ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/กิจกรรมสนับสนุน พ.ศ. 2567

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รู้ไหมว่าวิกิพีเดียภาษาไทยต้องการบทความจำนวนมาก และต้องการอาสาสมัครอย่างคุณ!

รู้ไหมว่าวิกิพีเดียภาษาไทยต้องการบทความจำนวนมาก และต้องการอาสาสมัครอย่างคุณ

รู้ไหมว่าเป็นหัวข้อบนหน้าหลักของวิกิพีเดียที่มุ่งนำเสนอประเด็นที่น่าสนใจซึ่งเนื้อหาจะเป็นเกร็ดข้อมูลสั้นจากกลุ่มบทความใหม่หรือบทความที่อยู่เดิมในวิกิพีเดียภาษาไทยและให้ผู้อ่านตามเข้าไปอ่านในตัวบทความ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาสาสมัครวิกิพีเดียทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ใหม่หรือผู้ใช้ประจำ ได้มีโอกาสร่วมสร้างสรรค์และพัฒนาบทความบนวิกิพีเดียภาษาไทยให้เป็นสารานุกรมที่เสนอสาระในประเด็นที่หลากหลาย มีคุณภาพ และเป็นไปตามห้าเสาหลักของวิกิพีเดีย

กิจกรรมสนับสนุน

[แก้]
Did You Know Needs You
Event information
WhatDid You Know Needs You
WhenPhase 1: 1 August – 30 November 2024 (UTC+7)
WhereOnline (Thai Wikipedia)
HostVolunteers from Thai Wikipedia
ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2567): 1 สิงหาคม – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 (4 เดือน)

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมสามารถสร้างหรือแก้ไขบทความในวิกิพีเดียภาษาไทย แล้วนำเสนอข้อความประเด็นใดประเด็นหนึ่งของบทความดังกล่าวเพื่อพิจารณานำเสนอขึ้นหน้าหลักในหัวข้อรู้ไหมว่า โดยมีกติกาและการให้คะแนนดังต่อไปนี้

กติกา

[แก้]
  • ผู้ใช้ลงทะเบียนทุกคนมีสิทธิเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ยกเว้นผู้ถูกบล็อกจากวิกิพีเดียภาษาไทยที่มีผลในช่วงที่ร่วมโครงการ ผู้ถูกบล็อกจากโครงการอื่นที่กระทบถึงวิกิพีเดียภาษาไทยที่มีผลในช่วงที่ร่วมโครงการ ผู้ถูกขึ้นบัญชีหุ่นเชิด บอต โดยผู้ที่สนใจสามารถลงชื่อได้ที่นี่
  • มีส่วนร่วมในการเสนอรู้ไหมว่าอย่างหนึ่งอย่างใดบนหน้าวิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/เสนอรู้ไหมว่า โดยดำเนินการตาม วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/เสนอรู้ไหมว่า/ชี้แจง ดังนี้
    • พัฒนาบทความ (สร้างบทความใหม่หรือปรับปรุงบทความที่มีอยู่เดิม)
    • เสนอข้อความประเด็นใดประเด็นหนึ่งของบทความที่สร้างขึ้นหรือปรับปรุงแก้ไข
    • พิจารณาจัดลำดับการแสดงหรือแนะนำปรับปรุงข้อเสนอบทความ

เกณฑ์การให้คะแนน

[แก้]

