ข้ามไปเนื้อหา

ราชวงศ์หมิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ต้าหมิง)
ต้าหมิง

大明
1368–1644
ธงชาติราชวงศ์หมิง
ธงประจำราชวงศ์
ตราประจำราชวงศ์หมิงของราชวงศ์หมิง
ตราประจำราชวงศ์หมิง
อาณาเขตของจักรวรรดิหมิงในปี ค.ศ. 1580
อาณาเขตของจักรวรรดิหมิงในปี ค.ศ. 1580
เมืองหลวงอิ้งเทียนฝู่ (หนานจิง)
(ค.ศ. 1368–1644)
ชุนเทียนฝู่ (ปักกิ่ง)
(ค.ศ. 1403–1644)
ภาษาทั่วไปภาษาทางการ:
จีนแมนดาริน
ศาสนา
เต๋า, พุทธ, ขงจื๊อ, อิสลาม
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
จักรพรรดิ (皇帝) 
• 1368–1398 (พระองค์แรก)
จักรพรรดิหงหวู่
• 1402–1424
จักรพรรดิหย่งเล่อ
• 1627–1644 (พระองค์สุดท้าย)
จักรพรรดิฉงเจิน
โฉวฝู่ (首輔) 
• 1402–1407
Xie Jin
• 1644
Wei Zaode
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้งอิ้งเทียนฝู่ (หนานจิง) เป็นราชธานี
23 มกราคม 1368
• สถาปนานครชุนเทียนฝู่ (ปักกิ่ง) เป็นราชธานี
28 ตุลาคม 1420
25 เมษายน 1644
1683
พื้นที่
1415[1]6,500,000 ตารางกิโลเมตร (2,500,000 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1393
65,000,000
• 1403
66,598,337¹
• 1500
125,000,000²
• 1600
160,000,000³
สกุลเงินกระดาษเงิน (ค.ศ. 1368–1450)
Bimetallic:
เงินสดทองแดง () in strings of coin and กระดาษ
Silver taels (, liǎng) in sycees and by weight
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์หยวน
ราชวงศ์ชุ่น
ราชวงศ์จินยุคหลัง
ราชวงศ์หมิงใต้
Remnants of the Ming dynasty ruled southern China until 1662, and Taiwan until 1683 a dynastic period which is known as the Southern Ming.
¹The numbers are based on estimates made by CJ Peers in Late Imperial Chinese Armies: 1520–1840
²According to A. G. Frank, ReOrient: global economy in the Asian Age, 1998, p. 109
³According to A. Maddison, The World Economy Volume 1: A Millennial Perspective Volume 2, 2007, p. 238
ราชวงศ์หมิง
"ราชวงศ์หมิง" เขีบนแบบอักษรจีน
ภาษาจีน明朝
ต้าหมิง
ภาษาจีน大明
จักรวรรดิต้าหมิง
อักษรจีนตัวเต็ม大明帝國
อักษรจีนตัวย่อ大明帝国

ราชวงศ์หมิง หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิต้าหมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิจีน ระหว่าง ค.ศ. 1368 ถึง ค.ศ. 1644 ดำรงอยู่เป็นเวลารวม 276 ปี โดยมีอำนาจขึ้นปกครองถัดจากราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล และได้สูญสิ้นอำนาจจากการยึดครองโดยราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูในภายหลัง

ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้น (1368 - 1464) ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์หมิงถือเป็นหนึ่งในยุคที่ถูกจัดโดยนักวิชาการชาวตะวันตกว่ามีการปกครองที่เป็นระบบและสังคมที่มีเสถียรภาพในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติก่อนที่จะล่มสลาย ราชวงศ์หมิงถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชาวฮั่น[2]

ปฐมจักรพรรดิต้าหมิง จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิหงหวู่ หลังจากที่ได้ทรงประกาศปลดแอกชาวฮั่นจากภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล ได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พระองค์ได้ทรงพยายามปฏิรูปการปกครองอาณาจักรเสียใหม่ ทรงพยายามสร้างระบบสังคมชุมชนชนบทแบบพึ่งพาตนเอง ปฏิรูประบบราชการ กฎหมาย จักรพรรดิหงหวู่ได้สร้างระบบที่เป็นระเบียบที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ที่จะสามารถรองรับและสนับสนุนการทหารของราชวงศ์หมิงอย่างยั่งยืน ทำให้ด้านการทหารในช่วงนั้นราชวงศ์หมิงประสบความสำเร็จมีกองทัพภาคพื้นดินเกินกว่า 1 ล้านคนและกองทัพเรือมีอู่ต่อเรือที่หนานจิงเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น[3] พระองค์ยังได้ทรงตระหนักถึงการลดทอนอำนาจของเหล่าขันทีในราชสำนัก[4] เหล่าพ่อค้าที่คดโกงทางเศรษฐกิจ ปฏิรูปโดยใช้ระบบศักดินาโดยโอนมอบสิทธิครอบครองที่ดินให้แก่พระโอรสของพระองค์ทั่วประเทศจีนและพยายามแนะนำให้พระโอรสใช้หลักกระแสรับสั่งที่เผยแพร่โดยราชสำนักหมิงชื่อว่า หวงหมิงซูซุ่น หลักการนี้ได้ถูกยกเลิกเมื่อพระราชนัดดาของพระองค์ จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน ซึ่งขึ้นเป็นฮ่องเต้องค์ที่ 2 ทรงคิดรวบอำนาจและพยายามที่จะกำจัดอำนาจของพระปิตุลาของพระองค์เอง ก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองหรือการทัพที่จิงหนานขึ้น หลังจากการทัพดังกล่าวสิ้นสุดลงเอี้ยนอ๋องจูตี้ได้สืบราชสมบัติต่อเป็นฮ่องเต้ ในปี ค.ศ. 1402 พระนามว่า จักรพรรดิหย่งเล่อ

จักรพรรดิหย่งเล่อได้สถาปนาเมืองเอี้ยนเป็นราชธานีแห่งที่ 2 และเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงใหม่เป็น เป่ย์จิง หรือ ปักกิ่ง สร้างพระราชวังต้องห้าม (หรือพระราชวังกู้กง) ซึ่งเป็นพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียในขณะนั้น รื้อฟื้นระบบคูคลองเมืองและเริ่มระบบการสอบคัดเลือกเข้าราขการหรือจอหงวน ในตำแหน่งราชการที่สำคัญ ๆ พระองค์ได้ให้รางวัลแก่เหล่าขันทีที่ได้สนับสนุนและว่าจ้างให้พวกเขาทำหน้าที่ถ่วงดุลคานอำนาจกับเหล่าราชบัณฑิตนักปราชญ์ขงจื๊อ หนึ่งในขันทีที่โด่งดังคือ เจิ้งเหอ ได้นำกองเรือจีนไปประกาศศักดาทั่วสารทิศ

การขึ้นสู่อำนาจของจักรพรรดิองค์ใหม่และปัจจัยใหม่ ๆ ได้ลดความฟุ่มเฟือยลง การจับกุมจักรพรรดิเจิ้งถงในปี ค.ศ. 1449 ในวิกฤตตูมูสิ้นสุดบทบาทของพระองค์ ในที่สุดกองทัพเรือของราชวงศ์หมิงได้เกิดความเสื่อมถอยลงเนื่องจากเผชิญสงครามหลายครั้งในขณะที่การใช้การเกณฑ์แรงงานก่อสร้างแนวป้อมปราการเหลียวตงเชื่อมต่อกับป้อมปราการของกำแพงเมืองจีนนำไปสู่รูปแบบลักษณะที่เห็นเป็นอยู่ในปัจจุบัน

จำนวนสำมะโนประชากรในจักรวรรดิต้าหมิงได้เกิดการขยายตัวอย่างกว้างขว้างและได้รับการจดบันทึกอย่างต่อเนื่องโดยราชสำนัก 10 ปีครั้ง แต่ความหวังที่จะหลีกเลี่ยงการเกณฑ์แรงงาน การเก็บภาษีและการต้องเผชิญอุปสรรคของการเก็บรวบรวมและชำระเอกสารราชการจำนวนมากที่หนานจิงได้เป็นอุปสรรคต่อการประเมินตัวเลขที่ถูกต้องมีการประเมินโดยคร่าวๆของจำนวนประชากรสมัยราชวงศ์หมิงตอนปลายมีจำนวน 160 ถึง 200 ล้านคน[5] ในยุคนี้กฎหมายไห่จิ้นได้ถูกตราขึ้นเพื่อจุดประสงค์ที่จะปกป้องคุ้มครองอาณาเขตของจักรวรรดิต้าหมิงตามชายฝั่งทะเลจากพวก โจรสลัดญี่ปุ่น ที่ซึ่งได้ลักลอบปล้นสะดมหัวเมืองท่าของหมิงหลายครั้ง จนราชสำนักต้องส่ง ชี จี้กวัง แม่ทัพแห่งราชวงศ์หมิงไปปราบ ซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องเป็นวีรบุรุษจากการปราบโจรสลัดญี่ปุ่น ในศตวรษที่ 16 อย่างไรก็ตามการขยายตัวของชาวตะวันตกได้ถูกจำกัดให้ทำการค้าได้เฉพาะบริเวณใกล้เมืองท่ากวางโจวและมาเก๊า การค้าได้ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างชาวจีนกับชาวตะวันตก "การแลกเปลี่ยนโคลัมเบียน" (Columbian Exchange) หรือ การเคลื่อนย้ายพืชและสัตว์ระหว่างซีกโลกตะวันตกออกและตะวันตกโดยพ่อค้าชาวยุโรป ได้มีการนำเอาธัญพืช พืชผักและสัตว์จากยุโรปตะวันตกมาสู่ประเทศจีน พริกได้เข้ามาสู่อาหารเสฉวน ข้าวโพด และมันสัมปะหลัง ทำให้ช่วยลดปัญหาด้านการขาดแคลนอาหารและเป็นปัจจัยหนึ่งที่เอื้อให้จำนวนประชากรของหมิงเพิ่มขึ้นจากการค้าขายกับตะวันตก การเติบโตของการค้ากับโปรตุเกส สเปนและฮอลันดา ได้สร้างอุปสงค์ใหม่แก่ผลผลิตของจีน

นอกจากการค้ากับชาวยุโรปแล้วในรัชสมัยจักรพรรดิว่านลี่ ฮ่องเต้องค์ที่ 14 แห่งราชวงศ์หมิง ได้มีไดเมียวแห่งญี่ปุ่นนามว่า โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิได้ก่อการกำเริบเสิบสานตั้งตนเป็นใหญ่คิดรุกรานอาณาจักรโชซ็อน (เกาหลี) ซึ่งเป็นประเทศราชของราชวงศ์หมิง นำไปสู่เหตุการณ์การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1592 ทำให้จักรพรรดิว่านลี่มีพระราชโองการส่งกองทัพปราบญี่ปุ่นและเข้าช่วยเกาหลี จนในที่สุดกองทัพญี่ปุ่นของฮิเดะโยะชิต้องพ่ายแพ้และถอยทัพกลับในที่สุด

ในปลายราชวงศ์หมิงได้เริ่มประสบปัญหาภายในหลายอย่าง จาง จวีเจิ้ง มหาอำมาตย์แห่งราชสำนักหมิงได้ริเริ่มการปฏิรูปขึ้นมาใหม่อีกครั้ง แต่มิทันได้เริ่มประสบผลกลับล้มเหลวและถูกขัดขวาง เมื่อได้เกิดการชะลอตัวในด้านเกษตรกรรมซึ่งมาจากปรากฏการณ์ธรรมชาติสอดคล้องกับยุคน้ำแข็งน้อยประจบกับการจัดเก็บภาษีเริ่มมีปัญหาทำให้ปลายยุคราชวงศ์หมิงได้เกิดปัญหาการเพาะปลูกล้มเหลว อุทกภัยและโรคระบาดเริ่มตามมา ราชวงศ์หมิงได้ล่มสลายลงเมื่อเกิดกลุ่มกบฎชาวนานำโดยหลี่ จื้อเฉิง ได้นำกองทัพบุกเข้ากรุงปักกิ่ง และต่อมา อู๋ซานกุ้ย แม่ทัพหมิงผู้ทรยศได้เปิดด่านซันไฮ่กวานให้กองทัพแมนจูที่กำลังรุกรานเมืองจีนอยู่นั้นเข้ากรุงปักกิ่งได้สำเร็จและตั้งราชวงศ์ชิงขึ้น ส่วนกลุ่มขุนนางและทหารที่ยังคงจงรักภักดีต่อราชวงศ์หมิงได้รวมตัวกันหนีไปตั้งราชวงศ์หมิงใต้ (บริเวณตอนใต้ของประเทศจีน) ดำรงอยู่ถึง ค.ศ. 1683 จนถูกราชวงศ์ชิงโค่นล้ม ราชวงศ์หมิงถึงกาลอวสานอย่างสมบูรณ์

