กบฏโพกผ้าแดง
กบฏโพกผ้าแดง | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Distribution of major rebel forces and Yuan warlords | ||||||||||
| ||||||||||
คู่สงคราม | ||||||||||
Principality of Liang (Yunnan) (1372-1382) โครยอ (1270–1356) |
Northern Red Turban rebels: Song dynasty (1351-1366) Wu (1361-1367) Ming dynasty (from 1368) |
Southern Red Turban rebels: Tianwan dynasty (1351-1360) Chen Han dynasty (1360-1363) Ming Xia dynasty (1361-1366) | Dazhou Kingdom (1354-1367) |
Other Southern warlords Fujian Muslim rebels (1357-1366) Northern warlords | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | ||||||||||
Köke Temür Basalawarmi Duan Ming |
Han Shantong † |
Peng Yingyu †
Ming Yuzhen Ming Sheng |
|
Bolad Temür Zhang Liangbi Zhang Liangchen † Li Siqi Törebeg | ||||||
กำลัง | ||||||||||
Chinese and Korean infantry, Mongol and Asud Alan cavalry | Unknown | Unknown | Unknown | Unknown | ||||||
ความสูญเสีย | ||||||||||
Unknown | Unknown | Unknown | Unknown | Unknown |
เป็นส่วนหนึ่งของ |
ประวัติศาสตร์จีน |
---|
กบฏโพกผ้าแดง (จีน: 紅巾起義; พินอิน: Hóngjīn Qǐyì) เป็นการจลาจลต่อต้านราชวงศ์หยวนระหว่างปี ค.ศ. 1351 ถึงปี ค.ศ. 1368 จนนำไปสู่การล่มสลายของราชวงศ์หยวนในที่สุด ราชสำนักหยวนที่เหลือถอยกลับไปทางเหนือและก่อตั้งราชวงศ์หยวนเหนือ
สาเหตุ
[แก้]ตั้งแต่ คริสต์ทศวรรษ 1340 ราชวงศ์หยวนประสบปัญหา. แม่น้ำเหลือง ท่วมอย่างต่อเนื่อง, และภัยธรรมชาติอื่น ๆ ก็เกิดขึ้น. ในเวลาเดียวกันราชวงศ์หยวนต้องใช้งบทางการทหารมากเพื่อรักษาอาณาจักรอันกว้างใหญ่ไว้.[1]
กาฬมรณะ ก็มีส่วนทำให้เกิดการเคลื่อนไหว. กลุ่มหรือนิกายอื่น ๆ พยายามบ่อนทำลายอำนาจของจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์หยวน;การเคลื่อนไหวทางศาสนาเหล่านี้เตือนถึงความหายนะที่กำลังจะเกิดขึ้น.ภาคการเกษตร โรคระบาด และอากาศหนาวส่งผลกระทบต่อจีนกระตุ้นให้เกิดกบฏติดอาวุธ.[2] ใน เหอเป่ย์, ประชากร 9 ใน 10 ส่วนล้มตายจากกาฬโรคเมื่อ จักรพรรดิยฺเหวียนฮุ่ยจง เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติในปี ค.ศ. 1333.ประชากรสองในสามคนในประเทศจีนเสียชีวิตจากโรคระบาดในปี ค.ศ. 1351.[3]
การก่อกบฏ
[แก้]กองทัพโพกผ้าแดง (紅巾軍) เริ่มต้นโดย กั๋ว จื่อซิง (郭子興) และสาวกของ ลัทธิบัวขาว เพื่อต่อต้านราชวงศ์หยวนที่นำโดยมองโกล. ชื่อ "โพกผ้าแดง" ที่ใช้เพราะเป็นประเพณีและโพกผ้าสีแดงเพื่อเป็นการแยกแยะ.
การกบฏเหล่านี้เริ่มต้นเป็นระยะ ๆ, ครั้งแรกบนชายฝั่งของ เจ้อเจียง เมื่อ ฟาง กั๋วเจิน และคนของเขาทำร้ายกลุ่มของขุนนางหยวน. หลังจากนั้น, ลัทธิบัวขาวนำโดย หาน ช่านตง ทางเหนือของ แม่น้ำเหลือง กลายเป็นศูนย์กลางของการต่อต้านมองโกล.
ในปี ค.ศ. 1351 ลัทธิบัวขาววางแผนก่อกบฏติดอาวุธ, แต่มันถูกเปิดเผยและ หาน ช่านตง ถูกจับกุมและประหารชีวิตโดยราชสำนักหยวน. หลังจากที่เขาเสียชีวิต, หลิว ฟู่ทง (劉福通) สมาชิกคนสำคัญของลัทธิบัวขาว, ช่วยลูกชายของหาน, หาน หลินเอ๋อร์ (韓林兒), ในการสืบทอดตำแหน่งของพ่อและก่อตั้งกองทัพโพกผ้าแดง. หลังจากนั้น, กบฏจีนอีกหลายกลุ่มทางตอนใต้ของ แม่น้ำแยงซี ก่อการกบฏภายใต้ชื่อของกบฏโพกผ้าแดงทางใต้. ในบรรดาผู้นำคนสำคัญของกบฏโพกผ้าแดงทางใต้ ได้แก่ สฺวี โฉ่วฮุ่ย และ เฉิน โหย่วเลี่ยง. การกบฏยังได้รับการสนับสนุนจากผู้นำอย่าง เผิง อิ๋งยู่ (彭瑩玉;1338) และ โซ่ว พู่เฉิง (鄒普勝;1351).
