ข้ามไปเนื้อหา

พายัพ ชินวัตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พายัพ ชินวัตร
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
เริ่มดำรงตำแหน่ง
9 กันยายน พ.ศ. 2566
(ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 (67 ปี)
อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2543—2550)
พลังประชาชน (2550—2551)
เพื่อไทย (2554—2561,2563—ปัจจุบัน)
ไทยรักษาชาติ (2561—2562)

พายัพ ชินวัตร (เกิด 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500) เป็นผู้ดูแลภาคอีสานของพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ น้องชายคนเดียวของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร

ประวัติ

[แก้]

นายพายัพ ชินวัตร เกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรคนที่ 7 และเป็นบุตรชายคนที่ 3 ในจำนวน 10 คน ของนายเลิศ และยินดี ชินวัตร ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าจันทร์ทิพย์ ระมิงค์วงศ์ (หลานตาของเจ้าไชยสงคราม สมพมิตร ณ เชียงใหม่ ซึ่งสืบเชื้อสายจากพระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา พระเจ้านครเชียงใหม่) [1] นายพายัพ สมรสกับ พอฤทัย ชินวัตร นักวิชาการประจำคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ[2] (นามสกุลเดิม จันทรพันธ์) มีบุตรชายสี่คน ชื่อ ฤภพ ชินวัตร, พิรุณ ชินวัตร, พอพงษ์ ชินวัตร, พีรพัฒน์ ชินวัตร

การศึกษา

[แก้]

นายพายัพ จบชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (อุตสาหการ) จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส อาร์ลิงตัน สหรัฐอเมริกา ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 4414 (วปรอ. 4414) [3]

ธุรกิจ

[แก้]

นายพายัพ เป็นผู้บริหาร บริษัท ชินวัตรไหมไทย จำกัด ดำรงตำแหน่งประธานบริษัท แต่ธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ มีปัญหาขาดทุน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540-2544 เป็นเงินกว่า 600 ล้านบาท แต่หลังจากนั้น นายพายัพ กลับกลายเป็นนักลงทุน ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่ว่าจะลงทุนในหุ้นตัวไหน ราคาหุ้นตัวนั้นก็ขึ้นอย่างต่อเนื่อง [4] สร้างผลกำไรให้กับ สมาชิกพรรคไทยรักไทย ที่พากันซื้อหุ้นตามนายพายัพ เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ นายพายัพยังสามารถขอเสนอลดหนี้บริษัทดังกล่าวจากสถาบันการเงิน เหลือเพียง ร้อยละ 5 จากยอดเงินกว่า 1,000 ล้านบาท แต่เจ้าหน้าที่ บสท.ไม่อนุมัติให้ตามที่นายพายัพเสนอ เพราะเกรงความผิดจากการสร้างความเสียหายแก่รัฐ[5]

การอุปสมบท

[แก้]

พายัพ ชินวัตร ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ที่วัดป่าพุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยได้รับฉายาว่า "พระพายัพ เขมะคุโณ" ต่อมาในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ของปีเดียวกัน ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส ให้เป็นพระฐานานุกรมในตำแหน่ง "พระครูปลัดสัมพิพัฒน์ญาณจารย์"[6] และเขาได้ลาสิกขาบทในวันที่ 11 มีนาคมของปีเดียวกัน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]