ประวัติ

[แก้]

การสถาปนาราชวงศ์หมิง

[แก้]

จูหยวนจางและกบฎโพกผ้าแดง

[แก้]
จูหยวนจาง หรือต่อมาคือ จักรพรรดิหงหวู่ ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิง

ชาวมองโกลที่ปกครองราชวงศ์หยวนเป็นเวลาเกือบร้อยปี จนถึงช่วงปลายราชวงศ์หยวน เป็นช่วงเวลาราชสำนักมองโกลใช้นโยบายแบ่งแยกชนชั้นกดขี่ข่มเหงรังแกชาวฮั่น ประกอบกับมีการขึ้นการเก็บภาษีอย่างหนักหน่วงทั่วแผ่นดิน เกิดภาวะอัดคัดฝืดเคืองและได้เกิดอุทกภัยที่แม่น้ำฮวงโหเป็นผลมาจากการคัดค้านนโยบายสร้างเขื่อนชลประทานของชาวมองโกล ดังนั้นการเกษตรและเศรษฐกิจจึงอยู่ในภาวะตกต่ำ[6] และได้เกิดการก่อกบฎชาวนาขึ้นนับหมื่นโดยได้เรียกร้องให้ราชสำนักหยวนหาวิธีซ่อมเขื่อนกำแพงกั้นน้ำและแก้ไขปัญหาอุทกภัย[6] ราชสำนักหยวนกลับปฏิเสธอย่างไม่ใยดี ความไม่พอใจลุกลามไปทั่วแผ่นดินจนทำให้ชาวชาวฮั่นหลายกลุ่มได้ก่อกบฏต่อต้านราชวงศ์หยวนและฟื้นฟูราชวงศ์ของชาวฮั่น กลุ่มที่มีอิทธิพลที่สุดคือกบฏโพกผ้าแดงในปี ค.ศ.1351 กลุ่มโจรโพกผ้าแดงได้ร่วมมือกันเป็นเครือข่ายสมาคมลัทธิบัวขาวซึ่งเป็นสมาคมลับทางพุทธศาสนา

จู หยวนจาง ชาวนาที่สิ้นเนื้อประดาตัวและต่อมาได้บวชเป็นพระสงฆ์ในศาสนาพุทธได้ร่วมการก่อกบฎต้านราชวงศ์หยวนกับกลุ่มกบฎโพกผ้าแดงในปี ค.ศ. 1352 เขาได้เข้าสู้กับทหารมองโกลอย่างกล้าหาญจนทำให้เขาสร้างชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ในปี ค.ศ. 1356 กองทัพกบฎโพกผ้าแดงได้เข้ายึดเมืองหนานจิงได้สำเร็จ[7]

เมื่อราชวงศ์หยวนกำลังใกล้จะล่มสลายกลุ่มกบฎได้ถือโอกาสเข้าต่อสู้แย่งชิงอำนาจกันเองเพื่อที่จะได้ปกครองแผ่นดินจีนทั้งหมด ในปี ค.ศ. 1363 กลุ่มผู้มีอำนาจตามท้องถิ่นได้ถือโอกาสตั้งตนเป็นอิสระแผ่นดินได้แตกออกเป็นเหล่าต่าง ๆ จู หยวนจาง ได้ปราบผู้ทรยศที่สำคัญคือ เฉิน โหย่วเลี่ยง สมาชิกกบฎโพกผ้าแดงที่ทรยศที่ตั้งตนเป็นอิสระสถาปนาพระตนขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งฮั่น จู หยวนจางได้รวบรวมกำลังเข้าปราบเฉิน โหย่วเลี่ยงในยุทธการทะเลสาบโปหยาง ซึ่งมีการอภิปรายโดยนักวิชาการถือเป็นยุทธนาวีที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีน เป็นที่รู้จักในความพยายามใช้เรือปืนไฟของจู หยวนจาง ที่มีทหาร 200,000 คน สามารถเอาขาะทหารของเฉิน โหย่วเลี่ยงที่มีมากกว่าถึง 3 เท่า (มีการคาดการณ์ว่ามีประมาณ 650,000 คน)

ชัยชนะของจู หยวนจางได้ทำให้เขารวบรวมดินแดนแม่น้ำแยงซีมาครอบครองได้สำเร็จ หลังจากที่หัวหน้าของกบฎโพกผ้าแดงเสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1367 ทำให้กลุ้มกบฎเกิดภาวะขาดผู้นำโดยเหล่าสมาชิกปรึกษากันพบว่าไม่มีใครที่จะมีความสามารถพอที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำได้อีก กลุ่มกบฎจึงคัดเลือกให้ จู หยวนจาง ขึ้นมาเป็นหัวหน้ากบฎในปีต่อมาเขาได้นำทัพกบฎบุกเข้าสู่กรุงต้าตู (ปักกิ่งในปัจจุบัน)[8] เมืองหลวงของราชวงศ์หยวน จักรพรรดิหยวนฮุ่ยจง จักรพรรดิเชื้อสายมองโกลองค์สุดท้ายถูกบีบให้ต้องลี้ภัยทิ้งเมืองหลวงหนีออกจากพระราชวัง โดย จู หยวนจางได้นำทัพขับไล่กองทัพมองโกลจนราชสำนักหยวนต้องหนีขึ้นไปทางเหนือและตั้งราชวงศ์หยวนเหนือ ส่วนจู หยวนจางได้ประกาศก่อตั้ง ราชวงศ์หมิง () ที่แปลว่า แสงสว่าง ประดุจอิสระของชาวฮั่นจากมองโกล ทำให้ชาวฮั่นกลับมามีอิสรภาพอีกครั้ง

หลังจากนั้นจู หยวนจางได้รื้อถอนพระราชวังของราชวงศ์หยวนเดิมลงที่ต้าตู[8] เมืองได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "เป่ยผิง" ในปีเดียวกันจู หยวนจางได้ตั้งตนเป็นจักรพรรดิและได้สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิหงหวู่ หรือหมิงไท่จู่ ปฐมจักรพรรดิราชวงศ์หมิง

ราชวงศ์หมิงตอนต้นและยุครุ่งเรือง

[แก้]

การครองราชย์ของจักรพรรดิหงหวู่

[แก้]
จักรพรรดิหงหวู่ (ครองราชย์ ค.ศ. 1368–98)

จักรพรรดิหงหวู่ทรงตั้งกรุงหนานจิงเป็นราชธานีแห่งราชวงศ์หมิง พระองค์ได้มีความพยายามที่จะบูรณะสาธารณูปโภคในอาณาจักรอีกครั้ง พระองค์ได้สร้างกำแพงรอบเมืองหนานจิงเป็นระยะทางยาวกว่า 48 กิโลเมตร (30 ไมล์) พร้อมทั้งสร้างพระราชวังและหอประชุมขุนนางขึ้นมาใหม่[8] อีกทั้งได้ทรงทุ่มเทเพื่อที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคม และผลผลิตในประเทศ โดยด้านหนึ่งพยายามลดภาระของประชาชนและชาวนา ในขณะที่อีกด้านก็เร่งปฏิรูประบบการปกครองที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งลงโทษขุนนางที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง

โดยในช่วงเวลานี้ จักรพรรดิหมิงไท่จู่ได้ให้โอกาสชาวบ้านที่ต้องอพยพเพราะภัยสงครามจนไม่มีที่ทำกิน ให้เข้าไปจับจองที่ดินที่รกร้างว่างเปล่า โดยทางการจะเป็นผู้จัดหาพันธุ์พืชและเครื่องมือให้ นอกจากนั้นยังมีการยกเว้นภาษีและการเกณฑ์แรงงานให้กับผู้ที่ไปบุกเบิกพื้นที่ใหม่ๆเป็นเวลา 3 ปี ทำการส่งเสริมด้านชลประทาน ทำให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นโดยลำดับ

ทว่าในด้านการปฏิบัติต่อขุนนางนั้น แม้ในช่วงต้นของการสถาปนาราชวงศ์ จะมีการปูนบำเหน็จและพระราชทานตำแหน่งให้กับขุนนางที่มีผลงาน ทว่าเพื่อที่จะรวบอำนาจให้รวมศูนย์ไว้ที่องค์ฮ่องเต้ บวกกับการที่พระองค์มีนิสัยเป็นคนที่ระแวงสงสัยในตัวผู้อื่น ทำให้ในรัชกาลหงหวู่มีการประหารฆ่าขุนนางผู้มีคุณูปการไปไม่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในกรณีสำคัญที่เห็นได้ชัดก็อย่างเช่นกรณีของ หู เหวย์ยง (胡惟庸) กับหลันอี้ว์ (蓝玉)

หูเหวยยงได้เข้ากองทัพติดตามจูหยวนจางและได้เป็นที่ปรึกษาที่สำคัญตั้งแต่ก่อนจะครองราชย์ จนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งอัครเสนาบดีในเวลาต่อมา หูเหวยยงได้รับความโปรดปรานจากจักรพรรดิหมิงไท่จู่เป็นอย่างยิ่ง ทำให้เริ่มมีอิทธิพลและกุมอำนาจต่างๆเอาไว้ในมือ มีขุนนางจำนวนมากที่มาเข้าเป็นสมัครพรรคพวกมากมาย จนมักกระทำการโดยพลการอยู่เสมอ อย่างเช่นฎีกาที่เหล่าขุนนางเขียนถวายฮ่องเต้ หากมีฎีกาใดที่ไม่เป็นประโยชน์กับตนก็จะไม่ยอมถวายขึ้นไป สุดท้ายในปีค.ศ. 1380 เมื่อมีคนกล่าวโทษว่าหูเหวยยงนั้นมีความคิดที่จะก่อกบฏ จักรพรรดิหมิงไท่จู่จึงมีรับสั่งให้ประหารหูเหวยยง พร้อมทั้งถือโอกาสในการกวาดล้างวงศ์ตระกูลและสมัครพรรคพวกของหูเหวยยงทั้งหมด นอกจากนั้นในภายหลังยังมักจะอาศัยข้ออ้างการเป็นพรรคพวกของหูเหวยยงเป็นอาวุธในการปกครอง กล่าวคือเมื่อใดที่ทรงระแวงสงสัยบุคคล ขุนนาง หรือเจ้าของที่ดินคนไหน ที่คาดว่าอาจจะเป็นภัยต่อราชบัลลังก์ ก็จะถูกประหารด้วยข้อกล่าวหาดังกล่าว แม้กระทั่งล่วงเลยมาถึง 10 ปียังมีการอาศัยข้อหานี้ทำการประหารครั้งใหญ่อีกครั้ง โดยในคดีดังกล่าวตั้งแต่ต้นจนจบ มีผู้ที่ถูกประหารชีวิตไปทั้งสิ้นกว่า 30,000 คน

หลังจากเกิดเหตุการณ์คดีหูเว่ยยงแล้ว จักรพรรดิหมิงไท่จู่จึงได้ยกเลิกระบบอัครเสนาบดี แล้วแบ่งอำนาจการปกครองเสียใหม่หรือเป็นที่รู้จักกันในรูปแบบ สามสำนักหกกรม (三省六部)

