ข้ามไปเนื้อหา

จอร์จ ฟลอยด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอร์จ ฟลอยด์
เกิดจอร์จ เพอร์รี ฟลอยด์ จูเนียร์
14 ตุลาคม ค.ศ. 1973(1973-10-14)[1]
เฟย์เอตต์วิลล์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐ
เสียชีวิต25 พฤษภาคม ค.ศ. 2020(2020-05-25) (46 ปี)
มินนีแอโพลิส รัฐมินนิโซตา สหรัฐ
สาเหตุเสียชีวิตหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเนื่องจากถูกกดทับที่คอ[2]
อาชีพ
  • คนขับรถบรรทุก
  • เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
มีชื่อเสียงจากสาเหตุการเสียชีวิต
บุตร5 คน

จอร์จ เพอร์รี ฟลอยด์ จูเนียร์ (อังกฤษ: George Perry Floyd Jr.; 14 ตุลาคม ค.ศ. 1973 – 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2020) เป็นชายชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาที่ถูกฆาตกรรมโดยตำรวจผิวขาวขณะถูกจับกุมที่มินนีแอโพลิส รัฐมินนิโซตา หลังพนักงานร้านค้าสงสัยว่าฟลอยด์อาจใช้ธนบัตร 20 ดอลลาร์ปลอมเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2020[3] เดเรก ชอวิน เจ้าหน้าที่ตำรวจคนหนึ่งจากทั้งสี่คนที่เข้ามายังที่เกิดเหตุ คุกเข่าบนคอและหลังของฟลอยด์นาน 9 นาที 29 วินาที ทำให้เขาเสียชีวิตจากการขาดออกซิเจน[4] หลังการฆาตกรรมจึงเกิดการประท้วงต่อการใช้กำลังเกินกว่าเหตุโดยตำรวจ โดยเฉพาะต่อคนผิวดำ ซึ่งกระจายไปทั่วสหรัฐและทั่วโลกอย่างรวดเร็ว "I can't breathe" คำพูดตอนที่เสียชีวิต กลายเป็นสโลแกนรณรงค์ของกลุ่มประท้วง

ฟลอยด์เกิดที่เฟย์เอตต์วิลล์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา เติบโตที่ฮิวสตัน รัฐเท็กซัส โดยเล่นอเมริกันฟุตบอลและบาสเกตบอลในช่วงไฮสกูลและวิทยาลัย จากนั้นใน ค.ศ. 1997 ถึง 2005 เขาถูกตัดสินว่ามีความผิด 8 กระทง โดยถูกจำคุกสี่ปีหลังทำการต่อรองคำรับสารภาพฐานบุกรุกเข้าไปในเคหสถานในเวลากลางคืนเพื่อขโมยของใน ค.ศ. 2007[5] หลังได้รับทัณฑ์บนใน ค.ศ. 2013 เขาจึงทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในชุมชนศาสนาของเขา และโพสต์วิดีโอต่อต้านความรุนแรงลงในโซเชียลมีเดีย[6][7][8][9] ใน ค.ศ. 2014 เขาย้ายไปยังพื้นที่มินนิแอโพลิส โดยอาศัยใกล้ชานเมืองเซนต์ลุยส์พาร์กและทำงานเป็นคนขับรถบรรทุกและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ใน ค.ศ. 2020 เขาสูญเสียทั้งสองงานในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19

หลังจากเสียชีวิต ทางสภานครมินนิแอโพลิสยุติคดีความเกี่ยวกับการเรียกร้องสินไหมมรณกรรมอย่างผิดกฎหมาย (wrongful death lawsuit) กับครอบครัวฟลอยด์ด้วยเงิน 27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ชอวินถูกตัดสินให้มีความผิด 2 กระทงฐานฆาตกรรมและฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 2021[10] และในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 2021 เขาถูกตัดสินให้จำคุก 22 1/2 ปี[11] ส่วนเจ้าหน้าที่อีกสามคนในที่เกิดเหตุภายหลังถูกตัดสินให้มีความผิดฐานละเมิดสิทธิพลเมืองของฟลอยด์[12]

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา

[แก้]

ฟลอยด์เกิดในวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1973 ที่เฟย์เอตต์วิลล์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา จากจอร์จ เพอร์รี (1949–2002) กับลาร์ซีเนีย "ซิสซี" โจนส์ ฟลอยด์ (1947–2018)[8][13] เขามีพี่น้อง 4 คน[14][15][16]

