จักรพรรดิหมิงอิงจง
จักรพรรดิหมิงอิงจง | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิจีน | |||||||||||||||||
พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของจักรพรรดิหมิงอิงจง ปัจจุบันถูกประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาตินครไทเป ประเทศไต้หวัน | |||||||||||||||||
รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์หมิง | |||||||||||||||||
ครองราชย์ | 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1457 – 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1464 | ||||||||||||||||
ก่อนหน้า | จักรพรรดิจิ่งไท่ | ||||||||||||||||
ถัดไป | จักรพรรดิเฉิงฮว่า | ||||||||||||||||
(太上皇帝) ไท่ช่างหวงตี้ | |||||||||||||||||
ดำรงพระยศ | 1 กันยายน ค.ศ. 1449 – 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1457 | ||||||||||||||||
ก่อนหน้า | พระองค์แรกแห่งราชวงศ์หมิง | ||||||||||||||||
รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์หมิง | |||||||||||||||||
ครองราชย์ | 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1435 – 1 กันยายน ค.ศ. 1449 | ||||||||||||||||
ก่อนหน้า | จักรพรรดิเซฺวียนเต๋อ | ||||||||||||||||
ถัดไป | จักรพรรดิจิ่งไท่ | ||||||||||||||||
ผู้สำเร็จราชการ | จักรพรรดินีเฉิงเซี่ยวเจา พระอัยยิกาเจ้า | ||||||||||||||||
โฉวฝู่ | |||||||||||||||||
ข้อมูลส่วนพระองค์ | |||||||||||||||||
ลำดับพระยศ | 皇子 →皇太子 →皇帝 →太上皇帝 →皇帝 (สมัยที่ 2) | ||||||||||||||||
ฐานันดรศักดิ์ | จักรพรรดิ | ||||||||||||||||
พระราชสมภพ | 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1427 พระราชวังต้องห้าม ปักกิ่ง มหาจักรวรรดิหมิง | ||||||||||||||||
สวรรคต | 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1464 พระราชวังต้องห้าม ปักกิ่ง มหาจักรวรรดิหมิง | (36 ปี)||||||||||||||||
ฝังพระบรมศพ | สุสานหลวงหมิงอฺวี้ (裕陵) เป่ย์จิง | ||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
พระภรรยาเจ้า | ฉื่ออี้ไทเฮา จักรพรรดินีเซี่ยวซู่ | ||||||||||||||||
พระมเหสีชายา | ดูในบทความ | ||||||||||||||||
พระราชบิดา | เซฺวียนจงจางหวงตี้จู จานจี | ||||||||||||||||
พระราชมารดา | เซี่ยวกงจางหวงโฮ่วตระกูลซุน | ||||||||||||||||
พระราชบุตร | ดูในบทความ | ||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์หมิง ราชตระกูลจู | ||||||||||||||||