จากความระแวงที่เกิดขึ้น ยังทำให้มีการจัดตั้งหน่วยงานสำคัญที่มีในการตรวจสอบขึ้น ได้แก่สำนักงานตรวจการ (督察院) และหน่วยงานองครักษ์เสื้อแพร (锦衣卫 หรือ จินยี่เว่ย) มีลักษณะรูปแบบคล้ายตำรวจลับ เพื่อให้เป็นหน่วยงานพิเศษในการตรวจสอบขุนนางในราชสำนักและราษฎรทั่วราชอาณาจักร จากนั้นยังทรงแต่งตั้งพระโอรสทั้งหลายให้ออกไปเป็นเจ้ารัฐประจำอยู่ในหัวเมืองต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายในด้านหนึ่งเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและศักยภาพในการป้องกันชาวมองโกลจากทางเหนือ ขณะที่อีกด้านหนึ่งก็เป็นมาตรการป้องกันการร่วมมือระหว่างเหล่าองค์ชายกับขุนนางกังฉินในราชสำนักเพื่อชิงราชบัลลังก์ อีกทั้งทรงตรามาตรการเสริมเพื่อป้องกันการใช้อำนาจบาตรใหญ่จนเกินควบคุมของบรรดาเชื้อพระวงศ์ ด้วยการบัญญัติไว้ว่า สำหรับฮ่องเต้ในอนาคตหากมีความจำเป็น ให้สามารถถอดถอนเจ้ารัฐหัวเมืองเหล่านี้ได้

การแผ่ขยายอาณาเขต

[แก้]

ชายแดนตอนใต้และตะวันตก

[แก้]

ในทิศตะวันตก บริเวณชิงไห่, ชาวซาร์ลาร์ ซึ่งนับถืออิสลามสมัครใจมาพึ่งอาณัติของราชวงศ์หมิง ผู้นำเผ่าของพวกเขายอมแพ้ประมาณ ค.ศ. 1370 กองทัพของอาณาจักรอุยกูร์ภายใต้แม่ทัพอุยกูร์ ฮาลาร์ บาชี ได้นำการก่อกบฎเหมียวถูกกองทัพต้าหมิงปราบปรามสำเร็จในช่วงปี ค.ศ. 1370 ทำให้ชาวอุยกูร์จำนวนมากได้ย้ายถิ่นมาตั้งรกรากอยู่ในฉางเต๋อ มณฑลหูหนาน[9] นอกจากชาวอุยกูร์แล้วชาวหุยซึ่งเป็นมุสลิมเช่นเดียวกันก็ได้มาตั้งรกรากอยู่ในฉางเต๋อ มณฑลหูหนาน และเข้าเป็นทหารอาสาช่วยรบในกองทัพต้าหมิงในการต่อสู้กับชนเผ่าอื่นๆ[10]

ในทิศใต้ ปี ค.ศ. 1381 ราชวงศ์หมิงได้รวบรวมพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้บริเวณต้าหลี่ส่วนหนึ่งของอาณาจักรต้าหลี่ หลังจากความพยายามที่ประสบความสำเร็จโดยกองทัพอาสาหุยมุสลิมของราชวงศ์หมิงในการเอาชนะขับไล่กองทัพมองโกลราชวงศ์หยวนที่ยังคงหลงเหลืออยู่และชาวหุยที่ยังจงรักภักดีมองโกลออกจากมณฑลยูนนาน กองทัพอาสาชาวหุยภายใต้แม่ทัพชาวหุย มู ยิง ผู้ซึ่งได้รับความไว้วางใจจากจักรพรรดิหงหวู่ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงแห่งมณฑลยูนนานไปประจำในภูมิภาคใต้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิต้าหมิง[11]

การรบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

[แก้]
กำแพงเมืองจีน: เป็นป้อมปราการที่คอยป้องกันมิให้ชนป่าเถื่อนเข้ารุกรานประเทศจีน แม้จะถูกสร้างในสมัยราชวงศ์ฉินและบูรณะหลายครั้งในราชวงศ์ฮั่น จนในสมัยราชวงศ์หมิงรัชสมัยจักรวรรดิหงหวู่ได้มีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่

หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์หยวนมองโกล และมีการก่อตั้งราชวงศ์หมิงในปี ค.ศ. 1368 ดินแดนแมนจูเรียยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของชาวมองโกลราชวงศ์หยวนเหนือที่อยู่ในมองโกเลีย

ดินแดนแมนจูเรียถือเป็นดินแดนที่ในทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่สุ่มเสี่ยงของราชวงศ์หมิง จักรพรรดิหงหวู่มีพระดำริให้บูรณะกำแพงเมืองจีนหลายครั้งในรัชกาล ในแมนจูเรียนี้เอง นัคฮาชูอดีตขุนนางราชวงศ์หยวนและ อูเรียนไคแม่ทัพแห่งราชวงศ์หยวนเหนือชนะอำนาจเหนือชนเผ่ามองโกลในแมนจูเรีย พวกเขาสะสมกำลังทหารเติบโตอย่างเข้มแข็งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยมีกองกำลังขนาดใหญ่พอ (นับแสนคน) เพื่อคุกคามการรุกรานของราชวงศ์หมิงที่ก่อตั้งขึ้นใหม่และเพื่อฟื้นฟูอิทธิพลของชาวมองโกลสู่อำนาจในประเทศจีนอีกครั้ง แต่ราชวงศ์หมิงตัดสินใจที่จะเอาชนะนัคฮาชูแทนที่จะรอให้ชาวมองโกลเข้าโจมตี ในปี ค.ศ. 1387 ราชวงศ์หมิงส่งกองทัพเข้าปราบปรามนัคฮาชู,[12] ซึ่งสรุปด้วยการยอมแพ้ของนัคฮาชูและการพิชิตแมนจูเรียของราชวงศ์หมิง

ในช่วงราชวงศ์หมิงตอนต้น ราชสำนักหมิงไม่สามารถและไม่ปรารถนาที่จะควบคุมชาวหนี่เจินในแมนจูเรีย แต่มันก็สร้างบรรทัดฐานขององค์กรที่จะทำหน้าที่เป็นพาหนะหลักสำหรับความสัมพันธ์ในท้ายที่สุดกับประชาชนตามแนวชายแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือ ในตอนท้ายของการครองราชย์ของจักรพรรดิหงหวู่ทรงออกนโยบายสำคัญที่มีต่อชาวหนี่เจินได้ก่อตัวขึ้นเป็นรูปร่าง ผู้คนที่อาศัยในแมนจูเรียส่วนใหญ่ ยกเว้นชาวหนี่เจินป่าเถื่อนที่อยู่นอกจากควบคุม จะยอมอยู่ใต้อาณัติของราชวงศ์หมิงอย่างสงบสุข ทางราชสำนักหมิงได้สร้างหน่วยทหารพิทักษ์ขึ้น หรือ (衛, เหว่ย์) ในแมนจูเรียแต่การสร้างหน่วยพิทักษ์ไม่ได้หมายความว่าต้องมีการควบคุมทางการเมือง จนถึงปี ค.ศ. 1435 ราชสำนักหมิงก็หยุดที่จะมีกิจกรรมมากมายที่นั่น แม้จะยังคงทหารยามรักษาการณ์อยู่ในแมนจูเรีย ในช่วงปลายราชวงศ์หมิงการปรากฏตัวทางการเมืองของหมิงในแมนจูเรียนั้นได้ลดลงอย่างมาก

การครองราชย์ของจักรพรรดิหย่งเล่อ

[แก้]

การทัพจิ้งหนานและการขึ้นสู่อำนาจ

[แก้]
ภาพวาด จักรพรรดิหย่งเล่อ (ครองราชย์ ค.ศ 1402–24)

หลังจากจักรพรรดิหมิงไท่จู่สวรรคตแล้ว ได้มีการแต่งตั้งจู หยุ่นเหวิน ซึ่งเป็นพระราชนัดดาเป็นองค์รัชทายาทและได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อเป็นจักรพรรดิเจี้ยนเหวิน พระองค์ได้ใช้นโยบายทำการริดรอนอำนาจของ อ๋อง ผู้ครองแคว้นทำให้อ๋องบางคนเผาตัวตาย โดนถอดบรรดาศักดิ์ โดนจับขังคุก โดนเนรเทศ ต่อมาไม่นานการริดอำนาจอ๋องของจักรพรรดิเจี้ยนเหวินก็ลามมาถึงเอี้ยนอ๋อง จูตี้ ผู้ครองนครปักกิ่งซึ่งเป็นพระปิตุลาของจักรพรรดิเจี้ยนเหวิน จักรพรดิเจี้ยนเหวินได้เริ่มจับกุมทหารและที่ปรึกษาของจูตี้โดยไม่สนใจความเป็นพระญาติวงศ์ ซึ่งโดยตัวจูตี้เองก็ไม่พอใจต่อนโยบายของจักรพรรดิเจี้ยนเหวินเป็นทุนเดิมอยู่แล้วได้ลุกขึ้นประกาศยุทธการสยบเภทภัยเพื่อต่อต้านจักรพรรดิเจี้ยนเหวิน ในไม่ช้าการประลองทางการเมืองก็ปะทุขึ้นระหว่างพระปิตุลาจูตี้กับจักรพรรดิเจี้ยนเหวินหลานชาย[13] นำไปสู่การทัพจิ้งหนานซึ่งเป็นสงครามกลางเมืองยาวนานถึง 3 ปี

กระทั่งปีค.ศ. 1402 เมื่อกองทัพของจูตี้บุกถึงเมืองหลวงหนานจิง หลีจิ่งหลงแม่ทัพรักษาเมืองได้เปิดประตูเมืองให้ทัพจิ้งหนานเข้าเมือง เมื่อยึดครองเมืองหนานจิงได้แล้ว ทว่าในยามนั้น กลับมองเห็นว่าพระราชวังเกิดเพลิงลุกโหมพวยพุ่ง กว่าที่จูตี้ได้ส่งทหารเพื่อไปดับเพลิง ก็พบว่ามีคนถูกคลอกตายไปแล้วไม่น้อย ในขณะที่จักรพรรดิเจี้ยนเหวินก็หายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย ซึ่งนักประวัติศาสตร์ได้เรียกเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่า “การจลาจลจิ้งหนาน” (靖难之变)

เมื่อจูตี้พระปิตุลาสามารถโค่นอำนาจจักรพรรดิเจี้ยนเหวินลงได้สำเร็จ จูตี้ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นจักรพรรดิหมิงเฉิงจู่หรือ จักรพรรดิหย่งเล่อ หลังทรงครองราชย์แล้ว หมิงเฉิงจู่ได้ดำเนินการกวาดล้างครั้งใหญ่ โดยมีขุนนางผู้ใหญ่ข้างกายจักรพรรดิเจี้ยนเหวินกว่า 50 คนที่ถูกจัดให้เป็นขุนนางฉ้อฉล ถูกสั่งประหาร 9 ชั่วโคตร โดยหนึ่งในนั้นมีคดีอันเลื่องลือของฟังเซี่ยวหรู (方孝孺) ที่ถูกประหาร 10 ชั่วโคตรโดยนอกจากญาติ 9 ชั่วโคตรแล้ว ยังมีสหายและลูกศิษย์ประหารรวมไปด้วยจำนวนถึง 873 คน ในปี ค.ศ. 1421 จักรพรรดิหย่งเล่อได้ย้ายเมืองหลวงจากเมืองหนานจิงไปยังกรุงปักกิ่ง

การสถาปนาราชธานีปักกิ่ง

[แก้]
พระราชวังต้องห้ามที่นครหลวงปักกิ่ง สร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์หมิง ช่วงรัชสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ เพื่อเป็นที่ประทับของฮ่องเต้ ถือเสมือนสัญลักษณ์จุดศูนย์กลางของโลก เป็นเมืองสวรรค์ประดุจเทพสร้าง
สุสานหลวงราชวงศ์หมิง ที่ตั้งอยู่ 50 km (31 mi) ทิศเหนือของนครหลวงปักกิ่ง; ตำแหน่งที่ตั้งของสุสานหลวงถูกคัดเลือกโดยจักรพรรดิหย่งเล่อ