หลังพ่อแม่ของฟลอยด์แยกทางกันตอนอายุ 2 ขวบ แม่นำลูก ๆ ของเธอไปที่ฮิวส์ตัน รัฐเท็กซัส ครอบครัวเข้าอาศัยในโครงการบ้านพักอาศัยสาธารณะ Cuney Homes[6][17][18] รู้จักกันในชื่อ the Bricks ในย่านที่สามของฮิวส์ตันที่มีประวัติเป็นชุมชนชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา[8][13][6] ตอนวัยเด็ก ฟลอยด์ได้รับการเรียกขานเป็นเพอร์รี หรือบิ๊กฟลอยด์ เนื่องจากเขาสูงกว่า หก ฟุต (183 เซนติเมตร) ในช่วงเรียนมัธยมต้น เขาเห็นว่ากีฬาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชีวิตของเขา[6]

ฟลอยด์เข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นไรอัน[19] และจบการศึกษาจากเยตส์ไฮสกูลใน ค.ศ. 1993 ขณะเรียนอยู่ที่เยตส์ เขาเป็นกัปตันร่วมของทีมบาสเกตบอลโดยเล่นเป็นเพาเวอร์ฟอร์เวิร์ด และยังเข้าในทีมอเมริกันฟุตบอลในฐานะไทต์เอนด์ และใน ค.ศ. 1992 ทีมองเขาสามารถเข้าไปยังการแข่งขันชิงแชมป์ระดับรัฐเท็กซัส[8][15][6][17]

วัยผู้ใหญ่

[แก้]

หลังเรียนวิทยาลัย

[แก้]

ฆาตกรรม

[แก้]
อนุสรณ์แด่ปลอยด์หลังเหตุฆาตกรรมเพียงสองวัน

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2020 พนักงานร้านขายของชำ Cup Foods โทรหาตำรวจโดยสงสัยว่าฟลอยด์ใช้ธนบัตร 20 ดอลลาร์ปลอม[20] ฟลอยด์นั่ในรถกับผู้โดยสารคนอื่น 2 คน เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังลากฟลอยด์ออกจากรถและใส่กุญแจมือเขา[21]

ฟลอยด์ถูกฆาตกรรมจากเดเรก ชอวิน เจ้าหน้าที่ตำรวจมินนิแอโพลิสผิวขาว[22]ผู้ใช้เข่ากดที่คอของฟลอยด์เป็นเวลา 9 นาที 29 วินาที[note 1][23] ขณะที่ฟลอยด์ถูกใส่กุญแจมือคว่ำหน้าอยู่บนถนน[24][25][26] วิดีโอจากมือถือของพยานเผยให้เห็นว่า[6][27] เจ้าหน้าที่อีก 2 นายเข้ายับยั้งฟลอยด์ไว้ และเจ้าหน้าที่คนที่ 4 กันไม่ให้ผู้สังเกตการณ์เข้าไปแทรกแซง[28]: 6:24 [29][30] ขณะที่ฟลอยด์ได้ร้องขอซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่าตนหายใจไม่ออก[13] ในช่วงสองนาทีสุดท้าย[31] ตัวฟลอยด์ไม่มีความเคลื่อนไหวและไม่มีชีพจร[32][33] แต่ชอวินยังคงกดเข่าที่คอและหลังของฟลอยด์ขณะที่เจ้าหน้าที่การแพทย์ฉุกเฉินเดินทางมาถึงเพื่อรักษาฟลอยด์[34]: 7:21 

สิ่งสืบทอด

[แก้]

การชุมนุม

[แก้]

หลังจากฟลอยด์ถูกฆาตกรรม เกิดการประท้วงและการจลาจล[35][36][37]เพื่อต่อต้านการใช้กำลังเกินกว่าเหตุโดยตำรวจต่อผู้ต้องสงสัยผิวดำและการขาดความรับผิดชอบของตำรวจทั่วโลก การประท้วงเริ่มขึ้นที่มินนิแอโพลิสหนึ่งวันหลังเกิดเหตุ และกระจายไปในเมืองทั่ว 50 รัฐของสหรัฐและระดับนานาชาติ[38][39] เดอะนิวยอร์กไทมส์กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังการฆาตกรรมของฟลอยด์ และวิดีโอที่เผยแพร่ออกไปเป็น "การประท้วงที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐนับตั้งแต่สมัยสิทธิพลเมือง (Civil Rights era)"[40] การเรียกร้องให้ตัดงบและยุบเลิกตำรวจกระจายอย่างแพร่หลาย[41] การประท้วงกลายเป็นเหตุการณ์ความไม่สงบทางสังคมครั้งแรกที่สร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมประกันภัยเกิน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[37] ในบางเมือง การประท้วงมีความรุนแรงมากจนต้องมีการประกาศเคอร์ฟิว[42]

