แคว้นมคธ
อาณาจักรมคธ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พ.ศ. 43–พ.ศ. 222 | |||||||||
แผนที่แคว้นมคธ | |||||||||
เมืองหลวง | ราชคฤห์, ปัฏนา | ||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาปรากฤต | ||||||||
ศาสนา | ศาสนาฮินดู, ศาสนาเชน, ศาสนาพุทธ, ศาสนาพราหมณ์ | ||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||
กษัตริย์ | |||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคโบราณ | ||||||||
• ก่อตั้ง | พ.ศ. 43 | ||||||||
• สิ้นสุด | พ.ศ. 222 | ||||||||
สกุลเงิน | Panas | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | อินเดีย บังกลาเทศ |
ราชอาณาจักรมคธ ถือเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจมากที่สุดในชมพูทวีป ปกครองด้วยระบอบสมบูรณายาสิทธิราชย์ ถือกำเนิดขึ้นไล่เลี่ยกับการกำเนิดของมหาชนบท 16 แคว้น มีเมืองหลวงครั้งแรกชื่อราชคฤห์ ต่อมาพระเจ้าอชาตศัตรูจึงย้ายเมืองหลวงไปยังปาฏลีบุตร (ปัฏนา) ริมฝั่งแม่น้ำคงคา มคธได้ผ่านการรัฐประหารเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจมาหลายครั้ง ไม่ว่าจะมาจากอำมาตย์สุสุนาค มหาโจรนันทะ จันทรคุปต์ พราหมณ์ปุษยมิตร ฯลฯ แคว้นมคธได้สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 516 กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสาตวหนะ ต่อมาประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 9 ราชอาณาจักรมคธก็ฟื้นคืนชีพอีกครั้งในนามของราชวงศ์คุปตะ อันเป็นยุคคลาสสิกของอินเดีย ราชอาณาจักรมคธในยุคนี้ก็อยู่สืบต่อมา แต่มิใช่ศูนย์อำนาจอีกหลังคุปตะล่มสลาย จนกองทัพมุสลิมเติร์กเข้ายึดอินเดียเหนือได้ทั้งหมด จึงเป็นจุดสิ้นสุดที่แท้จริงของราชอาณาจักรมคธ
รายพระนามกษัตริย์แห่งแคว้นมคธ
[แก้]กษัตริย์แห่งแคว้นมคธเท่าที่มีหลักฐานแน่นอน แบ่งออกเป็น 7 ราชวงศ์ ดังนี้
ราชวงศ์หารยังกะ
[แก้]- พระเจ้าภัตติยะ
- พระเจ้าพิมพิสาร
- พระเจ้าอชาตศัตรู
- พระเจ้าอุทัยภัทร
- พระเจ้าอนุรุทธะ
- พระเจ้ามุณฑกะ
- พระเจ้านาคทาสกะ
การสิ้นสุดของราชวงศ์หารยังกะ เกิดจากอำมาตย์สุสุนาคเห็นว่า ราชวงศ์หารยังกะเป็นราชวงศ์ปิตุฆาตโดยตลอด จึงทำรัฐประหารเพื่อมิให้เป็นเสนียดแก่อาณาจักรอีก
ราชวงศ์ศิศุนาค
[แก้]ตั้งโดยขุนนางชื่อศิศุนาค
- พระเจ้าศิศุนาค
- พระเจ้ากาฬาโศก
- พระเจ้าภัทรเสนและพระอนุชา (ปกครองปาฏลีบุตรแบบคณะ)
- พระเจ้าโกรันทวรรณะ
- พระเจ้ามังคุระ
- พระเจ้าสารวันชหะ
- พระเจ้าชลิกะ
- พระเจ้าอุภกะ
- พระเจ้าสัญชัย
- พระเจ้าโกรัพยะ
- พระเจ้านันทิวรรธนะ
- พระเจ้าปัญจมกะ
- พระเจ้ามหานันทิน
การสิ้นสุดของราชวงศ์ศิศุนาค เกิดจากมหาโจรนันทะทำรัฐประหาร
ราชวงศ์นันทะ
[แก้]ตั้งโดยมหาโจรชื่อนันทะ
- พระเจ้ามหาปัทมานันทะ
- พระเจ้าธนานันทะ
บางตำราบอกว่ายังมีต่ออีก คือ
- พระเจ้ามหาปัทมานันทะ
- พระเจ้าอุครเสน
- พระเจ้าปัณฑุกะ
- พระเจ้าปัณฑุคติ
- พระเจ้าภูตปาละ
- พระเจ้าราษฏระปาละ
- พระเจ้าโควิศนกะ
- พระเจ้าทศสิทธกะ
- พระเจ้าไกวรรตะ
- พระเจ้าธนานันทะ
การสิ้นสุดของราชวงศ์นันทะ เกิดจากการทำรัฐประหารของจันทรคุปต์ ภายใต้การวางแผนของพราหมณ์จาณักยะ ซึ่งไม่พอใจราชสำนักปาฏลีบุตรในขณะนั้น
ราชวงศ์เมารยะ
[แก้]ตั้งโดยจันทรคุปต์
- พระเจ้าจันทรคุปต์
- พระเจ้าพินทุสาร
- พระเจ้าอโศกมหาราช
- พระเจ้าทศรถเมารยะ
- พระเจ้าสัมประติ
- พระเจ้าศาลิศุกะ
- พระเจ้าเทววรรมัน
- พระเจ้าศตธันวัน
- พระเจ้าพฤหัทรถ
การสิ้นสุดของราชวงศ์เมาริยะ มาจากการทำรัฐประหารของพราหมณ์ปุษยมิตร ซึ่งนับเป็นผลกระทบจากนโยบายของพระเจ้าอโศกมหาราชที่ส่งผลกระทบต่อพราหมณ์โดยตรง เมื่อราชวงศ์อ่อนแอ กลุ่มอำนาจพราหมณ์จึงเข้าทำรัฐประหาร และกวาดล้างพระพุทธศาสนาในมคธครั้งใหญ่ในเวลาต่อมา
ราชวงศ์ศุงคะ
[แก้]ตั้งโดยพราหมณ์ชื่อปุษยมิตร ศุงคะ
- พระเจ้าปุษยมิตร
- พระเจ้าอัคนิมิตร
- พระเจ้าวสุชเยษฐา
- พระเจ้าวสุมิตร
- พระเจ้าภัทรกะ
- พระเจ้าปุลินทกะ
- พระเจ้าโฆษวสุ
- พระเจ้าวัชรมิตร
- พระเจ้าภคภัทระ
- พระเจ้าเทวภูติ
ราชวงศ์กานวะ
[แก้]- พระเจ้าวาสุเทวะ
- พระเจ้าภูมิมิตร
- พระเจ้านารายณะ
- พระเจ้าสุศารมัน
หลังจากนั้น ปี พ.ศ. 516 พระเจ้าศรีมุขะแห่งสาตวาหนะยึดแคว้นมคธได้เป็นอันว่าแคว้นมคธได้ล่มสลายลงเป็นครั้งแรก ก่อนจะฟื้นอีกครั้งในราชวงศ์คุปตะ
อ้างอิง
[แก้]- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. 9 ราชบัณฑิต. พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด. กรุงเทพฯ : วัดราชโอรสาราม, 2548.