ราชวงศ์หมิงใต้
ต้าหมิง 大明 | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1644–1662 หรือ 1683 [1][2] | |||||||||||
เขตการปกครองต่างๆ ในสมัยราชวงศ์หมิงใต้ | |||||||||||
สถานะ | รัฐตกค้างของราชวงศ์หมิง | ||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||
จักรพรรดิ | |||||||||||
• ค.ศ. 1644–1645 | จักรพรรดิหงกวง | ||||||||||
• ค.ศ. 1645–1646 | จักรพรรดิหลงอู่ | ||||||||||
• ค.ศ. 1646–1647 | จักรพรรดิเฉาอู่ | ||||||||||
• ค.ศ. 1646–1662 | จักรพรรดิหย่งลี่ | ||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||
ค.ศ. 1644 | |||||||||||
• การขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิหงกวงในหนานจิง | ค.ศ. 1644 | ||||||||||
• การสวรรคตของจักรพรรดิหย่งลี่ ผู้ปกครองพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิง | ค.ศ. 1662 | ||||||||||
| |||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐจีน พม่า |
ราชวงศ์หมิงใต้ (จีน: 南明; พินอิน: Nán Míng), หรือชื่ออย่างเป็นทางการ ต้าหมิง (จีน: 大明; พินอิน: Dà Míng) เป็นราชวงศ์ของรัฐตกค้างที่ปกครองโดยราชสกุลจูในภาคใต้ของจีน ถัดจากราชวงศ์หมิงที่ล่มสลายในปี ค.ศ. 1644 ราชวงศ์หมิงสิ้นสุดลงเมื่อกองกำลังราชวงศ์ชุ่นนำโดยหลี่ จื้อเฉิงเข้ายึดกรุงปักกิ่งและจักรพรรดิฉงเจิน จักรพรรดิองค์สุดท้ายปลงพระชนม์พระองค์เอง จากนั้นนายพลราชวงศ์หมิง อู๋ ซานกุ้ยได้เปิดประตูช่องทางด่านชานไห่ในส่วนตะวันออกของกำแพงเมืองจีนให้กองทัพแปดกองธงที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ หวังว่าจะใช้มันเพื่อทำลายล้างกองกำลังราชวงศ์ชุน ผู้ภักดีของราชวงศ์หมิงหนีไปที่หนานจิงที่ซึ่งพวกเขาเชิญจู โหย่วซงขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิหงกวง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของราชวงศ์หมิงใต้ ระบอบการปกครองของหนานจิงดำเนินไปจนถึงปี ค.ศ. 1645 เมื่อกองกำลังของราชวงศ์ชิงยึดหนานจิงได้ และเมื่อถึงเวลานั้น จู โหย่วซงก็ถูกประหารชีวิต ผู้สืบทอดพระองค์ต่อๆ มายังคงขึ้นครองราชย์ในเมืองต่างๆ ทางตอนใต้ของจีน แม้ว่าราชวงศ์ชิงจะถือว่าพวกเขาเป็นผู้อ้างสิทธิ์[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Xing Hang (2017), "The Zheng state on Taiwan", Conflict and commerce in maritime East Asia: The zheng family and the shaping of the modern world, c.1620-1720, Cambridge University Press, p. 146-175, ISBN 978-1-107-12184-3.
- ↑ Tonio Andrade, Xing Hang (2016), "Koxinga and his maritime kingdom", Sea Rovers, Silver, and Samurai: Maritime East Asia in Global History, 1550–1700, University of Hawaii Press, pp. 348–350.
- ↑ See The Oxford History of Historical Writing: 1400–1800 (2011) by Jose Rabasa, p. 37.