ข้ามไปเนื้อหา

โพแทสเซียมไดไซยาโนออเรต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โพแทสเซียมไดไซยาโนออเรต
ชื่อ
IUPAC name
Potassium dicyanoaurate(I)
ชื่ออื่น
potassium cyanoaurate[1]
potassium gold cyanide
potassium gold dicyanide
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
6235525
ChEBI
เคมสไปเดอร์
ECHA InfoCard 100.034.303 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
EC Number
  • 237-748-4
37363
UNII
UN number 1588
  • InChI=1S/2CN.Au.K/c2*1-2;;/q2*-1;2*+1
    Key: XTFKWYDMKGAZKK-UHFFFAOYSA-N
  • ionic form: [C-]#N.[C-]#N.[K+].[Au+]
  • coordination form: N#C[Au-]C#N.[K+]
คุณสมบัติ
KAu(CN)2
มวลโมเลกุล 288.101 g/mol
ลักษณะทางกายภาพ ผลึกสีขาว[1]
ความหนาแน่น 3.45 g/cm3[1]
จุดเดือด สลายตัว
140 g/L[1]
โครงสร้าง
รอมโบฮีดรัล, hR54, No. 148
R3
a = 0.728 nm, b = 0.728 nm, c = 2.636 nm
1.2099 nm3
9
ความอันตราย
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS/OSH):
อันตรายหลัก
เป็นพิษ
GHS labelling:
The corrosion pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)The skull-and-crossbones pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)The environment pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)
เตือน
H290, H300, H310, H315, H317, H318, H330, H410
P260, P264, P273, P280, P284, P301+P310
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
แอนไอออนอื่น ๆ
โพแทสเซียมอาร์เจนโตไซยาไนด์
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

โพแทสเซียมไดไซยาโนออเรต (อังกฤษ: potassium dicyanoaurate) หรือโพแทสเซียมโกลด์ไซยาไนด์ (อังกฤษ: potassium gold cyanide) หรือเกลือทอง[3] เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่มีสูตรโมเลกุล K[Au(CN)2] เป็นของแข็งไม่มีสีถึงสีขาวที่ละลายน้ำได้ และละลายได้เล็กน้อยในแอลกอฮอล์ เกลือมักไม่ถูกแยกออกมา แต่สารละลายของไอออนไดไซยาโนออเรต ([Au(CN)2]) ถูกสร้างขึ้นในปริมาณมากในการสกัดทองคำจากแร่[4]

การผลิต

[แก้]

ในการขุดทองคำจากแหล่งที่มีสิ่งเจือปน ทองคำจะถูกคัดเลือกสกัดด้วยการละลายในสารละลายไซยาไนด์ในน้ำ ซึ่งได้จากการละลายโซเดียมไซยาไนด์ โพแทสเซียมไซยาไนด์ และ/หรือแคลเซียมไซยาไนด์ ปฏิกิริยาการละลายทองคำซึ่งเรียกว่า "สมการเอลส์เนอร์ (Elsner equation)" คือ:

4 Au + 8 KCN + O2 + 2 H2O → 4 K[Au(CN)2] + 4 KOH

ในกระบวนการนี้ ออกซิเจนจะเป็นตัวออกซิไดซ์[5]

ออกซิเจนสามารถผลิตได้จากปฏิกิริยาของเกลือโกลด์(I) กับโพแทสเซียมไซยาไนด์ที่มากเกินพอ

AuCl + 2 KCN → K[Au(CN)2] + KCl

โครงสร้าง

[แก้]
แอนไอออนไดไซยาโนออเรตมีโครงสร้างรูปแท่ง

โพแทสเซียมไดไซยาโนออเรตเป็นเกลือ แอนไอออนไดไซยาโนออเรตมีโครงสร้างเป็นเชิงเส้นตามการศึกษาโครงสร้างผลึกด้วยรังสีเอกซ์[4] โดยการใช้เทคนิคอินฟราเรดสเปกโตรสโคปี พบว่าแอนไอออนไดไซยาโนออเรตมีโครงสร้างที่คล้ายกันมากกับโซเดียมไดไซยาโนออเรต (NaAu(CN)2)[6]

