ชายแดนไทย–ลาว
ชายแดนไทย–ลาว | |
---|---|
แผนที่ของชายแดนไทย–ลาว | |
ข้อมูลจำเพาะ | |
พรมแดนระหว่าง | ไทย ลาว |
ความยาว | 1,810–1,845 กิโลเมตร |
ประวัติ | |
มีผลตั้งแต่ | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 |
พรมแดนปัจจุบัน | 25 สิงหาคม พ.ศ. 2469 จัดทำแผนที่แสดงเส้นเขตแดนในแม่น้ำโขง |
สนธิสัญญา | • อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส พ.ศ. 2446 • ความตกลงสยาม-ฝรั่งเศส พ.ศ. 2446 • สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส พ.ศ. 2449 • อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส พ.ศ. 2469 |
ชายแดนไทย–ลาว เป็นพรมแดนระหว่างประเทศ กั้นระหว่างไทยและลาว พรมแดนมีความยาวประมาณ 1,810 กิโลเมตร (1,120 ไมล์)[1] ถึง 1,845 กิโลเมตร (1,146 ไมล์)[2] โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งทอดยาวไปตามแม่น้ำโขง และลากจากสามเหลี่ยมทองคำติดกับพม่าทางตอนเหนือไปยังจุดสามเหลี่ยมมรกตติดกับกัมพูชาทางตอนใต้[2]
ความเป็นมา
[แก้]ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1860 ฝรั่งเศสเริ่มการใช้งานแผนที่ในภูมิภาคนี้ โดยเริ่มในกัมพูชาและเวียดนามสมัยใหม่ และอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศสก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2430[3] อาณาจักรลาวเป็นรัฐสาขาของราชอาณาจักรสยาม (ชื่อเดิมของประเทศไทย) อย่างไรก็ตาม พื้นที่ทั้งหมดทางตะวันออกของแม่น้ำโขงถูกผนวกเข้ากับอินโดจีนฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2436 หลังวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112[3][4][5] ซึ่งกองทัพฝรั่งเศสได้ใช้กำลังทหารกดดันประเทศไทยด้วยการส่งกองกำลังจำนวน 1 กองพันไปยึดจันทบุรีด้วยข้ออ้างว่าป้องกันสยามไม่ทำตามข้อตกลง ซึ่งได้ลงนามในสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436[1] ต่อมาในปี พ.ศ. 2445 สยามถูกบังคับให้ยกพื้นที่ทางตะวันตกของแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส ครอบคลุมแขวงไชยบุรีสมัยใหม่และอีกครึ่งหนึ่งของแขวงจำปาสักทางตะวันตก[3][5] มีการสูญเสียที่ดินมากขึ้นในสนธิสัญญาอื่นในปี พ.ศ. 2447 และอีกครั้งในปี พ.ศ. 2449[3][5] เพื่อแลกเปลี่ยนจังหวัดตราด และอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย รวมไปถึงอำนาจศาล กับเมืองเสียมราฐ ศรีโสภณ และพระตะบอง[1] อนุสัญญาในปี พ.ศ. 2469 ได้ขจัดปัญหาหลักเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือเกาะเล็กเกาะน้อยในแม่น้ำโขง[3] หลังจากการรุกรานอินโดจีนฝรั่งเศสของญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2483 พื้นที่ที่ถูกยึดทางตะวันตกของแม่น้ำโขงและลาวตะวันตกเฉียงใต้ก็ถูกส่งกลับคืนสู่ประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงนี้ถูกยกเลิกหลังจากความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นและชายแดนก่อนสงครามถูกกลับมาบังคับใช้กลับคืนสู่สภาพเดิม[3]
