แคลเซียมออกซาเลต
ชื่อ | |
---|---|
IUPAC name
Calcium oxalate
| |
เลขทะเบียน | |
| |
3D model (JSmol)
|
|
ChEBI | |
เคมสไปเดอร์ | |
ECHA InfoCard | 100.008.419 |
ผับเคม CID
|
|
CompTox Dashboard (EPA)
|
|
| |
| |
คุณสมบัติ | |
CaC2H2O5 (มอโนไฮเดรต) CaC2O4 (แอนไฮดรัส) | |
ลักษณะทางกายภาพ | ของแข็งสีขาว |
ความหนาแน่น | 2.20 g/cm3, มอโนไฮเดรต[1] |
จุดหลอมเหลว | 200 องศาเซลเซียส (392 องศาฟาเรนไฮต์; 473 เคลวิน) สลายตัว (มอโนไฮเดรต) |
0.67 mg/L (20 °C) | |
ความอันตราย | |
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS/OSH): | |
อันตรายหลัก
|
เป็นอันตราย, ระคายเคือง |
NFPA 704 (fire diamond) | |
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน | |
แอนไอออนอื่น ๆ
|
แคลเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมแอซิเตต แคลเซียมฟอร์เมต |
แคทไอออนอื่น ๆ
|
โซเดียมออกซาเลต เบริลเลียมออกซาเลต แมกนีเซียมออกซาเลต สตรอนเชียมออกซาเลต แบเรียมออกซาเลต เรเดียมออกซาเลต ไอเอิร์น(II) ออกซาเลต ไอเอิร์น(III) ออกซาเลต |
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง
|
กรดออกซาลิก |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
แคลเซียมออกซาเลต (อังกฤษ: calcium oxalate) เป็นเกลือแคลเซียมของออกซาเลต ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว ไม่มีกลิ่น มีมวลโมเลกุล 146.16 g/mol[2] แคลเซียมออกซาเลตมีสูตรเคมีคือ CaC2O4·(H2O)x โดย x เป็นได้ตั้งแต่ 1-3 หรือพบได้ 3 แบบ แบบมอโนไฮเดรตพบในแร่วีเวลไลต์ แบบไดไฮเดรตพบในแร่เวดเดลไลต์ และแบบไตรไฮเดรตพบในแร่เคาไซต์
แคลเซียมออกซาเลตที่พบในพืชเรียกว่าราไฟด์ (raphide) เป็นผลึกรูปเข็ม รูปดาวหรือปริซึม ผลึกเหล่านี้พบในเซลล์แปลกปลอม (idioblast) ซึ่งเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สะลมแร่ธาตุและรงควัตถุต่าง ๆ[3] หากสัมผัสแคลเซียมออกซาเลตก่อให้เกิดการระคายเคือง และหากทานเข้าไปจะทำให้เกิดอาการบวมและกลืนลำบาก[4] ตัวอย่างของไม้ประดับที่มีแคลเซียมออกซาเลต ได้แก่ สาวน้อยประแป้ง บอน กระดาด เงินไหลมา เต่าร้าง และโคมญี่ปุ่น
เนื่องจากแคลเซียมออกซาเลตไม่ละลายน้ำ จึงทำให้การทานอาหารที่มีแคลเซียมออกซาเลตเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดโรคนิ่วไตได้ ผักที่มีแคลเซียมออกซาเลตสูง ได้แก่ ปวยเล้ง กระเจี๊ยบ ผักปลัง กระเฉด และชะมวง[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ S. Deganello (1981). "The Structure of Whewellite, CaC2O4.H2O, at 328 K". Acta Crystallogr. B. 37: 826–829. doi:10.1107/S056774088100441X.
- ↑ "Calcium Oxalate - MSDS" (PDF). Hummel Croton. สืบค้นเมื่อ October 13, 2019.
- ↑ Weber, R. A. (1891). "Raphides, the Cause of the Acridity of Certain Plants". Journal of the American Chemical Society. 13 (7): 215–217. doi:10.1021/ja02124a034. Also, doi:10.1038/scientificamerican11211891-13242csupp
- ↑ Watson, John T.; Jones, Roderick C.; Siston, Alicia M.; Diaz, Pamela S.; Gerber, Susan I.; Crowe, John B.; Satzger, R. Duane (2005). "Outbreak of Food-borne Illness Associated with Plant Material Containing Raphides". Clinical Toxicology. 43 (1): 17–21. doi:10.1081/CLT-44721. PMID 15732442.
- ↑ "ผลึกแคลเซียมออกซาเลตและปริมาณออกซาเลตในพืชผักบางชนิดในจังหวัดหนองคาย" (PDF). KKU Science Journal. สืบค้นเมื่อ October 13, 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แคลเซียมออกซาเลต
- "Calcium oxalate monohydrate - MSDS". Fisher Scientific.