึ้น ณ บริเวณหัวเขาแดง เป็นเมืองท่าที่เรียกกันว่า "เมืองสงขลา" แล้วตั้งตัวเป็นอิสระ แต่ถูกปราบได้ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นับแต่นั้นมาบรรดาบ้านเมืองบนเกาะนี้ก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองและดูแลของเมืองพัทลุง ที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบสงขลา การทับถมของโคลนทรายและตะกอน โดยการกระทำของคลื่นลม ทำให้แผ่นดินงอกเพิ่มออกไปเปลี่ยนสภาพเกาะให้กลายเป็นคาบสมุทร ที่เรียกกันว่า คาบสมุทรสทิงพระ

ปี พ.ศ. 2437 มีฐานะเป็นอำเภอชื่อ "ปละท่า" มีอาณาเขตครอบคลุมถึงระโนด พ.ศ. 2460 จึงเปลี่ยนชื่ออำเภอปละท่าเสียเป็น "อำเภอจะทิ้งพระ"[1] พร้อมกับยุบเมืองระโนด ตั้งเป็นกิ่งอำเภอระโนด และให้ขึ้นกับอำเภอจะทิ้งพระ ต่อมามีการโอนพื้นที่ตำบลตะเครียะ อำเภอทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง[2][3] และปี พ.ศ. 2464 โอนพื้นที่ตำบลคลองแดน อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช[4] รวม 2 ตำบล มาขึ้นกิ่งอำเภอระโนด อำเภอจะทิ้งพระ และปรับเปลี่ยนพื้นที่โดยโอนพื้นที่ตำบลชะแล้ ตำบลรำแดง ตำบลบางเขียด ตำบลมะม่วงพุ่ม และตำบลมะม่วงงาม ของอำเภอจะทิ้งหม้อ ไปขึ้นอำเภอเมืองสงขลา[4] และโอนพื้นที่ตำบลเกาะใหญ่ ตำบลเชิงแส ตำบลบ่อตรุ และตำบลวัดสน ของอำเภอจะทิ้งหม้อ ไปขึ้นกิ่งอำเภอระโนด[4]

ก่อนที่ปี พ.ศ. 2466 กรมหลวงลพบุรีราเมศร อุปราชปักษ์ใต้เห็นว่าการคมนาคมไม่สะดวก จึงยุบอำเภอจะทิ้งพระ เป็นกิ่งอำเภอขึ้นกับอำเภอเมืองสงขลา ส่วนกิ่งอำเภอระโนดเดิมที่ขึ้นอำเภอจะทิ้งพระ ให้ยกฐานะเป็น อำเภอระโนด[5] กิ่งอำเภอจึงร่นอาณาเขตทิศเหนือมาอยู่ที่ตำบลชุมพลและทิศใต้อยู่ที่ตำบลวัดจันทร์

ปี พ.ศ. 2490 จึงยกฐานะเป็น อำเภอจะทิ้งพระ[6] พร้อมกับจัดตั้งตำบลอีก 3 ตำบล ได้แก่ แยกพื้นที่ตำบลชุมพลและตำบลสนามชัย ตั้งเป็น ตำบลดีหลวง กับแยกพื้นที่ตำบลสนามชัยและตำบลจะทิ้งพระ ตั้งเป็น ตำบลกระดังงา กับแยกพื้นที่ตำบลบ่อดานและตำบลวัดจันทร์ ตั้งเป็น ตำบลบ่อแดง[7] ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2504 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่อจาก "จะทิ้งพระ" เป็น "อำเภอสทิงพระ"[8] จนถึงปัจจุบัน

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

ขุนพิสัณศิลปกิจ สันนิษฐานว่า ชื่อ "สทิงพระ" มาจากภาษามลายูคำว่า จันดีบารัต (มลายู: Candi Barat) แปลว่า "เจดีย์ตะวันออก"[9]

ม.ศรีบุษรา สันนิษฐานว่า ชื่อ "สทิงพระ" มาจากภาษาเขมรคำว่า สตึงเปรียะฮ์ (เขมร: ស្ទឹងព្រះ) แปลว่า "คลองพระ"[9] สอดคล้องกับจิตร ภูมิศักดิ์ ที่อธิบายว่ามาจากคำเขมรโบราณ ฉทิงพระ แปลว่า "แม่น้ำพระ (พุทธรูป), คลองพระ (พุทธรูป)"[10]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอสทิงพระแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11 ตำบล 79 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอสทิงพระประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลสทิงพระ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลจะทิ้งพระ
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจะทิ้งพระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจะทิ้งพระ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลสทิงพระ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระดังงาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสนามชัยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดีหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดีหลวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชุมพล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชุมพลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองรีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคูขุด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคูขุดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าหินทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดจันทร์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อแดงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อดาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อดานทั้งตำบล

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460
  2. "ประกาศกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เรื่อง งดเก็บเงินอากรค่านาตำบลต่าง ๆ ท้องที่อำเภอปากพยูน จังหวัดพัทลุง จำนวน พระพุทธศักราช ๒๔๕๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 83–84. วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2460
  3. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง สร้างถนนตั้งแต่ที่ว่าการอำเภอทะเลน้อย ที่สร้างใหม่จนถึงริมทะเลน้อย เมืองนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 (0 ง): 1620. วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2452
  4. 4.0 4.1 4.2 "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 464–480. วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464
  5. "ประกาศ เรื่อง จัดเปลี่ยนแปลงท้องที่ในเขตมณฑลนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (0 ก): 110–111. วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2466
  6. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกฐานะกิ่งอำเภอขึ้นเป็นอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (50 ง): 2661–2662. วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2490
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  8. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอและตำบลบางแห่ง พ.ศ. ๒๕๐๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (33 ก): 382–385. วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2504
  9. 9.0 9.1 ม. ศรีบุษรา (21 เมษายน 2565). "เปิดข้อสันนิษฐาน คำ "เขมร" ในชื่อบ้านนามเมืองแดน "ปักษ์ใต้"". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "จะทิ้งพระ-สทิงพระ ชื่อบ้านนามเมืองภาษาเขมรเมืองใต้". คมชัดลึก. 17 กุมภาพันธ์ 2557. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)