ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาฮีบรูสมัยใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาฮีบรูสมัยใหม่
ฮีบรู, ฮีบรูอิสราเอล
עברית חדשה
คำศัพท์ "ชาลอม" ในภาษาฮีบรูสมัยใหม่ รวมเครื่องหมายสระ
ภูมิภาคลิแวนต์ใต้
ชาติพันธุ์ชาวยิวอิสราเอล
จำนวนผู้พูด9 ล้านคน  (2014)[1][2][3]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ระบบการเขียนชุดตัวอักษรฮีบรู
อักษรเบรลล์ฮีบรู
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ อิสราเอล
ผู้วางระเบียบAcademy of the Hebrew Language
รหัสภาษา
ISO 639-1he
ISO 639-2heb
ISO 639-3heb
บริเวณที่มีผู้พูดภาษาฮีบรู:[4][5]
  ประชากรมากกว่าร้อยละ 50 พูดภาษฮีบรู
  ประชากรร้อยละ 25–50 พูดภาษาฮีบรู
  ประชากรน้อยกว่าร้อยละ 25 พูดภาษาฮีบรู

ภาษาฮีบรูสมัยใหม่ (<ideonly>แม่แบบ:Ngeonly><de> entation}} <de> ʿĪvrīt ḥadašá [ivˈʁit χadaˈʃa]) มีิอีกชื่อว่า ภาษาฮีบรูอิสราเอล หรือสั้น ๆ ว่า ฮีบรู เป็นรูปแบบมาตรฐานของภาษาฮีบรูที่ใช้พูดในปัจจุบัน ถือเป็นภาษาราชการของประเทศอิสราเอลที่ได้รับการพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูภาษาฮีบรูในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และเป็นภาษาคานาอันภาษาเดียวที่ยังคงมีผู้ใช้งาน ภาษาฮีบรูสมัยใหม่ที่ใช้ตรงกับช่วงการก่อตั้งรัฐอิสราเอล ซึ่งใช้ภาษาฮีบรูเป็นภาษาประจำชาติ เป็นเพียงตัวอย่างภาษาเดียวที่ฟื้นฟูภาษาได้อย่างประสบความสำเร็จแบบบริบูรณ์[6][7]

ภาษาฮีบรู ภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก พูดกันตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นภาษาพื้นเมืองของชาวยิวจนถึงศตวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ. ที่แทนที่ด้วยภาษาแอราเมอิกตะวันตก ภาษาย่อยของภาษาแอราเมอิก ภาษาท้องถิ่นหรือภาษาหลักของภูมิภาคที่ชาวยิวอพยพอยู่ และภายหลังคือภาษาอาหรับยิว ลาดิโน, ยิดดิช และกลุ่มภาษายิวอื่น ๆ แม้ว่ายังมีผู้ใช้ภาษาฮีบรูในเชิงพิธีทางศาสนา, กวีกับวรรณกรรม และจดหมายโต้ตอบ[8] ภาษานี้จึงกลายเป็นภาษาพูดที่สูญแล้ว

เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 Eliezer Ben-Yehuda นักภาษาศาสตร์ชาวรัสเซียเชื้อสายยิว เริ่มต้นขบวนการในการฟื้นฟูภาษาฮีบรูเป็นภาษาที่มีชีวิต โดยมีแรงบันดาลใจจากความปรารถนาที่จะอนุรักษ์วรรณกรรมฮีบรูและชาติฮีบรูจำเพาะในเนื้อหาของลัทธิไซออนนิสต์[9][10][11] หลังจากนั้น ผู้พูดภาษายิดดิชและลาดิโนจำนวนมากถูกสังหารในฮอโลคอสต์[12] หรือหนีไปอิสราเอล และผู้พูดภาษาอาหรับยิวหลายคนก็อพยพไปอิสราเอลในการอพยพของชาวยิวจากโลกมุสลิม โดยหลายคนหันไปใช้ภาษาฮีบรูสมัยใหม่

ปัจจุบันมีผู้พูดภาษาฮีบรูประมาณ 9–10 ล้านคน โดยนับรวมผู้พูดเป็นภาษาแม่ ผู้พูดได้คล่อง และผู้พูดไม่คล่อง[13][14] ในจำนวนนี้ประมาณ 6 ล้านคนพูดภาษานี้เป็นภาษาแม่ ส่วนใหญ่เป็นชาวยิวที่เกิดในประเทศอิสราเอลหรืออพยพเข้ามาตอนยังเด็ก ส่วนที่เหลือแบ่งเป็น: 2 ล้านคนเป็นผู้อพยพเข้าอิสราเอล; 1.5 ล้านคนเป็นชาวอาหรับอิสราเอลที่มักพูดภาษาอาหรับเป็นภาษาแม่ และครึ่งล้านคนเป็นชาวอิสราเอลที่อยู่ต่างประเทศหรือชาวยิวพลัดถิ่น