อนุสรณ์

[แก้]
รภม้าที่บรรจุโลงศพของฟลอยด์เดินทางไปยังสุสานที่แพร์แลนด์ รัฐเท็กซัสในวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 2020

ความพยายามอภัยโทษหลังเสียชีวิต

[แก้]

ใน ค.ศ. 2022 คณะกรรมการอภัยโทษและทัณฑ์บนแห่งรัฐเท็กซัสปฏิเสธที่จะออกใบอภัยโทษหลังเสียชีวิตในเรื่องการตรวจค้นยาเสพติดใน ค.ศ. 2004 ที่นำไปสู่การตัดสินลงโทษฟลอยด์ในทางอาญา[43]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ฟลอยด์เป็นลูกคนโตจากพี่น้อง 5 คน และเขามีลูก 5 คน ซึ่งรวมลูกสาวสองคน (อายุ 6 ขวบและ 22 ปีตอนที่เขาถูกฆาตกรรม) และลูกชายวัยผู้ใหญ่[44][45][46][47][48] เขายังมีหลานสองคน[13][14]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2017 ฟลอยด์พบกับแฟนชื่อคอร์ตนีย์ รอสส์ที่มินนิแอโพลิส แต่ว่าทั้งคู่แยกทางกันในช่วงต้น ค.ศ. 2020[49]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. 9:29 ไม่ใช่ 7:46