ลาวได้รับเอกราชบางส่วนจากฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2492 และได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2496 จากนั้นเขตแดนก็กลายเป็นปัญหาระหว่างสองรัฐอธิปไตย ประเทศไทยอ้างสิทธิ์ในดินแดนที่ยกให้แก่ลาวเป็นครั้งคราวในยุคอาณานิคม โดยมีความตึงเครียดเพิ่มขึ้นหลังจากชัยชนะของคอมมิวนิสต์ปะเทดลาวในสงครามกลางเมืองลาวในปี พ.ศ. 2518[5] มีการลงนามสนธิสัญญามิตรภาพในปี พ.ศ. 2519 และ พ.ศ. 2522 เพื่อพยายามยุติความตึงเครียดโดยทั้งสองฝ่าย และตระหนักถึงบูรณภาพแห่งดินแดนของอีกฝ่าย[5][6] อย่างไรก็ตาม การต่อสู้ปะทุขึ้นในปี พ.ศ. 2527 เหนือหมู่บ้านที่เป็นข้อพิพาทซึ่งอยู่ติดกับชายแดนในแขวงไชยบุรี/จังหวัดอุตรดิตถ์ และอีกครั้งในปี พ.ศ. 2530-2531 ในพื้นที่ใกล้เคียง[5] คณะกรรมการร่วมก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขข้อพิพาทอย่างสันติ อย่างไรก็ตาม การอภิปรายดำเนินไปตลอดทศวรรษ[5] คณะกรรมการเขตแดนร่วมก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 อย่างไรก็ตาม งานของคณะกรรมการถูกระงับในปี พ.ศ. 2541 หลังเกิดวิกฤตการเงินในเอเชีย[5] ซึ่งปัจจุบันการปักปันเขตแดนแดนยังคงอยู่ในระหว่างการดำเนินอยู่[7][8] ทั้งทางบกและทางน้ำ ซึ่งฝั่งประเทศไทยดำเนินการโดยกรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย และกองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ[9]
แนวพรมแดน
[แก้]พรมแดนเริ่มต้นทางเหนือที่สามเหลี่ยมทองคำติดกับพม่าที่จุดบรรจบของน้ำแม่กกและแม่น้ำโขง ตามแม่น้ำโขงไปทางตะวันออกเฉียงใต้[3] จากนั้นแยกออกจากแม่น้ำและเคลื่อนตัวไปทางทิศใต้ไปตามสันเขาต่าง ๆ ลงสู่แม่น้ำเหือง จากนั้นจะไปตามแม่น้ำสายนี้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจนถึงจุดบรรจบกับแม่น้ำโขง จากนั้นยึดตามร่องน้ำลึกแม่น้ำโขงต่อไปซึ่งถือเป็นส่วนใหญ่ของความยาวพรมแดน จนกระทั่งถึงทางตะวันตกเฉียงเหนือของปากเซ เส้นพรมแดนจะแยกออกจากแม่น้ำโขงแล้วไปต่อตามสันทิวเขาพนมดงรักไปทางใต้จนบรรจบสามเหลี่ยมมรกตติดกับกัมพูชา[3]
สนธิสัญญาที่เกี่ยวข้อง
[แก้]สนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการปักปันเขตแดนไทย–ลาว ประกอบไปด้วย[10]
- อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1904)
- ความตกลงสยาม-ฝรั่งเศส ฉบับลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1904)
- สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1907) และพิธีสารแนบท้าย
- อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ฉบับลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926)
เขตการปกครองที่ติดพรมแดน
[แก้]จุดผ่านแดน
[แก้]ข้อมูลเมื่อ ปี พ.ศ. 2563[11] มีจุดผ่านแดนถาวร 20 จุด และจุดผ่อนปรนการค้า 29 จุด[12][13]
จุดผ่านแดนถาวร
[แก้]ลำดับ | ประเทศไทย | ประเทศลาว | เวลาทำการ (น.) | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
ถนน | จุดผ่านแดน | ถนน | จุดผ่านแดน | |||
1 | ทล.1020 | จุดผ่านแดนถาวรบ้านเชียงของ, อ.เชียงของ จ.เชียงราย | ด่านสากลห้วยทราย, ห้วยทราย, แขวงบ่อแก้ว | 08.00 – 18.00 | จุดผ่านแดนทางเรือข้ามฟาก และ แพขนานยนต์[14] | |
2 | ทล.1356 | จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพ 4 (เชียงของ–ห้วยทราย), อ.เชียงของ จ.เชียงราย | ท.3 | ด่านสากลบ้านดอน, ห้วยทราย, แขวงบ่อแก้ว | 06.00 – 22.00 | จุดผ่านแดนทาง สะพานมิตรภาพไทย–ลาว แห่งที่ 4 |