จักรพรรดิหย่งเล่อทรงลดฐานะเมืองหนานจิงเป็นเมืองรองและในปี ค.ศ. 1403 จักรพรรดิหย่งเล่อทรงประกาศให้เมืองหลวงใหม่ของจีนจะอยู่ที่ฐานอำนาจของพระองค์ในนครหลวงปักกิ่งจึงเป็นเหตุให้ราชวงศ์หมิงย้ายราชธานีจากหนานจิงมาตั้งที่กรุงปักกิ่ง จักรพรรดิหย่งเล่อทรงโปรดให้มีการสร้างนครหลวงปักกิ่งใหม่ขึ้นทั้งหมด การก่อสร้างเมืองหลวงใหม่ใช้ระยะเวลายาวนานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1407 ถึง ค.ศ. 1420 มีการจ้างและเกณฑ์แรงงานคนหลายแสนคนทุกวัน [14] เพื่อความเป็นศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองของนครปักกิ่ง จักรพรดิหย่งเล่อทรงมีพระดำริให้สร้าง พระราชวังต้องห้าม (หรือพระราชวังกู้กง) เป็นครั้งแรกซึ่งเป็นพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียในขณะนั้น โดยทรงยึดตามคติอาณัติแห่งสวรรค์ให้พระราชวังต้องห้ามถือเป็นเมืองสวรรค์ที่ตั้งอยู่จุดศูนย์กลางของโลกและประดุจว่าสร้างโดยเทพเจ้า นอกจากนี้พระราชวังต้องห้ามยังเป็นที่ประทับขององค์ฮ่องเต้ บรรดาเชื้อพระวงศ์และเหล่าขุนนางอำมาตย์ ในปี ค.ศ. 1553 เมืองรอบนอกนครหลวงถูกขยายเพิ่มเข้ามาทางใต้ซึ่งทำให้ขนาดโดยรวมของกรุงปักกิ่งเป็น 4 เท่าหรือ 4½ไมล์[15]

ช่วงที่ตั้งนครหลวงปักกิ่งนี้เองจักรพรรดิหย่งเล่อยังเป็นผู้ที่ให้ความสำคัญกับด้านวิทยาการความรู้ โดยรับสั่งให้รวบรวมสรรพวิชาที่มีมาตั้งแต่ในอดีตไม่ว่าจะเป็นดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ พยากรณ์ศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา ศิลปะ ฯลฯขึ้น มีการระดมบุคคลากร 147 คนเข้ามาช่วยกันจัดเรียบเรียง และออกมาเป็นเล่มในครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1404 ทว่าหมิงเฉิงจู่ยังเห็นว่าตำราดังกล่าวยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์พอ จึงให้ทำการปรับปรุงแก้ไขอีกครั้ง คราวนี้มีการใช้คนเรียบเรียงและเขียนทั้งสิ้นมากถึง 2,169 คน และใช้หอคัมภีร์เหวินยวน (文渊阁) ที่หนานจิงที่เป็นเก็บตำรา การเรียบเรียงแก้ไขครั้งนี้ได้ลุล่วงในปี ค.ศ. 1407 และคัดลอกเย็บเล่มเสร็จสิ้นในปีถัดมา มีจำนวนทั้งสิ้น 22,877 บรรพ จัดเรียบเรียงเป็น 11,095 เล่ม ฮ่องเต้หมิงเฉิงจู่ได้พระราชทานนามว่า สารานุกรมหย่งเล่อ (永乐大典)

นอกจากสารานุกรมชิ้นใหญ่นี้แล้ว ในราชวงศ์หมิงยังเป็นยุคที่วรรณกรรมประเภทนิยายเริ่มต้นได้รับความนิยมอย่างมาก ถือเป็นเป็นยุคต้นที่นิยายในรูปแบบภาษาพูดที่เรียบง่าย (白话)ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายและสืบเนื่องไปถึงราชวงศ์ชิง โดยเฉพาะในราชวงศ์หมิง ได้บังเกิดผลงานประพันธ์ที่โดดเด่นๆที่เป็นที่รู้จักกันจนถึงทุกวันนี้มากมายอาทิ นิยายพงศาวดารสามก๊ก (三国演义) ในช่วงปลายราชวงศ์หยวนถึงต้นราชวงศ์หมิง ส่วนเรื่องซ๋องกั๋ง หรือผู้ยิ่งใหญ่แห่งเขาเหลียงซาน (水浒传)และ ไซอิ๋ว ()西游记 และบุปผาในกุณฑีทอง (金瓶梅) ถูกประพันธ์ขึ้นในสมัยรัชกาลเจียชิ่งกับวั่นลี่ โดยสามก๊กที่ประพันธ์โดยหลอก้วนจงนั้นน่าจะเป็นนิยายที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดานิยายจีนที่เคยมีมา

เจิ้งเหอและการสำรวจทางทะเล

[แก้]
เส้นทางการเดินเรือของเจิ้งเหอ
เจิ้งเหอ

การต่อเรือในสมัยราชวงศ์หมิงมีการพัฒนาอย่างมาก การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างประเทศมีบ่อยครั้ง

เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1405 (พ.ศ. 1948) จักรพรรดิหย่งเล่อทรงมอบหมายให้ผู้บัญชาการกองเรือซึ่งเป็นขันที นามว่า เจิ้งเหอ คุมกองทัพเรือสำเภาขนาดมหึมาที่ถูกกำหนดให้เป็นเรือระหว่างประเทศ ซึ่งชาวไทยเรียกกันว่าซำปอกงได้นำกองเรือจีนไปเยือนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกาทั้งหมดกว่า 30 ประเทศถึง 7 ครั้งตามลำดับ

การเดินทางของเจิ้งเหอมีจุดประสงค์ที่จะผูกมิตรกับอาณาจักรต่าง ๆ โดยจักรพรรดิหย่งเล่อทรงส่งเจิ้งเหอเป็นแม่ทัพเรือราชวงศ์หมิงนำกองเรือขนาดยักษ์ไปสำรวจดินแดนต่างๆ ซึ่งการเดินทางเจิ้งเหอก็ต้องใช้กำลังทหารปราบปรามบ้างเพื่อแสดงให้เห็นว่ากองทัพเรือราชวงศ์หมิงนั้นมีความยิ่งใหญ่เหนือกว่าทุกชนชาติ เจิ้งเหอได้สั่งให้มีปฏิบัติการทางทหารดังต่อไปนี้

  • การโจมตีท่าเรือเก่า:สถานผู้ดูแลความสงบเรียบร้อยในสุมาตรา เมื่อ ค.ศ. 1407
  • เหตุอันรุนแรงในชวา เมื่อ ค.ศ. 1407
  • การกดดันข่มขู่พม่าใน ค.ศ. 1409
  • การโจมตีศรีลังกาใน ค.ศ. 1411
  • โจมตีและจับกุม ซู-กาน-ลา (Su-Gan-La) แห่งสมุทรา ค.ศ. 1415
  • ความรุนแรงที่เกิดขึ้นที่อยุธยา

ความเสื่อมถอยและการล่มสลายของราชวงศ์หมิง

[แก้]

หายนะในศึกถู่มู่

[แก้]

แม้ว่าราชวงศ์หยวนของมองโกลจะถูกโค่นล้มและขับไล่ออกไป แต่ชนเผ่ามองโกลได้ไปตั้งมั่นยังถิ่นฐานเดิมในทุ่งหญ้าสเตปป์ เมื่อถึงปี ค.ศ.1388 ราชสำนักหยวนเหนือตกอยู่ใต้อิทธิพลชาวมองโกลเผ่าหว่าล่า ในปี ค.ศ. 1449 ข่านอีเซน ตายีซี (เหย่เซียน) หัวหน้าเผ่าหว่าล่า มีความทะเยอะทะยานคิดฟื้นฟูจักรวรรดิมองโกล จึงได้รุกรานจักรวรรดิต้าหมิง ในช่วงที่ราชวงศ์หมิงเริ่มอ่อนแอ จักรพรรดิเจิ้งถง หรือ หมิงอิงจงจักรพรรดิหนุ่มที่อ่อนแอและเบาปัญญาแห่งราชวงศ์หมิงทรงวิตกเรื่องการสงครามเป็นอันมาก เนื่องจากกองทัพที่อยู่ชายแดน ถูกทัพเผ่าหว่าล่าตีแตกพ่าย พระองค์จึงทรงเรียกขันทีหวางเจิ้นเพื่อปรึกษาหารือ ทว่าหวางเจิ้นนั้นแท้จริงเป็นคนโฉดชั่ว เบื้องหน้าเขาทำเป็นจงรักภักดี แต่ลับหลังตั้งกลุ่มอำนาจของตน กระทำการฉ้อราษฏร์บังหลวง ใช้อิทธิพลข่มเหงขุนนางและราษฏร กำจัดผู้ที่ไม่เห็นด้วย ยักยอกงบประมาณแผ่นดิน ทั้งยังซื้อขายตำแหน่งข้าราชการ จนราชการแผ่นดินวิปริตแปรปรวน

ขันทีโฉดหวางเจิ้นได้กราบทูลให้จักรพรรดิเจิ้งถงเสด็จนำทัพไปปราบข้าศึกด้วยพระองค์เอง โดยไม่ฟังคำทัดทานของขุนนางผู้ใหญ่ หมิงอิงจงทรงมีพระบัญชาให้ระดมไพร่พล 220,000 นาย(เอกสารเดิมระบุว่า ห้าแสน) และยกทัพออกจากนครหลวงปักกิ่งทันที ทว่ากองทัพที่พระองค์ทรงนำไปนั้น ถูกเรียกรวมพลในเวลาจำกัด ไพร่พลอาวุธอยู่ในสภาพไม่พร้อมรบ เมื่ออีเซนทราบว่าทัพหมิงออกนอกด่านมาโจมตีพวกตน จึงใช้ยุทธิวิธีล่อให้ข้าศึกไล่ตามโดยแสร้งถอยทัพเพื่อรอโอกาสทำลายฝ่ายตรงข้าม ขณะที่หมิงอิงจงไม่มีความรู้เรื่องการสงคราม กลับเชื่อแต่คำพูดขันทีหวางเจิ้นคนโฉด พระองค์จึงทรงเร่งเคลื่อนทัพไล่ตามข้าศึกจนเสบียงอาหารเริ่มขาดแคลน ไพร่พลป่วยเจ็บล้มตาย เกิดความปั่นป่วนขึ้นในกองทัพ หลังจากที่ได้ทราบความเป็นไปของข้าศึกแล้ว อีเซนก็จัดทหารม้าหนึ่งหมื่นซุ่มรอไว้บนเขาและเข้าล้อมตีทัพหน้าของฝ่ายต้าหมิงที่ไล่ตามทัพเผ่าหว่าล่าเข้ามาในช่องเขา ก่อนกวาดล้างทหารหมิงได้ทั้งทัพ จักรพรรดิเจิ้งถงจึงทรงมีรับสั่งให้ถอยทัพตามคำแนะนำของขันทีหวางเจิ้น เมื่อกองทัพใหญ่ของต้าหมิงได้ถอยมาถึงถู่มู่เป่า หรือ (ป้อมถู่มู่) ถู่มู่เป่าเป็นที่สูง ไม่มีน้ำ ส่วนแหล่งน้ำที่ใกล้ที่สุดก็ถูกทัพหว่าล่ายึดเอาไว้ ทำให้มีไพร่พลหมิงล้มตายด้วยขาดน้ำเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันทัพม้าของหว่าล่าก็ตามมาถึงและเข้าโจมตีกองทัพหมิงอย่างดุเดือด บรรดาแม่ทัพนายกองนำไพร่พลเข้าต้านทานสุดชีวิต จนบาดเจ็บล้มตายไปจำนวนมหาศาล อีกทั้งยังเหตุให้จักรพรรดิเจิ้งถงทรงถูกพวกหว่าล่าจับเป็นองค์ประกัน

ศึกครั้งนี้นำความอัปยศมาสู่ราชวงศ์หมิง เนื่องจากการนำทัพที่ไร้ประสิทธิภาพทำให้กองทัพมหึมาของต้าหมิงถูกทำลายล้าง ส่วนองค์จักรพรรดิเจิ้งถงต้องตกเป็นเชลยของข้าศึก ประวัติศาสตร์จีนเรียกเหตุการณ์อัปยศครั้งนี้ว่าวิกฤตการณ์ถู่มู่เป่า[16] หลังชนะศึก ข่านอีเซนจึงได้ใจเหิมเกริมรวบรวมกำลัง 40,000 นายเข้าตีนครหลวงปักกิ่งต่อ ในยามนั้นเนื่องจากสถานการณ์คับขัน อวี๋เชียน เสนาบดีกลาโหมพร้อมกับเหล่าขุนนางต่างเล็งเห็นว่าบ้านเมืองไม่ควรขาดประมุข จึงไปเข้าเฝ้ากราบทูลพระพันปีให้ยก จูฉวีอี้ พระอนุชาของหมิงอิงจงขึ้นเป็นจักรพรรดิเพื่อรับศึก จูฉวีอี้ขึ้นครองราชย์เป็น จักรพรรดิหมิงจิ่งตี้ จากนั้นก็ทรงแต่งตั้งให้อวี๋เชียนเป็นแม่ทัพใหญ่รับศึกมองโกล ซึ่งอวี๋เชียนก็ได้ระดมทหารและชาวเมืองร่วมสองแสนเข้าต่อสู้ป้องกันนครปักกิ่งอย่างเข้มแข็งจนทัพหว่าล่าไม่อาจตีเมืองได้ ทั้งยังต้องสูญเสียไพร่พลมากมายจนต้องล่าถอยกลับไป