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Mr. George Floyd Jr. Obituary – Visitation & Funeral Information". Estes Funeral Chapel. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 5, 2020. สืบค้นเมื่อ September 27, 2020.
  2. "George Floyd death homicide, official post-mortem declares". BBC News. June 2, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 2, 2020. สืบค้นเมื่อ June 2, 2020.
  3. McGreal, Chris (April 20, 2021). "Derek Chauvin found guilty of George Floyd's murder". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 20, 2021. สืบค้นเมื่อ April 20, 2021.
  4. Bailey, Holly (April 8, 2021). "George Floyd died of low level of oxygen, medical expert testifies; Derek Chauvin kept knee on his neck 'majority of the time'". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 12, 2021. สืบค้นเมื่อ April 12, 2021.
  5. Lee, Jessica (June 12, 2020). "Investigating George Floyd's Criminal Record". Snopes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 13, 2020. สืบค้นเมื่อ June 13, 2020.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 Fernandez, Manny; Burch, Audra D. S. (20 April 2021). "George Floyd, From 'I Want to Touch the World' to 'I Can't Breathe'". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 11, 2020.
  7. Henao, Luis Andres; Merchant, Nomaan; Lozano, Juan; Geller, Adam (June 11, 2020). "A long look at the complicated life of George Floyd". Chicago Tribune. Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 17, 2020. สืบค้นเมื่อ March 29, 2021.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Deng, Boer (May 31, 2020). "George Floyd, the man whose death sparked US unrest". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 3, 2020. สืบค้นเมื่อ September 27, 2020. Growing up a gifted athlete standing at six feet six inches, friends who knew Floyd as a teenager described him as a "gentle giant" who shone on the field
  9. Shellnutt, Kate (June 5, 2020). "George Floyd Left a Gospel Legacy in Houston". Christianity Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 1, 2020. สืบค้นเมื่อ June 1, 2020.
  10. Hayes, Mike; Macaya, Melissa; Wagner, Meg; Rocha, Veronica (April 20, 2021). "Derek Chauvin guilty in death of George Floyd: Live updates". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 21, 2021. สืบค้นเมื่อ April 20, 2021.
  11. Rocha, Veronica; Alfonso, Fernando III; Wagner, Meg; Macaya, Melissa (June 25, 2021). "Derek Chauvin sentenced to 22.5 years in prison for the murder of George Floyd". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 25, 2021. สืบค้นเมื่อ June 25, 2021.
  12. Silva, Daniella (24 February 2022). "3 officers found guilty on federal charges in George Floyd's killing". NBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 27, 2022. สืบค้นเมื่อ March 5, 2022.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 Richmond, Todd (May 28, 2020). "Who was George Floyd? Unemployed due to coronavirus, he'd moved to Minneapolis for a fresh start". Chicago Tribune. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 3, 2020. สืบค้นเมื่อ June 3, 2020.
  14. 14.0 14.1 Vagianos, Alanna (June 9, 2020). "'He's Gonna Change The World': George Floyd's Family Remembers The Man They Lost". HuffPost. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 11, 2020. สืบค้นเมื่อ June 11, 2020.
  15. 15.0 15.1 Jervis, Rick (June 9, 2020). "'George Floyd changed the world': Public viewing in Houston honors the man behind the social justice movement". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 11, 2020. สืบค้นเมื่อ June 11, 2020. By the time he left high school, he was 6 feet, 6 inches tall and weighed more than 200 pounds.
  16. R. Hernández, Arelis; Martin, Brittney; Iati, Marisa; Beachum, Lateshia (June 10, 2020). "'Fight for my brother.' As George Floyd is laid to rest, his family implores the nation to continue quest for justice". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 11, 2020. สืบค้นเมื่อ June 30, 2020.
  17. 17.0 17.1 Levenson, Eric; Lemos, Gregory; Vera, Amir (June 9, 2020). "The Rev. Al Sharpton remembers George Floyd as an 'ordinary brother' who changed the world". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 11, 2020. สืบค้นเมื่อ June 11, 2020.
  18. Henao, Luis Andres; Merchant, Nomaan; Lozano, Juan; Geller, Adam (June 10, 2020). "For George Floyd, a complicated life and a notorious death". Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 14, 2021. สืบค้นเมื่อ February 11, 2021.
  19. Shaw, Rissa (May 30, 2020). "George Floyd's former teammate wants him remembered as more than a news story". KWTX. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2021. สืบค้นเมื่อ April 12, 2021. ... met Floyd in the sixth grade at James D. Ryan Middle School in the Third Ward community of Houston.
  20. Bogel-Burroughs, Nicholas; Wright, Will (April 19, 2021). "Little has been said about the $20 bill that brought officers to the scene". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2022. สืบค้นเมื่อ August 9, 2022. Nearly a year after Mr. Floyd's death, it remains unclear where the bill came from and whether Mr. Floyd committed the crime that brought police officers to the scene.
  21. Furber, Matt; Burch, Audra D. S.; Robles, Frances (May 29, 2020). "What Happened in the Chaotic Moments Before George Floyd Died". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2020. สืบค้นเมื่อ 23 November 2021.
  22. Dastagir, Alia E. (April 8, 2021). "Derek Chauvin trial: Why white people need to watch, confront racism". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2021. สืบค้นเมื่อ February 16, 2022.
  23. Forliti, Amy; Karnowski, Steve; Webber, Tammy (April 5, 2021). "Police chief: Kneeling on Floyd's neck violated policy". Star Tribune. Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 10, 2021. สืบค้นเมื่อ April 8, 2021.
  24. "Complaint – State of Minnesota v. Derek Michael Chauvin" (PDF). Minnesota District Court, Fourth Judicial District, File No. 27-CR-20-12646. May 29, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ May 30, 2020. The defendant pulled Mr. Floyd out of the passenger side of the squad car at 8:19:38 p.m. and Mr. Floyd went to the ground face down and still handcuffed.