ตามกฎหมายอิสราเอล องค์กรที่กำกับดูแลการพัฒนาภาษาฮีบรูสมัยใหม่อย่างเป็นทางการคือ Academy of the Hebrew Language ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่มหาวิทยาลัยฮีบรูแห่งเยรูซาเลม

ชื่อ

[แก้]

คำศัพท์ทางวิชาการที่ใช้กันมากที่สุดสำหรับภาษานี้คือ "ภาษาฮีบรูสมัยใหม่" (עברית חדשה ʿivrít ħadašá[h]) คนส่วนใหญ่เรียกแบบสั้นเป็น ฮีบรู (עברית Ivrit)[15]

คำว่า "ภาษาฮีบรูสมัยใหม่" ได้รับการอธิบายว่า "มีปัญหาบ้างเล็กน้อย"[16] เนื่องจากคำนี้แสดงความนัยถึงการแบ่งยุคสมัยที่ไม่กำกวมจากภาษาฮีบรูไบเบิล[16] Haiim B. Rosén [he] (חיים רוזן) สนับสนุนให้ใช้คำว่า "ภาษาฮีบรูอิสราเอล" ที่ตอนนี้มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย[16] ด้วยเหตุว่าภาษานี้ "แสดงถึงธรรมชาติที่ไม่เป็นไปตามลำดับเวลาของภาษาฮีบรู"[15][17] ใน ค.ศ. 1999 กิลอัด ซูเกร์มัน นักภาษาศาสตร์ชาวอิสราเอล เสนอคำว่า "Israeli" เพื่อแทนต้นกำเนิดหลายแห่งของตัวภาษา[18]: 325 [15]

ภูมิหลัง

[แก้]

ประวัติศาสตร์ภาษาฮีบรูสามารถแบ่งได้ออกเป็น 4 ช่วงหลัก:[19]

ข้อมูลยิวร่วมสมัยกล่าวถึงภาษาฮีบรูว่าเจริญรุ่งเรืองในฐานะภาษาพูดในอาณาจักรอิสราเอลและยูดาห์เมื่อประมาณ 1200 ถึง 586 ปีก่อน ค.ศ.[20] นักวิชาการโต้แย้งเกี่ยวกับระดับที่ภาษาฮีบรูยังคงเป็นภาษาพูดพื้นเมืองต่อหลังการคุมขังแห่งบาบิโลน เมื่อภาษาแอราเมอิกเก่ากลายเป็นภาษาสากลที่มีอิทธิพลในภูมิภาค

ภาษาฮีบรูสูญสิ้นสถานะภาษาถิ่นในช่วง ค.ศ. 200 ถึง 400 โดยเสื่อมถอยหลังกบฏ Bar Kokhba ใน ค.ศ. 132–136 ซึ่งทำลายล้างประชากรในยูเดีย หลังการเนรเทศ ภาษาฮีบรูจึงจำกัดอยู่ในการใช้งานในทางศาสนาและผลงานประพันธ์[21]