ข่านอีเซนเรียกเงินค่าไถ่หมิงอิงจงเป็นจำนวนมาก ทำให้ราษฎรต้าหมิงอัปยศอับอายเป็นอันมาก และในปีรุ่งขึ้นคือ ค.ศ.1450 ข่านอีเซนก็ปล่อยหมิงอิงจงกลับมา ซึ่งหลังจากกลับมาแล้ว พระองค์ได้ถูกกักบริเวณตามพระบัญชาของหมิงจิ่งตี้ จนถึงปี ค.ศ.1457 หมิงจิ่งตี้ประชวรหนัก หมิงอิงจงจึงถือโอกาสยึดอำนาจคืนและกักบริเวณหมิงจิ่งตี้ ซึ่งไม่นานก็สิ้นพระชนม์ ส่วนอวี๋เชียนที่เคยนำทัพปกป้องนครปักกิ่งนั้น หมิงอิงจงพิโรธที่เขาสนับสนุนหมิงจิ่งตี้ จึงให้นำตัวอวี๋เชียนไปประหาร ทำให้ประชาชนทั้งแผ่นดินต่างสลดใจกับชะตากรรมของขุนนางผู้ภักดีต่อบ้านเมือง

การครองราชย์ของจักรพรรดิว่านลี่

[แก้]
จักรพรรดิว่านลี่ (ครองราชย์ ค.ศ. 1572–1620) ในรัชสมัยของพระองค์ถือเป็นยุคเสื่อมถอยของราชวงศ์หมิงอย่างสำคัญ

ในรัชสมัยจักรพรรดิว่านลี่แห่งราชวงศ์หมิง โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ไดเมียวของญี่ปุ่นได้ก่อการกำเริบเสิบสานตั้งตนเป็นใหญ่คิดรุกรานอาณาจักรโชซ็อน (เกาหลี) ซึ่งเป็นประเทศราชของราชวงศ์หมิง เหตุการณ์การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1592 จักรพรรดิว่านลี่มีพระราชโองการส่งทหารเข้าช่วยเหลืออาณาจักรโชซ็อน แต่การช่วยโชซ็อนทำศึกทำให้ราชวงศ์หมิงประสบปัญหาการเงินมหาศาล ท้องพระคลังร่อยหรอ ในช่วงต้นของการครองราชย์จักรพรรดิว่านหลี่ทรงห้อมล้อมตัวเองด้วยขุนนางที่ปรึกษาที่มีความสามารถและใช้ความพยายามอย่างรอบคอบในการจัดการเรื่องต่างๆของราชสำนัก จาง จวีเจิ้ง ขุนนางผู้มีความสามารถ ได้ทำการคลี่คลายความขัดแย้งกันทางสังคมและกอบกู้การปกครองของราชวงศ์หมิงด้วยวิธีดำเนินการปฏิรูป เขาปรับปรุงระบบขุนนางและราชสำนัก ทำให้ช่วยประคับประคองความอยู่รอดของราชวงศ์หมิงได้บ้างระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามเมื่อราชสำนักหมิงสิ้นจางจวีเจิ้งก็ไม่มีใครหลังจากเขามีฝีมือพอที่จะรักษาเสถียรภาพของการปฏิรูปเหล่านี้ไว้ได้และราชวงศ์หมิงก็กลับมาเสื่อมและตกต่ำเช่นเดิม[17] ในไม่ช้าเหล่าขุนนางก็เริ่มทะเลาะเบาะแว้งกันแบ่งเป็นกลุ่มทางการเมือง เมื่อเวลาผ่านไป จักรพรรดิว่านลี่ทรงเริ่มเบื่อหน่ายเรื่องในราชสำนักและการทะเลาะกันเรื่องการเมืองบ่อยครั้งในหมู่ขุนนางอำมาตย์ พระองค์จึงทรงเลือกที่จะหลบอยู่ด้านหลังพระราชวังต้องห้ามอยู่กับบรรดาขันทีและนางสนมและทรงเลิกออกว่าราชการ[18] เหล่าบัณฑิต-ขุนนางเจ้าหน้าที่ต่างต้องสูญเสียอำนาจในการบริหารบ้านเมือง ส่วนขันทีกลายเป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างจักรพรรดิที่ห่างไกลและเจ้าขุนนางของพระองค์; ขุนนางอาวุโสคนใดที่ต้องการหารือเรื่องต่างๆของบ้านเมืองจะต้องโน้มน้าวขันทีที่มีอิทธิพลด้วยการติดสินบนเพื่อเรียกร้องหรือส่งข้อความถึงจักรพรรดิ[19]

ขันทีครองอำนาจ

[แก้]
ความเป็นอยู่ของขันทีและนางสนมช่วงราชวงศ์หมิงตอนปลายสะท้อนความฟุ่มเฟือยและความเสื่อมโทรม

แม้จักรพรรดิหงหวู่ห้ามไม่ให้ขันทีเรียนรู้วิธีอ่านหรือมีส่วนร่วมในการเมือง ด้วยการลดอิทธิพลและอำนาจของขันทีไม่ให้เข้าสู่การเมืองถือเป็นความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ในรัชกาลของพระองค์ จนถึงยุคขันทีในรัชสมัยของจักรพรรดิหย่งเล่อและหลังจากนั้น ขันทีก็เริ่มเข้ามามีบทบาททางการเมืองมาขึ้น โดยเข้ามาจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขนาดใหญ่ มีอำนาจสั่งการกองทัพและเข้ามีส่วนร่วมในการแต่งตั้งและเลื่อนตำแหน่งขุนนางเจ้าหน้าที่

เหล่าขันทีแห่งราชวงศ์หมิงได้พัฒนาระบบราชการเป็นของตนเองที่มีการจัดระบบขนานไปกับราชสำนักส่วนกลาง แต่ไม่อยู่ภายใต้ระบบราชการส่วนกลาง[15] แม้ว่าจะมีขันทีเผด็จการเป็นจำนวนมากในราชสำนักหมิงเช่น หวางเจิ้น, หวางจีและหลิวจิน อำนาจเผด็จการขันทีมากเกินไปแต่ยังไม่ปรากฏเด่นชัดเจนจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1590 เมื่อ จักรพรรดิว่านลี่ทรงเพิ่มสิทธิเหนือระบบราชการพลเรือนและให้อำนาจแก่พวกเขาในการเก็บภาษีภายใน[19][20][21]

เมื่อการเก็บภาษีอยู่ในมือเหล่าขันที เกิดสภาพการผูกขาดที่ดินรุนแรงมาก พระราชวงศ์และบรรดาเจ้านายที่ได้รับการแต่งตั้งมีที่ดินกระจายอยู่ทั่วประเทศ ภาษีอากรของราชสำนักหมิงก็นับวันมากขึ้น ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นต่าง ๆ ของสังคมก็นับวันรุนแรงขึ้น มีเสนาบดีและขุนนางบางคนพยายามจะคลี่คลายความขัดแย้งในสังคมให้เบาบางลง และเรียกร้องให้ยับยั้งสิทธิ พิเศษของเสนาบดีขันทีและเชื้อพระวงศ์ทั้งหลาย เสนาบดีเหล่านี้เทียวบรรยายวิชาการและวิพากษ์วิจารณ์การเมืองจึงถูกเรียกกันว่าเป็น ”พรรคตงหลินตั่ง” แต่แล้วพวกเขาก็ต้องถูกเสนาบดีขันทีและขุนนางที่มีอำนาจโจมตีและทำร้าย

ขันทีที่โดดเด่นและร้ายกาจคือ เว่ย์ จงเสียน (1568–1627) เรืองอำนาจมากในราชสำนัก จักรพรรดิเทียนฉี (ครองราชย์ ค.ศ. 1620–1627) และมีคู่แข่งทางการเมืองของเขาถูกทรมานจนตายส่วนใหญ่เป็นนักวิจารณ์เสียงร้องจากฝ่ายพรรคตงหลินตั่ง เขาสั่งวัดที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เขาตลอดราชวงศ์หมิงและสร้างพระราชวังส่วนตัวที่สร้างขึ้นด้วยเงินทุนสำหรับการสร้างสุสานของจักรพรรดิก่อนหน้านี้ เพื่อนและครอบครัวของเขาได้รับตำแหน่งที่สำคัญโดยไม่มีคุณสมบัติ เว่ย์จงเสียนยังใส่ร้ายเหล่าขุนนางที่จงรักภักดีและมีความสามารถ เป็นเหตุให้ราชสำนักหมิงสูญเสียบุคคลากรที่มีความสามารถไปเป็นจำนวนมาก[22] ความไม่มั่นคงของราชสำนักหมิงดำเนินมาพร้อมภัยพิบัติทางธรรมชาติโรคระบาดและการจลาจล ความเสื่อมมาถึงจุดสูงสุด ในช่วงการครองราชย์รัชสมัยจักรพรรดิฉงเจิน พระองค์ทรงขับไล่และปลดเว่ย์ จงเสียนออกจากราชสำนักซึ่งนำไปสู่การฆ่าตัวตายของเว่ย์จงเสียน

การรุกรานของชาวแมนจู

[แก้]
ชาวหนี่เจินหรือต่อมาเป็นชาวแมนจู มีเอกลักษณ์คือการโกนผมด้านหน้าและไว้หางเปียด้านหลัง ได้เริ่มเข้ารุกรานแผ่นดินจีนในช่วงปลายราชวงศ์หมิง
กองทัพชนเผ่าแมนจูเข้าตีเมืองหน้าด่านหนิงหยวนของราชวงศ์หมิง

ปลายราชวงศ์หมิงที่มีแต่ความเสื่อมโทรม ทำให้ไม่สามารถควบคุมดินแดนแมนจูเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่ห่างไกลในฐานะประเทศราชได้ เปิดโอกาสให้ชนเผ่าชาวหนี่เจินตระกูลอ้ายซินเจว๋หลัว มีหัวหน้าเผ่าคือ นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ (ค.ศ. 1616–26) ได้เริ่มตั้งตนเป็นอิสระและหยุดส่งเครื่องราชบรรณาการให้ราชวงศ์หมิง อีกทั้งถือโอกาสเริ่มรวบรวมชนเผ่าหนี่เจินน้อยใหญ่รอบข้างเป็นปึกแผ่น จนในที่สุดก็ได้รวมดินแดนแมนจูเรียทั้งหมดมาครอบครอง

ในปี ค.ศ. 1610 นู่เอ๋อร์ฮาชื่อได้เริ่มประกาศสงครามกับราชสำนักหมิง ซ่องสุมกำลังพลและทำการวางระบบแปดกองธงขึ้น โดยแต่ละกองธงนั้นเป็นทั้งหน่วยงานการปกครองและเป็นองค์กรทางทหารในตัว กระทั่งปี ค.ศ. 1616 เมื่อนู่เอ๋อร์ฮาชื่อเห็นว่าสถานการณ์เหมาะสมแล้ว ท่ามกลางการสนับสนุนของผู้นำทั้ง 8 กองธง จึงสถาปนาตนขึ้นเป็นข่านหรือปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรโฮ่วจิน (อาณาจักรจินยุคหลัง) ตามราชวงศ์จินซึ่งเป็นอาณาจักรของชาวหนี่เจินอีกเผ่าหนึ่งที่ท้าทายราชวงศ์ซ่งของจีนมาแล้ว

