ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/เสนอรู้ไหมว่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่แบบปัจจุบัน (หน้าหลัก)
เสนอบทความ
อภิปราย
พื้นที่เตรียมการ
กรุ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่หน้าเสนอรู้ไหมว่า ซึ่งจะเป็นเนื้อหาที่ปรากฏบนหน้าหลักของวิกิพีเดีย ในส่วนรู้ไหมว่า โดยผู้ใช้วิกิพีเดียจะนำเนื้อหาที่เสนอตามรายชื่อด้านล่างนี้ไปแสดงผลเป็นระยะ

ในหน้านี้ผู้ใช้ลงทะเบียนทุกคนมีสิทธิเสนอข้อความและทบทวนได้ เนื้อหาที่นำเสนอต้องเป็นบทความสร้างใหม่หรือบทความปรับปรุงใหม่ที่ขยายบทความเดิมอย่างมีนัยสำคัญ สิ่งที่กล่าวถึงเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาภายในบทความนั้นเอง บทความเก่าแม้ว่าจะมีความน่าสนใจก็ตามถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์เพราะหน้านี้มีจุดประสงค์เพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงล่าสุดและส่งเสริมให้มีการแก้ไขบทความอย่างต่อเนื่อง

หลักเกณฑ์บทความ

  • ปริมาณเนื้อหา
    • เป็นบทความที่เพิ่งสร้างใหม่ ที่มีเนื้อหา (ไม่นับอักขระที่เป็นรหัสต้นฉบับ แม่แบบ ตาราง ฯลฯ) มากกว่า 400 คำ หรือ มีขนาดที่บันทึกไว้ตั้งแต่ 10,000 ไบต์ขึ้นไป (ดูรายชื่อบทความใหม่และรายชื่อบทความที่ต้องการเพื่อประกอบการพิจารณาเสนอบทความที่มีผู้อื่นสร้างไว้แล้วหรือเขียนขึ้นใหม่เอง) หรือ
    • เป็นบทความที่มีอยู่เดิมแต่ได้รับการเขียนเพิ่มเติมทำให้ขนาดที่บันทึกในระบบเป็นอย่างน้อยสองเท่าของขนาดเดิม
      • ขนาดเดิมหมายถึงขนาดของบทความรุ่นที่เสถียรล่าสุดก่อนการปรับปรุง (การเพิ่มเป็น 2 เท่าที่เกิดขึ้นชั่วคราวทางเทคนิค เช่น การแก้ไขตัดต่อ ย้อนกันไปมาหรือย้อนการก่อนกวน ไม่ควรให้ผ่านเพราะไม่ได้มีเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าอย่างแท้จริง)
      • บทความที่ปรับปรุงแล้วยังต้องมีเนื้อหาไม่น้อยกว่าเงื่อนไขสำหรับบทความใหม่ด้วย (เช่น การเพิ่มจาก 1,000 ไบต์ เป็น 2,000 ไบต์ ไม่ควรให้ผ่านเพราะบทความสุดท้ายก็ยังสั้น เทียบไม่ได้กับบทความใหม่)
  • การเสนอบทความดังกล่าวต้องทำภายใน 14 วันนับแต่
    • เวลาที่สร้างบทความใหม่ครั้งแรก (กรณีได้สร้างไว้ก่อนในกระบะทรายหรือฉบับร่างจะนับจากเวลาที่ย้ายเข้าสู่เนมสเปซบทความเท่านั้น) หรือ
    • เวลาที่เริ่มทำการปรับปรุงบทความให้มีขนาดเพิ่มขึ้นจากรุ่นที่เสถียรล่าสุดก่อนการปรับปรุง
    • โดยส่วนใหญ่แล้วบทความต้องผ่านการแก้ไขหลายครั้ง เวลาข้างต้นสำหรับการนับ 14 วันจึงมักไม่ใช่เวลาที่บทความผ่านเงื่อนไขปริมาณ วัตถุประสงค์ที่นับเช่นนี้เพื่อกระตุ้นให้มีการแก้ไขต่อเนื่องให้ได้ปริมาณและคุณภาพที่สมควรภายในเวลา 14 วัน
  • ไม่จำกัดว่าบทความต้องเขียนให้ผ่านเกณฑ์โดยคนเดียว สามารถร่วมกันเขียนหรือเสนอโดยอาสาสมัครหลายคนทั้งที่มีบัญชีผู้ใช้และไม่ได้ลงทะเบียนอันเป็นหัวใจหลักสำคัญของสารานุกรมเสรี ทั้งนี้ ผู้ใช้ไม่ลงทะเบียนหรือลงทะเบียนมาใหม่ไม่นานจะไม่สามารถตรวจให้ข้อความผ่านเกณฑ์ได้ แต่มีสิทธิ์ทักท้วงได้