การนับคะแนนจะกระทำโดยใช้เกณฑ์ดังต่อไปนี้

  1. ผู้เขียนหลักและผู้เขียนร่วมบทความที่ผ่านการพิจารณา ได้ 10 คะแนนต่อบทความ
    • ผู้เขียนหลักและผู้เขียนร่วมของบทความที่ผ่านการพิจารณาให้เป็นบทความรู้ไหมว่าจะได้คะแนนเท่ากันทุกคน เว้นแต่ผู้เขียนร่วมที่มิได้ร่วมเขียนอย่างมีนัยสำคัญ (มีการแก้ไขรวมแล้วไม่เกิน 500 ไบต์) และผู้ก่อกวนจะไม่ได้คะแนน
    • การพิจารณาว่าผู้ใดเป็นผู้เขียนหลักหรือผู้เขียนร่วมให้พิจารณาตั้งแต่เริ่มสร้างบทความหรือเริ่มการปรับปรุงบทความ ถึงเวลาที่ข้อความของบทความที่เสนอนั้นได้รับการพิจารณาและจัดขึ้นลำดับการแสดง
  2. ผู้เสนอข้อความจากบทความที่ผ่านการพิจารณา ได้ 5 คะแนนต่อข้อความ
    • ผู้เสนอข้อความให้รวมถึงผู้เสนอแนะการปรับปรุงข้อความหลังจากตรวจพิจารณาแล้วไม่ผ่านด้วย
  3. ผู้ตรวจพิจารณาบทความ ได้ 5 คะแนนต่อข้อความ (ไม่ว่าตรวจให้ผ่านหรือตรวจให้ตกไป)
  4. ในกรณีที่พบว่าเป็นการตรวจบทความที่ตนเองเป็นผู้เขียนหลัก ผู้เขียนร่วม หรือผู้เสนอข้อความ ตรวจให้บัญชีหุ่นเชิดของตน หรือกระทำการในลักษณะทุจริต/ก่อกวน ให้หักคะแนนในส่วนการกระทำที่ตรวจพบ หรือตัดสิทธิ์จากโครงการได้ทันที
    • ก่อนวันสิ้นเดือนหากมีผู้ตรวจพบว่าข้อความที่ตรวจขึ้นคิวไม่เหมาะสมหรือไม่ผ่านเงื่อนไข ข้อความนั้นอาจถูกถอดออกและถือว่าผู้ตรวจมีเจตนาทุจริตได้ เป็นวิจารณญาณของอาสาสมัครผู้จัดโครงการจะตักเตือนหรือตัดสิทธิ์ได้ทันที
คะแนนพิเศษ
[แก้]