การฟื้นฟู

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Hebrew". UCLA Language Materials Project. University of California. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2011. สืบค้นเมื่อ 1 May 2017.
  2. Dekel 2014
  3. "Hebrew". Ethnologue. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2020. สืบค้นเมื่อ 12 July 2018.
  4. אוכלוסייה, לפי קבוצת אוכלוסייה, דת, גיל ומין, מחוז ונפה [Population, by Population Group, Religion, age and sex, district and sub-district] (PDF) (ภาษาฮิบรู). Central Bureau of Statistics. 6 September 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-09. สืบค้นเมื่อ 2018-05-24.
  5. "The Arab Population in Israel" (PDF). Central Bureau of Statistics. November 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 2018-05-24.
  6. Grenoble, Leonore A.; Whaley, Lindsay J. (2005). Saving Languages: An Introduction to Language Revitalization. Cambridge, UK: Cambridge University Press. p. 63. ISBN 978-0521016520. Hebrew is cited by Paulston et al. (1993:276) as 'the only true example of language revival.'
  7. Huehnergard, John; Pat-El, Na'ama (2019). The Semitic Languages. Routledge. p. 571. ISBN 9780429655388. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-01. สืบค้นเมื่อ 2021-02-18.
  8. Schwarzwald, Ora (Rodrigue) (2012). "Modern Hebrew". ใน Weninger, Stefan; Khan, Geoffrey; Streck, Michael P.; Watson, Janet C. E. (บ.ก.). The Semitic Languages: An International Handbook. De Gruyter. p. 534. doi:10.1515/9783110251586.523. ISBN 978-3-11-025158-6.
  9. Mandel, George (2005). "Ben-Yehuda, Eliezer [Eliezer Yizhak Perelman] (1858–1922)". Encyclopedia of modern Jewish culture. Glenda Abramson ([New ed.] ed.). London. ISBN 0-415-29813-X. OCLC 57470923. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-01. สืบค้นเมื่อ 2023-05-10. In 1879 he wrote an article for the Hebrew press advocating Jewish immigration to Palestine. Ben-Yehuda argued that only in a country with a Jewish majority could a living Hebrew literature and a distinct Jewish nationality survive; elsewhere, the pressure to assimilate to the language of the majority would cause Hebrew to die out. Shortly afterwards he reached the conclusion that the active use of Hebrew as a literary language could not be sustained, notwithstanding the hoped-for concentration of Jews in Palestine, unless Hebrew also became the everyday spoken language there.
  10. Fellman, Jack (19 July 2011). The Revival of Classical Tongue : Eliezer Ben Yehuda and the Modern Hebrew Language. Walter de Gruyter. ISBN 978-3-11-087910-0. OCLC 1089437441. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-01. สืบค้นเมื่อ 2023-05-10.
  11. Kuzar, Ron (2001), Hebrew and Zionism, Berlin, Boston: DE GRUYTER, doi:10.1515/9783110869491.vii, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-01, สืบค้นเมื่อ 2023-05-10
  12. Solomon Birnbaum, Grammatik der jiddischen Sprache (4., erg. Aufl., Hamburg: Buske, 1984), p. 3.
  13. Klein, Zeev (March 18, 2013). "A million and a half Israelis struggle with Hebrew". Israel Hayom. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2013. สืบค้นเมื่อ 2 November 2013.
  14. Nachman Gur; Behadrey Haredim. "Kometz Aleph – Au• How many Hebrew speakers are there in the world?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2013. สืบค้นเมื่อ 2 November 2013.
  15. 15.0 15.1 15.2 Dekel 2014; quote: "Most people refer to Israeli Hebrew simply as Hebrew. Hebrew is a broad term, which includes Hebrew as it was spoken and written in different periods of time and according to most of the researchers as it is spoken and written in Israel and elsewhere today. Several names have been proposed for the language spoken in Israel nowadays, Modern Hebrew is the most common one, addressing the latest spoken language variety in Israel (Berman 1978, Saenz-Badillos 1993:269, Coffin-Amir & Bolozky 2005, Schwarzwald 2009:61). The emergence of a new language in Palestine at the end of the nineteenth century was associated with debates regarding the characteristics of that language.... Not all scholars supported the term Modern Hebrew for the new language. Rosén (1977:17) rejected the term Modern Hebrew, since linguistically he claimed that 'modern' should represent a linguistic entity that should command autonomy towards everything that preceded it, while this was not the case in the new emerging language. He also rejected the term Neo-Hebrew, because the prefix 'neo' had been previously used for Mishnaic and Medieval Hebrew (Rosén 1977:15–16), additionally, he rejected the term Spoken Hebrew as one of the possible proposals (Rosén 1977:18). Rosén supported the term Israeli Hebrew as in his opinion it represented the non-chronological nature of Hebrew, as well as its territorial independence (Rosén 1977:18). Rosén then adopted the term Contemporary Hebrew from Téne (1968) for its neutrality, and suggested the broadening of this term to Contemporary Israeli Hebrew (Rosén 1977:19)"
  16. 16.0 16.1 16.2 Matras & Schiff 2005; quote: The language with which we are concerned in this contribution is also known by the names Contemporary Hebrew and Modern Hebrew, both somewhat problematic terms as they rely on the notion of an unambiguous periodization separating Classical or Biblical Hebrew from the present-day language. We follow instead the now widely-used label coined by Rosén (1955), Israeli Hebrew, to denote the link between the emergence of a Hebrew vernacular and the emergence of an Israeli national identity in Israel/Palestine in the early twentieth century."
  17. Haiim Rosén (1 January 1977). Contemporary Hebrew. Walter de Gruyter. pp. 15–18. ISBN 978-3-11-080483-6.
  18. Zuckermann, G. (1999), "Review of the Oxford English-Hebrew Dictionary", International Journal of Lexicography, Vol. 12, No. 4, pp. 325-346
  19. Hebrew language เก็บถาวร 2015-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Encyclopædia Britannica
  20. אברהם בן יוסף ,מבוא לתולדות הלשון העברית (Avraham ben-Yosef, Introduction to the History of the Hebrew Language), page 38, אור-עם, Tel Aviv, 1981.
  21. Sáenz-Badillos, Ángel and John Elwolde: "There is general agreement that two main periods of RH (Rabbinical Hebrew) can be distinguished. The first, which lasted until the close of the Tannaitic era (around 200 CE), is characterized by RH as a spoken language gradually developing into a literary medium in which the Mishnah, Tosefta, baraitot and Tannaitic midrashim would be composed. The second stage begins with the Amoraim and sees RH being replaced by Aramaic as the spoken vernacular, surviving only as a literary language. Then it continued to be used in later rabbinic writings until the tenth century in, for example, the Hebrew portions of the two Talmuds and in midrashic and haggadic literature."

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]