หลักเกณฑ์ข้อความที่เสนอ

  • เนื้อหาที่เสนอต้องเป็นไปตามนโยบาย ทั้งมุมมองที่เป็นกลาง และไม่ใช่การประกาศ ปราศรัย โฆษณาชวนเชื่อ ตลอดจนไม่ใช่รายงานข่าว
    • สำหรับข่าวหรือเรื่องที่เป็นปัจจุบันโปรดดูที่ {{เรื่องจากข่าว}} ในส่วนรู้ไหมว่ามีการพิจารณาที่นานและระยะเวลาแสดงผลที่ยืดหยุ่นน้อยกว่า
  • ข้อความที่เสนอมีความน่าสนใจ ไม่ควรเป็นเพียงการเสนอคำนิยาม
  • ข้อความที่เสนอต้องมีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือกำกับในบทความ และต้องเป็นแหล่งอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (inline citation)
  • รูปแบบการเสนอควรใช้ข้อความที่สั้น กระชับ และได้ใจความ รวมถึงมีลักษณะที่เขียนต่อจากคำว่า รู้ไหมว่า...
  • ในข้อความที่เสนอ
    • ทำลิงก์บทความที่เสนอเป็นตัวหน้า จะอยู่ส่วนต้น ส่วนกลาง หรือส่วนท้ายของข้อความก็ได้ตามความเหมาะสม
    • อาจทำลิงก์ในส่วนอื่นของข้อความประกอบกันได้ แต่ต้องไม่มีลิงก์แดง (ไม่ควรมีลิงก์ไปบทความอื่นมากเกินไป)
    • หากมีภาพประกอบให้ใส่ข้อความ (ในภาพ) ในตำแหน่งที่เหมาะสมด้วย และจะได้รับพิจารณาอยู่ในลำดับแรกของแต่ละคิวเสมอ (แต่ละคิวมีบทความที่มีรูปได้ไม่เกิน 1 บทความเท่านั้น)