การนับคะแนนพิเศษในแต่ละข้อดังต่อไปนี้สามารถรวมกันได้

  1. ผู้ใช้ใหม่และผู้ใช้เดิมมีสิทธิได้คะแนนเริ่มต้นเป็นพิเศษ 10 คะแนนเท่ากันหากผ่านเงื่อนไขดังต่อไปนี้
    • ผู้ใช้ใหม่หมายถึงผู้ที่วันที่สร้างบัญชีในวิกิพีเดียภาษาไทย ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2567 เวลา 00:01 น. UTC+7 เป็นต้นไป (อาจสร้างบัญชีจากโครงการพี่น้องก่อนหน้านั้น แต่โครงการนับวันที่สร้างบัญชีในวิกิพีเดียภาษไทยเพียงอย่างเดียว) ได้พิเศษ 10 คะแนนเพียงครั้งเดียว ตลอดโครงการ
    • สำหรับผู้ใช้เดิมหากผู้ร่วมกิจกรรมนำแม่แบบ {{User DYK helper}} ไปใส่ในกล่องผู้ใช้ของหน้าผู้ใช้ตนเอง (หรือหน้าพูดคุยของตนเอง) ในวิกิพีเดียภาษาไทย ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับคะแนนพิเศษ 10 คะแนน (ใส่แม่แบบเมื่อใดก็ได้ แต่จะให้คะแนนเมื่อพบเห็นแม่แบบในวันที่ตรวจซึ่งเป็นวันหลังสิ้นสุดโครงการไปแล้ว)
  2. บทความในโครงการและสถานีย่อย
  3. บทความที่มียอดการเข้าชมสูงที่สุดในบรรดากลุ่มบทความที่นำเสนอในรอบเดียวกันในช่วงที่ได้แสดงบนหน้าหลัก ผู้เขียนหลักและผู้เขียนร่วมจะได้คะแนนพิเศษอีก 15 คะแนนต่อบทความ
    • เพื่อความสะดวกขอใช้ช่วงเวลาของโครงการแต่เป็น UTC+0 สำหรับนับยอดเข้าชมโดยรวมทุกแพลตฟอร์มและหน้าเปลี่ยนทาง (ยกเว้นการเข้าถึงโดยเครื่อง)
    • ผู้เขียนทุกท่านหรือผู้อื่นสามารถประชาสัมพันธ์ได้ทุกช่องทางรวมถึง SNS แต่พึงระวังการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองหรือผู้อื่น ทั้งนี้ ห้ามใช้บอตหรือสคริปต์เพื่อเพิ่มจำนวนการเข้าถึงบทความอย่างไม่ยุติธรรมโดยเด็ดขาด
  4. หากบทความนั้นได้รับการจัดเป็นบทความคุณภาพหรือบทความคัดสรร (กรณีบทความหนึ่งผ่านการพิจารณาไปตามลำดับ จะนับที่สถานะบทความคัดสรรเป็นลำดับสูงสุดเพียงสถานะเดียว ทั้งนี้บทความต้องได้รับการเสนอและพิจารณาให้เสร็จสิ้นระหว่างช่วงเวลาของโครงการ
    • ผู้เขียนหลักและผู้เขียนร่วมบทความนั้นจะได้คะแนนพิเศษอีก 50 คะแนนต่อบทความคุณภาพ
    • ผู้เขียนหลักและผู้เขียนร่วมบทความนั้นจะได้คะแนนพิเศษอีก 100 คะแนนต่อบทความคัดสรร

สรุปเกณฑ์การให้คะแนน

[แก้]
สรุปเกณฑ์การให้คะแนน
ประเด็นการได้คะแนน คะแนน หมายเหตุ
ผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนหลัก +10 โดยทั่วไปหมายถึงผู้มีส่วนร่วมมากที่สุด (เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ทำให้สถิติแสดงผลเป็นอย่างอื่น)
ผู้เขียนร่วม +10 ต้องมีส่วนร่วมในบทความอย่างน้อย +500 ไบต์ ที่ไม่เป็นการก่อกวนหรือแก้ไขเชิงเทคนิค
ผู้เสนอและผู้ตรวจพิจารณาบทความ
ผู้เสนอบทความ +5 กรณีผู้เขียนจะเป็นผู้เสนอเองก็ได้ และได้คะแนนส่วนนี้เพิ่มเติม
ผู้ตรวจพิจารณาบทความ +5 ผู้ตรวจพิจารณา ได้แก่ ผู้จัดข้อเสนอขึ้นลำดับนำเสนอ และผู้เสนอข้อปรับปรุงข้อเสนอ
เพื่อลดผลประโยชน์ทับซ้อน ผู้ตรวจพิจารณาจะต้องไม่เป็นผู้เขียนหรือผู้เสนอ
คะแนนพิเศษ
คะแนนพิเศษสำหรับผู้เขียนบทความ ให้ต่อบทความ
บทความในโครงการวิกิประเทศไทย +5 ส่วนนี้รวมกันไม่เกิน 6 คะแนน
กรณีที่อาจซ้ำซ้อนหรือเป็นส่วนย่อยกัน ในชั้นนี้อนุญาตให้ติดด้วยกันได้
บทความในสถานีย่อยหรือโครงการวิกิอื่น +3
บทความที่มียอดผู้เข้าชมเฉลี่ยต่อวันสูงสุดในแต่ละคิวแสดง +15 ใช้เครื่องมือกลาง
บทความคุณภาพ +50
บทความคัดสรร +100
คะแนนพิเศษให้เปล่าครั้งเดียว
ผู้ใช้ใหม่ +10 สร้างบัญชีผู้ใช้ในวิกิพีเดียภาษาไทยหลังวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 00:01 น. (UTC+7)
ผู้ใช้เดิมติดป้าย {{User DYK helper}} +10 สร้างบัญชีผู้ใช้ในวิกิพีเดียภาษาไทยภายในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 00:01 น. (UTC+7) จะติดป้ายในหน้าผู้ใช้หรือหน้าพูดคุยของตนเองในวิกิพีเดียภาษาไทย หน้าใดหน้าหนึ่งก็ได้

