ข้ามไปเนื้อหา

จักรวรรดิซิลูซิด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรวรรดิซิลูซิด

Βασιλεία τῶν Σελευκιδῶν
Basileía tōn Seleukidōn
312 ปีก่อน ค.ศ.–63 ปีก่อน ค.ศ.
เหรียญเงินของซิลูคัสที่ 1 สลักรูปหัวม้า ช้างและสมอ สัญลักษณ์ของราชาธิปไตยซิลูซิด[1][2]ของซิลูซิด
เหรียญเงินของซิลูคัสที่ 1 สลักรูปหัวม้า ช้างและสมอ สัญลักษณ์ของราชาธิปไตยซิลูซิด[1][2]
จักรวรรดิซิลูซิด (สีน้ำเงิน) ใน 281 ปีก่อน ค.ศ. ก่อนการปลงพระชนม์ของซิลูคัสที่ 1 ไนเคเตอร์
จักรวรรดิซิลูซิด (สีน้ำเงิน) ใน 281 ปีก่อน ค.ศ. ก่อนการปลงพระชนม์ของซิลูคัสที่ 1 ไนเคเตอร์
เมืองหลวง
ภาษาทั่วไป
ศาสนา
การปกครองราชาธิปไตย
บาซิเลวส์ 
• 305–281 ปีก่อน ค.ศ.
ซิลูคัสที่ 1 (แรก)
• 65–63 ปีก่อน ค.ศ.
ฟิลิปที่ 2 (สุดท้าย)
ยุคประวัติศาสตร์สมัยเฮลเลนิสต์
312 ปีก่อน ค.ศ.
301 ปีก่อน ค.ศ.
192–188 ปีก่อน ค.ศ.
188 ปีก่อน ค.ศ.
167–160 ปีก่อน ค.ศ.
63 ปีก่อน ค.ศ.
พื้นที่
303 ปีก่อน ค.ศ.[6]3,000,000 ตารางกิโลเมตร (1,200,000 ตารางไมล์)
301 ปีก่อน ค.ศ.[6]3,900,000 ตารางกิโลเมตร (1,500,000 ตารางไมล์)
240 ปีก่อน ค.ศ.[6]2,600,000 ตารางกิโลเมตร (1,000,000 ตารางไมล์)
175 ปีก่อน ค.ศ.[6]800,000 ตารางกิโลเมตร (310,000 ตารางไมล์)
100 ปีก่อน ค.ศ.[6]100,000 ตารางกิโลเมตร (39,000 ตารางไมล์)
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิมาเกโดนีอา
จักรวรรดิโมริยะ
โรมันซีเรีย
จักรวรรดิพาร์เธีย
ราชอาณาจักรกรีก-แบคเตรีย
ราชอาณาจักรแฮสโมเนีย
ออสโรอีน
ประวัติศาสตร์อิหร่านแผ่นดินใหญ่
Faravahar background
กษัตริย์แห่งเปอร์เชีย
ก่อนยุคใหม่
หลัง อิสลาม
อาณาจักรกาหลิป 637–651
จักรวรรดิอุมัยยะฮ์ 661–750
จักรวรรดิอับบาซียะฮ์ 750–1258
จักรวรรดิทาฮิริยะห์ 821–873
ราชวงศ์อาลาวิยะห์ 864–928
จักรวรรดิซัฟฟาริยะห์ 861–1003
จักรวรรดิซามานิยะห์ 819–999
จักรวรรดิไซยาริยะห์ 928–1043
จักรวรรดิไบอิยะห์ 934–1055
จักรวรรดิกาสนาวิยะห์ 975–1187
จักรวรรดิกอร์ 1149–1212
จักรวรรดิเซลจุค 1037–1194
จักรวรรดิควาเรซเมีย 1077–1231
ราชวงศ์คาร์ติยะห์ 1231-1389
จักรวรรดิข่านอิล 1256–1353
ราชวงศ์มุซาฟฟาริยะห์ 1314–1393
ราชวงศ์จุพานิยะห์ 1337–1357
ราชวงศ์จาไลยิริยะห์ 1339–1432
ราชวงศ์เตมือร์ 1370–1506
คารา โคยันลู เตอร์โคมันส์ 1407–1468
อัค โคยันลู เตอร์โคมันส์ 1378–1508
จักรวรรดิซาฟาวิยะห์ 1501–1722*
จักรวรรดิโมกุล 1526–1857
ราชวงศ์โฮทาคิ 1722–1738
จักรวรรดิอาฟชาริยะห์ 1736–1750
* หรือ 1736
ยุคใหม่

จักรวรรดิซิลูซิด (อังกฤษ: Seleucid Empire; กรีกโบราณ: Βασιλεία τῶν Σελευκιδῶν, อักษรโรมัน: Basileía tōn Seleukidōn) เป็นรัฐอารยธรรมกรีกที่ดำรงอยู่ระหว่าง 312–63 ปีก่อนคริสตกาล มีเมืองหลวงคือซิลูเซียและแอนติออก จักรวรรดินี้ถูกสถาปนาโดยซิลูคัสที่ 1 ไนเคเตอร์ หลังมีการแบ่งราชอาณาจักรมาเกโดนีอาของอเล็กซานเดอร์มหาราชใน 321 ปีก่อนคริสตกาล การแบ่งดินแดนนี้ทำให้ซิลูคัสได้ครอบครองบาบิโลเนีย ก่อนจะขยายอำนาจไปทางตะวันออกเฉียงเหนือจนจรดแม่น้ำสินธุ จักรวรรดิซิลูซิดในช่วงเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดครอบครองพื้นที่ตั้งแต่อานาโตเลียกลาง ลิแวนต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย เติร์กเมนิสถาน อัฟกานิสถาน ไปจนถึงบางส่วนของปากีสถานในปัจจุบัน[7]

เมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราชสวรรคตอย่างกะทันหันใน 323 ปีก่อนคริสตกาล ซิลูคัส หนึ่งในไดแอโดไค (ผู้ใกล้ชิดอเล็กซานเดอร์) ให้การสนับสนุนเพอร์ดิกคัส ผู้สำเร็จราชการแทนพีลิปโปสที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา ลูกพี่ลูกน้องของอเล็กซานเดอร์ผู้ไม่สมประกอบซึ่งได้รับเลือกเป็นรัชทายาท การขึ้นสู่อำนาจของเพอร์ดิกคัสทำให้เกิดความขัดแย้งกับไดแอโดไคคนอื่น ๆ จนเกิดเป็นสงครามที่กินเวลายาวนานเกือบ 50 ปี[8] ต่อมาเมื่อเพอร์ดิกคัสถูกสังหารโดยบันทึกบางแห่งระบุว่าซิลูคัสอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง[9] ซิลูคัสได้รับตำแหน่งเซแทร็ปแห่งบาบิโลน[10] และร่วมมือกับแอนติโกนัสที่ 1 มอน็อพธาลมอส หนึ่งในไดแอโดไคผู้มีอำนาจสูงสุด แต่ภายหลังความสัมพันธ์ของทั้งคู่ตกต่ำจนซิลูคัสต้องลี้ภัยไปที่อียิปต์ก่อนจะกลับมาทำสงครามกับแอนติโกนัส และสร้างฐานอำนาจในบาบิโลน มีเดียและเอลาม[11] ใน 305 ปีก่อนคริสตกาล ซิลูคัสขยายดินแดนไปทางตะวันออกจนปะทะกับกองทัพของพระเจ้าจันทรคุปตเมารยะแห่งราชวงศ์โมริยะในอินเดีย ทั้งสองทำสงครามกันนาน 2 ปี ก่อนซิลูคัสจะยอมหย่าศึกเพื่อยกทัพไปช่วยคาสแซนเดอร์และไลซีมาคัสรบกับแอนติโกนัสในยุทธการที่อิปซัส ชัยชนะในยุทธการที่อิปซัสทำให้จักรวรรดิมั่นคงยิ่งขึ้น 281 ปีก่อนคริสตกาล ซิลูคัสรบชนะไลซีมาคัสในยุทธการที่คอรูเปเดียม ทำให้จักรวรรดิซิลูซิดมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาอาณาจักรไดแอโดไคทั้งหมด[12]

จักรวรรดิซิลูซิดดำรงต่อไปจนกระทั่งขัดแย้งกับสาธารณรัฐโรมัน กลายเป็นสงครามโรมัน–ซิลูซิดใน 192 ปีก่อนคริสตกาล ความพ่ายแพ้ในสงครามครั้งนี้ บวกกับสงครามกับจักรวรรดิพาร์เธีย การลุกฮือของชาวยิว และความขัดแย้งภายใน ทำให้จักรวรรดิซิลูซิดอ่อนแอลง[13] กลางศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ดินแดนส่วนใหญ่ของจักรวรรดิซิลูซิดถูกพิชิตโดยจักรพรรดิมิทริเดทีสที่ 1 แห่งพาร์เธีย ในขณะที่ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของจักรวรรดิแยกออกไปเป็นราชอาณาจักรกรีก-แบคเตรีย อย่างไรก็ตาม กษัตริย์ราชวงศ์ซิลูซิดยังคงปกครองดินแดนที่หลงเหลืออยู่ในซีเรีย จนกระทั่งถูกสมเด็จพระเจ้าไทกราเนสมหาราชโจมตีใน 83 ปีก่อนคริสตกาล และถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของโรมโดยปอมปีย์ใน 63 ปีก่อนคริสตกาล[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Cohen, Getzel M; The Hellenistic Settlements in Syria, the Red Sea Basin, and North Africa, pp. 13.
  2. Lynette G. Mitchell; Every Inch a King: Comparative Studies on Kings and Kingship in the Ancient and Medieval Worlds, page 123.
  3. Grainger 2020, pp. 130, 143.
  4. 4.0 4.1 Richard N. Frye, The History of Ancient Iran, (Ballantyne Ltd, 1984), 164.
  5. Julye Bidmead, The Akitu Festival: Religious Continuity and Royal Legitimation in Mesopotamia, (Gorgias Press, 2004), 143.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Taagepera, Rein (1979). "Size and Duration of Empires: Growth-Decline Curves, 600 B.C. to 600 A.D.". Social Science History. 3 (3/4): 121. doi:10.2307/1170959. JSTOR 1170959.
  7. Gill, N. S. (August 15, 2018). "The Seleucids and Their Dynasty". ThoughtCo. สืบค้นเมื่อ November 1, 2019.
  8. Wasson, Donald L. (July 14, 2016). "Wars of the Diadochi". Ancient History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ November 1, 2019.
  9. Grainger 1990, pp. 20–24
  10. Grainger 1990, pp. 21–29
  11. "The beginning of the Babylonian war". Livius.org. April 17, 2019. สืบค้นเมื่อ November 1, 2019.
  12. "Seleucid Empire". New World Encyclopedia. August 27, 2015. สืบค้นเมื่อ November 1, 2019.
  13. "Seleucid Empire". Britannica.com. สืบค้นเมื่อ November 1, 2019.
  14. "Seleucids". Livius.org. April 21, 2019. สืบค้นเมื่อ November 1, 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]