แนวทางการพิจารณาข้อความและจัดลำดับบทความเพื่อแสดงผล

  • ในแต่ละรอบที่นำขึ้นแสดงผลในหน้าหลักควรมีความหลากหลายของเนื้อหาและผู้เขียน (ต้องมีบัญชีผู้ใช้จึงสร้างหน้าใหม่ได้ แต่ผู้ไม่มีบัญชีผู้ใช้เพิ่มขนาดบทความเป็นสองเท่าได้) หลีกเลี่ยงการนำเรื่องในหมวดหมู่เดียวกันหรือผู้เขียนเดียวกันจัดลงในกลุ่มที่จะแสดงผลคราวเดียวกันเป็นจำนวนมาก
  • เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามข้อก่อนหน้า เมื่อพิจารณาข้อความผ่านเกณฑ์แล้ว อาจไม่จัดข้อความนั้นลงในคิวล่าสุดที่ยังไม่เต็มแต่ใส่ลงคิวถัดไปที่เหมาะสมได้แทน คิวถัดไปอาจไม่ใช่คิวที่ติดกันกับคิวที่ล่าสุดที่ยังไม่เต็มหากในคิวถัดไปยังมีความซ้ำซ้อนเกี่ยวกับเนื้อหาหรือผู้เขียน
  • การจัดข้อความลงคิวยังคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้ประกอบกัน ไม่ได้เป็นการห้ามมิให้มีสองบทความในหมวดหมู่เดียวกันหรือผู้เขียนเดียวกันในหนึ่งคิวอย่างเคร่งครัด
    • ความเหมาะสมและวัตถุประสงค์ของ DYK ในการส่งเสริมอาสาสมัครวิกิพีเดียโดยหลักถ้อยทีถ้อยอาศัย
    • เหตุการณ์ที่เป็นที่สนใจหรือมีความสำคัญแต่ยังไม่ได้แสดงผลในหน้าหลักผ่านช่องทางอื่น
    • ความยาวโดยรวมและความเหมาะสมในการแสดงผลร่วมกับองค์ประกอบอื่นของหน้าหลักในขณะนั้น (แม่แบบมีขนาดที่บันทึกระหว่าง 2,200 ถึง 4,200 ไบต์ หรือ 55-105% ของ 4,000 ไบต์)
  • มีการเก็บประวัติการเสนอและพิจารณาข้อความอย่างเป็นระบบ ดังนั้นขอความร่วมมือทุกท่าน ลงชื่อด้วย --~~~~ ท้ายข้อความที่เสนอและการอภิปราย และช่วยกันรวบรวมประวัติไว้มิให้ตกหล่นเมื่อมีการย้ายข้อความไปสู่คิว (และหน้าอภิปรายของคิว) รวมถึงการเก็บข้อเสนอที่ตกไปในหน้าคุยเรื่องวิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/เสนอรู้ไหมว่าโดยแบ่งหัวข้อตามเดือนที่พิจารณาเสร็จสิ้น

ระยะเวลาการแสดงผลในหน้าหลัก

ณ วันสิ้นเดือนของแต่ละเดือนให้คำนึงถึง n เป็นจำนวนคิวที่เต็มแล้วของข้อความ DYK ณ 23:59 น. UTC+7 วันก่อนวันสิ้นเดือน (คิวที่เต็มแล้วหมายถึง 6 ชุดข้อความและ 1 รูปภาพที่ผ่านการพิจารณาเป็นรายชิ้นแล้ว รวมถึงผ่านการจัดชุดบทความให้มีความหลากหลายในเชิงเนื้อหาสาระพร้อมนำเสนอในภาพรวมแล้วด้วย วันก่อนวันสิ้นเดือน เช่น เดือนมกราคม หมายถึง 30 มกราคม)

  • n = 0 ไม่มีการปรับปรุง DYK ในเดือนถัดไปตลอดทั้งเดือน มีข้อความเชิญชวนให้เสนอบทความ DYK และช่วยกันพิจารณา DYK ตามหลักเกณฑ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะแสดงผลเมื่อไม่มีการเปลี่ยนแปลง DYK เกิน 30 วัน (เหตุการณ์นี้อาจเกิดขึ้นได้จากขาดอาสาสมัครพิจารณาข้อเสนอ DYK ไปจัดลงคิวก็ได้ ไม่ใช่เพียงขาดแคลนการเสนอบทความเข้าสู่ DYK) แม้จะมี DYK เข้าคิวสำหรับเดือนใหม่แล้วข้อความเชิญชวนจะแสดงข้ามเดือนต่อไปจนกว่าจะถึงวันที่กำหนดให้แสดงผลครั้งแรก
  • 1 ≤ n ≤ 9 ดึงออกมาใช้งานตามจำนวนครั้งด้านล่าง โดยตัดออกจากคิวปัจจุบันออกไปเพื่อทำเป็นแม่แบบรอขึ้นหน้าหลักทันที
    • n = 1, 2, 3 เดือนถัดไปจะมีการปรับปรุง DYK ครั้งเดียว ในวันที่ 15 เท่านั้น
    • n = 4, 5 เดือนถัดไปจะมีการปรับปรุง DYK สองครั้ง ในวันที่ 8 และ 22 เท่านั้น
    • n = 6, 7 เดือนถัดไปจะมีการปรับปรุง DYK สามครั้ง ในวันที่ 5 15 และ 25 เท่านั้น
    • n = 8, 9 เดือนถัดไปจะมีการปรับปรุง DYK สี่ครั้ง ในวันที่ 4 11 19 และ 26 เท่านั้น
    • หลักคิดคือต้องสำรองเนื้อหาไว้ประมาณหนึ่งเท่าตัว เลี่ยงการปรับปรุงในวันที่ 1 เพราะเป็นวันเปลี่ยนบทความคัดสรรประจำเดือน แต่ยังยึดหลักการพิจารณาคราวเดียวในวันสุดท้ายของเดือนเพื่อให้เกิดความแน่นอนว่าเนื้อหาที่จะแสดงในหน้าหลักในเดือนถัดไปคืออะไร หลักคิดนี้คล้ายกับการจัดการ DYK ของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษรวมถึงบทความคัดสรรในวิกิพีเดียภาษาไทย แต่การดำเนินการปรับให้เหมาะกับชุมชนที่มีแรงงานน้อยและมีระยะเวลาการสื่อสารระหว่างกันที่ต้องรอฟังความเห็นกันนานกว่า เดือนหนึ่งมี 28-31 วัน ได้พยายามกระจายวันให้เท่ากันมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้แต่จะไม่เท่ากันเสียทีเดียว