3 | ทล.1129 | จุดผ่านแดนถาวรบ้านเชียงแสน, อ.เชียงแสน จ.เชียงราย | ด่านท้องถิ่นต้นผึ้ง, ต้นผึ้ง, แขวงบ่อแก้ว | 08.00 – 18.00 | จุดผ่านแดนทางเรือข้ามฟาก | |
4 | ทล.1290 | จุดผ่านแดนถาวรสามเหลี่ยมทองคำ, อ.เชียงของ จ.เชียงราย | ด่านสามเหลี่ยมทองคำ, ต้นผึ้ง, แขวงบ่อแก้ว | 06.00 – 20.00 | จุดผ่านแดนทางเรือข้ามฟาก | |
5 | ทล.1093 | จุดผ่านแดนถาวรบ้านฮวก, อ.ภูซาง จ.พะเยา | ด่านปางมอน, เชียงฮ่อน, แขวงไชยบุรี | 06.00 – 18.00 | ||
6 | ทล.101 | จุดผ่านแดนถาวรบ้านห้วยโก๋น, อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน | ด่านสากลบ้านน้ำเงิน, เงิน, แขวงไชยบุรี | 08.00 – 20.00 | ||
7 | ทล.1268 | จุดผ่านแดนถาวรภูดู่, อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์ | ด่านท้องถิ่นผาแก้ว, ปากลาย, แขวงไชยบุรี | 06.00 – 20.00 | ||
8 | ทล.2480 | จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพแม่น้ำเหืองไทย - ลาว (บ้านนากระเซ็ง), อ.ท่าลี่ จ.เลย | ท.4 | ด่านน้ำเหือง, แก่นท้าว, แขวงไชยบุรี | 07.00 – 18.00 | จุดผ่านแดนทาง สะพานมิตรภาพน้ำเหือง |
9 | จุดผ่านแดนถาวรบ้านปากห้วย, อ.ท่าลี่ จ.เลย | ด่านท้องถิ่นแก่นท้าว, แก่นท้าว, แขวงไชยบุรี | 08.00 – 18.00 | จุดผ่านแดนทางเรือข้ามฟาก | ||
10 | ทล.211 | จุดผ่านแดนถาวรบ้านเชียงคาน, อ.เชียงคาน จ.เลย | ด่านท้องถิ่นสานะคาม, สานะคาม, แขวงเวียงจันทน์ | 08.00 – 18.00 | จุดผ่านแดนทางเรือข้ามฟาก | |
11 | ทล.211 | จุดผ่านแดนถาวรบ้านคกไผ่, อ.ปากชม จ.เลย | ด่านท้องถิ่นบ้านวัง, สานะคาม, แขวงเวียงจันทน์ | 08.00 – 16.00 | จุดผ่านแดนทางเรือข้ามฟาก | |
12 | ซ.หายโศก | จุดผ่านแดนถาวรท่าเสด็จ, อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย | ด่านท้องถิ่นท่าเดื่อ, หาดซายฟอง, นครหลวงเวียงจันทน์ | 08.00 – 18.00 | จุดผ่านแดนทางเรือข้ามฟาก | |
13 | ถ.มิตรภาพ | จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพไทย–ลาว, อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย | ด่านสากลมิตรภาพ (บ้านดงพูลี), หาดซายฟอง, นครหลวงเวียงจันทน์ | 06.00 – 22.00 | จุดผ่านแดนทางถนนและทางรถไฟ ผ่านสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์) การให้บริการรถไฟระหว่างสถานีรถไฟหนองคาย–ท่านาแล้ง[15] และสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์–เวียงจันทน์ (คำสะหวาด)[16] | |
14 | ทล.212 | จุดผ่านแดนถาวรบึงกาฬ, อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ | ด่านสากลปากซัน, ปากซัน, แขวงบอลิคำไซ | 08.00 – 18.00 | จุดผ่านแดนทางเรือข้ามฟาก และ แพขนานยนต์[17] | |
15 | ถ.สุนทรวิจิตร | จุดผ่านแดนถาวรนครพนม, อ.เมืองนครพนม จ.นครพนม | ด่านท่าแขก, ท่าแขก, แขวงคำม่วน | 06.00 – 18.00 | จุดผ่านแดนทางเรือข้ามฟาก | |
16 | ทล.295 | จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม–คำม่วน), จ.นครพนม | ท.13 | ด่านสากลมิตรภาพ 3, ท่าแขก, แขวงคำม่วน | 06.00 – 22.00 | จุดผ่านแดนทาง สะพานมิตรภาพไทย–ลาว แห่งที่ 3 |
17 | จุดผ่านแดนถาวรมุกดาหาร, อ.เมืองมุกดาหาร จ.มุกดาหาร | ด่านไซยะภูมิ, ไกสอนพมวิหาร, แขวงสุวรรณเขต | 06.00 – 18.00 | จุดผ่านแดนทางเรือข้ามฟาก | ||