หลังสถาปนาโฮ่วจิน นู่เอ๋อร์ฮาชื่อก็เริ่มนำทัพชนเผ่าหนี่เจินรุกรานแผ่นดินจีนของราชวงศ์หมิง ชาวหนี่เจินก็ได้ทำศึกมีชัยเหนือทหารของต้าหมิงหลายครั้ง จนเหล่าขุนนางทั้งหลายต่างครั้นคร้ามกันไปทั่ว จนไม่มีใครอาสาไปรับศึกอีก กระทั่งในปี 1626 นู่เอ๋อร์ฮาชื่อที่กำลังฮึกเหิมได้นำทัพหนี่เจิน 130,000 คนข้ามแม่น้ำเหลียวเข้าโจมตีเมืองหน้าด่านหนิงหยวนบริเวณมณฑลเหลียวหนิงใกล้กับคาบสมุทรเหลียวตง จนในที่สุดราชสำนักหมิงต้องส่งแม่ทัพเอก หยวน ชงหวน (袁崇焕)ได้นำทัพไปยันกองทัพโฮ่วจินที่บุกมาถึงเมืองหน้าด่านหนิงหยวน กองมัพหมิงของหยวน ชงหวนรับศึกอย่างแข็งขัน จนทหารของโฮ่วจินล้มตายเป็นจำนวนมาก นูรฮาชีเองก็บาดเจ็บสาหัสจนต้องมีคำสั่งถอยทัพไปยังเฉิ่นหยาง แล้วเสียชีวิตลงที่นั่น

ในปี ค.ศ. 1636, หฺวัง ไถจี๋โอรสของนู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ได้สืบตำแหน่งข่านต่อ ได้เปลี่ยนชื่อราชวงศ์จาก "โฮ่วจิน" เป็น "ต้าชิง" (ราชวงศ์ชิง) ตั้งเมืองหลวงที่เฉิ่นหยาง ซึ่งยึดได้มาจากราชวงศ์หมิงในปี ค.ศ. 1621[23][24] หฺวัง ไถจี๋ได้รับวัฒนธรรมประเพณีและระบบปกครองแบบจีนมาปรับใช้ ทั้งสำคัญคือได้นำระบบยศจักพรรดิแบบจีนมาใช้ด้วย ทรงได้ตั้งตนเป็นฮ่องเต้ และเปลี่ยนชื่อชนเผ่าจาก"หนี่เจิน" มาเป็น "ชาวแมนจู"[24][25] ถือเป็นการท้าทายอำนาจของราชสำนักหมิงอย่างยิ่ง

เมื่อเปลี่ยนเป็นราชวงศ์ชิง หฺวัง ไถจี๋ได้นำทัพแมนจูแบ่งเป็น 3 ทัพบุกจีนอีกครั้ง หยวน ชงหวนถูกจักรพรรดิฉงเจินเรียกตัวมา แต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารในแถบเหอเป่ย เหลียวตงทั้งหมด เมื่อกองทัพแมนจูไม่สามารถบุกตีเมืองที่เป็นด่านสำคัญอย่างหนิงหยวนได้ จึงได้เปลี่ยนกลยุทธใหม่ โดยในปี ค.ศ. 1629 หวงไท่จี๋นำทัพหลายแสนคนผ่านไปยังด่านหลงจิ่ง ต้าอันโข่ว อ้อมเหอเป่ยมุ่งตรงไปยังราชธานีปักกิ่งแทน

การล่มสลายของราชวงศ์หมิง

[แก้]
ด่านชานไห่แนวป้องกันส่วนหนึ่งของกำแพงเมืองจีน เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของราชวงศ์หมิงที่คอยป้องกันมิให้ชนเผ่าป่าเถื่อนชาวแมนจูเข้าประเทศจีน จนกระทั่งถูกเปิดด่านโดย อู๋ ซานกุ้ยแม่ทัพหมิงผู้ทรยศ ในปี ค.ศ. 1644

สังคมในจักรวรรดิต้าหมิงวุ่นวายมากยิ่งขึ้นการต่อสู้ในชนบทก็ทวีความรุนแรงขึ้น อีกทั้งยังต้องรับศึกกับกองทัพแมนจูที่เข้าประชิดพระนครเข้าทุกที ในปี ค.ศ. 1627 มณฑลส่านซีเกิดทุพภิกขภัย แต่ข้าราชการยังคงบีบบังคับให้ประชาชนจ่ายภาษี จนทำให้เกิดการลุกขึ้นต่อสู้ ประชาชนที่ประสบภัยเป็นพันเป็นหมื่นรวมตัวขึ้นเป็นกองทหารชาวนาหลายกลุ่มหลายสาย ปี ค.ศ. 1644 กองทหารชาวนา นำโดยหลี่ จื้อเฉิง บุกเข้าไปถึงกรุงปักกิ่ง จักรพรรดิฉงเจินซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิงต้องผูกพระศอสิ้นพระชนม์

แม้หลี่จื้อเฉิงจะสามารถยึดครองปักกิ่งไว้ได้ ทว่าแรงกดดันจากกองทัพอื่นๆก็ยังไม่จบสิ้น ยังมีกำลังทหารแตกทัพของราชวงศ์หมิง กองกำลังของอู๋ ซานกุ้ย (吴三桂) ที่ด่านซันไห่กวน (山海关) และกองทัพจากแมนจูจากทางตะวันออกเฉียงเหนือคอยคุกคามอยู่

หลี่จื้อเฉิงได้ส่งหนังสือให้อู๋ซานกุ้ยยอมสวามิภักดิ์ จากนั้นก็ได้ให้อู๋เซียง บิดาของอู๋ซานกุ้ยที่อยู่ในเมืองหลวงเขียนจดหมายไปกล่อมอีกทาง อีกทั้งได้ส่งคณะทูตนำเงินทองมากมาย พร้อมหนังสือแต่งตั้งให้อู๋ซานกุ้ยขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าพระยา แต่ในขณะที่อู๋ซานกุ้ยกำลังเดินทางมาเมื่อสวามิภักดิ์ต่อหลี่จื้อเฉิง กลับได้พบกับคนรับใช้ที่หนีออกมาจากเมืองหลวงที่มาส่งข่าวว่าบัดนี้อู๋เซียงถูกจับเป็นตัวประกันและถูกริบทรัพย์สมบัติ นอกจากนั้นเฉินหยวนหยวน (陈圆圆)อนุภรรยาของอู๋ซานกุ้ยยังถูกแม่ทัพหลิวจงหมิ่นชิงตัวไป

และด้วยเหตุนี้จึงได้ทำให้อู๋ซานกุ้ยตัดสินใจที่จะหันกลับไปจับมือกับแม่ทัพตัวเอ่อกุ่น (多爾衮) ของแมนจู จากนั้นส่งคนให้แสร้งไปส่งข่าวยอมสวามิภักดิ์ต่อหลี่จื้อเฉิงเพื่อถ่วงเวลาเอาไว้ก่อน ทว่าในภายหลังเมื่อหลี่จื้อเฉิงได้ทราบข่าวว่าอู๋ซานกุ้ยสวามิภักดิ์ต่อแมนจูแล้ว จึงได้นำทัพราว 6 หมื่นเพื่อลงมาปราบปราม แต่ในยามนั้นอู๋ซันกุ้ยได้ลอบเปิดด่านให้กองทัพแมนจูยกเข้ามาอ้อมตีกองทัพของหลี่จื้อเฉิง จนหลี่ต้องถอยทัพกลับปักกิ่งโดยมีทัพของอู๋ซานกุ้ยไล่ตามมา หลี่แก้แค้นด้วยการตัดศีรษะบิดาของอู๋ซันกุ้ยเสียบประจานที่กำแพงเมืองปักกิ่ง จนทหารแมนจูได้เข้ายึดปักกิ่งได้สำเร็จ กองทัพหลี่จื้อเฉิงที่พ่ายแพ้ถอยร่นไปก็ถูกโจมตีและสังหารไปในที่สุด ถือว่าเป็นอันอวสานของราชวงศ์ที่ปกครองโดยชาวฮั่น

การเมืองการปกครอง

[แก้]
ภาพวาดข้าราชการแห่งราชสำนักหมิง เจี้ยง ชุนฟู ข้าราชการในรัชสมัยจักรพรรดิหงจื้อ
ขุนนางสมัยราชวงศ์หมิง

สถาบันของรัฐบาลในประเทศจีนมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกันมานานกว่าห้าพันปี แต่แต่ละราชวงศ์ได้ติดตั้งสำนักงานและสำนักงานพิเศษเพื่อสะท้อนความสนใจของตนเอง

ในสมัยราชวงศ์หมิงได้ใช้การปกครองแบบสามสำนักหกกรม ยึดเป็นต้นแบบตลอดการดำรงอยู่ของราชวงศ์โดยอำนาจการปกครองจะแบ่งออกเป็น 6 กระทรวงได้แก่กระทรวงการปกครอง การคลัง พิธีการ กลาโหม ราชทัณฑ์ (ยุติธรรม) และโยธาฯ โดยแต่ละกระทรวงให้มีเจ้ากระทรวง 1 คนกับผู้ช่วยอีก 2 คน และให้เจ้ากระทรวงทั้ง 6 ขึ้นตรงต่อฮ่องเต้ อีกทั้งได้กำหนดรูปแบบให้กระทรวงกลาโหมจัดสรรกำลังประกอบด้วย 5 กองบัญชาการได้แก่ กองบัญชาการฝ่ายซ้าย ขวา หน้า หลังและกลาง

การบริหารของราชวงศ์หมิงใช้เลขาธิการใหญ่หรือศาลาใน เพื่อช่วยเหลือจักรพรรดิจัดการกับเอกสารราชการภายใต้การปกครองของจักรพรรดิหย่งเล่อ

สถาบันองค์กรและกรม

[แก้]

ระบบ สามสำนักหกกรม ที่ราชวงศ์หมิงใช้นั้นสืบทอดมาจากราชสำนักของราชวงศ์ฮั่นซึ่งก่อตั้งโดยราชวงศ์ต่าง ๆ ตั้งแต่ปลาย ราชวงศ์ฮั่น (202 ก่อนคริสต์ศักราช-220) การปกครองของราชวงศ์หมิงมีเพียงฝ่ายเดียวสำนักเลขาธิการที่ควบคุมกระทรวงหกกรม หลังจากการประหารชีวิตอัครมหาเสนาบดี หูเหว่ย์หยงในปี ค.ศ. 1380 จักรพรรดิหงหวู่ยกเลิกสำนักเลขาธิการและหัวหน้าคณะกรรมาธิการการทหารและเข้าควบคุมปฏิรูปหกกรมและคณะกรรมาธิการทหารห้าแห่งประจำภูมิภาค[26][27]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
การแบ่งเขตการปกครองของราชวงศ์หมิง ในปี ค.ศ. 1409 รวมประเทศราช

ได้มีการอธิบายในฐานะ "หนึ่งในยุคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของรัฐบาลที่มีระเบียบและความมั่นคงทางสังคมในประวัติศาสตร์ของมนุษย์" โดยนักวิชาการที่มีชื่อเสียงอย่าง Edwin O. Reischauer, John K. Fairbank และ Albert M. Craig[28] จักรพรรดิหมิงเข้าควบคุมระบบการปกครองของราชวงศ์หยวนและสิบสามราชวงศ์หมิงเป็นต้นแบบรากฐานการจัดการบริหารของจังหวัดสมัยใหม่ ตลอดช่วงราชวงศ์ซ่งการแบ่งเขตปกครองทางการเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือ เขตจำกัดขอบเขต ( หรือ "หลู่")[29] อย่างไรก็ตามหลังจากเหตุการณ์จิ้งคัง ในปี ค. ศ. 1127 ราชสำนักซ่งได้จัดตั้งระบบการบัญชาการระดับภูมิภาคกึ่งอิสระขึ้นอยู่กับระบบการปกครองดินแดนและการทหารโดยมีสำนักเลขาธิการบริการเดี่ยวซึ่งจะกลายเป็นหน่วยงานปกครองของราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงในเวลาต่อมา[30]

ด้วยการที่ราชสำนักหมิงยึดแบบจำลองแบบการปกครองของหยวน ระบบราชการส่วนภูมิภาคของหมิงจึงประกอบไปด้วยคณะกรรมาธิการ 3 ตำแหน่ง ได้แก่ หนึ่งพลเรือน หนึ่งทหารและอีกหนึ่งสำหรับผู้ตรวจการซึ่งเป็นหน่วยการเฝ้าระวัง นอกจากนี้ราชสำนักหมิงแบ่งประเทศออกเป็น 13 มณฑล และ 2 เขตมหานคร

