อำเภอบางระกำ
อำเภอบางระกำ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Bang Rakam |
คำขวัญ: หลวงพ่ออินทร์ล้ำค่า ยอดน้ำปลา ปลาสร้อย สุนัขน้อยพันธุ์บางแก้ว | |
แผนที่จังหวัดพิษณุโลก เน้นอำเภอบางระกำ | |
พิกัด: 16°45′30″N 100°7′5″E / 16.75833°N 100.11806°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | พิษณุโลก |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 936.04 ตร.กม. (361.41 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 92,758 คน |
• ความหนาแน่น | 99.10 คน/ตร.กม. (256.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 65140, 65240 (เฉพาะตำบลคุยม่วงและชุมแสงสงคราม) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 6504 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอบางระกำ หมู่ที่ 7 ตำบลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก 65140 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
บางระกำ เป็น 1 ใน 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก เป็นอำเภอที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของจังหวัด เดิมชื่อ ชุมแสง ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น บางระกำ จนถึงปัจจุบัน[1]
ประวัติ
[แก้]บางระกำเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลกมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ (ระหว่าง พ.ศ. 1999 - ไม่ปรากฏ) เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงมาผนวชอยู่ที่วัดจุฬามณีในปี พ.ศ. 2007 ได้มีชุมชนหนึ่งอาศัยอยู่ตามเรือนแพลำแม่น้ำยม ประกอบอาชีพทางการประมง ซึ่งคาดว่าจะเป็นประชากรรุ่นแรกที่มาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอบางระกำ
หลักฐานที่ค่อนข้างชัดเจนเริ่มปรากฏให้เห็นในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งครองกรุงศรีอยุธยาระหว่าง พ.ศ. 2112 - 2133 ในขณะนั้นประเทศไทยอยู่ในภาวะสงครามกับประเทศพม่า จึงปรากฏชื่อสถานที่ต่างๆตามที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สงคราม เช่น แหล่งผลิตและรวบรวมศาสตราวุธเพื่อเตรียมการรบกับพม่า จึงเรียกสถานที่แห่งนั้นว่า "ชุมแสงสงคราม"
"อำเภอชุมแสง" ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2449 โดยมีขุนเผด็จประชาดุลย์ เป็นนายอำเภอคนแรก ภายหลังได้ย้ายสถานที่ตั้งอำเภอใหม่ โดยได้ย้ายมาตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยม ที่ตำบลบางระกำ มีลักษณะเป็นเรือนแพ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "แพหลวง" ตั้งอยู่เหนือศาลเจ้าพ่อดาบทอง แต่เมื่อถึงในฤดูน้ำหลากน้ำจะเอ่อล้นท้วมตลิ่ง ทำให้ราษฎรซึ่งต้องใช้เรือในการสัญจรไปมา ทำให้ลำบากในการติดต่อราชการ
นายอำเภอสมัยนั้นได้พิจารณาเห็นว่าควรย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งอยู่บนพื้นที่เนิน ที่บ้านท่าโก ตำบลบางระกำ ซึ่งห่างจากที่ว่าการอำเภอปัจจุบัน 4 กิโลเมตร เพื่ออำนวยความสะดวกให้ราษฎรในการเดินทางมาติดต่อกับทางราชการ แต่ปรากฏว่าราษฎรต้องได้รับความเดือดร้อนมากยิ่งขึ้น เพราะไม่มีถนน ประกอบกับมีบ้านเรือนคนอาศัยอยู่เป็นจำนวนน้อย และสัตว์ป่าดุร้ายชุกชุม ราษฎรต้องเดินเท้าเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร จึงได้มีการร้องเรียนให้ย้ายที่ว่าการอำเภอกลับมาตั้งยังที่ว่าการอำเภอเดิม
วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชโองการให้เรียกชื่ออำเภอตามชื่อตำบล ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ จึงได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอชุมแสง มาเป็น "อำเภอบางระกำ" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ในปี พ.ศ. 2474 หลวงพิณพลราษฎร์ นายอำเภอขณะนั้น เห็นความเดือดร้อนของราษฎรในการเดินทางไปติดต่อราชการที่บ้านท่าโก จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งยังริมฝั่งขวาของแม่น้ำยม ใกล้กับวัดสุนทรประดิษฐ์ หมู่ที่ 7 ตำบลบางระกำ จนถึงปัจจุบัน[2]
- วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอชุมแสง จังหวัดพิษณุโลก เป็น อำเภอบางระกำ[1]
- วันที่ 23 มีนาคม 2472 ตั้งตำบลวังอีทก แยกออกจากตำบลบางระกำ และตำบลกำแพงดิน ตั้งตำบลพันเสา แยกออกจากตำบลบึงกอก[3]
- วันที่ 2 เมษายน 2481 โอนพื้นที่หมู่ 12 (ในตอนนั้น) จากตำบลกำแพงดิน มาขึ้นกับตำบลวังอีทก[4]
- วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดพิจิตรและจังหวัดพิษณุโลกโดยโอนตำบลกำแพงดิน อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ไปขึ้นกับอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร[5]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลบึงกอก แยกออกจากตำบลปลักแรด ตำบลหนองกุลา และตำบลชุมแสงสงคราม ตั้งตำบลพันเสา แยกออกจากตำบลปลักแรด และตำบลวังอิทก[6]
- วันที่ 30 พฤษภาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลบางระกำ ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางระกำ[7]