วิธีดำเนินการมาตรฐานทุกวันสิ้นเดือน

วิธีดำเนินการมาตรฐาน (standard operating procedure หรือ SOP) เป็นลำดับขั้นตอนเพื่อให้สามารถปฏิบัติการได้ครบถ้วนถูกต้องโดยไม่สับสน ไม่ว่าอาสาสมัครท่านใดมารับหน้าที่ดำเนินการ

  1. จำนวนและวันที่จะแสดงผลเป็นไปตามกติกาข้างต้น (กรณี 10 ≤ n ≤ สองเท่าของจำนวนวันในเดือนถัดไป ดูหน้าพูดคุยเพิ่มเติม) ซึ่งเมื่อได้จำนวนและวันที่แล้วจะตัดคิวด้านล่างออกไปโดยการเปลี่ยนชื่อคิวให้อยู่ในรูปแบบดังนี้ {{รู้ไหมว่า/yyyy-mm-dd}} ซึ่ง mm และ dd เป็นตัวเลขของเดือนในรูปแบบเลขอารบิกที่มีศูนย์นำหน้า
  2. แก้ไขหน้าเปลี่ยนทางที่เกิดจากการเปลี่ยนชื่อให้เป็นคิวว่างและลบออกจากรายการชั่วคราว (คิวจะเดินไปข้างหน้าเสมอยกเว้นว่าถึงเลขปลายทาง คือ 63 จึงวนกลับมาที่ 1 ใหม่ซ้ำซึ่งได้ทำคิวว่างรอไว้แล้วจากรอบก่อน)
  3. สรุปรายการคิวบทความและอาสาสมัครผู้เขียนบทความของเดือนล่าสุด พร้อมลงชื่อผู้ดำเนินการ ลงในหน้าเสนอชื่อ (และบันทึกข้อความเดียวกันลงในหน้ากรุด้วย)
  4. การดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์ของกิจกรรม
    1. ใส่ {{บทความรู้ไหมว่า}} ในหน้าอภิปรายของทุกบทความ
    2. ส่งข้อความแจ้งผู้เขียนตามข้อ 3 ด้วยข้อความมาตรฐานดังนี้


=={{tl|รู้ไหมว่า/2024-07-15}}==
บทความที่ท่านเขียนจะได้แสดงผลในหน้าหลักของวิกิพีเดียภาษาไทยตามวันที่ระบุไว้ในแม่แบบ {{tl|รู้ไหมว่า}} ข้างต้น ขอขอบคุณที่ท่านร่วมกันแบ่งปันความรู้และหวังว่าท่านจะเป็นส่วนสำคัญในโครงการ [[WP:DYK]] อย่างต่อเนื่องสืบไป --~~~~