จักรพรรดิหมิงอิงจง (จีน: 明英宗; พินอิน: Míng yīngzōng; 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1427 – 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1464) มีพระนามเดิมว่า จู ฉีเจิ้น (จีนตัวย่อ: 朱祁镇; จีนตัวเต็ม: 朱祁鎮; พินอิน: Zhū Qízhèn) ทรงเป็นจักรพรรดิจีนแห่งราชวงศ์หมิง ทรงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติถึง 2 ครั้ง ในครั้งแรกระหว่าง ค.ศ. 1435 - 1449 ใช้พระนามรัชศกว่า เจิ้งถ่ง (正統) นับเป็นรัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์หมิง และครั้งที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1457 - 1464 ใช้พระนามรัชศกว่า เทียนชุ่น (天順) นับเป็นรัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์หมิง[1] นอกจากนี้ ยังนิยมเรียกขานตามพระอารามนามว่า อิงจง (英宗)
จักรพรรดิหมิงอิงจงทรงเป็นพระราชโอรสในเซฺวียนเต๋อหวงตี้จู จานจี (宣德皇帝朱瞻基) กับจักรพรรดินีซุน (孫) มีพระนามเมื่อแรกเสด็จพระราชสมภพว่า "จู ฉีเจิ้น" และเมื่อเจริญพระชนมายุได้ 4 เดือน ทรงได้รับการสถาปนาเป็นหวงไท่จื่อ (皇太子)
ครองราชย์ครั้งแรก
[แก้]เมื่อเจริญพระชนมายุได้ 8 พรรษา จักรพรรดิหมิงอิงจงทรงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติต่อจากจักรพรรดิเซฺวียนเต๋อ ทรงใช้พระนามศักราชว่า "เจิ้งถ่ง" โดยมีเฉิงเซี่ยวเจาไท่หวงไท่โฮ่วเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ในรัชศกเจิ้งถ่งปีที่ 6 (ค.ศ. 1441) จักรพรรดิหมิงอิงจงทรงได้ว่าราชการด้วยพระองค์เอง
เมื่อแรกครองราชสมบัตินั้น ราชวงศ์หมิงรุ่งเรืองถึงขีดสุดเพราะการปกครองอันชาญฉลาดในรัชกาลสมเด็จพระชนกนาถ แต่เพราะจักรพรรดิหมิงอิงจง ยังเป็นเพียงยุวกษัตริย์แวดล้อมไปด้วยขันทีพี่เลี้ยง และเมื่อเฉิงเซี่ยวเจาไท่หวงไท่โฮ่วเสด็จสวรคต ขันทีหวัง เจิ้น (王振) จึงเริ่มขึ้นสู่อำนาจ กาลต่อมาได้มีอิทธิพลต่อจักรพรรดิหมิงอิงจง ทำให้พระองค์อาศัยความคิดอ่านของขันทีเป็นหลักในการว่าราชกิจ
เชลยมองโกล
[แก้]ครั้น ค.ศ. 1449 เมื่อเจริญพระชนมายุได้ 21 พรรษา จักรพรรดิหมิงอิงจงนำทัพหลวงออกรบกับชาวมองโกลซึ่งนำโดยราชครูเหย่เซียน (也先太師; Esen Taishi) จากเผ่าหว่าล่า (瓦剌; Oirat) ณ ปราการถู่มู่ (土木) เสด็จไปครั้งนั้นมีขันทีหวัง เจิ้น เป็นที่ปรึกษาประจำทัพ แต่เกิดโกลาหล ทัพหลวงแตกพ่าย หวัง เจิ้น ถูกฆ่าตาย และจักรพรรดิหมิงอิงจงถูกมองโกลจับเป็นเชลย เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ วิกฤติถู่มู่ (土木之變)