คำแนะนำ

[แก้]
  • เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในทางที่ดีต่อส่วนรวม รวมถึงผู้เข้าร่วมโครงการด้วย ขอให้ทำความเข้าใจกฎพื้นฐานและศึกษารูปแบบการเขียนตามคู่มือ
  • หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามที่หน้าพูดคุยของผู้จัดกิจกรรมหรือหน้าอภิปรายของกิจกรรม โปรดทราบว่าผู้จัดโครงการอาจไม่สามารถตอบคำถามได้ในทันท่วงที
  • สามารถใช้สื่อสังคมออนไลน์ของท่านส่งเสริมการเข้าถึงบทความที่ท่านเขียนได้ (โปรดระมัดระวังว่าจะทำให้บัญชีผู้ใช้ของท่านถูกผูกโยงเข้ากับตัวตนในชีวิตจริงได้)
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกรายต้องกรอกรายการเข้าร่วมกิจกรรมที่วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/กิจกรรมสนับสนุน พ.ศ. 2567/แบบบันทึกการเข้าร่วม โดยขอให้กรอกแบบฟอร์มตามตัวอย่างโดยเคร่งครัด เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การตรวจให้คะแนน

การตัดสินและรางวัล

[แก้]
เครื่องมือกลาง
  • การนับการมีส่วนรวม ใช้เครื่องมือ Page Statistics ในส่วน Top 10 by added text (approximate) https://xtools.wmcloud.org/articleinfo/th.wikipedia.org/หน้าหลัก
  • การนับยอดเข้าชม รวมทุกอุปกรณ์ (desktop/mobile-web/mobile-app) รวมหน้าเปลี่ยนทาง แต่ไม่รวมบอต (spider/automated) นับตั้งแต่วันที่เริ่มโครงการถึงวันตัดสินเพื่อความสะดวกของอาสาสมัครในการนับคะแนน ใช้เครื่องมือ PageView https://pageviews.wmcloud.org/?project=th.wikipedia.org&platform=all-access&agent=user&redirects=0&range=latest-20&pages=หน้าหลัก
  • ปูมการสร้างผู้ใช้ เพื่อตรวจสอบว่าเป็นผู้ใช้ใหม่หรือไม่ (กดดูเก่าที่สุดจาก พิเศษ:ปูม/taweetham เปลี่ยนชื่อ taweetham เป็นผู้ใช้เป็นชื่อผู้ใช้ที่ต้องการได้)
การตัดสิน

การนับคะแนนจะเริ่มหลังจากวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 23:59 น. (UTC+07:00) และจะประกาศผู้มีสิทธิได้รับรางวัลภายใน 16 ธันวาคม พ.ศ. 2567

  • ต้องทอดเวลาประมาณ 2 สัปดาห์เป็นเวลาเสริมสำหรับผู้จัดโครงการ แต่มิได้หมายความว่าจะต้องรอให้ตัวบทความได้รับการแสดงผลทั้งหมด บทความในท้ายคิวจะยังไม่ได้รับการแสดงผลในหน้าหลัก ณ วันตัดสิน
  • การแจกรางวัลจะทำให้เสร็จสิ้นภายใน พ.ศ. 2567 (นับการส่งออกจากทีมผู้จัดเป็นสำคัญ)
รางวัลใหญ่
ตัวอย่างของรางวัลและของที่ระลึกสำหรับผู้มีส่วนร่วม