  • - 2 เขต มหานคร (จิง 亰) คือ กรุงปักกิ่งและนานกิง มีศักดิ์เป็นราชธานีซึ่งไม่ได้ขึ้นกับมณฑลเป็นเขตปกครองพิเศษที่มีผู้ว่าการดูแลแยกขาดจากมณฑล
  • - 13 มณฑล (เซิ่ง 省) นั้น ในแต่ละมณฑลจะมีผู้ปกครองสูงสุด 3 คน ที่ควบคุมเกี่ยวกับ การทหาร พลเรือน และ ผู้ตรวจการ (คุม 2 คนแรกอีกที) เพื่อคานอำนาจกัน

ระดับการปกครองที่ต่ำกว่า มณฑล 省 คือ แคว้น หรือ (ฝู 府) เล็กกว่า ฝู (府) คือ เมือง หรือ โจว (州) และต่ำกว่า โจว ลงไปคือ อำเภอ (縣) เสียน ซึ่งดูแลโดยผู้ตรวจการ นอกจากจังหวัดแล้วยังมีพื้นที่ขนาดใหญ่สองแห่งที่ไม่มีจังหวัด แต่เป็นเขตมหานครหรือ "จิง"[31]

ในสมัยราชวงศ์หมิงได้มีการจดบันทึกรวบรวมเขตการปกครองว่ามีทั้งหมด 159 แคว้น, 240 เมือง, 1144 อำเภอ

บุคคลากร

[แก้]

บัณฑิต-ข้าราชการ

[แก้]
ภาพวาดด้วยหมึกและสีบนผ้าไหมโดยศิลปินเอกแห่งยุคหมิง ฉิ่ว หยิ่ง (ค.ศ. 1494–1552) เกี่ยวกับสอบแข่งขันตำแหน่งขุนนางสมัยราชวงศ์หมิง ในภาพแสดงถึงผู้สมัครสอบแข่งขันที่เข้ารับการสอบขุนนางเข้ารับราชการจะเข้ามารุมล้อมกำแพงที่มีการประกาศผลรายชื่อ[32]

จักรพรรดิหงหวู่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1373 ถึงปี ค.ศ. 1384 ทรงจัดให้มีสำนักงานของพระองค์กับข้าราชการรวมตัวกันผ่านคำปรึกษาแนะนำเท่านั้น หลังจากนั้นบัณฑิต-ข้าราชการที่ที่มีจำนวนมากของระบบราชการได้รับการคัดเลือกผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มงวดของจักรวรรดิหรือ การสอบขุนนาง ซึ่งนำมาใช้อย่างเป็นระบบสมัยราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581-618)[33][34][35] ในทางทฤษฎีระบบการสอบอนุญาตให้ทุกคนเข้าร่วมในตำแหน่งของข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของราชสำนัก (แม้ว่าบางครั้งจะห้ามและเข้มงวดสำหรับพ่อค้าที่จะเข้าร่วม) ในความเป็นจริงเวลาและเงินทุนที่จำเป็นในการสนับสนุนการศึกษาในการเตรียมสอบโดยทั่วไปมักจำกัดแต่ผู้เข้าสอบกับชนชั้นผู้ถือครองที่ดินในสังคม อย่างไรก็ตามรัฐบาลทำโควตาจังหวัดคัดเลือกที่แน่นอนในขณะที่ร่างกฏเกณฑ์การคัดเลือกข้าราชการ[36] เป้าหมายของราชสำนักหมิงในการรับข้าราชการนโยบายเปิดกว้างให้โอกาสแก่ผู้มีความสามารถทุกคนเข้ารับราชการ ดังนั้นราชสำนักจึงพยายามระงับการผูกขาดอำนาจโดยผู้มีอำนาจสูงในพื้นที่ซึ่งมาจากภูมิภาคที่ร่ำรวยที่สุดซึ่งการศึกษานั้นก้าวหน้าที่สุดซึ่งจะได้เปรียบมากกว่าผู้สมัครสอบที่มาจากพื้นที่ยากจน[37] การขยายตัวของเทคโนโลยีสมัยราชวงศ์ซ่งโดยเฉพาะการพิมพ์ช่วยเพิ่มความรู้และจำนวนผู้สมัครสอบที่มีศักยภาพทั่วทุกจังหวัด[38] สำหรับเด็กนักเรียนมีการพิมพ์ตารางสูตรคูณและตำราเรียนสำหรับคำศัพท์เบื้องต้น สำหรับผู้สมัครสอบผู้ใหญ่นั้นการพิมพ์ผลิตออกมาจำนวนมาก โดยเฉพาะเนื้อหาเกี่ยวกับลัทธิขงจื๊อจำนวนมากและคำตอบการสอบที่ถูกต้อง[39]

ในช่วงยุคเริ่มแรกของราชวงศ์หมิง เนื้อหาที่เน้นของการสอบจะเกี่ยวกับตำราขงจื๊อแบบดั้งเดิม[33] ในขณะที่วัสดุการทดสอบจำนวนมากเน้นที่ตำราสี่เล่มที่อธิบายโดยจู ซี ในศตวรรษที่ 12[40] การตรวจสอบในยุคของราชวงศ์หมิงอาจยากกว่าที่จะผ่านการสอบไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1487 ตามข้อกำหนดในการกรอก "เรียงได้ความแปดขา" การจากไปของบทความเรียงความจากแนวโน้มของอิทธิพลวรรณกรรมที่กำลังจะมาถึง

ข้าราชการระดับต่ำ

[แก้]
จักรพรรดิเซฺวียนเต๋อขณะทรงละเล่น "ชุ่ยวาน" (เกมที่คล้ายกับ กอล์ฟ) กับบรรดาเหล่าขันที วาดโดยจิตรกรราชสำนักนิรนามของยุคจักรพรรดิเซฺวียนเต๋อ (ค.ศ. 1425–35)

บัณฑิต-ข้าราชการที่ที่เข้ารับราชการผ่านการสอบคัดเลือกขุนนางทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่บริหารให้กับองค์กรที่ไม่ได้อยู่ในอันดับที่ใหญ่กว่า ที่เรียกว่า "ผู้มีตำแหน่งน้อยกว่า" หรือ "ตำแหน่งที่มีลำดับสำคัญรองลงมา" พวกเขาเป็นข้าราชการที่มีจำนวนมากกว่าสี่ถึงหนึ่งคน นักวิชาการ Charles Hucker ประเมินว่าพวกเขาอาจมากถึง 100,000 คนทั่วทั้งจักรวรรดิ ผู้ปฏิบัติงานน้อยกว่าเหล่านี้ปฏิบัติงานธุรการและเทคนิคสำหรับหน่วยงานราชสำนัก หน้าที่ซึ่งน้อยกว่านั้นได้รับการประเมินเป็นระยะเช่นเดียวกับข้าราชการและหลังจากเก้าปีของการรับราชการอาจได้รับการยอมรับในตำแหน่งข้าราชการระดับต่ำ[41]

ข้อได้เปรียบที่ยอดเยี่ยมอย่างหนึ่งของผู้มีหน้าที่น้อยกว่าข้าราชการคือ ข้าราชการได้รับการหมุนเวียนเป็นระยะ ๆ และได้รับมอบหมายให้ประจำในระดับภูมิภาคที่แตกต่างกันและต้องพึ่งพาการทำงานที่ดีและความร่วมมือของผู้มีบทบาทน้อยในท้องถิ่น[42]

ขันที,เชื้อพระวงศ์และแม่ทัพ

[แก้]
ภาพวาดขบวนเสด็จของจักรพรรดิหมิง แสดงถึง รถพระที่นั่งของจักรพรรดิว่านลี่ที่ถูกลากจูงโดยช้างและพาไปด้วยทหารม้า

ขันทีมีอำนาจเหนือกิจการของรัฐในช่วงราชวงศ์หมิงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน หนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการควบคุมคือหน่วยสืบราชการลับประจำการในสิ่งที่เรียกว่า "คลังตะวันออก" ที่จุดเริ่มต้นของราชวงศ์หมิง ในภายหลังต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "คลังตะวันตก" หน่วยสืบราชการลับนี้ดูแลโดยผู้อำนวยการพิธีดังนั้นองค์กรนี้มักจะเป็นเผด็จการ[43] ขันทีมีการจัดอันดับที่เปรียบเทียบกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนมีเพียงสี่ระดับเท่านั้น ส่วนตำแหน่งข้าราชการพลเรือนมีถึงระดับเก้า[44]

ลูกหลานเชื้อพระวงศ์ของจักรพรรดิหมิงพระองค์แรกจะถูกแต่งตั้งเพื่อเป็นเจ้าชายและได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่บัญชาการทางทหาร (โดยปกติจะระบุ) เงินบำนาญประจำปีและที่ดินขนาดใหญ่ และได้รับพระราชทานอิสรยศชื่อที่ใช้คือ "ราชา" (, หวัง) ซึ่งมีความแตกต่างจากเจ้าชายในยุค ราชวงศ์ฮั่นและราชวงศ์จิ้น ที่ตำแหน่งในยุคดังกล่าวเหล่านี้ไม่ใช่ ในเชิงศักดินา เจ้าชายไม่ได้ทำหน้าที่ใด ๆ ในการบริหาร และเพียงแค่มีส่วนเข้าร่วมในกิจการทหารในช่วงรัชสมัยของจักรพรรดิสององค์แรกเท่านั้น[45]

สังคมและวัฒนธรรม

[แก้]

วรรณกรรม

[แก้]

วรรณกรรม ภาพวาด การแต่งกลอน ดนตรี และการแสดงงิ้ว หลากหลายรูปแบบได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นอย่างมากในสมัยราชวงศ์หมิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีตอนล่างที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจคับคั่ง

ในสมัยราชวงศ์หมิงเหล่าบัณฑิตได้แต่งเรียบเรียงและพัฒนาวรรณกรรมจีนขึ้นมาใหม่เป็นผลงานจำนวนมาก ผลงานที่โดดเด่นเป็นที่รู้จักกันดีคือ สี่สุดยอดวรรณกรรมจีน อันได้แก่ ไซอิ๋ว วรรณกรรมที่ล้อย้อนเหตุการณ์ในสมัยราชวงศ์ถัง สามก๊ก มีการเรียบเรียงปรับปรุงเพิ่มเติมพงศาวดารขึ้นมาใหม่โดยล่อกวนตง ซ้องกั๋ง และ ความฝันในหอแดง

ส่วนวรรณกรรมหรือนิทานพื้นบ้านที่โด่งดังในยุคราชวงศ์หมิงคือ ตำนานนางพญางูขาว แห่งเมืองหังโจว

ประชากร

[แก้]
ผลงานภาพวาด Appreciating Plums, โดย เฉิน หงโชว (1598–1652) แสดงสุภาพสตรีในยุคราชวงศ์หมิงที่ถือพัดรีในขณะที่เพลิดเพลินกับความงามของพลัม

นักประวัติศาสตร์ผู้ชำนาญด้านจีนวิทยา อภิปรายตัวเลขประชากรของแต่ละช่วงในราชวงศ์หมิง นักประวัติศาสตร์ Timothy Brook ตั้งข้อสังเกตว่าตัวเลขการสำรวจสำมะโนประชากรของราชสำนักหมิงนั้นน่าสงสัย เนื่องจากภาระหน้าที่ทางการคลังกระตุ้นให้หลายครอบครัวต้องรายงานจำนวนผู้คนในครัวเรือนของตนน้อยเกินไป และเจ้าหน้าที่ของมณฑลหลายให้รายงานการประเมินจำนวนครัวเรือนในเขตอำนาจของตนต่ำกว่าความเป็นจริง[46] เด็กๆ มักจะถูกรายงานในระดับต่ำโดยเฉพาะเด็กผู้หญิงดังที่แสดงโดยสถิติประชากรที่เบี่ยงเบนไปทั่วจักรวรรดิต้าหมิง[47] รวมถึงสตรีก็ถูกรายงานประเมินไว้ในระดับต่ำเช่นเดียวกัน[48] ตัวอย่างเช่น เขตปกครองของต้าหมิง ในจื่อหลี่ตอนเหนือ รายงานประชากรชาย 378,167 คนและประชากรหญิง 226,982 คนใน ปี ค.ศ. 1502[49] ราชสำนักหมิงพยายามที่จะแก้ไขตัวเลขการสำรวจสำมะโนประชากรโดยใช้ประมาณการของจำนวนเฉลี่ยที่คาดหวังของคนในแต่ละครัวเรือน แต่สิ่งนี้ไม่ได้แก้ปัญหาการลงทะเบียนภาษีอย่างกว้างขวาง[50]

