ข้ามไปเนื้อหา

ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
แห่งราชอาณาจักรไทย
ตราของรัฐสภาไทย
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
วันมูหะมัดนอร์ มะทา
ตั้งแต่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2566[1]
สภาผู้แทนราษฎร
สำนักงานประธานสภาผู้แทนราษฎร
การเรียกขานเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ
สมาชิกของรัฐสภาไทย
สภาผู้แทนราษฎร
ที่ว่าการสัปปายะสภาสถาน
ผู้เสนอชื่อการลงมติจากสภาผู้แทนราษฎร
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ไทย
วาระตามวาระของสภาผู้แทนราษฎร
ตราสารจัดตั้งพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
ผู้ประเดิมตำแหน่งเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
สถาปนา28 มิถุนายน พ.ศ. 2475
รองรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
เงินตอบแทน50,000 บาท
(รวมกับเงินเดือนประจำตำแหน่งอีก 75,590 บาท [2])
เว็บไซต์www.parliament.go.th

ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นตำแหน่งหัวหน้าสภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทย โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้ประธานสภาผู้แทนราษฏรเป็นประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง[3]ด้วย

การเลือกประธานสภา

[แก้]

รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีประธานสภาคนหนึ่งและรองประธานคนหนึ่งหรือสองคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากสมาชิกแห่งสภาผู้แทนราษฎรตามมติของสภา[4] ในการเลือกประธานสภาและรองประธานสภานั้น สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกได้หนึ่งชื่อ โดยการเสนอนั้นต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน[5] ถ้าหากว่ามีการเสนอชื่อผู้ใดเพียงชื่อเดียว ให้ถือว่าผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้นเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้าหากมีการเสนอชื่อหลายชื่อ ให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ[6] เมื่อลงมติเสร็จสิ้นแล้ว ให้ประธานประกาศชื่อผู้ใดรับเลือกต่อที่ประชุม[7] และให้เลขาธิการมีหนังสือแจ้งไปยังนายกรัฐมนตรีโดยเร็ว เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์[8]

เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภา หรือมีแต่ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ในกรณีที่มีรองประธานสภาสองคน ให้รองประธานสภาคนที่หนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภา ถ้ารองประธานสภาคนที่หนึ่งไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานสภาคนที่สองเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภา[9]

เมื่อประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่อยู่ในที่ประชุม ให้สมาชิกแห่งสภาผู้แทนราษฎรเลือกกันเองให้สมาชิกคนหนึ่งเป็นประธานในคราวประชุมนั้น[10]

อำนาจหน้าที่

[แก้]

รัฐธรรมนูญกำหนดให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง[11] (สำหรับหน้าที่ของประธานรัฐสภา โปรดดูประธานรัฐสภาไทย) และวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่[12] ประธานสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจและหน้าที่เป็นประธานของที่ประชุมสภา[13] กำกับดูแลการดำเนินกิจการของสภา[14] ควบคุมการรักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมสภา ตลอดถึงบริเวณสภา[15] เป็นผู้แทนสภาในกิจการภายนอก[16] แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินการใด ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสภา[17] มอบหมายกิจการต่าง ๆ ให้รองประธานสภา[18]

ประธานและรองประธานสภาคนปัจจุบัน

[แก้]
ตำแหน่ง รูป รายชื่อ วันที่ได้รับเลือก วันที่ได้รับการแต่งตั้ง พรรค อ้างอิง
ประธาน วันมูหะมัดนอร์ มะทา 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ประชาชาติ [19]
รองประธานคนที่ 1 พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน 11 กันยายน พ.ศ. 2567 13 กันยายน พ.ศ. 2567 เพื่อไทย [20]
รองประธานคนที่ 2 ภราดร ปริศนานันทกุล ภูมิใจไทย

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ‘ประธาน-รองประธานสภา’
  2. "พระราชกฤษฎีกา เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และกรรมาธิการ พ.ศ. ๒๕๕๕" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-29. สืบค้นเมื่อ 2021-12-29.
  3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เก็บถาวร 2017-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 26 พฤษภาคม 2562
  4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 124
  5. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 5 วรรค 1
  6. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 5 วรรค 2
  7. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 5 วรรค 3
  8. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 7 วรรค 1
  9. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 9 วรรค 2
  10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 125 วรรค 3
  11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 80
  12. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 80 วรรค 4
  13. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 9 (1)
  14. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 9 (2)
  15. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 9 (3)
  16. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 9 (4)
  17. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 9 (5)
  18. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 10
  19. "มติเอกฉันท์ "วันนอร์" นั่งประธานสภาผู้แทนราษฎร". ไทยพีบีเอส. 2023-07-04. สืบค้นเมื่อ 2023-07-04.
  20. "ตามคาด สภาฯ เลือก "พิเชษฐ์" เป็นรองประธานสภาฯ คนที่ 1 "ภราดร" ผงาด รองฯ 2". ไทยรัฐ. 11 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2024.


แหล่งข้อมูล

[แก้]