สรุป

  1. กระบวนการเขียนบทความ เสนอข้อความและพิจารณาข้อความขึ้นสู่หน้าหลักในปัจจุบันใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 2-3 เดือน บทความจะได้แสดงผลในหน้าหลักประมาณ 1 สัปดาห์โดยมีการกดอ่านบทความผ่านหน้าหลักประมาณ 500-1000 ครั้ง ระหว่างช่วงเวลาที่แสดงผล (ข้อมูล ณ สิงหาคม 2567 หลังจัดให้มีระบบที่ชัดเจนเพื่อการบริหารงานและเริ่มอภิปรายเกี่ยวกับกิจกรรมสนับสนุน)
  2. ชุมชนวิกิพีเดียภาษาไทยมีกระบวนการสนับสนุนกิจกรรมรู้ไหมว่าเพื่อสนับสนุนให้อาสาสมัครเขียนบทความใหม่ที่มีคุณภาพและเกิดความสามัคคีนำไปสู่การประสานงานที่ดีในชุมชนดังนี้

ชุดบทความได้รับกำหนดวันแสดงผลแล้ว

[แก้]

สำหรับบทความที่จะแสดงผลในเดือนตุลาคม 2567 มีกำหนดพิจารณาในวันที่ 30 กันยายน 2567 (วันสิ้นเดือน) ตั้งแต่เวลา 00:01 น. เป็นต้นไป จากจำนวนคิวที่เต็มแล้วของข้อความ DYK ณ วันที่ 29 กันยายน 2567 (วันก่อนวันสิ้นเดือน) ณ เวลา 23:59 น. UTC+7

บทความที่ได้รับกำหนดแสดงผลในเดือนกันยายนมีดังนี้

[ส่วนนี้ยังรอกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ] ความถี่การปรับปรุง 4 ครั้ง (วันที่ 4 11 19 และ 26)



รายการคิวที่เต็มแล้วและขนาดของคิว
  1. {{รู้ไหมว่า/คิว 10}} 2,904 ไบต์
  2. {{รู้ไหมว่า/คิว 11}} 3,025 ไบต์
  3. {{รู้ไหมว่า/คิว 12}} 4,116 ไบต์
  4. {{รู้ไหมว่า/คิว 13}} 3,738 ไบต์
  5. {{รู้ไหมว่า/คิว 14}} 3,585 ไบต์
  6. {{รู้ไหมว่า/คิว 15}} 3,486 ไบต์
  7. {{รู้ไหมว่า/คิว 16}} 2,802 ไบต์
  8. {{รู้ไหมว่า/คิว 17}} 3,750 ไบต์

