ข้ามไปเนื้อหา

มลานา (รัฐหิมาจัลประเทศ)

พิกัด: 32°03′46″N 77°15′38″E / 32.06278°N 77.26056°E / 32.06278; 77.26056
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มลานา
หมู่บ้าน
มลานาตั้งอยู่ในรัฐหิมาจัลประเทศ
มลานา
มลานา
มลานาตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
มลานา
มลานา
พิกัด: 32°03′46″N 77°15′38″E / 32.06278°N 77.26056°E / 32.06278; 77.26056
ประเทศ อินเดีย
รัฐหิมาจัลประเทศ
ประชากร
 (กรกฎาคม 2017[1])
 • ทั้งหมด4,700 คน
เขตเวลาUTC+5:30 (IST)

มลานา (อักษรเทวนาครี: मलाना, อักษรโรมัน: Malana) เป็นหมู่บ้านโบราณในรัฐหิมาจัลประเทศ ประเทศอินเดีย ในเทือกเขาปารวตี ท่ามกลางยอดเขาจันทรขนีและเทวติพพะ ที่ความสูง 2,652 เมตร (8,701 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล มลานามีระบบความเชื่อ การจัดระเบียบสังคม และจารีตประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองและยังคงถือปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัด ภาษาที่ใช้ในหมู่บ้านคือภาษากนาศีซึ่งเป็นภาษาที่มีการใช้งานเพียงแค่หมู่บ้านนี้และไม่สามารถเข้าใจได้กับภาษาฮินดี จำนวนชาวบ้านในหมู่บ้านประมาณอยู่ที่ 1700 คน หมู่บ้านมลานามีการเติบโตของประชากรเกือบสามเท่าในระยะเวลาสี่สิบปีที่ผ่านมา[4] เศรษฐกิจส่วนหนึ่งของหมู่บ้านมาจากการเพาะปลูกและจำหน่ายกัญชาในฐานะพืชเศรษฐกิจ กัญชามีการเพาะปลูกในแถบเทือกเขาปราวตีและในหมู่บ้านมลานามาหลายศตวรรษ[5] และนับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา มลานากลายมาเป็นจุดหมายปลายทางหนึ่งของการท่องเที่ยวเพื่อเสพยา[1]

มลานามีการกล่าวอ้างว่าเป็น "ประชาธิปไตยที่เก่าแก่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง"[6][7] และ "สาธารณรัฐที่เก่าแก่ที่สุดของโลกแห่งหนึ่ง" จนถึงปัจจุบัน ชาวบ้านปกครองกันเองภายในผ่านระบบสองสภาที่ได้สมาชิกสภามาจากการเลือกตั้ง[8] และชาวบ้านเชื่อกันว่าตนเป็นทายาทที่สืบทอดวงศ์วานมาจากทหารชาวกรีกของอเล็กซานเดอร์มหาราช ซึ่งถูกทิ้งไว้ที่นี่เนื่องจากบาดเจ็บจากการรบ[9] กระนั้น ข้อกล่าวอ้างนี้ไม่เคยได้รับการพิสูจน์ทั้งทางประวัติศาสตร์[3]

มลานายังมีจารีตที่ยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดที่ห้ามมิให้บุคคลจากนอกหมู่บ้านสัมผัสสิ่งใดก็ตามในหมู่บ้าน ทั้งชาวบ้านและเทวสถานในหมู่บ้าน จารีตนี้นี้มีการบังคับใช้ในฐานะกฎหมาย ซึ่งผู้ที่ละเมิดจะถูกปรับ ₹2,500 ถึง ₹3,500 ส่วนชาวบ้านที่เผลอสัมผัสบุคคลภายนอกจะรีบวิ่งไปอาบน้ำทันที[2] สำหรับบุคคลภายนอก การซื้อของจากร้านค้าภายในหมู่บ้านจะใช้การวางเงินบนพื้นของร้าน แลกกับสินค้าซึ่งก็วางอยู่บนพื้นเช่นกัน ทำให้การซื้อขายสินค้ายังเป็นไปได้โดยที่ทั้งสองฝ่ายไม่ได้สัมผัสกัน จารีตนี้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดเพื่อ "คงรักษา 'ความบริสุทธิ์' ของหมู่บ้าน"[3] ชาวมลานานับถือเทวดาประจำหมู่บ้านนามว่า ชัมลูเทวดา (อักษรเทวนาครี: जमलू देवता, Jamlu Devata) เทวดาองค์นี้เป็นฤาษีซึ่งมีอำนาจและศักดิ์สูงสุดในการตัดสินใจใด ๆ ก็ตามในหมู่บ้าน ชัมลูเทวดาจะจุติผ่านชาวบ้านคนหนึ่งซึ่งเป็นดั่งโหรของหมู่บ้าน[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Bisht, Gaurav (July 11, 2017). "'Deity orders' closure of joints, guest houses at Malana village famous for hash". Hindustan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 14, 2017.
  2. 2.0 2.1 "Why tourists are not allowed to touch anything in this Kasol village". Times of India. 2023-03-24. สืบค้นเมื่อ 2024-08-29.
  3. 3.0 3.1 3.2 Chakraborty, Mehk (2018-08-21). "Malana: A Himalayan village shrouded in myth". BBC. สืบค้นเมื่อ 2024-08-29.
  4. Malana : Shangrila in the Himalayas
  5. Dutta, Prabhash K. (December 4, 2016). "For this Himachal village, banned cannabis is its source of livelihood". India Today. Local lawmakers and officials say the plant is part of their tradition and empathize with people in steep, remote villages who consider cannabis the only cash crop they can grow in harsh weather and geographic conditions. Maheshwar Singh, a local lawmaker and the descendant head of the royal family of Kullu, said a look at the old tax books shows that the plant was legally cultivated and sold for decades before India's drug law.
  6. "Malana - World's Oldest Democracy - Kullu". kullutourism.com. สืบค้นเมื่อ 2018-01-09.
  7. "यहां सदियों से गांव की संसद ही तय करती है कायदा कानून - Amarujala". Amar Ujala (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-01-09.
  8. Giroti, R; Talwar, I (Apr 2010). "The Most Ancient Democracy in the World is a Genetic Isolate: An Autosomal and Y-Chromosome Study of the Hermit Village of Malana (Himachal Pradesh, India)". Hum. Biol. 82 (2): 123–41. doi:10.3378/027.082.0201. JSTOR 41466666. PMID 20649396. S2CID 22324205.
  9. "Experts to study Alexander's 'last descendants' in Himachal - Times of India". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 2018-01-09.