สะพานกลีนิคเคอ
สะพานกลีนิคเคอ | |
---|---|
Glienicker Brücke | |
สะพานกลีนิคเคอมองจากสวนบาเบลส์แบร์ค | |
พิกัด | 52°24′48″N 13°05′24″E / 52.413431°N 13.090114°E |
เส้นทาง | ถนนบุนเดอชตราสเซอไอส์ (Bundesstraße 1) |
ข้าม | แม่น้ำฮาเวล |
ชื่ออื่น | สะพานสายลับ, สะพานจารชน |
ตั้งชื่อตาม | วังกลีนิคเคอ |
เว็บไซต์ | เว็บทางการ |
ประวัติ | |
วันเปิด | 1907 |
ที่ตั้ง | |
สะพานกลีนิคเคอ (เยอรมัน: Glienicker Brücke, ) เป็นสะพานข้าม แม่น้ำฮาเวลในประเทศเยอรมนี เชื่อมต่อเขตวันเซของกรุงเบอร์ลินเข้ากับพ็อทส์ดัม เมืองหลวงของรัฐบรันเดินบวร์ค ชื่อของสะพานตั้งตามวังกลีนิคเคอซึ่งอยู่ใกล้กัน สะพานโครงสร้างปัจจุบันเป็นสะพานที่สี่ที่สร้างที่นี่ ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 1907 และผ่านการบูรณะครั้งใหญ่หลังถูกถล่มในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง[1]
ในสมัยสงครามเย็น เนื่องจากสะพานนี้เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเบอร์ลินตะวันตกกับรัฐบรันเดินบวร์คในเยอรมนีตะวันออก อเมริกาและโซเวียตใช้สะพานนี้ในการแลกเปลี่ยนนักโทษจารชน[2] ผู้สื่อข่าวจึงนิยมเรียกสะพานนี้ว่า "สะพานจารชน" (Bridge of Spies; บริดจ์ออฟสปายส์))[3] โดยเป็นการเล่นคำจากชื่อของสะพานถอนหายใจ (bridge of sighs; บริดจ์ออฟซายส์) ที่มีชื่อเสียงในเวนิส[4] [5] [6]
การแลกเปลี่ยนนักโทษบนสะพานนี้มีครั้งแรกในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 1962[2] โดยอเมริกาปล่อยตัว รูดอล์ฟ แอเบล นักโทษจารกรรมที่ทำงานให้กับโซเวียตที่ถูกตัดสินในปี 1957 แลกกับ แกรี พาเวอส์ กัปตันขับเครื่องบินจารกรรม U-2 ซึ่งถูกยิงตกในปี 1960[2] การแลกเปลี่ยนนักโทษครั้งที่สองบนสะพานนี้มีขึ้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 1985 โดยเป็นการแลกเปลี่ยนจารชนของอเมริกา 23 คนที่ถูกจับกุมในยุโรปตะวันออก แลกกับจารชนชาวโปแลนด์ มาเรียน ซาชาร์สกี และอีกสามคนซึ่งเป็นชาวโซเวียต ผ่านการเจรจานานสามปี[7] การแลกเปลี่ยนนักโทษครั้งสุดท้ายบนสะพานนี้มีขึ้นในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1986 โดยจารชนจากโลกตะวันตกสามคน, นักรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน (เรฟูเซนิค) อานาโตลี ชการานสกี แลกเปลี่ยนกับ คาร์ล คือเคอร์ และจารชนจากยุโรปจะวันออกอีกสี่คน[8][9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Glienicke Bridge (Potsdam/Berlin-Wannsee, 1907)". Structurae (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-16. สืบค้นเมื่อ 2021-08-11.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Troianovski, Anton; Mazzetti, Mark (2024-08-01). "Prisoners Are Back on U.S. Soil After Release by Russians". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2024-08-08.
- ↑ According to James M. Markham of The New York Times, the bridge was one "East German Communists call 'the bridge of unity,' but which might better be called 'the bridge of spies.'" Markham (11 February 1986). "Shcharansky to Be Released In a Berlin Exchange Today". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 February 2017.
- ↑ "I Spy: Bridge of Spies". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 2016-02-03.
- ↑ "Bridge of Spies". 19 October 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-06. สืบค้นเมื่อ 2016-02-03.
- ↑ "Bridge of Spies/Bridge of Sighs". 19 October 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2016-02-03.
- ↑ Curry, George E. (June 12, 1985). "U.s. Swaps 4 Spies For 25 Prisoners". The Chicago Tribune. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ 2013-01-14.
- ↑ "East, West exchange spies, Shcharansky". Houston Chronicle. 11 February 1986. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2012. สืบค้นเมื่อ 16 March 2020.
- ↑ Schreckinger, Ben; Ioffe, Julia (7 October 2016). "Lobbyist advised Trump campaign while promoting Russian pipeline". Politico. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2016. สืบค้นเมื่อ 16 March 2020.