แม้จักรพรรดิหมิงอิงจงจะอยู่แคว้นมองโกลในฐานะเชลย แต่ก็ได้เป็นมิตรสนิทสนมกับราชครูเหย่เซียน และข่านทัวทัวปู้ฮวา (脱脱不花)
อย่างไรก็ดี การที่จักรพรรดิถูกจับเป็นเชลย ทำให้เกิดภาวะไร้ผู้นำจนแผ่นดินจีนสั่นคลอน เพื่อระงับสถานการณ์บ้านเมือง ในวันที่ 6 กันยายน รัชศกเจิ้งถ่งปีที่ 14 (ค.ศ.1449 ) ซางเซิ่งไทเฮาทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้จู ฉี-อฺวี้ (朱祁鈺) เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์ในฐานะจักรพรรดิ ในการนี้ทรงประกาศสถาปนาจักรพรรดิหมิงอิงจงที่ถูกจับเป็นไท่ช่างหวงตี้ (太上皇帝) และฉื่ออี้ไทเฮาเป็น ไท่ช่างหวงโฮ่ว (太上皇后) และในปีถัดไปทรงเปลี่ยนพระนามศักราชเป็นจิ่งไท่[2]
ครองราชย์ครั้งที่สอง
[แก้]ใน ค.ศ. 1450 ชาวมองโกลปล่อยจักรพรรดิหมิงอิงจง ให้กลับไปยังดินแดนจีน และในวันที่ 19 กันยายน จักรพรรดิหมิงอิงจงทรงเสด็จถึงกรุงปักกิ่ง ตามแผนจักรพรรดิหมิงอิงจงในฐานะไท่ช่างหวงตี้ควรประทับในพระราชวังเหรินโซว แต่จักรพรรดิจิ่งไท่ทรงให้จักรพรรดิหมิงอิงจงไปประทับ ณ น่านกง (南宫) พร้อมกับฉื่ออี้ไทเฮาและเหล่าพระมเหสีและพระสนม ซึ่งจักรพรรดิหมิงอิงจงทรงประทับ ณ น่านกงเสมือนนักโทษเป็นเวลาหกปีครึ่ง
ใน ค.ศ. 1452 จักรพรรดิจิ่งไท่ทรงประกาศถอด หวงไท่จื่อจู เจี้ยนจฺวิ้น (皇太子朱見濬) พระราชโอรสของจักรพรรดิหมิงอิงจง แล้วลดพระราชอิสริยยศเป็นอี่อ๋อง (沂王) ตั้งจู เจี้ยนจี้ (朱見濟) พระราชโอรสของตัว ขึ้นเป็นหวงไท่จื่อแทน[3]
ต่อมาเมื่อจู เจี้ยนจี้ พระราชโอรสของจักรพรรดิจิ่งไท่ ทรงประชวรสิ้นพระชนม์ เป็นเหตุให้จักรพรรดิจิ่งไท่ทรงหมกมุ่นอยู่กับสตรี และในรัชศกจิ่งไท่ปีที่ 7 (ค.ศ. 1456) จักรพรรดิจิ่งไท่ทรงพระประชวรไม่สามารถว่าราชการได้ จักรพรรดิหมิงอิงจงจึงอาศัยโอกาสนี้ก่อการฟื้นฟูราชสมบัติเสด็จขึ้นครองราชย์อีกครั้ง
เมื่อขึ้นครองราชย์ทรงประกาศถอดจักรพรรดิจิ่งไท่ออกจากราชสมบัติลงเป็นเจ้าชาย และให้กักบริเวณไว้ที่ซี-ยฺเวี่ยน (西苑) ไม่นานหนึ่งเดือนให้หลังก็เสด็จสวรรคต[4]
จักรพรรดิหมิงอิงจงเสด็จกลับขึ้นเสวยราชย์อีกครั้ง ทรงใช้พระนามรัชศกว่า "เทียนชุ่น" อยู่ในราชสมบัติ 7 ปี ก็เสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 1464 สิริพระชนมายุได้ 36 พรรษา ก่อนเสด็จสวรรคต จักรพรรดิหมิงอิงจงทรงออกพระราชกฤษฎีกายกเลิกประเพณีฝังนางสนมกำนัลทั้งเป็นเพื่อตามไปถวายการรับใช้ในปรโลก พระราชกฤษฎีกานี้เป็นที่ยกย่องอย่างยิ่งในภายหลัง[5]
และจู เจี้ยนจฺวิ้นพระราชโอรสสืบราชบัลลังก์ต่อ ใช้พระนามรัชศกว่า "เฉิงฮว่า" (成化)
พงศาวลี
[แก้]บรรพชน
