ข้ามไปเนื้อหา

ซี56 31

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
C56 31
รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 725 (C56 31) ตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ยูชูคาน เมื่อกันยายน พ.ศ. 2564
ประเภทและที่มา
ประเภทเครื่องยนต์รถจักรไอน้ำ
ผู้สร้างนิปปอนชาโย
วันสร้างพ.ศ. 2479
คุณลักษณะ
การกำหนดค่า:
 • Whyte2-6-0
ช่วงกว้างราง1,067 mm (3 ft 6 in) (JGR)
1,000 mm (3 ft 3 38 in) (IJA, รฟท.)
Driver dia.1,400 mm
ความยาว14,325 mm
น้ำหนักรวม65.53 t
ค่าประสิทธิภาพ
แรงฉุด8,290 kg
การบริการ
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งรัฐบาลญี่ปุ่น
กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น
การรถไฟแห่งประเทศไทย
ปลดประจำการพ.ศ. 2520
เจ้าของปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ยูชูคาน โตเกียว
การจัดการจัดแสดงถาวร

รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 725 (C56 31) หรือ รถจักรไอน้ำ C56 31 (JNR Class C56 31) เป็นหนึ่งรถจักรไอน้ำในตระกูล รถจักรไอน้ำโมกุล C56 เป็นรถจักรไอน้ำที่สร้างขื้นในประเทศญี่ปุ่น สร้างโดยสมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น นำมาใช้การครั้งแรกของประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2489 และเป็นรถในพิธีเปิดทางรถไฟสายมรณะ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ปัจจุบัน รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 725 คันนี้ตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ยูชูคาน ในส่วนของศาลเจ้ายาซูกูนิ ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ที่แห่งนี้

ประวัติ

[แก้]

ซี56 31 ผลิตโดย บริษัท นิปปอน ชาเรียว เซโซะ ไกรชะ จำกัด โรงงานตั้งอยู่ที่นครนาโงยะ, จังหวัดไอจิ, ประเทศญี่ปุ่น และถูกนำมาใช้การโดยการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น ประจำการในเส้นทางรถไฟสายนานาโอะ ในอิชิกาว่าก่อนสงครามครั้งที่ 2[1] ซี56 31 เป็นรถจักรไอน้ำคันแรกที่ใช้งานทางรถไฟสายมรณะ หลังจากนำกลับไปที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ก็เคลื่อนย้ายตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ยูชูคาน ในส่วนของศาลเจ้ายาซูกูนิ ในกรุงโตเกียว เพื่อจัดแสดงว่าเป็นความทรงจำว่ามีผู้เสียชีวิตในการก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะประมาณ 100,000 คน[2][3][4][5]

สงครามโลกครั้งที่ 2

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2485 ซี56 31 ถูกนำส่งมาที่ประเทศไทย[6] ซึ่งเป็นหนึ่งในรถจักรไอน้ำ 90 คันนี้ที่ถูกส่งลงมาทางใต้โดยญี่ปุ่น และเป็นรถในพิธีเปิดทางรถไฟสายมรณะ และเป็นรถจักรไอน้ำคันแรกที่วิ่งอยางเป็นทางการ[1]

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และกลับสู่ประเทศบ้านเกิด

[แก้]

ปัจจุบันใช้การในการรถไฟแห่งประเทศไทย ใช้ทำขบวนรถโดยสารและรถสินค้าจนถึงปี พ.ศ. 2520 ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2522 ประเทศญี่ปุ่นได้ซื้อกลับไปจำนวน 2 คัน คือหมายเลข 725 และ 735 ส่วนรถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 725 ได้จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ยูชูคาน ณ ที่แห่งนี้

จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ยูชูคาน

[แก้]

ต่อมาได้จัดแสดงตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ยูชูคาน ในส่วนของศาลเจ้ายาซูกูนิ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 และมีทีมบำรุงรักษารถจักรไอน้ำอย่างดี เพื่อเป็นแสดงว่าความโหดร้ายที่กระทำบนเส้นทางรถไฟไทย-พม่า ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะจากประชาชนจากประเทศออสเตรเลียและสหรัฐ[7][8][9][10]

