ข้ามไปเนื้อหา

สตรีกระเป๋าถือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพถ่าย สตรีกระเป๋าถือ โดยฮันส์ รูนแน็สซ็อน

สตรีคนหนึ่งใช้กระเป๋าถือตบพวกนีโอนาซี (อังกฤษ: A Woman Hitting a Neo-Nazi With Her Handbag) หรือที่รู้จักในชื่อ สตรีกระเป๋าถือ (สวีเดน: Kvinnan med handväskan; หรือ Tanten med handväskan, "The lady with the handbag"[1]) เป็นภาพถ่ายที่ถ่ายในเมืองเว็กเควอ ประเทศสวีเดน เมื่อวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1985 โดยช่างภาพข่าว ฮันส์ รูแน็สซ็อน (Hans Runesson) ภาพถ่ายนี้เป็นภาพสตรีวัย 38 ปี ชื่อ ดานูตา ดานิแอ็ลซ็อน (Danuta Danielsson) ใช้กระเป๋าถือตบเข้าที่สมาชิกของลัทธินีโอนาซีซึ่งกำลังเดินขบวนอยู่[2] นักวิชาการ ซามูแอ็ล แมร์ริล (Samuel Merrill) ระบุว่าภาพนี้แสดงให้เห็นสตรีสูงวัยที่ดูอ่อนแอขณะเผชิญหน้ากับพวกสกินเฮดนีโอนาซีตามลักษณะภาพเหมารวม[3]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ภาพนี้ถ่ายระหว่างการชุมนุมประท้วงขนาดย่อมของผู้สนับสนุนพรรคราชอาณาจักรนอร์ดิกโดยเป็นการชุมนุมประท้วงที่ผ่านการรับรองโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยจัดขึ้นไม่นานหลังการกล่าวสุนทรพจน์ของหัวหน้าพรรคฝ่ายซ้าย-คอมมิวนิสต์ ลาส์ แวร์แนร์ ในใจกลางเมืองเว็กเควอ[4] ภาพถ่ายนี้ตีพิมพ์ในวันถัดไปบนหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์แห่งชาติของสวีเดน ดาเกินส์นีเฮแทร์ และในวันที่ 15 เมษายน บนหนังสือพิมพ์อังกฤษสองเจ้าใหญ่ เดอะไทมส์ และ เดอะเดลีเอ็กซ์เพรส[3]

ภาพถ่ายนี้ได้รับเลือกเป็นภาพถ่ายสวีเดนแห่งปี (Swedish Picture of the Year หรือ Årets bild) ประจำ ค.ศ. 1985 และต่อมาเป็นภาพแห่งศตวรรษ (Picture of the Century) โดยนิตยสาร วี และโดยสมาคมภาพถ่ายประวัติศาสตร์แห่งสวีเดน (Photographic Historical Society of Sweden)[5][6]

บุคคลในภาพ

[แก้]

สตรีในภาพถ่ายนี้คือ ดานูตา ดานิแอ็ลซ็อน (Danuta Danielsson (สกุลเดิม เซน; Seń)) เกิดเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1947 ในเมืองกอชุฟวีแยลกอปอลสกี ประเทศโปแลนด์ เธอมีพี่น้องร่วมกันสามคน[7] และเป็นคนยิว[8][9][10] มารดาของเธอเป็นผู้รอดชีวิตจากค่ายกักกันของนาซีในโปแลนด์ระหว่างฮอลอคอสต์[5][10][8] (บ้างระบุว่าคือค่ายกักกันเอาช์วิตซ์[9] หรือมัยดาเน็ก)[10] เธอพบกับ บยอร์น เบซ็อน ดานิแอ็ลซ็อน (Björn "Beson" Danielsson) ที่เทศกาลดนตรีแจ๊ซหนึ่งในโปแลนด์ใน ค.ศ. 1981[11] ทั้งสองสมรสกันในปีเดียวกัน และย้ายมาตั้งรกรากอยู่ในสวีเดนเมื่อ ค.ศ. 1982[7] ตัวตนของเธอถูกปิดบังมาโดยตลอดจนกระทั่ง ค.ศ. 2014 โดยสื่อสำนักหนึ่ง ในเวลานั้นกำลังมีข้อถกเถียงกรณีการตั้งรูปปั้นเธอในฐานะอนุสรณ์สถานแก่สาธารณชนเพื่อระลึกถึงการเผชิญหน้าในภาพ บุตรชายของเธอระบุแก่สื่อว่าตัวเธอเองไม่เคยชอบภาพถ่ายนี้เลยและรู้สึกผิดกับชื่อเสียงที่ได้มาจากภาพนี้ ในโอกาสเดียวกันนี้ เขายังปฏิเสธข้อกล่าวอ้างและข่าวลือทั้งที่ว่าเธอเป็นผู้รอดชีวิตจากค่ายกักกันยิว หรือว่าเธอมีปัญหาทางจิตและตบผู้ชายคนนั้นไปโดยไม่รู้ตัว ว่าไม่เป็นความจริง[12]

ชายคนที่ถูกกระเป๋าถือตบในรูปคือ เซปโป เซลูสกา (Seppo Seluska) สมาชิกกองกำลังของพรรคราชอาณาจักรนอร์ดิก ในภายหลังเขาถูกจับกุมและตัดสินมีความผิดฐานทารุณกรรมและฆาตกรรมเกย์ชาวยิวคนหนึ่ง[10][13][14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Merrill 2020, p. 121.
  2. Merrill 2020, p. 112.
  3. 3.0 3.1 Merrill 2020, pp. 119–120.
  4. Merrill 2020, p. 119.
  5. 5.0 5.1 Bengtsson, Anita (15 February 2014). "Berättelsen om det förra århundradets bästa foto". Dagens Nyheter (ภาษาสวีเดน).
  6. Krook, Per-Åke (1 April 2014). "Väsktanten blir skulptur". SVT Nyheter (ภาษาสวีเดน).
  7. 7.0 7.1 Staff (11 May 2018). "Danuta Daniellson przeszła do historii, atakując torebką neonazistę. Pochodziła z Gorzowa". Gorzów Wielkopolski Nasze Miasto (ภาษาโปแลนด์).
  8. 8.0 8.1 Staff (1 March 2015). "Swedish city blocks plan to honor woman who struck neo-Nazis with purse". Haaretz.
  9. 9.0 9.1 Gross, Judah Ari (1 March 2015). "Swedish town nixes statue of woman hitting neo-Nazi". Times of Israel.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 Pienszka, Magdalena (13 April 2020). "Kobieta z torebką atakuje skinheada. Za legendarnym zdjęciem stoi smutna historia". WP Ksiazki (ภาษาโปแลนด์).
  11. Micu, Patrik (28 February 2015). "Danuta från Polen var"tanten med väskan"". Expressen (ภาษาสวีเดน).
  12. Merrill 2020, p. 122.
  13. Maestre, Antonio (26 November 2019). "Nadia es nuestra Danuta". LaSexta (ภาษาสเปน).
  14. Previdelli, Fabio (2 May 2020). "Muito além da foto: Danuta Danielsson, a mulher que deu bolsada em um neonazista". Aventuras na História (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล).

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]