[แก้]- พระราชบิดา
- เซฺวียนเต๋อ (宣德)
- พระราชมารดา
- เซี่ยวกงจาง (孝恭章) แห่งตระกูลซุน (孫)
พระภรรยาเจ้า
[แก้]ฮองเฮา
[แก้]พระนาม | ตระกูล | สมรส | สวรรคต | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
ฉื่ออี้ฮองไทเฮา | เฉียน (錢) | ค.ศ. 1442 | ค.ศ. 1468 |
|
โจวไทฮองไทเฮา | โจว (周) | ค.ศ. 1504 |
|
พระมเหสี
[แก้]นาม | ตระกูล | หมายเหตุ |
---|---|---|
จิ้งจฺวังอันมู่เฉินเฟย์ (靖莊安穆宸妃) | วั่น (萬) | |
ตฺวันจิ้งอันเหอฮุ่ยเฟย์ (端靖安和惠妃) | หวัง (王) | |
จฺวังจิ้งอันหรงชูเฟย์ (莊靜安榮淑妃) | เกา (高) | |
กงตฺวันจฺวังฮุ่ยเต๋อเฟย์ (恭端莊惠德妃) | เหฺวย์ (韋) | |
กงเหออันจิ้งชุ่ยเฟย์ (恭和安靜順妃) | ฝาน (樊) |
|
จฺวังซีตฺวันซู่อันเฟย์ (莊僖端肅安妃) | หยาง (楊) | |
เจาซู่จิ้งตฺวันเสียนเฟย์ (昭肅靖端賢妃) | หวัง (王) | |
เจินชุ่นอี้กงจิ้งเฟย์ (貞順懿恭敬妃) | หลิว (劉) | |
อันเหอหรงจิ้งลี่เฟย์ (安和榮靖麗妃) | หลิว (劉) | |
ตฺวันจฺวังเจาเฟย์ (端莊昭妃) | อู่ (武) | |
กงอันเหอเฟย์ (恭安和妃) | กง (宮) | |
เจาจิ้งกงเฟย์ (昭靜恭妃) | หลิว (劉) | |
เจาชุ่นลี่เฟย์ (昭順麗妃) | จาง (張) | |
เจาอี้เสียนเฟย์ (昭懿賢妃) | หลี่ (李) | |
กงจิ้งจฺวังเฟย์ (恭靖莊妃) | จ้าว (趙) | |
กงซีเฉิงเฟย์ (恭僖成妃) | จาง (張) | |
กงฮุ่ยเหอเฟย์ (恭惠和妃) | เหลียง (梁) | |
ซีเค่อชงเฟย์ (僖恪充妃) | ยฺหวี (余) | |
ฮุ่ยเหอลี่เฟย์ (惠和麗妃) | เฉิน (陳) | |
หรงจิ้งเจินเฟย์ (榮靖貞妃) | หวัง (王) |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Leo K. Shin (2006), The Making of the Chinese State: Ethnicity and Expansion on the Ming Borderlands, Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-85354-5
- ↑ 《明實錄·英宗睿皇帝實錄·廢帝郕戾王附錄》
- ↑ 《明史》卷13:憲宗繼天凝道誠明仁敬崇文肅武宏德聖孝純皇帝,諱見深,英宗長子也。母貴妃周氏。初名見濬。英宗留瓦剌,皇太后命立為皇太子。景泰三年,廢為沂王。
- ↑ 郕王薨,谥曰戾,毁所营寿陵,葬金山,与夭殇诸公主坟相属。帝欲以汪妃殉,以李贤言乃止,以妃唐氏等殉葬。
- ↑ Zhonghua quan guo fu nü lian he hui (1984). Women of China. Foreign Language Press.
บรรณานุกรม
[แก้]- Robinson, David M. "Politics, Force and Ethnicity in Ming China: Mongols and the Abortive Coup of 1461," Harvard Journal of Asiatic Studies (Volume 59: Number 1, June 1999): 79–123.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จักรพรรดิหมิงอิงจง
ก่อนหน้า | จักรพรรดิหมิงอิงจง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เซฺวียนเต๋อ | จักรพรรดิจีน (ค.ศ. 1435–49) |
จิ่งไท่ | ||
จิ่งไท่ | จักรพรรดิจีน (ค.ศ. 1457–64) |
เฉิงฮว่า |