การมีส่วนร่วมของ โครยอ ในการดำเนินการทางทหารของราชวงศ์หยวนกับกบฏโพกผ้าแดง, รวมทั้งข้อเสนอที่ชัดเจนของจักรพรรดิหยวนเพื่อสร้างพระราชวังในโครยอเป็นที่ลี้ภัย, นำโครยอเข้าสู่สงคราม. กองทัพโพกผ้าแดงใน เหลียวตง รุกรานโครยอในปี ค.ศ. 1359 และ ค.ศ. 1360, พยายามยึดครอง เปียงยาง (1359) และ แคซ็อง (1360), แต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้ทั้งสองครั้ง.
กำเนิดราชวงศ์หมิง
[แก้]หนึ่งในผู้นำกบฏโพกผ้าแดงที่สำคัญที่สุดคือ จู ยฺเหวียนจาง. ตอนแรก, เขาติดตาม กั๋ว จื่อซิง, และแต่งงานกับลูกสาวบุญธรรมของกั๋ว. หลังการเสียชีวิตของกั๋ว, จูถูกมองว่าเป็นผู้สืบทอดและเข้าครอบครองกองทัพของกั๋ว. จู ยฺเหวียนจาง มาจาก อำเภอเฟิ่งหยาง และกลุ่มผู้ติดตามของเขาเช่น สฺวี ต๋า, Chang Yuchun, Tang He, Lan Yu, Mu Ying และ เกิง ปิงเหวิน เป็นที่รู้จักในนาม "มาเฟียเฟิ่งหยาง"[4][5][6] ต่อมาเป็นขุนนางในราชวงศ์หมิง.
ระหว่างปี ค.ศ. 1356 ถึงปี ค.ศ. 1367 จูได้เริ่มการต่อสู้หลายครั้งเพื่อพยายามเอาชนะคู่ต่อสู้ของเขาในกองทัพกบฏโพกผ้าแดง. ตอนแรกเขาสนับสนุน หาน หลินเอ๋อร์ (ลูกชายของ หาน ช่านตง) เพื่อรักษาเสถียรภาพชายแดนทางเหนือของเขา. จากนั้นเอาชนะคู่แข่ง เฉิน โหย่วเลี่ยง, จาง ชื่อเฉิง และ ฟาน กั๋วเจิน ทีละคน. หลังจากขึ้นสู่อำนาจ, เขาทำให้ หาน หลินเอ๋อร์ จมน้ำตาย. เรียกร้องให้ล้มล้าง "คนป่าเถื่อน" และฟื้นฟู "จีน", จูได้รับความนิยม.
ในปี 1368 จู ยฺเหวียนจาง ได้ประกาศตนเป็นจักรพรรดิใน อิ๋งเทียน, ในประวัติศาสตร์รู้จักในฐานะ จักรพรรดิหงอู่ แห่ง ราชวงศ์หมิง. ปีถัดมากองทัพหมิงยึดได้ ต้าตู, และการปกครองของราชวงศ์หยวนสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ. ฝ่ายจีนอยู่ภายใต้การปกครองของฮั่นอีกครั้ง.
บันทึกทางประวัติศาสตร์มักพรรณนาถึงกองทัพโพกผ้าแดงในการจัดการกับขุนนางหยวนและทหารที่ถูกจับด้วยความรุนแรง. วิลเลี่ยม ที โรว์ ได้เขียนในงานของเขาเกี่ยวกับความรุนแรงในชนบทของจีน:[7]
กองทัพแดงฆ่าขุนนางหยวนทุกคนได้อย่างไร้ความปราณี, ในกรณีหนึ่ง, ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หยวน ได้บันทึกไว้ว่า, ทางกองทัพได้เผาและผ่าท้องขุนนางทั้งเป็น. กองทัพแดงก็ไร้ความปราณีต่อการจับกุมทหารหยวน:อ้างอิงจากผู้อยู่ร่วมสมัย หลิว เหรินเปิ่น,
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Yuan Dynasty: Ancient China Dynasties, paragraph 3.
- ↑ Brook, Timothy (1999). The Confusions of Pleasure: Commerce and Culture in Ming China (illustrated, reprint ed.). University of California Press. p. 18. ISBN 978-0520221543.
- ↑ Chua, Amy (2009). Day of Empire: How Hyperpowers Rise to Global Dominance--and Why They Fall. Knopf Doubleday Publishing Group. p. 123. ISBN 978-0307472458.
- ↑ Tsai, Shih-shan Henry (2011). Perpetual Happiness: The Ming Emperor Yongle. University of Washington Press. pp. 22, 64. ISBN 978-0295800226.
- ↑ Adshead, S. A. M. (2016). China In World History (illustrated ed.). Springer. p. 175. ISBN 978-1349237852.
- ↑ China in World History, Third Edition (3, illustrated ed.). Springer. 2016. p. 175. ISBN 978-1349624096.
- ↑ Rowe, William. Crimson Rain: Seven Centuries of Violence in a Chinese County. 2006. p. 53