รางวัลและโล่มูลค่ารวมไม่เกิน 50,000 บาท แบ่งออกเป็นรางวัลผลงานดีเด่น (outstanding contribution) มีมูลค่ารางวัลละ 5,000 บาท และรางวัลผลงานดีมาก (excellent contribution) มีมูลค่ารางวัลละ 3,000 บาท สำหรับผู้ที่มีคะแนนสูงสูดไม่เกิน 15 อันดับแรกและมีคะแนนไม่น้อยกว่า 100 คะแนน

  • เงินรางวัล - ไม่มีนโยบายมอบของรางวัลเป็นตัวเงิน
  • คูปองหรือบัตรของขวัญ - ทางผู้จัดจะสอบถามผู้มีสิทธิรับรางวัลอีกครั้งสำหรับบัตรของขวัญที่ต้องการซึ่งอาจะเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือบัตรกระดาษจากผู้ให้บริการทั้งในและต่างประเทศ โดยราคาซื้อต้องไม่มากกว่ามูลค่าคูปองหรือบัตรของขวัญนั้นและมีช่องทางชำระเงินที่ผู้จัดสามารถชำระได้
  • โล่รางวัล - หากผู้รับรางวัลประสงค์จะรับโล่มีค่าใช้จ่ายในการผลิตและจัดส่งเหมาจ่ายชื้นละ 1,500 บาท ไม่ต้องชำระเป็นเงินสดแต่หักจากมูลค่าคูปองหรือบัตรของขวัญได้ทันที โดยผู้รับรางวัลอาจสั่งทำได้ไม่เกินสองชิ้น (หนึ่งชิ้นสำหรับตนเองอีกหนึงชิ้นสำหรับต้นสังกัด)
ของที่ระลึก

ของที่ระลึกสำหรับผู้มีส่วนร่วมสูงสุด X ((จำนวนชิ้นให้คุณ @B20180: เป็นผู้กรอก)) อันดับแรกและมีคะแนนรวมไม่น้อยกว่า 50 คะแนน (รวมถึงผู้ได้รับรางวัลใหญ่ข้างต้นแล้ว)

ประกาศนียบัตร

ประกาศนียบัตรอิเล็กทรอนิกส์และดาวเกียรติยศสำหรับผู้เข้าร่วมทุกท่านที่มีคะแนนไม่น้อยกว่า 25 คะแนน

