ข้ามไปเนื้อหา

หลี่ จงเหว่ย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยังเบอร์บาฮาเกีย ดาตุก
หลี่ จงเหว่ย์
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเกิดหลี่ จงเหว่ย์
ประเทศมาเลเซีย
เกิด (1982-10-21) 21 ตุลาคม ค.ศ. 1982 (41 ปี)
บากันเซอไร รัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย
สถานที่พักกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
ส่วนสูง1.72 m (5 ft 7 12 in)
น้ำหนัก68 kg (150 lb; 10.7 st)
ปีที่แข่งขัน2000–2019
อำลาวงการ13 มิถุนายน ค.ศ. 2019
มือที่ถนัดขวา
ชายเดี่ยว
สถิติการแข่งขันชนะ 711 ครั้ง, แพ้ 134 ครั้ง
ชนะเลิศ69
อันดับโลกสูงสุด1 (29 มิถุนายน ค.ศ. 2006)
รายการเหรียญรางวัล
แบดมินตันชาย
ตัวแทนของ ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย
กีฬาโอลิมปิก
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ปักกิ่ง 2008 ชายเดี่ยว
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ลอนดอน 2012 ชายเดี่ยว
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ริโอเดจาเนโร 2016 ชายเดี่ยว
ชิงแชมป์โลก
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ลอนดอน 2011 ชายเดี่ยว
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ กว่างโจว 2013 ชายเดี่ยว
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ จาการ์ตา 2015 ชายเดี่ยว
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 แอนะไฮม์ 2005 ชายเดี่ยว
ซูดีร์มันคัพ
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 กว่างโจว 2009 ทีมผสม
ทอมัสคัพ
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ นิวเดลี 2014 ทีมชาย
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 เซ็นได/โตเกียว 2006 ทีมชาย
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 จาการ์ตา 2008 ทีมชาย
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 กัวลาลัมเปอร์ 2010 ทีมชาย
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 คุนชาน 2016 ทีมชาย
กีฬาเครือจักรภพ
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เมลเบิร์น 2006 ชายเดี่ยว
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เมลเบิร์น 2006 ทีมผสม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เดลี 2010 ชายเดี่ยว
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เดลี 2010 ทีมผสม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ โกลด์โคสต์ 2018 ชายเดี่ยว
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ โกลด์โคสต์ 2018 ทีมผสม
เอเชียนเกมส์
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ กว่างโจว 2010 ชายเดี่ยว
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 โดฮา 2006 ชายเดี่ยว
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 โดฮา 2006 ทีมชาย
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 อินช็อน 2014 ชายเดี่ยว
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 อินช็อน 2014 ทีมชาย
ชิงแชมป์เอเชีย
เหรียญทอง - ชนะเลิศ โจโฮร์บะฮ์รู 2006 ชายเดี่ยว
เหรียญทอง - ชนะเลิศ อู่ฮั่น 2016 ชายเดี่ยว
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 อู่ฮั่น 2017 ชายเดี่ยว
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 อู่ฮั่น 2018 ชายเดี่ยว
ชิงแชมป์ทีมเอเชีย
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 อาโลร์เซอตาร์ 2018 ทีมชาย
ซีเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ มะนิลา 2005 ทีมชาย
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 โฮจิมินห์ 2003 ทีมชาย
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 มะนิลา 2005 ชายเดี่ยว
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 สิงคโปร์ 2015 ทีมชาย
ชิงแชมป์เยาวชนโลก
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 กว่างโจว 2000 ชายเดี่ยว
ชิงแชมป์เยาวชนเอเชีย
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 เกียวโต 2000 ทีมชาย
BWF profile
ข้อมูลล่าสุดวันที่ 08:23, 13 เมษายน ค.ศ. 2017 (UTC)
หลี่ จงเหว่ย์
อักษรจีนตัวเต็ม李宗偉
อักษรจีนตัวย่อ李宗伟

