อำเภอหนองแซง
อำเภอหนองแซง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Nong Saeng |
คำขวัญ: มะม่วงมันต้นตำรับ เครื่องประดับโบราณ ชลประทานหลากหลาย ทางรถไฟสู่อีสาน ศูนย์ตำนานวัฒนธรรม | |
แผนที่จังหวัดสระบุรี เน้นอำเภอหนองแซง | |
พิกัด: 14°29′32″N 100°47′4″E / 14.49222°N 100.78444°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สระบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 87.081 ตร.กม. (33.622 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 15,928 คน |
• ความหนาแน่น | 182.91 คน/ตร.กม. (473.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 18170 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1905 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอหนองแซง เลขที่ 1 หมู่ที่ 2 ถนนประชาราษฎร์ ตำบลหนองแซง อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี 18170 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
หนองแซง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสระบุรี เป็นอำเภอที่มีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตัดผ่าน โดยมีสถานีให้บริการ 2 สถานี ได้แก่ สถานีรถไฟหนองแซงและสถานีรถไฟหนองสีดา
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอหนองแซง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอท่าเรือ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) และอำเภอเสาไห้
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองสระบุรีและอำเภอหนองแค
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหนองแค
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอภาชีและอำเภอท่าเรือ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
ประวัติ
[แก้]ประวัติเล่าสืบมาว่าพลเมือง อำเภอหนองแซง ได้อพยพมาจากเวียงจันทน์ ตั้งถิ่นฐานใกล้หนองน้ำ ซึ่งห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 500 เมตรเศษ และมีต้นแซงขึ้นงอกงามเขียวชอุ่มปกคลุมไปทั่วบริเวณโดยรอบหนองน้ำ ชาวบ้านจึงขนานนามว่า "บ้านหนองแซง"[1] โดยได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อ พ.ศ. 2480 ขึ้นกับอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศยกฐานะจากกิ่งอำเภอเป็นอำเภอในปี พ.ศ. 2496
- วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2480 แยกพื้นที่ตำบลหนองแซง ตำบลไก่เส่า ตำบลหนองกบ ตำบลหนองหัวโพ ตำบลโคกสะอาด ตำบลม่วงหวาน ตำบลเขาดิน ตำบลหนองควายโซ และตำบลหนองสีดา อำเภอเสาไห้ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอหนองแซง[2] ให้ขึ้นกับอำเภอเสาไห้
- วันที่ 28 ตุลาคม 2482 โอนพื้นที่หมู่ 8 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองกบ กิ่งอำเภอหนองแซง ไปขึ้นกับตำบลโคกตูม อำเภอหนองแค[3]
- วันที่ 14 ธันวาคม 2486 โอนพื้นที่หมู่ 10 (ในขณะนั้น) ของตำบลเมืองเก่า อำเภอเสาไห้ มาขึ้นกับตำบลหนองสีดา กิ่งอำเภอหนองแซง[4]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลเขาดิน แยกออกจากตำบลหนองสีดา ตั้งตำบลม่วงหวาน แยกออกจากตำบลหนองสีดา และตำบลโคกสะอาด ตั้งตำบลไก่เส่า แยกออกจากตำบลหนองแซง ตั้งตำบลหนองหัวโพ แยกออกจากตำบลหนองควายโซ[5]
- วันที่ 10 มีนาคม 2496 ยกฐานะกิ่งอำเภอหนองแซง อำเภอเสาไห้ เป็น อำเภอหนองแซง[6]
- วันที่ 15 ตุลาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลหนองแซง ในท้องที่บางส่วนของตำบลหนองแซง ตำบลไก่เส่า และตำบลหนองควายโซ[7]
- วันที่ 19 พฤศจิกายน 2517 ตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหนองแซง[8] ในท้องที่อำเภอหนองแซง
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลหนองแซง เป็นเทศบาลตำบลหนองแซง[9] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสีดา รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวโพ ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงหวาน ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลหนองควายโซ รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกบ[10] และยุบองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแซง รวมกับเทศบาลตำบลหนองแซง[11]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอหนองแซงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 69 หมู่บ้าน
1. | หนองแซง | (Nong Saeng) | 8 หมู่บ้าน | 6. | ไก่เส่า | (Kai Sao) | 10 หมู่บ้าน | ||||||||||||
2. | หนองควายโซ | (Nong Khwai So) | 9 หมู่บ้าน | 7. | โคกสะอาด | (Khok Sa-at) | 7 หมู่บ้าน | ||||||||||||
3. | หนองหัวโพ | (Nong Hua Pho) | 7 หมู่บ้าน | 8. | ม่วงหวาน | (Muang Wan) | 8 หมู่บ้าน | ||||||||||||
4. | หนองสีดา | (Nong Sida) | 6 หมู่บ้าน | 9. | เขาดิน | (Khao Din) | 7 หมู่บ้าน | ||||||||||||
5. | หนองกบ | (Nong Kop) | 7 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอหนองแซงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลหนองแซง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแซงทั้งตำบล รวมถึงบางส่วนของตำบลหนองควายโซและตำบลไก่เส่า
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวโพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหัวโพและตำบลหนองสีดาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกบทั้งตำบลและตำบลหนองควายโซ (นอกเขตเทศบาลตำบลหนองแซง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลไก่เส่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไก่เส่า (นอกเขตเทศบาลตำบลหนองแซง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกสะอาดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงหวาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลม่วงหวานและตำบลเขาดินทั้งตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประวัติความเป็นมาอำเภอหนองแซง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-05. สืบค้นเมื่อ December 25, 2020.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอหนองแซง กับกิ่งอำเภอหนองหมู" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ง): 2915–2916. February 28, 1937.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดสระบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 58 (0 ง): 3819–3820. October 28, 1939.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดสระบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 60 (65 ง): 3879. December 14, 1943.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-12-25.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอจักราช อำเภอสัตตหีบ อำเภอศรีสงคราม อำเภอชะอวด อำเภอหนองแซง อำเภอภาชี อำเภอเขาไชยสน อำเภอชุมพลบุรี อำเภอวาริชภูมิ อำเภอสบปราบ และอำเภอสุไหงโกลก พ.ศ. ๒๔๙๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (17 ก): 368–371. March 10, 1953. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-12-25.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหนองแซง อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (83 ง): (ฉบับพิเศษ) 83-84. October 15, 1956.
- ↑ "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเทพารักษ์ ป่าติ้ว มะขาม อุทัย ท่าช้าง หนองแซง ท่าวังผา นาน้อย นาเขว้า กะทู้ ยะหริ่ง บ้านกรวด สามเงา วัดโบสถ์ ซับสมอทอด ดอนตูม หัวตะพาน บ้านดุง ลาดหญ้า บ้านม่วงและสบปราบ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (195 ง): 4136–4137. November 19, 1974.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-12-25.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). July 1, 2004: 10–11.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาลตำบล" (PDF). July 1, 2004: 10–11.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)