ชักหวีด ณ พิพิธภัณฑ์ยูชูคาน

[แก้]

ต่อมา เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ทางศาลเจ้ายาสุกุนิ ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น อันเป็นสถานที่สถิตแด่ดวงวิญญาณทหารแห่งองค์สมเด็จพระจักรพรรดิ ทุกเหล่า ทุกนาย ที่พลีชีพในสมรภูมิสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ทำการจัดงานระลึกการครบรอบ 80 ปี การสถาปนา จัดตั้ง "กองพลทหารรถไฟที่ 9" ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างทางรถไฟสายไทย-พม่า ในเขตประเทศไทย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 โดยงานนี้จัดใน ศาลเจ้ายาสุกุนิ นำโดยเจ้าหน้าที่ดูแลในศาลเจ้า รวมถึง ทีมงานจิตอาสาดูแลรถจักรไอน้ำ C56 31 ทุกท่าน

ในงานจะเป็นการ สวดมนต์ตามพิธีทางศาสนา ชินโต และ รวมถึงการยืนสงบนิ่ง โดยครอบครัวญาติพี่น้องของทหารกองพลทหารรถไฟที่ 9 ที่บริเวณด้านข้าง รถจักรไอน้ำ C56 31 เพื่อระลึกถึงดวงวิญญาณกองพลทหารรถไฟที่ 9 ที่ได้เสียชีวิต ในสมรภูมิประเทศไทยและพม่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

โดย เวลา 14.00 น. ตามเวลาประเทศญี่ปุ่น ทางเจ้าหน้าที่ดูแลศาลเจ้าและทีมงานจิตอาสาดูแลรถจักรไอน้ำ C56 31 ได้ทำการ “ชักหวีด” C56 31 เป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปี หลังจากที่ C56 31 ได้กลับสู่บ้านเกิดที่ญี่ปุ่นหลังจากที่ได้เข้ามาประจำการในประเทศไทย นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยแขวงสุดท้ายที่ รถจักรไอน้ำ C56 31 ได้ใช้งานในประเทศไทย คือแขวงทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

โดยการชักหวีดนั้น.ทางเจ้าหน้าที่ผู้ดูแล ได้ทำการต่อถังลมแรงดันสูงเพื่อใช้แรงดันลมแทนไอน้ำ ทำให้เกิดเสียงผ่านไปยังห้องต่างๆจำนวน5ห้องของตัวหวีด[11]

แกลลอรี่

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "○泰緬鉄道C56型蒸気機関車31号車(靖国神社遊就館に展示)". royallibrary.sakura.ne.jp.
  2. Simone, Gianni (2014-07-28). "A trip around the Yushukan, Japan's font of discord". The Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  3. Lim, Robyn (2006-05-17). "Taro Aso has a history problem with Australia". The Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  4. Kingston, Jeff (2013-07-27). "Yasukuni Shrine: ground zero for unrepentant wartime remembrance". The Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  5. Mcneill, David (2005-10-09). "Building a bridge to forgiveness". The Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  6. "Nippon Sharyo" (ภาษาอังกฤษ).
  7. "Richard's review of The Narrow Road to the Deep North". www.goodreads.com.
  8. Flanagan, Martin (2014-02-28). "Dark chapters in Japanese history". The Age (ภาษาอังกฤษ).
  9. Flanagan, Richard (2014-08-12). The Narrow Road to the Deep North (ภาษาอังกฤษ). Knopf Doubleday Publishing Group. ISBN 978-0-385-35286-4.
  10. Carter, Sarah (2014-11-28). "How to Visit Thailand's Hellfire Pass and the Death Railway". ASocialNomad (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  11. ""ชั ก ห วี ด ค รั้ ง แ ร ก ใ น ร อ บ 40 ปี ข อ ง C 5 6 31" --------------------------------------------------------------- กาลเวลาล่วงเลยมาถึง... | By SL Team | Facebook". www.facebook.com.