หลี่ จงเหว่ย์ ดีบี, ดีซีเอสเอ็ม, พีเจเอ็น, ดีเอสพีเอ็น, เอเอ็มเอ็น, โอแอลวาย (จีน: 李宗伟; เป่อ่วยยี: Lí Chong-úi; เกิดวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1982) เป็นอดีตนักแบดมินตันมืออาชีพชาวมาเลเซีย เขาเป็นมือวางอันดับ 1 ในประเภทเดี่ยวทั่วโลกเป็นเวลา 349 สัปดาห์ ซึ่งนับรวมช่วงที่ยาวติดต่อกัน 199 สัปดาห์ในวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 2008 ถึง 14 มิถุนายน ค.ศ. 2012[1][2] เขาเป็นนักแบดมินตันชาวมาเลเซียคนที่ 5 หลังจาก Foo Kok Keong, ราชิด ซีเด็ก, รซลิน ฮาชิม และ Wong Choong Hann ที่ได้รับตำแหน่งนี้ (นับตั้งแต่มีการจัดอันดับอย่างเป็นทางการครั้งแรกในคริสต์ทศวรรษ 1980) และเป็นนักแบดมินตันชาวมาเลเซียคนเดียวที่เป็นมือวางอันดับหนึ่งเป็นเวลามากกว่าหนึ่งปี[3] เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2023 หลี่ได้รับการบรรจุลงในหอเกียรติยศแบดมินตันสหพันธ์แบดมินตันโลก[4][5] ข้อมูลหลายแหล่งยกย่องให้เขาเป็นหนึ่งในผู้เล่นแบดมินตันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[6][7]

หลี่ได้รับเหรียญเงิน 3 เหรียญในกีฬาโอลิมปิก และเป็นชาวมาเลเซียคนที่ 6 ที่ได้รับเหรียญโอลิมปิก[3] เขาได้เหรียญเงินครั้งแรกในปี 2008 ซึ่งเป็นครั้งแรกของมาเลเซียที่เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศประเภทชายเดี่ยว รางวัลนี้ทำให้เขาได้รับตำแหน่ง ดาตุก เขาสร้างรางวัลอีกสองครั้งในปี 2012 และ 2016 ทำให้เขากลายเป็นนักกีฬาโอลิมปิกชาวมาเลเซียที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์[8]

ณ วันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 2019 หลี่ประกาศเกษียณตนเองหลังดิ้นรนเพื่อกลับมาฟิตสมบูรณ์อีกครั้งหลังได้รับการตรวจวินิจฉัยเป็นมะเร็งจมูก[9] เขาได้รับเลือกเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนมาเลเซียในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020[10] แต่ข้ามงานนี้เนื่องจากมีปัญหาสุขภาพ เขายังคงทำหน้าที่เดิมแม้ว่าจะต้องทำหน้าที่เสมือนก็ตาม[11][12]

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]

หลี่เกิดที่บากันเซอไร รัฐเปรัก[13] จาก Lee Ah Chai กับ Khor Kim Choi ในครอบครัวมาเลเซี่ยเชื้อสายจีน[14][15] ในช่วงต้น เขาชื่นชอบบาสเกตบอล แต่ภายหลังแม่ห้ามไม่ให้เข้าเล่นเพราะอากาศร้อนอบอ้าวในสนามบาสเกตบอลกลางแจ้ง หลี่เริ่มเรียนแบดมินตันตอนอายุ 11 ขวบ เมื่อพ่อผู้ชอบเล่นกีฬานี้พาเขาไปที่หอแบดมินตัน เขาได้รับความสนใจจาก Teh Peng Huat โค้ชในท้องที่ผู้ถามพ่อของหลี่ว่าจะขอตัวหลี่เป็นลูกศิษย์ได้หรือไม่ หลังได้รับคำอนุญาตจากพ่อ Teh จึงเริ่มฝึกสอนหลี่หลังเลิกเรียน[16] เขาได้รับเกณฑ์เข้าทีมชาติใน ค.ศ. 2000 ตอนอายุ 17 ปี หลังมิซบุน ซีเด็กพบตัวเขา[17]