การใช้งาน

[แก้]

ไดไซยาโนออเรตเป็นสารที่สามารถละลายได้ซึ่งถูกใช้เป็นหลักในการสกัดทองคำโดยการเติมไซยาไนด์ (gold cyanidation) ซึ่งเป็นกระบวนทางโลหวิทยาการละลายในการสกัดทองคำจากแร่ที่มีสิ่งเจือปน ในกระบวนการเชิงพาณิชย์ โซเดียมไซยาไนด์ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายมากกว่าเกลือโพแทสเซียม[7]

นอกเหนือจากการใช้งานหลักเป็นสารมัธยันต์ในการสกัดทองคำแล้ว โพแทสเซียมไดไซยาโนออเรตยังมักใช้ในการชุบทองอีกด้วย

สารประกอบที่เกี่ยวข้อง

[แก้]

สารประกอบที่มีโกลด์(III) ไซยาไนด์ ที่เป็นที่รู้จักอีกชนิดหนึ่งคือ โพแทสเซียมเตตระไซยาโนออเรต(III), K[Au(CN)4] การใช้สารประกอบนี้ไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนัก

ไอออนโพแทสเซียมสามารถถูกแทนที่ด้วยแคตไอออนควอเตอร์นารีแอมโมเนียมได้เช่น ในเตตระบิวทิลแอมโมเนียมไดไซยาโนออเรต[8]

ความปลอดภัย

[แก้]

การรับประทานโพแทสเซียมไดไซยาโนออเรต หรือเกลือทอง ปริมาณ 2 กรัม อาจทำให้เสียชีวิตเฉียบพลัน โดยเป็นพิษจากทองที่ขัดขวางเอนไซม์โรดาเนส (rhodanese) ซึ่งร่างกายใช้ขจัดพิษจากไซยาไนด์[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Haynes, William M., บ.ก. (2011). CRC Handbook of Chemistry and Physics (92nd ed.). CRC Press. p. 4.82. ISBN 978-1-4398-5511-9.
  2. Greenwood, N. N.; & Earnshaw, A. (1997). Chemistry of the Elements (2nd Edn.), Oxford:Butterworth-Heinemann. ISBN 0-7506-3365-4.
  3. "ทำความรู้จัก "เกลือทอง" หรือ โกลด์ไซยาไนด์ ใช้ในอุตสาหกรรมการชุบเครื่องประดับ". ผู้จัดการออนไลน์. 16 สิงหาคม 2024.
  4. 4.0 4.1 Rosenzweig, A.; Cromer, D. T. (1959). "The Crystal Structure of KAu(CN)2". Acta Crystallographica. 12 (10): 709–712. doi:10.1107/S0365110X59002109.
  5. "Treatment of Ores Containing Reactive Iron Sulphides" (PDF). Multi Mix Systems. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 ตุลาคม 2009.
  6. Chadwick, B.M.; Frankiss, S.G. (1976). "Vibrational Spectra and Structures of Some Dicyanoaurate(I) Complexes". Journal of Molecular Structure. 31 (1): 1–9. Bibcode:1976JMoSt..31....1C. doi:10.1016/0022-2860(76)80113-5.
  7. Rubo, Andreas; Kellens, Raf; Reddy, Jay; Steier, Norbert; Hasenpusch, Wolfgang (2006), "Alkali Metal Cyanides", Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry, Weinheim: Wiley-VCH, doi:10.1002/14356007.i01_i01. ISBN 978-3-527-30673-2.
  8. Stender, Matthias; Olmstead, Marilyn M.; Balch, Alan L.; Rios, Daniel; Attar, Saeed (2003). "Cation and Hydrogen Bonding Effects on the Self-Association and Luminescence of the Dicyanoaurate Ion, Au(CN)2". Dalton Transactions (22): 4282. doi:10.1039/b310085e.
  9. Wright, I. H.; Vesey, C. J. (กันยายน 1986). "Acute poisoning with gold cyanide". Anaesthesia. 41 (9): 936–939. doi:10.1111/j.1365-2044.1986.tb12920.x. PMID 3022615.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]