ชุดบทความได้รับการตรวจสอบและจัดชุดแล้ว

[แก้]
  • คิวเก่าสุดอยู่ด้านบน ใช้หมายเลข 1 ถึง 63 ไปตามลำดับ เมื่อครบแล้วก็วนซ้ำใหม่จาก 1 อีกครั้ง
  • จำเป็นต้องไปถึงเลข 63 ก่อนที่จะวนกลับมาเลข 1 ใหม่ได้เพื่อป้องกันความสับสน (63/2=31 เป็นจำนวนมากที่สุดที่ยังใช้กติกาเพิ่มเติมได้ตามหน้าพูดคุย)
  • ไม่จำเป็นต้องแสดง 63 คิวพร้อมกัน แต่ต้องมีคิวว่างเผื่อไว้ 1 คิวเสมอสำหรับกรณีที่ผู้ตรวจประสงค์จะกระจายบทความออกไม่ให้ซ้ำหมวดและผู้เขียน
โจ ไบเดิน
โจ ไบเดิน
การตกในบาปเป็นภาพของอาดัมกับเอวาโดย เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์, ค.ศ. 1628–29
การตกในบาปเป็นภาพของอาดัมกับเอวาโดย เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์, ค.ศ. 1628–29
เจ้าหน้าที่นำวินัย โพธิ์ภิรมย์ออกจากสถานีตำรวจนครบาลลุมพินีไปประหารชีวิตที่เรือนจำกลางบางขวาง
เจ้าหน้าที่นำวินัย โพธิ์ภิรมย์ออกจากสถานีตำรวจนครบาลลุมพินีไปประหารชีวิตที่เรือนจำกลางบางขวาง
คิม กู หนึ่งในบุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เกาหลี
คิม กู หนึ่งในบุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เกาหลี
โครงสร้างของโพแทสเซียมไดไซยาโนออเรต
โครงสร้างของโพแทสเซียมไดไซยาโนออเรต
  • ...การรับประทานโพแทสเซียมไดไซยาโนออเรต หรือเกลือทอง (ในภาพ) ปริมาณ 2 กรัม อาจทำให้เสียชีวิตเฉียบพลัน โดยเป็นพิษจากทองที่ขัดขวางเอนไซม์โรดาเนสซึ่งร่างกายใช้ขจัดพิษจากไซยาไนด์
  • ...
  • ...ในสวีเดน ภาพถ่ายสตรีใช้กระเป๋าถือตบพวกนีโอนาซี เมื่อ ค.ศ. 1985 ได้รับการยกย่องให้เป็นภาพถ่ายแห่งศตวรรษของสวีเดน กระนั้นสตรีในภาพไม่เคยยินดีที่ตนปรากฏในภาพดังกล่าว
  • ...แม้มีการส่งเสริมและสร้างความสนใจต่อภาษาฮาวาย รวมถึงการจัดตั้งโรงเรียนสอนภาษาตั้งแต่ประมาณ ค.ศ. 1949 เป็นต้นมา กระนั้น ทางยูเนสโกยังคงจัดให้ภาษานี้อยู่ในสถานะภาษาใกล้สูญขั้นวิกฤต
  • ...พฤติกรรมมนุษย์ที่แยกเป็นคนในกลุ่มหรือนอกกลุ่ม อาจก่อพฤติกรรมอื่น เช่น การกระทำตามกัน การเชื่อฟังผู้มีอำนาจโดยไม่คิดไม่สอบถาม การรู้สึกยินดีกับความโชคร้ายของฝ่ายตรงข้าม
  • ...หนังสือบารุค เป็นหนังสือในชุดคัมภีร์อธิกธรรม ซึ่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จัดอยู่ในสารบบคัมภีร์ไบเบิล แต่นิกายโปรเตสแตนต์ไม่ยอมรับให้อยู่ในสารบบของคัมภีร์ไบเบิลและจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์นอกสารบบ
ในภาพนี้ Proportional เขียนด้วยฟอนต์ความกว้างแปรผัน ส่วน Monospace เขียนด้วยฟอนต์ความกว้างคงที่
ในภาพนี้ Proportional เขียนด้วยฟอนต์ความกว้างแปรผัน ส่วน Monospace เขียนด้วยฟอนต์ความกว้างคงที่
พระภิกษุจุดไฟเผาตัวมรณภาพ
พระภิกษุทิก กว๋าง ดึ๊ก จุดไฟเผาตัวมรณภาพในวิกฤตการณ์ชาวพุทธ ค.ศ. 1963
[[File:|140px | ]]
  • ... (ในภาพ)
  • ...สำหรับผู้ที่มีอาการปวดเข่าเพราะเข่าเสื่อม การผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้อง (arthroscopic surgery) ไม่ได้ทำให้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหรืออย่างยั่งยืน ดังนั้นจึงไม่ควรทำเกือบทุกกรณี
  • ...
  • ...
  • ...
  • ...

เสนอรู้ไหมว่า

[แก้]

เสนอข้อความใหม่

[แก้]

เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามกรุณาลงชื่อ --~~~~ หลังข้อความที่เสนอด้วย รวมถึงระบุชื่อผู้เขียนหรือผู้แก้ไขหลักไว้ท้ายข้อความที่เสนอและในประวัติการแก้ไข