หมายเหตุ
  1. การตัดสินของอาสาสมัครผู้จัดกิจกรรมถือเป็นที่สุด
  2. เพื่อความสะดวกการร่วมกิจกรรมและการจัดส่งของรางวัลจะเป็นการส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด เว้นแต่คูปองหรือบัตรของขวัญเป็นกระดาษหรือบัตรแข็ง ของที่ระลึก และโล่จะใช้บริการไปรษณีย์แบบลงทะเบียน (ในประเทศ/ระหว่างประเทศ) หรือ KEX (ในประเทศ) เท่านั้น โดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากผู้เข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ ไม่อาจรวมค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ภาษีศุลกากร สำหรับผู้รับที่อยู่ในต่างประเทศได้ ในกรณีเช่นนี้ขอเสนอให้แจ้งที่อยู่ในประเทศไทยหรือโอนสิทธิ์รับของที่ระลึกนี้แก่อาสาสมัครท่านอื่นตามที่ผู้รับรางวัลเห็นควรได้เลย
  3. การจัดส่งของรางวัลจำตัองมีการรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลใช้เพื่อการนี้ ซึ่งจะใช้เท่าที่จำเป็นและจะทำลายเมื่อสิ้นสุดกิจกรรม และจะเลือกเฟ้นอาสาสมัครที่ไว้วางใจได้เพื่อเข้าถึงข้อมูลและดำเนินการดังกล่าว หากท่านมีข้อกังวลสามารถสละสิทธิ์หรือโอนสิทธิ์ในรางวัลแก่อาสาสมัครท่านอื่นเป็นตัวแทนรับไว้ได้
    • ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ได้รับรางวัลเฉพาะที่เชื่องโยงกับบัญชีผู้ใช้ ("username") จะต้องประกาศเป็นสาธารณะเพื่อความโปร่งใสและมี QR code เชื่อมโยงจากหน้าเกียรติบัตรมายังรายการบัญชีผู้ใช้ที่ผ่านการกิจกรรมนี้
    • ข้อมูลที่ท่านเลือกระบุในเกียรติบัตรและโล่ได้ประกอบด้วย 1. บัญชีผู้ใช้ 2. ชื่อจริง และ 3. สถาบันที่สังกัด ถึงแม้ว่าท่านเลือกที่จะไม่ใส่บัญชีผู้ใช้และชื่อจริงหรือสถาบันที่สังกัดไว้ด้วยกัน แต่บัญชีผู้ใช้ที่ชนะการประกวดครั้งนี้เป็นข้อมูลสาธารณะทั้งหมดและอาจมีผู้อื่นสามารถนำมาใช้เชื่อมโยงกับบัญชีผู้ใช้ได้ในภายหลัง
    • ข้อมูลส่วนบุคคลไม่ใช้เพื่อการอื่นทุกกรณีรวมถึงการตรวจสอบหุ่นเชิด ผู้ใช้มากกว่าหนึ่งรายอาจฝากส่งรางวัลไปที่อยู่เดียวกันได้โดยไม่เป็นข้อครหาหรือข้อสงสัยในภายหลัง
  4. อาสาสมัครผู้จัดกิจกรรมสามารถร่วมกิจกรรมได้ แต่จะไม่มีการมอบรางวัลตามกติกาข้างต้น WMTH ได้จัดเตรียมของที่ระลึกมอบให้แก่อาสาสมัครผู้จัดกิจกรรมเป็นการขอบคุณแยกเป็นอีกส่วนหนึ่งนอกจากของรางวัลสำหรับโครงการอยู่แล้ว

ลงชื่อเข้าร่วม

[แก้]

อาสาสมัครผู้ร่วมกิจกรรม

[แก้]

โปรดลงชื่อเข้าร่วมโดยการสร้างตารางบันทึกการเข้าร่วมในหน้าที่กำหนดภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 23:59 น. UTC+7 โดยสามารถนับการแก้ไข[1] ของท่านทั้งหมดย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 00:01 น. UTC+7 ทั้งนี้ ผู้ที่ลงชื่อก่อนหน้าอาสาสมัครผู้จัดกิจกรรมได้สร้างตารางให้ท่านเป็นการเบื้องต้นแล้ว

อาสาสมัครผู้จัดกิจกรรม

[แก้]
  1. Wutkh (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) ผู้ประสานงานหลัก/ผู้ตรวจให้คะแนน
  2. Tvcccp (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) ประชาสัมพันธ์
  3. B20180 (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) ที่ปรึกษา/ประสานงานทั่วไป
  4. Athikhun.suw (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) สนับสนุน
  5. Jeabbabe (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) สนับสนุน
  6. Taweetham (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) ที่ปรึกษา/ผู้ริเริ่ม/สนับสนุน

หมายเหตุและเชิงอรรถ

[แก้]
  1. กิจกรรมดังต่อไปนี้ต้องอยู่ในช่วงระยะเวลาของโครงการเพื่อการนับคะแนนของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
    • วันที่สร้างบทความหรือวันที่เริ่มแก้ไขบทความเดิมให้มีขนาดเป็นสองเท่า
    • วันที่เสนอหรือวันที่พิจารณาข้อความรู้ไหมว่า
    • วันที่เสนอและวันที่ได้รับการพิจารณาเป็นบทความคุณภาพหรือบทความคัดสรร