- วันที่ 13 ธันวาคม 2515 จัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอบางระกำ และอำเภอสามง่าม[8]
- วันที่ 26 ธันวาคม 2515 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลบางระกำ เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น[9]
- วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2516 จัดตั้งสุขาภิบาลปลักแรด ในท้องที่บางส่วนของตำบลปลักแรด[10]
- วันที่ 14 กรกฎาคม 2521 ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 354 วันที่ 13 ธันวาคม 2515 และจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก อำเภอพรานกระต่าย อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร[11]
- วันที่ 16 มิถุนายน 2524 ตั้งตำบลนิคมพัฒนา แยกออกจากตำบลบึงกอก[12]
- วันที่ 15 กันยายน 2532 ตั้งตำบลบ่อทอง แยกออกจากตำบลพันเสา[13]
- วันที่ 12 กันยายน 2533 ตั้งตำบลท่านางงาม แยกออกจากตำบลบางระกำ[14]
- วันที่ 1 กรกฎาคม 2534 ตั้งตำบลคุยม่วง แยกออกจากตำบลชุมแสงสงคราม[15]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบางระกำ และสุขาภิบาลปลักแรด เป็นเทศบาลตำบลบางระกำ และเทศบาลตำบลปลักแรด ตามลำดับ[16]
- วันที่ 7 สิงหาคม 2544 กำหนดเขตตำบลบางระกำ ให้มีเขตการปกครองรวม 17 หมู่บ้าน ตำบลชุมแสงสงคราม ให้มีเขตการปกครองรวม 11 หมู่บ้าน ตำบลบึงกอก ให้มีเขตการปกครองรวม 11 หมู่บ้าน ตำบลคุยม่วง ให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน ตำบลท่านางงาม ให้มีเขตการปกครองรวม 11 หมู่บ้าน ตำบลปลักแรด ให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน ตำบลนิคมพัฒนา ให้มีเขตการปกครองรวม 12 หมู่บ้าน ตำบลหนองกุลา ให้มีเขตการปกครองรวม 20 หมู่บ้าน ตำบลพันเสา ให้มีเขตการปกครองรวม 11 หมู่บ้าน ตำบลบ่อทอง ให้มีเขตการปกครองรวม 10 หมู่บ้าน และตำบลวังอิทก ให้มีเขตการปกครองรวม 8 หมู่บ้าน[17]
- วันที่ 5 กันยายน 2546 แยกบ้านกรับพวง หมู่ที่ 1 ตำบลวังอิทก และจัดตั้งเป็นหมู่ที่ 10 บ้านพวงทอง แยกบ้านดง หมู่ที่ 4 ตำบลคุยม่วง และจัดตั้งเป็นหมู่ที่ 10 บ้านนางพญา แยกบ้านคุยขวาง หมู่ที่ 2 ตำบลคุยม่วง และจัดตั้งเป็นหมู่ที่ 11 บ้านยิ่งเจริญ
- วันที่ 4 เมษายน 2549 แยกบ้านท่าโก หมู่ที่ 3 ตำบลบางระกำ และจัดตั้งเป็นหมู่ที่ 18 บ้านศรีมงคล
- วันที่ 13 ธันวาคม 2549 จัดตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้านใหม่ ดังนี้
- แยกบ้านใหม่เจริญผล หมู่ที่ 2 ตำบลนิคมพัฒนา และจัดตั้งเป็น หมู่ที่ 13 บ้านเจริญผลพัฒนา
- แยกบ้านคุยม่วง หมู่ที่ 1 ตำบลคุยม่วง และจัดตั้งเป็นหมู่ที่ 12 บ้านคุยม่วงมีสุข
- แยกบ้านหนองกุลา หมู่ที่ 4 ตำบลหนองกุลา และจัดตั้งเป็นหมู่ที่ 22 บ้านหนองกุลาใต้
- แยกบ้านคุยมะตูม หมู่ที่ 4 ตำบลบึงกอก และจัดตั้งเป็น หมู่ที่ 12 บ้านสุขสมบูรณ์
- แยกบ้านคลองวัดไร่ หมู่ที่ 4 ตำบลบางระกำ และจัดตั้งเป็น หมู่ที่ 19 บ้านคลองวัดไร่เหนือ
- วันที่ 25 ตุลาคม 2550 ยกฐานะองค์การบริหารส่วนตำบลพันเสา เป็น เทศบาลตำบลพันเสา
- วันที่ 18 กรกฎาคม 2551 เปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลปลักแรด เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลบึงระมาณ และยกฐานะเป็น เทศบาลตำบลบึงระมาณ
- วันที่ 6 มกราคม 2555 เปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลบางระกำ เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลบางระกำเมืองใหม่ และยกฐานะเป็น เทศบาลตำบลบางระกำเมืองใหม่
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอบางระกำห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 17 กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอกงไกรลาศ (จังหวัดสุโขทัย) และอำเภอพรหมพิราม
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองพิษณุโลก
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอวชิรบารมีและอำเภอสามง่าม (จังหวัดพิจิตร)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอคีรีมาศ (จังหวัดสุโขทัย) และอำเภอลานกระบือ (จังหวัดกำแพงเพชร)
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอบางระกำแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 11 ตำบล 142 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | บางระกำ | (Bang Rakam) | 19 หมู่บ้าน | 7. | ชุมแสงสงคราม | (Chum Saeng Songkhram) | 11 หมู่บ้าน | |||
2. | ปลักแรด | (Plak Raet) | 10 หมู่บ้าน | 8. | นิคมพัฒนา | (Nikhom Phatthana) | 13 หมู่บ้าน | |||
3. | พันเสา | (Phan Sao) | 11 หมู่บ้าน | 9. | บ่อทอง | (Bo Thong) | 10 หมู่บ้าน | |||
4. | วังอิทก | (Wang Ithok) | 11 หมู่บ้าน | 10. | ท่านางงาม | (Tha Nang Ngam) | 11 หมู่บ้าน | |||
5. | บึงกอก | (Bueng Kok) | 12 หมู่บ้าน | 11. | คุยม่วง | (Khui Muang) | 12 หมู่บ้าน | |||
6. | หนองกุลา | (Nong Kula) | 22 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอบางระกำประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบางระกำ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางระกำ
- เทศบาลตำบลปลักแรด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 5 ตำบลปลักแรด
- เทศบาลตำบลพันเสา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพันเสาทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบึงระมาณ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปลักแรด (นอกเขตเทศบาลตำบลปลักแรด)
- เทศบาลตำบลบางระกำเมืองใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางระกำ (นอกเขตเทศบาลตำบลบางระกำ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังอิทก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังอิทกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบึงกอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงกอกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกุลาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแสงสงคราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชุมแสงสงครามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่านางงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่านางงามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคุยม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคุยม่วงทั้งตำบล
ของดีของอำเภอบางระกำ
[แก้]- สุนัขบางแก้ว สุนัขสายพันธุ์ไทยแท้ ขนสองชั้น หางเป็นพวง ขนที่แผงคอคล้ายสิงโต ฉลาด ดุ และจงรักภักดีต่อผู้เป็นนาย
- น้ำปลาปลาสร้อย น้ำปลาแท้ที่ผลิตจากปลาสร้อย
- วัดสุนทรประดิษฐ์ มี หลวงพ่ออินทร์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของประชาชนชาวบางระกำ และมี หลวงพ่อแขก พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง
- วัดปลักแรด ต.ปลักแรด มี รูปปั้นองค์ หลวงพ่อทรัพย์ พรหมปัญญา เป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของประชาชนชาวตำบลปลักแรด และ ตำบลใกล้เคียง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460
- ↑ [1]ประวัติอำเภอบางระกำ
- ↑ "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลบางกระทุ่ม ตำบลวังอีทก และตำบลทุ่งพันเสา ซึ่งแยกตั้งขึ้นใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ก): 378–379. 23 มีนาคม 2472.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตต์ตำบลในท้องที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 245. 2 พฤษภาคม 2481.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดพิจิตร พุทธศักราช ๒๔๘๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 346–347. 17 เมษายน 2482.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. 10 มิถุนายน 2490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-09-15.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (45 ง): (ฉบับพิเศษ) 59-60. 30 พฤษภาคม 2499.
- ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๕๔ [มีสถานะเทียบเท่าพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๕๑๑ กำหนดให้ที่ดินของรัฐในท้องที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก และอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร จัดตั้งเป็นนิคมสร้างตนเอง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (190 ก): (ฉบับพิเศษ) 267-268. 13 ธันวาคม 2515.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงสุขาภิบาลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (198 ง): 3068–3070. 26 ธันวาคม 2515.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลปลักแรด อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (17 ง): 387–388. 20 กุมภาพันธ์ 2516.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก อำเภอพรานกระต่าย และอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร พ.ศ. ๒๕๒๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (71 ก): (ฉบับพิเศษ) 7-9. 14 กรกฎาคม 2521.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (96 ง): 1778–1780. 16 มิถุนายน 2524.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอบางระกำ และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (154 ง): (ฉบับพิเศษ) 36-46. 15 กันยายน 2532.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (170 ง): (ฉบับพิเศษ) 7-14. 12 กันยายน 2533.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (115 ง): (ฉบับพิเศษ) 47-52. 1 กรกฎาคม 2534.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-06.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 118 (63 ง): 7–43. 7 สิงหาคม 2544.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ฐานิดา บุญวรรโณ. “จังหวะชีวิตของชาวนาบางระกำหลังโครงการบางระกำโมเดล." ใน ถนอม ชาภักดี และคนอื่นๆ (บก.), เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 11 เปิดโลกสุนทรีย์ในวิถีมนุษยศาสตร์. น. 251-266. กรุงเทพฯ: มีดี กราฟิก, 2560.