[[File:|140px | ]]
  1. ...พระเจ้ากุสตาฟที่ 3 แห่งสวีเดนเป็นประมุขแห่งรัฐที่เป็นกลางคนแรกของโลกที่ให้การรับรองสหรัฐ--Waniosa Amedestir (คุย) 12:19, 23 กันยายน 2567 (+07) (เขียนโดยผู้ใชไม่ระบุตัวตน 119.76.70.12 / ปรับปรุงขนาดบทความเป็นสองเท่าโดย Waniosa Amedestir)[ตอบกลับ]
    เสนอให้ใช้ข้อความอื่นจากบทความครับ เพราะว่า ข้อความนี้มีปัญหาหลายอย่าง เช่น
    • ต้องระบุข้อแม้อื่นหลายอย่างที่จะทำให้ถูกต้อง ทำให้ความเป็น "คนแรก" ของโลกค่อนข้างเจือจาง อาจไม่น่าแปลกใจ หรือน่าเคลือบแคลง
      1. ประมุขแห่งรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางอย่างเป็นทางการของโลก
      2. ที่รับรองสหรัฐอย่างเป็นทางการ (โดยสนธิสัญญา)
    • แหล่งอ้างอิงที่ระบุแบบนี้มักจะมีต้นกำเนิดจากสวีเดน
    • ประเทศอื่นค้านได้ (เช่น โปรตุเกส) ดู en:List of countries by date of recognition of the United States
    ข้อความอื่นในบทความในปัจจุบันที่มีแหล่งอ้างอิงอาจไม่เหมาะกับ DYK เสนอให้เพิ่มเนื้อความ (เป็นกษัตริย์ที่ทรงครองราชยาวนาน) ที่นำมาใช้ได้ครับ --Tikmok (คุย) 13:40, 23 กันยายน 2567 (+07)[ตอบกลับ]
    ตามไปดูต้นฉบับ อ่านเจออันนี้แล้วชอบครับ It was the first time in more than a century that a Swedish king had addressed a Swedish Riksdag in its native tongue. เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง --Taweethaも (คุย) 07:24, 24 กันยายน 2567 (+07)[ตอบกลับ]
    ประโยคนี้ดูน่าสนใจดี แต่ลองไปดูแล้วไม่มีอ้างอิงระบุไว้ จึงไปสืบค้นดูก็ไม่เจอต้นตอ (บางเว็บก็ดูเหมือนลอกจากวิกิพีเดีย) จึงไม่แน่ใจว่าจะใส่ได้หรือไม่ Waniosa Amedestir (คุย) 19:17, 24 กันยายน 2567 (+07)[ตอบกลับ]
    @Waniosa Amedestir และ Taweetham: ตัวผมเองคิดว่าผ่านครับ เพราะบทความนี้ อ้างอิง/ลอกจากสารานุกรมบริแทนนิกา 1911 (สาธารณสมบัติ) ค่อนข้างมาก ถ้าไม่มีที่อื่นค้าน คงบอกไม่ได้ว่าไม่ผ่าน เรื่องอื่นจากบริแทนนิกาที่กล่าวในบทความอังกฤษที่อาจใช้ได้
    • The effort to remedy the widespread corruption that had flourished under the Hats and Caps engaged a considerable share of his time and he even found it necessary to put on trial the entire Göta Hovrätt, the superior court of justice, in Jönköping.
    • Gustav even designed and popularized a Swedish national costume (to limit foreign consumption), which was in general use among the upper classes from 1778 until his death (and it is still worn by the ladies of the court on state occasions).
    --Tikmok (คุย) 04:37, 25 กันยายน 2567 (+07)[ตอบกลับ]
  2. ...

รอปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ

[แก้]
  • เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามกรุณาลงชื่อ --~~~~ หลังข้อความที่อภิปราย และไม่แก้ไขข้อความที่ได้เขียนไว้ก่อนแล้วของตนเองหรือผู้อื่น
  • หากไม่ได้รับการปรับปรุงจากผู้เสนอภายใน 7 วันจะถือว่าการเสนอนั้นตกไป และเก็บรวบรวมไว้ในหน้าอภิปรายที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/เสนอรู้ไหมว่า
    • ผู้เสนอข้อความสามารถถอนข้อเสนอได้โดยย้ายข้อความไปก่อนครบกำหนด 7 วันหรือก่อนจะมีผู้อื่นมาย้ายให้ก็ได้