18 | ทล.239 | จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต), อ.เมืองมุกดาหาร จ.มุกดาหาร | ด่านสากลมิตรภาพ 2, ไกสอนพมวิหาร, แขวงสุวรรณเขต | 06.00 – 22.00 | จุดผ่านแดนทาง สะพานมิตรภาพไทย–ลาว แห่งที่ 2 | |
19 | จุดผ่านแดนถาวรบ้านปากแซง, อ.นาตาล จ.อุบลราชธานี | ด่านท้องถิ่นบ้านปากตะพาน, ละคอนเพ็ง, แขวงสาละวัน | 08.00 – 18.00 | จุดผ่านแดนทางเรือข้ามฟาก | ||
20 | จุดผ่านแดนถาวรช่องเม็ก, อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี | ด่านสากลวังเต่า, โพนทอง, แขวงจำปาศักดิ์ | 06.00 – 20.00 |
จุดผ่อนปรนการค้า
[แก้]การข้ามพรมแดนนี้เปิดให้เฉพาะการค้าข้ามพรมแดนในท้องถิ่นเท่านั้น มีจุดผ่อนปรนการค้าจำนวน 29 จุด ซึ่งกระทรวงมหาดไทยรับรองอย่างเป็นทางการตั้งอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ การเข้าประเทศตรงข้ามนอกเหนือจากจุดตรวจเหล่านี้และตลาดอื่น ๆ ถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
ลำดับ | ประเทศไทย | ประเทศลาว | เวลาทำการ (น.)[18] | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
จังหวัด | จุดผ่านแดน | แขวง | จุดผ่านแดน | |||
1 | เชียงราย | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านสวนดอก, อ.เชียงแสน | บ่อแก้ว | บ้านสีเมืองงาม, ต้นผึ้ง | 08.00 – 18.00 | |
2 | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านแจมป๋อง, อ.เวียงแก่น | บ้านด่าน, ห้วยทราย | 08.00 – 18.00 | |||
3 | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านหาดบ้าย, อ.เชียงของ | บ้านดอยแตง, ต้นผึ้ง | 06.00 – 18.00 | |||
4 | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านร่มโพธิ์ทอง, อ.เทิง | ไชยบุรี | บ้านปางไฮ, คอบ | 08.00 – 18.00 | ||
5 | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านห้วยลึก, อ.เวียงแก่น | บ้านครกหลวง - บ้านปากตีน, ห้วยทราย | 06.00 – 18.00 | |||
6 | น่าน | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านห้วยสะแตง, อ.ทุ่งช้าง | บ้านป่าหว้าน, เชียงฮ่อน | 09.00 – 16.00 | ทุกวันที่ 15, 30 ของทุกเดือน ยกเว้นการ รักษาพยาบาลฉุกเฉิน เข้าออกได้ตลอดเวลา | |
7 | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านใหม่ชายแดน, อ.สองแคว | บ้านเตสอง, เชียงฮ่อน | 08.00 – 16.00 | ทุกวันที่ 5, 10, 15, 20, 25, 30 ของทุกเดือน | ||
8 | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านห้วยต่าง, อ.บ้านโคก | บ้านขอนแก่น, บ่อแตน | ทุกวันอังคารและพุธ เวลากลางวัน |
|||
9 | เลย | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านเหมืองแพร่, อ.นาแห้ว | บ้านเหมืองแพร่, บ่อแตน | 08.00 – 18.00 | เฉพาะวันพระ | |
10 | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านนาข่า, อ.ด่านซ้าย | บ้านนาข่า, บ่อแตน | 08.00 – 18.00 | ทุกวันอังคารและพฤหัสบดี | ||
11 | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านนากระเซ็ง, ท่าลี่ | บ้านเมืองหมอ, แก่นท้าว | 07.00 – 18.00 | ทุก 1 ค่ำและ 9 ค่ำ | ||
12 | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านหนองผือ, อ.ท่าลี่ | บอลิคำไซ | บ้านเมืองแก่นท้าว, แก่นท้าว | 07.00 – 18.00 | ทุก 3 ค่ำและ 8 ค่ำ | |