อาชีพ

[แก้]

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

[แก้]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2017 มีการเผยแพร่ภาพยนตร์ตัวอย่างแรกของภาพยนตร์ชีวประวัติเกี่ยวกับตัวเขา[18] ชื่อ หลี่ จงเหว่ย์ ภาพยนตร์ชีวประวัติออกฉายปฐมฤกษ์ในวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 2018 ที่สนามกีฬาแห่งชาติบูกิตจาลิล กัวลาลัมเปอร์ ก่อนออกฉายทั่วประเทศในวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 2018[19]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Chong Wei calls it quits". The Star Online. thestar.com.my. 13 June 2019. สืบค้นเมื่อ 14 June 2019.
  2. "最新世界排名 林丹压宗伟重返第一". Kwong Wah Yit Poh. 21 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2013. สืบค้นเมื่อ 25 June 2012.
  3. 3.0 3.1 "马来西亚选手李宗伟向历史纪录挑战 中国三虎围剿林丹最有威胁". Malaysia International Education Alliance. Schoolmy.com. สืบค้นเมื่อ 17 August 2013.
  4. Browning, Oliver. "Lin Dan Lee Chong Wei Induction". independent.co.uk. The Independent. สืบค้นเมื่อ 7 May 2024.
  5. "Lin Dan, Lee Chong Wei Elected to BWF Hall of Fame". Badminton World Federation. 2 May 2023. สืบค้นเมื่อ 19 May 2023.
  6. "Lee Chong Wei 'feels like giving up' on Malaysian badminton". france24. สืบค้นเมื่อ 29 May 2024.
  7. Browning, Oliver. "Watch as Badminton legends Lin Dan and Lee Chong Wei inducted into Hall of Fame". independent. สืบค้นเมื่อ 29 May 2024.
  8. "London 2012 Badminton: Lin Dan beats Lee Chong Wei to win Gold". NDTV. 5 August 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-07. สืบค้นเมื่อ 5 August 2012.
  9. "Lee Chong Wei: Former badminton world number one retires after cancer treatment". BBC. BBC.com. 13 June 2019. สืบค้นเมื่อ 13 June 2019.
  10. "OCM confirms Chong Wei as chef de mission for Tokyo Olympics". New Straits Times. nst.com.my. Bernama. 15 June 2019. สืบค้นเมื่อ 16 June 2019.
  11. "Chong Wei not going to Tokyo Olympics, confirms minister". Malay Mail. 5 July 2021. สืบค้นเมื่อ 6 July 2021.
  12. "Chong Wei remains as Malaysia chef de mission despite not travelling to Tokyo Olympics". Stadium Astro. 6 July 2021. สืบค้นเมื่อ 6 July 2021.
  13. Dare to be a Champion. Bukuganda Digital & Publication. 2012. p. 215. ISBN 9789671084328. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2017. สืบค้นเมื่อ 5 August 2012.
  14. "'He is number one in my heart,' says Chong Wei's father". New Straits Times. 21 August 2016.
  15. "Chong Wei's dad marries again". The Star Online. 26 January 2014.
  16. [羽球]李宗伟:中马间的"二道贩子"和黄妙珠是"好友". Sina Sport (ภาษาจีน). sports.dl.net.cn. 11 October 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-14. สืบค้นเมื่อ 13 December 2008.
  17. "Interview with Lee Chong Wei". Badminton-Information. 25 May 2008. สืบค้นเมื่อ 24 November 2008.
  18. "First trailer out for Lee Chong Wei biopic". The Star Online. 21 December 2017. สืบค้นเมื่อ 22 December 2017.
  19. Kho, Gordon (18 January 2018). "Movie premiere is the Wei to go". The Star. Thestar.com.my. สืบค้นเมื่อ 27 February 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]