  25. Brooks, Jennifer (May 28, 2020). "George Floyd and the city that killed him". Star Tribune. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 28, 2020. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020. Down the road, people were marching and mourning Floyd, whose irreplaceable life ended after an arrest face-down on the asphalt of E. 38th Street.
  26. Silverman, Hollie (May 29, 2020). "Floyd was 'non-responsive' for nearly 3 minutes before officer took knee off his neck, complaint says". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2020. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020. The complaint noted that police are trained that this type of restraint with a subject in a "prone position is inherently dangerous."
  27. "Derek Chauvin trial: George Floyd 'slowly fading away' during police arrest". BBC. March 29, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 30, 2021. สืบค้นเมื่อ March 30, 2021.
  28. Bennett, Dalton; Lee, Joyce; Cahlan, Sarah (May 30, 2020). "The death of George Floyd: What video and other records show about his final minutes". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 14, 2020. สืบค้นเมื่อ June 1, 2020. (video @ YouTube เก็บถาวร มิถุนายน 2, 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
  29. Mannix, Andy (May 26, 2020). "What we know about Derek Chauvin and Tou Thao, two of the officers caught on tape in the death of George Floyd". Star Tribune. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 27, 2020. สืบค้นเมื่อ May 27, 2020.
  30. Forliti, Amy; Sullivan, Tim (May 29, 2020). "Officer Charged With George Floyd's Death as Protests Flare". Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 20, 2021. สืบค้นเมื่อ April 22, 2021.
  31. Forliti, Amy (June 18, 2020). "Prosecutors: Officer had knee on Floyd for 7:46, not 8:46". Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 13, 2022. สืบค้นเมื่อ July 24, 2020.
  32. Thorbecke, Catherine (May 29, 2020). "Derek Chauvin had his knee on George Floyd's neck for nearly 9 minutes, complaint says". ABC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 5, 2020. สืบค้นเมื่อ June 5, 2020.
  33. Higgins, Tucker; Mangan, Dan (June 3, 2020). "3 more cops charged in George Floyd death, other officer's murder charge upgraded". CNBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 4, 2020. สืบค้นเมื่อ June 5, 2020.
  34. Hill, Evan; Tiefenthäler, Ainara; Triebert, Christiaan; Jordan, Drew; Willis, Haley; Stein, Robin (May 31, 2020). "How George Floyd Was Killed in Police Custody". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 5, 2020. สืบค้นเมื่อ June 1, 2020. (ต้องรับบริการ)(video @ YouTube เก็บถาวร มิถุนายน 1, 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
  35. Kishi, Roudabeh; Jones, Sam (September 3, 2020). "Demonstrations and Political Violence in America: New Data for Summer 2020". Armed Conflict Location and Event Data Project. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 11, 2020. สืบค้นเมื่อ May 26, 2024.
  36. Robbins, James S. (31 August 2020). "Rioting is beginning to turn people off to BLM and protests while Biden has no solution". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 26, 2024. สืบค้นเมื่อ May 26, 2024.
  37. 37.0 37.1 "How 2020 protests changed insurance forever". World Economic Forum. 22 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 26, 2024. สืบค้นเมื่อ 27 May 2024.
  38. Murphy, Esme (May 26, 2020). "'I Can't Breathe!': Video Of Fatal Arrest Shows Minneapolis Officer Kneeling On George Floyd's Neck For Several Minutes". KSTP-TV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 26, 2020. สืบค้นเมื่อ May 26, 2020. While lying facedown on the road, Floyd repeatedly groans and says he can't breathe.
  39. Donaghue, Erin (May 29, 2020). "Mayor makes emotional call for peace after violent protests: 'I believe in Minneapolis'". CBS News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 29, 2020. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020.
  40. Martínez, Andrés R.; Arango, Tim (March 29, 2021). "First Witnesses in Derek Chauvin Trial Testify About George Floyd's Death". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 31, 2021. สืบค้นเมื่อ April 2, 2021.
  41. "What Defunding the Police Really Means". Black Lives Matter. July 6, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 27, 2021. สืบค้นเมื่อ April 26, 2021.
  42. Cheung, Helier (May 31, 2020). "George Floyd death: Why do some protests turn violent?". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 26, 2024. สืบค้นเมื่อ May 26, 2024.
  43. "Texas board denies posthumous pardon for George Floyd". Minnesota Public Radio. Associated Press. September 16, 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2022. สืบค้นเมื่อ September 16, 2022.
  44. Ortiz, Jorge L.; Hertel, Nora G.; Emert, Mark (June 4, 2020). "'He was like the general': Mourners grieve George Floyd at Minneapolis memorial service". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 8, 2020. สืบค้นเมื่อ June 8, 2020.
  45. Ellis, Nicquel Terry; Davis, Tyler J. (May 28, 2020). "George Floyd remembered as 'gentle giant' as family calls his death 'murder'". Milwaukee Journal Sentinel. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 4, 2020. สืบค้นเมื่อ June 2, 2020.
  46. "George Floyd's son joins Texas protesters in peaceful demonstration". KABC-TV. June 1, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 4, 2020.
  47. Pereira, Ivan (June 9, 2020). "Family members, dignitaries honor George Floyd at funeral service in Houston". ABC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 11, 2020. สืบค้นเมื่อ June 11, 2020.
  48. Hernández, Arelis R.; Martin, Brittney; Iati, Marisa; Beachum, Lateshia (June 9, 2020). "'Fight for my brother.' As George Floyd is laid to rest, his family implores the nation to continue quest for justice". The Washington Post. ISSN 0190-8286. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 11, 2020. สืบค้นเมื่อ April 26, 2021.
  49. McCoy, Kevin; Hauck, Grace (April 1, 2021). "George Floyd's girlfriend Courteney Ross gives jurors first glimpse of his personal life, good times and bad". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 27, 2021. สืบค้นเมื่อ November 27, 2021.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
วิดีโอหลายคลิปจากแหล่งข้อมูลภายนอก
video icon George Floyd Memorial Service in Minneapolis, June 4, 2020, C-SPAN
video icon George Floyd Funeral Service in Houston, June 9, 2020, C-SPAN