13 | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านอาฮี, อ.ท่าลี่ | บ้านนาแก่งม้า, แก่นท้าว | 07.00 – 18.00 | ทุก 7 ค่ำและ 15 ค่ำ | ||
14 | หนองคาย | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านเปงจาน, อ.รัตนวาปี | บ้านทวย, ท่าพระบาท | 08.00 – 18.00 | ทุกวันอาทิตย์และพุธ | |
15 | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านม่วง, อ.สังคม | บ้านโคกแห่, สักทอง | 08.00 – 16.00 | ทุกวันพุธและเสาร์ | ||
16 | จุดผ่อนปรนการค้าหมู่ 1 ตำบลจุมพล, อ.โพนพิสัย | นครหลวงเวียงจันทน์ | บ้านโดนใต้, ปากงึม | 08.00 – 16.00 | ทุกวันอังคารและเสาร์ | |
17 | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านหม้อ, อ.ศรีเชียงใหม่ | บ้านด่านดำ, สีโคดตะบอง | 08.00 – 17.00 | ทุกวันอังคารและเสาร์ | ||
18 | บึงกาฬ | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านบุ่งคล้า, อ.บุ่งคล้า | บอลิคำไซ | บ้านปากกระดิ่ง, ปากกระดิ่ง | 08.00 – 18.00 | ทุกวันอังคารและศุกร์ |
19 | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านห้วยคาด, ต.ปากคาด | บ้านทวย, ท่าพระบาท | 08.00 – 16.00 | ทุกวันจันทร์และพฤหัสบดี | ||
20 | นครพนม | จุดผ่อนปรนการค้าหนาดท่า, อ.เมืองนครพนม | บ้านปากเป่ง, ท่าแขก | 08.00 – 14.00 | ทุกวันอังคารและพุธ | |
21 | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านดอนแพง, อ.บ้านแพง | บ้านบุ่งกวาง, ปากกระดิ่ง | 09.00 – 16.00
09.00 – 13.00 |
ทุกวันจันทร์
ทุกวันอังคาร, พุธ, ศุกร์ | ||
22 | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านธาตุพนมสามัคคี, อ.ธาตุพนม | คำม่วน
สุวรรณเขต |
บ้านด่าน, หนองบก
บ้านปากเซบั้งไฟ, ปากกระดิ่ง |
07.00 – 14.00 | ทุกวันจันทร์ และพฤหัสบดี | |
23 | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านท่าอุเทน, อ.ท่าอุเทน | คำม่วน | บ้านหินบูน, หินบูน | 08.00 – 16.00 น. | เปิดทุกวันจันทร์ และพฤหัสบดี | |
24 | อำนาจเจริญ | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านยักษ์คุ, อ.ชานุมาน | สุวรรณเขต | บ้านเหล่ามะหูด, ไซพูทอง | 06.00 – 18.00 | เปิดทุกวันพุธ และอาทิตย์ |
25 | อุบลราชธานี | จุดผ่อนปรนการค้าหน้าที่ว่าการอำเภอเขมราฐ, อ.เขมราฐ | บ้านนาปากซัน, สองคอน | 08.00 – 15.00 | เปิดทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ | |
26 | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านสองคอน, อ.โพธิ์ไทร | สาละวัน | บ้านหนองแสง, ละครเพ็ง | 09.00 – 15.00 | เปิดทุกวันพฤหัสบดี | |
27 | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านคันท่าเกวียน, อ.โขงเจียม | บ้านคันทุงไซ, คงเซโดน | ||||
28 | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านด่านเก่า, อ.โขงเจียม | จำปาศักดิ์ | บ้านสิงสัมพัน, ชะนะสมบูน | 09.00 – 15.00 | เปิดทุกวันพฤหัสบดี, เสาร์ | |
29 | จุดผ่อนปรนการค้าบ้านหนองแสง (ช่องตาอู), อ.บุณฑริก | บ้านเหียง, สุขุมา | 08.00 – 15.00 | เปิดทุกวันจันทร์, พุธ, ศุกร์ |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ". www.saranukromthai.or.th.