จำนวนผู้คนในการสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 1381 มีจำนวน 59,873,305 คน อย่างไรก็ตามตัวเลขนี้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อราชสำนักพบว่ามีคน 3 ล้านคนหายไปจากการสำรวจสำมะโนประชากรที่จะต้องจ่ายภาษีปี ค.ศ. 1391[51] แม้ว่าตัวเลขที่ต่ำกว่าเกณฑ์จะเป็นอาชญากรรมในปี ค.ศ. 1381 ความต้องการความอยู่รอดทำให้หลายคนต้องละทิ้งทะเบียนภาษี และเดินออกจากภูมิภาคของพวกเขาซึ่ง จักรพรรดิหงหวู่ทรงพยายามที่จะกำหนดความไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเข้มงวดในหมู่ประชาชน ราชสำนักพยายามที่จะบรรเทาปัญหานี้ด้วยการสร้างการประเมินแบบอนุรักษ์นิยมของตัวเองที่มีจำนวน 60,545,812 คนในปี ค.ศ. 1393[52] จากการศึกษาประชากรจีน ของ Ho Ping-ti เขาเสนอให้ปรับปรุงสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 1363 เป็น 65 ล้านคนโดยสังเกตว่าพื้นที่ขนาดใหญ่ของจีนตอนเหนือและพื้นที่ชายแดนไม่ถูกนับในการสำรวจสำมะโนประชากร[53] Brook ระบุว่าตัวเลขประชากรรวมตัวกันในสำมะโนประชากรอย่างเป็นทางการหลังจากปี ค.ศ. 1393 อยู่ระหว่าง 51 และ 62 ล้านในขณะที่จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น[52] แม้แต่จักรพรรดิหงจื่อ (ครองราชย์ ค.ศ. 1487–505) กล่าวว่าการเพิ่มขึ้นของราษฎรรายวันใกล้เคียงกับจำนวนพลเรือนและทหารที่ลดจำนวนลงทุกวัน[54] ส่วนนักวิชาการ William Atwell กล่าวว่าประมาณ 1,400 ประชากรของจีนอาจจะมี 90 ล้านคน[55]

ขณะนี้นักประวัติศาสตร์กำลังหันไปหาอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ของราชวงศ์หมิงเพื่อหาเบาะแสที่จะแสดงการเติบโตของประชากรอย่างต่อเนื่อง[47] ด้วยการใช้อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ Brook ประเมินว่าประชากรโดยรวมภายใต้ช่วงรัชสมัยจักรพรรดิเฉิงฮว่า (ร. 1464–1487) มีประมาณ 75 ล้านคน[50] แม้ตัวเลขการสำรวจสำมะโนประชากรของยุคกลางราชวงศ์หมิงโฉบรอบ 62 ล้าน[54]

วัฒนธรรมสมัยนิยม

[แก้]
  • จูตี้ จักรพรรดิบัลลังก์เลือด หรือ (Relic Of An Emissary) ภาพยนตร์ซีรีส์ปี ค.ศ. 2011 เป็นเรื่องราวอิงประวัติศาสตร์ช่วงต้นราชวงศ์หมิง เกี่ยวกับการขึ้นสู่บัลลังก์ของเอี้ยนหวังจู่ตี้ โดยมีตัวเอกคือองครักษ์เสื้อแพร

อ้างอิง

[แก้]
  1. Turchin, Peter; Adams, Jonathan M.; Hall, Thomas D (December 2006). "East-West Orientation of Historical Empires" (PDF). Journal of world-systems research. 12 (2): 219–29. ISSN 1076-156X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 February 2007. สืบค้นเมื่อ 12 August 2010.
  2. Edwin Oldfather Reischauer, John King Fairbank, Albert M. Craig (1960) A history of East Asian civilization, Volume 1. East Asia: The Great Tradition, George Allen & Unwin Ltd., quoted in C. Simon Fan (2016) Culture, Institution, and Development in China: The Economics of National Character, Routledge, p. 97 ISBN 978-1-138-18571-5
  3. Ebrey, Walthall & Palais (2006), p. 271.
  4. Crawford, Robert. "Eunuch Power in the Ming dynasty". T'oung Pao, Second Series, Vol. 49, Livr. 3 (1961), pp. 115–148. Accessed 14 October 2012.
  5. For the lower population estimate, see (Fairbank & Goldman 2006:128); for the higher, see (Ebrey 1999:197)
  6. 6.0 6.1 Gascoigne (2003), p. 150.
  7. Gascoigne (2003), p. 151.
  8. 8.0 8.1 8.2 Ebrey (1999), p. 191.
  9. "Ethnic Uygurs in Hunan Live in Harmony with Han Chinese". People's Daily. 29 December 2000.
  10. Zhiyu Shi (2002). Negotiating ethnicity in China: citizenship as a response to the state. Vol. Volume 13 of Routledge studies – China in transition (illustrated ed.). Psychology Press. p. 133. ISBN 978-0-415-28372-4. สืบค้นเมื่อ 28 June 2010. {{cite book}}: |volume= has extra text (help)
  11. Michael Dillon (1999). China's Muslim Hui community: migration, settlement and sects. Richmond: Curzon Press. p. 34. ISBN 978-0-7007-1026-3. สืบค้นเมื่อ 28 June 2010.
  12. Harmony and War: Confucian Culture and Chinese Power Politics, by Yuan-kang Wang
  13. Robinson (2000), p. 527.
  14. Ebrey, Walthall & Palais (2006), p. 272.
  15. 15.0 15.1 Ebrey (1999), p. 194.
  16. Ebrey, Walthall & Palais (2006), p. 273.
  17. Hucker (1958), p. 31.
  18. Spence (1999), p. 16.
  19. 19.0 19.1 Spence (1999), p. 17.
  20. Ebrey (1999), pp. 194–195.
  21. Hucker (1958), p. 11.
  22. Spence (1999), pp. 17–18.
  23. Spence (1999), pp. 24, 28.
  24. 24.0 24.1 Chang (2007), p. 92.
  25. Spence (1999), p. 31.
  26. Hucker (1958), p. 28.
  27. Chang (2007), p. 15, footnote 42.
  28. Edwin Oldfather Reischauer, John King Fairbank, Albert M. Craig (1960) A history of East Asian civilization, Volume 1. East Asia: The Great Tradition, George Allen & Unwin Ltd., quoted in C. Simon Fan (2016) Culture, Institution, and Development in China: The Economics of National Character, Routledge, p. 97 ISBN 978-1-138-18571-5
  29. Yuan (1994), pp. 193–194.
  30. Hartwell (1982), pp. 397–398.
  31. Hucker (1958), p. 5.
  32. Ebrey (1999), p. 200.
  33. 33.0 33.1 Hucker (1958), p. 12.
  34. Ebrey, Walthall & Palais (2006), p. 96.
  35. Ebrey (1999), pp. 145–146.
  36. Ebrey (1999), p. 199.
  37. Ebrey (1999), pp. 198–199.
  38. Ebrey (1999), pp. 201–202.
  39. Ebrey (1999), p. 202.
  40. Ebrey (1999), p. 198.
  41. Hucker (1958), p. 18.
  42. Hucker (1958), pp. 18–19.
  43. Hucker (1958), p. 25.
  44. Hucker (1958), pp. 24–25.
  45. Hucker (1958), p. 8.
  46. Brook (1998), p. 27.
  47. 47.0 47.1 Brook (1998), p. 267.
  48. Brook (1998), pp. 97–99.
  49. Brook (1998), p. 97.
  50. 50.0 50.1 Brook (1998), pp. 28, 267.
  51. Brook (1998), pp. 27–28.
  52. 52.0 52.1 Brook (1998), p. 28.
  53. Ho (1959), pp. 8–9, 22, 259.
  54. 54.0 54.1 Brook (1998), p. 95.
  55. Atwell (2002), p. 86.

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • Brook, Timothy. The Troubled Empire: China in the Yuan and Ming Dynasties (History of Imperial China) (Harvard UP, 2010). excerpt
  • Chan, Hok-Lam (1988), "The Chien-wen, Yung-lo, Hung-shi, and Hsuan-te reigns, 1399–1435", ใน Mote, Frederick W.; Twitchett, Denis (บ.ก.), The Cambridge History of China: Volume 7, The Ming Dynasty, 1368–1644, Part 1, Cambridge and New York: Cambridge University Press, pp. 182–384, ISBN 978-0-521-24332-2.
  • Crosby, Alfred W., Jr. (2003), Columbian Exchange: Biological and Cultural Consequences of 1492; 30th Anniversary Edition, Westport: Praeger Publishers, ISBN 978-0-275-98092-4.
  • Dardess, John W. (1983), Confucianism and Autocracy: Professional Elites in the Founding of the Ming Dynasty, University of California Press, ISBN 978-0-520-04733-4.
  • Dardess, John W. (1968), Background Factors in the Rise of the Ming Dynasty, Columbia University.
  • Dardess, John W. (2012), Ming China, 1368–1644: A Concise History of a Resilient Empire, Rowman & Littlefield, ISBN 978-1-4422-0491-1.
  • Dardess, John W. A Ming Society: T'ai-ho County, Kiangsi, in the Fourteenth to Seventeenth Centuries (U of California Press, 1996) online free
  • Dupuy, R. E.; Dupuy, Trevor N. (1993), The Collins Encyclopedia of Military History: From 3500 B.C. to the Present, Glasgow: HarperCollins, ISBN 978-0-00-470143-1. Source for "Fall of the Ming Dynasty"
  • Elman, Benjamin A. A Cultural History of Civil Examinations in Late Imperial China (U of California Press, 2000), 847 pp
  • Gernet, Jacques (1962), Daily Life in China on the Eve of the Mongol Invasion, 1250–1276, Translated by H. M. Wright, Stanford: Stanford University Press, ISBN 978-0-8047-0720-6.
  • Goodrich, L. Carrington; Fang, Chaoying, บ.ก. (1976), Dictionary of Ming Biography, 1368–1644: Volume 1, A–L, New York: Columbia University Press, ISBN 978-0-231-03801-0.
  • Huang, Ray (1981), 1587, a Year of No Significance: The Ming Dynasty in Decline, New Haven: Yale University Press, ISBN 978-0-300-02518-7.
  • Mote, Frederick W. (1988), "The Ch'eng-hua and Hung-chih reigns, 1465–1505", ใน Mote, Frederick W.; Twitchett, Denis (บ.ก.), The Cambridge History of China: Volume 7, The Ming Dynasty, 1368–1644, Part 1, Cambridge and New York: Cambridge University Press, pp. 343–402, ISBN 978-0-521-24332-2.
  • Owen, Stephen (1997), "The Yuan and Ming Dynasties", ใน Owen, Stephen (บ.ก.), An Anthology of Chinese Literature: Beginnings to 1911, New York: W. W. Norton. pp. 723–743(). pp. 807–832().
  • Swope, Kenneth M. "Manifesting Awe: Grand Strategy and Imperial Leadership in the Ming Dynasty." Journal of Military History 79.3 (2015). pp. 597–634.
  • Wade, Geoff (2008), "Engaging the South: Ming China and Southeast Asia in the Fifteenth Century", Journal of the Economic and Social History of the Orient, 51 (4): 578–638, doi:10.1163/156852008X354643, JSTOR 25165269.
  • Wakeman, Frederick, Jr. (1977), "Rebellion and Revolution: The Study of Popular Movements in Chinese History", The Journal of Asian Studies, 36 (2): 201–237, doi:10.2307/2053720, JSTOR 2053720.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า ราชวงศ์หมิง ถัดไป
ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีน
(ค.ศ. 1368–1644)
ราชวงศ์ชิง