ข้ามไปเนื้อหา

การจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติ (อังกฤษ: National Library of Medicine classification) เป็นระบบการจัดทำดัชนีห้องสมุดที่ครอบคลุมสาขาการแพทย์และวิทยาศาสตร์พื้นฐานก่อนคลินิก การจัดหมู่ของห้องสมุดแพทย์แห่งชาติสหรัฐ (NLM) มีรูปแบบตามการจัดหมู่หนังสือแบบหอสมุดรัฐสภา (LC) โดยตัวอักษรหมายถึงหมวดหมู่หัวเรื่องกว้าง ๆ ที่แบ่งย่อยด้วยตัวเลข ตัวอย่างเช่น QW 279 จะระบุหนังสือเกี่ยวกับจุลชีววิทยาหรือภูมิคุ้มกันวิทยา[1][2]

รหัสตัวอักษรหนึ่งหรือสองตัวอักษรในการจัดหมู่ของ NLM ใช้ตัวอักษรที่จำกัดคือ QS–QZ และ W–WZ เท่านั้น ซึ่งทำให้ระบบ NLM สามารถใช้ร่วมกับระบบการเข้ารหัส LC ที่ใหญ่กว่าได้ เนื่องจากไม่มีการใช้ช่วงเหล่านี้ในระบบ LC อย่างไรก็ตาม มีรหัสที่มีอยู่ก่อนหน้านี้สามรหัสในระบบ LC ซึ่งทับซ้อนกับ NLM ได้แก่ กายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ (QM) จุลชีววิทยา (QR) และการแพทย์ (R) เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนเพิ่มเติม รหัสทั้งสามนี้จึงไม่ถูกใช้ใน NLM[1][2][3]

หัวเรื่องสำหรับรายการเอกเทศ (ตัวอักษรหนึ่งหรือสองตัว) จะแสดงในรูปแบบย่อ (เช่น QW - จุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกันวิทยา WG - ระบบหัวใจและหลอดเลือด) และเมื่อนำมารวมกันก็จะให้ภาพรวมของหัวข้อต่าง ๆ ที่ครอบคลุมโดยการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติ หัวเรื่องต่าง ๆ จะได้รับการตีความอย่างกว้าง ๆ ซึ่งรวมถึงระบบสรีรวิทยา ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่เกี่ยวข้อง ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก และสาขาที่เกี่ยวข้องรองลงมา ระบบ NLM นั้นเป็นแบบลำดับชั้น และภายในตารางแต่ละตาราง การแบ่งตามอวัยวะมักจะมีความสำคัญ ตารางหลักแต่ละตาราง รวมถึงหัวข้อย่อยบางส่วน จะเริ่มต้นด้วยกลุ่มของหมายเลขแบบรายการซึ่งโดยทั่วไปจะมีตั้งแต่ 1–49 ซึ่งจะจำแนกวัสดุตามประเภทสิ่งพิมพ์ เช่น พจนานุกรม แผนที่ คู่มือห้องปฏิบัติการ เป็นต้น[1][2]

ตารางหลัก QS–QZ, W–WY และ WZ (ไม่รวมช่วง WZ 220–270) จะจำแนกผลงานที่ตีพิมพ์หลังปี ค.ศ. 1913 ส่วนตารางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ใช้สำหรับผลงานที่ตีพิมพ์ในช่วงปี ค.ศ. 1801–1913 และตาราง WZ 220–270 ใช้เพื่อจัดกลุ่มศตวรรษสำหรับผลงานที่ตีพิมพ์ก่อนปี ค.ศ. 1801

ตัวอย่างเช่น หัวข้อตัจวิทยาจะเกี่ยวข้องกับรหัส WR ที่เป็นส่วนบนของลำดับชั้นรายการ[4]​ และภายในของลำดับจะแบ่งออกเป็น:[4]

ระบบการจัดหมู่หนังสือของห้องสมุดแพทยศาสตร์แห่งชาติ เป็นส่วนหนึ่งของระบบการวิเคราะห์และสืบค้นวรรณกรรมทางการแพทย์ (MEDLARS) และสอดคล้องกับตัวแปรเสริมของหัวข้อเนื้อหาทางการแพทย์ (MeSH) ในขอบเขตที่เกี่ยวข้อง[5][6] การปรับปรุงครั้งล่าสุดของระบบการจัดหมู่หนังสือเผยแพร่ในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 2019[7][8]

หมวดหมู่ตามการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติ

[แก้]

วิทยาศาสตร์ก่อนคลินิก

[แก้]

การแพทย์และวิชาที่เกี่ยวข้อง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "NLM Classification Fact Sheet". National Library of Medicine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 เมษายน 2018. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2019.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 2.2 "Outline of the NLM Classification". National Library of Medicine. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2019.
  3. "Library of Congress Classification". Library of Congress (PDF). สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2019.
  4. 4.0 4.1 "NLM Classification Schedule WR". National Library of Medicine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2019.
  5. Jiménez Miranda, Jorgelina (สิงหาคม 2001). "Vigencia del sistema de clasificación de la Biblioteca Nacional de Medicina de los Estados Unidos". ACIMED (ภาษาสเปน). 9 (2): 88–108. ISSN 1024-9435. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2019.
  6. "Medical Subject Headings - Home Page". National Library of Medicine. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2019.
  7. "Scope of Revision for the 2017 Winter Edition". National Library of Medicine. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2019.
  8. "Class Numbers Added and Canceled". National Library of Medicine. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2019.

บรรณานุกรม

[แก้]