- ↑ 2.0 2.1 "Laos". CIA World Factbook. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2020.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 "International Boundary Study No. 20 – Laos – Thailand Boundary" (PDF). US Department of State. 18 กันยายน 1962. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2020.
- ↑ Stuart-Fox, Martin (1997). A History of Laos. Cambridge University Press. pp. 24–25. ISBN 0-521-59746-3.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 St John, Ronald Bruce. "The Land Boundaries of Indochina: Cambodia, Laos and Vietnam" (PDF). International Boundaries Research Unit, Department of Geography, University of Durham. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2020. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2020.
- ↑ Brown, MacAlister; Joseph J. Zasloff (กรกฎาคม 1994). Andrea Matles Savada (บ.ก.). "Relations with Thailand". Laos: a country study. Library of Congress Federal Research Division.
- ↑ "More than 200 markers installed along Laos-Thailand border". UTCC. 22 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2020.
- ↑ "Laos, Thailand move forward with border demarcation". The Nation. 26 มกราคม 2015. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2020.
- ↑ พุทซาคำ, สุวิชา (15 กรกฎาคม 2021). "เจาะลึกภารกิจงานด้านเขตแดนไทย เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่อง 'แม่น้ำโขง' พรมแดนไทย-ลาว". The Cloud.
- ↑ "ข้อมูลเขตแดน". กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ สถานการณ์การค้าชายแดนระหว่างไทยและ สปป.ลาว ในปัจจุบัน (PDF). กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. 2563.
- ↑ "ข้อมูลช่องทางผ่านแดนและความตกลงเรื่องการสัญจรข้ามแดน". Foreign Affairs Division Office, Office of the Permanent Secretary, Ministry of the Interior. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-06. สืบค้นเมื่อ 2024-07-18.
- ↑ ດ່ານຊາຍແດນລະຫວ່າງ ສປປ ລາວ - ຣາຊະອານາຈກັ ໄທ (PDF) (ภาษาลาว). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2024.
- ↑ เชียงใหม่นิวส์ (19 กุมภาพันธ์ 2020). "บนเส้นทางเศรษฐกิจพิเศษ จากเชียงของสู่เมืองลาว". Chiang Mai News.
- ↑ "รถไฟข้ามโขง "หนองคาย-ท่านาแล้ง" เพียง 20 บาท ทางเลือกข้ามแดน "ไทย-ลาว" สะดวก ประหยัด". mgronline.com. 6 มีนาคม 2023.
- ↑ "ทดสอบรถไฟกรุงเทพอภิวัฒน์-เวียงจันทน์ เริ่มบริการ 19 ก.ค.นี้". Thai PBS.
- ↑ "แพขนานยนต์ขนส่งสินค้าผ่านพรมแดนบึงกาฬ-ปากซัน ขึ้นค่าบริการ". สำนักข่าวไทย อสมท (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 7 มิถุนายน 2022.
- ↑ จุดผ่านแดนบริเวณชายแดนไทย - ลาว (PDF). กระทรวงมหาดไทย. 18 มีนาคม 2020.