ศาลเจ้ายาซูกูนิ
ศาลเจ้ายาซูกูนิ | |
---|---|
靖国神社 Yasukuni Jinja | |
ฮนเด็ง ศาลเจ้ายาซูกูนิ | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ชินโต |
เทศกาล | ชุนคิ เรไทไซ |
ประเภท | Chokusaisha (former bekkaku-kanpeisha) |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | 3-1-1 คุดันกิตะ, เขตชิโยดะ, กรุงโตเกียว |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 35°41′38″N 139°44′34″E / 35.69389°N 139.74278°E |
สถาปัตยกรรม | |
รูปแบบ | ชินเม |
ผู้ก่อตั้ง | จักรพรรดิเมจิ |
เริ่มก่อตั้ง | มิถุนายน ค.ศ. 1869 |
อภิธานศัพท์ชินโต |
ศาลเจ้ายาซูกูนิ (ญี่ปุ่น: やすくにじんじゃ; โรมาจิ: Yasukuni JinJa) เป็นศาลเจ้าชินโตตั้งอยู่ที่เขตชิโยดะ กรุงโตเกียว สร้างขึ้นครั้งแรกในยุคเมจิ ปี พ.ศ. 2412 ตามความเชื่อของลัทธิชินโต มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นที่ระลึกถึงผู้เสียชีวิตในสงครามโบชิง ระหว่างกองกำลังฝ่ายรัฐบาลเอโดะกับฝ่ายราชสำนักเกียวโต จุดประสงค์ของศาลเจ้าได้ขยายออกไปเพื่อรวมผู้เสียชีวิตในสงครามที่เกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น (ช่วงจักรวรรดิญี่ปุ่น) ทั้งหมดตั้งแต่สมัยเมจิและสมัยไทโชและช่วงต้นของสมัยโชวะในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ศาลเจ้ายังถูกใช้เป็นที่สถิตของเหล่าดวงวิญญาณของทหารญี่ปุ่นที่สละชีพในสงครามรวมไปถึงอาชญากรสงครามของญี่ปุ่นด้วย
ศาลเจ้าเป็นที่สถิตวิญญาณทหารญี่ปุ่นที่เสียชีวิตของจำนวน 2,466,532 คน ในจำนวนนี้มีผู้ถูกตัดสินว่าเป็นอาชญากรสงครามมีความผิด 1,066 คน ในจำนวนนี้ถูกตั้งข้อหาในศาลทหารระหว่างประเทศสำหรับตะวันออกไกล
ประวัติ
[แก้]ในยุคเมจิ เกิดสงครามกลางเมืองภายในประเทศญี่ปุ่น เรียกว่าสงครามโบชิง ซึ่งเป็นการสู้รบระหว่างฝ่ายรัฐบาลเอโดะและฝ่ายของผู้จงรักภักดีต่อองค์จักรพรรดิ สุดท้ายฝ่ายองค์จักรพรรดิเป็นผู้ชนะ สิ้นสุดยุคของโชกุนโทกูงาวะที่ปกครองญี่ปุ่นยาวนานกว่า 260 ปี มีผู้คนล้มตายจำนวนมาก องค์จักรพรรดิเมจิมีรับสั่งให้สร้างอนุสรณ์สถานเพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สงครามโบชิงและพระราชทานชื่อว่า โตเกียวโชกนชะ (ญี่ปุ่น: 東京招魂社; โรมาจิ: Tōkyō Shōkonsha) ต่อมา จักรพรรดิเมจิ ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเป็นยาซูกูนิในปี พ.ศ. 2422 ซึ่งหมายถึง ประเทศที่สงบสุข
ตัวศาลในปัจจุบันสร้างขึ้นด้วยโครงสร้างเหล็กน้ำหนักรวมกว่า 100 ตัน หรือประมาณ 100,000 กิโลกรัม นับเป็นศาลเจ้าตามลัทธิชินโตที่ใหญ่ที่สุดของกรุงโตเกียว
ความเชื่อ
[แก้]ศาลเจ้ายาซูกูนิ นับเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อตามลัทธิชินโต ซึ่งเป็นเสมือนศาสนาพื้นเมืองของญี่ปุ่น มีอิทธิพลต่อแนวความคิดทางการเมืองและทางทหารของญี่ปุ่นเป็นอย่างสูง ในคัมภีร์ชินโตระบุว่าหมู่เกาะญี่ปุ่นได้ถูกสร้างขึ้นโดยเทพเจ้า พระจักรพรรดิองค์แรกของญี่ปุ่นสืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ และชาวญี่ปุ่นก็ล้วนได้รับการคัดเลือกจากเทพเจ้า ประเทศญี่ปุ่นจึงเป็นเสมือนดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้า
ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ญี่ปุ่นได้พัฒนาประเทศให้เจริญเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้มีการแบ่งลัทธิชินโตออกเป็น 2 ส่วน คือ
- ชินโตแบบรัฐ (State Shinto) ซึ่งเป็นพิธีการแสดงถึงความรักชาติ ชาวญี่ปุ่นทุกคนไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด ต้องเข้าร่วมชินโตแห่งรัฐด้วย ศาลเจ้ายะซุกุนิ ได้ถูกจัดให้อยู่ในชินโตแห่งรัฐ
- ชินโตแบบนิกาย (Sectarian Shinto) ซึ่งถือเป็นศาสนาหนึ่งที่มีการบูชาเทพเจ้าประจำธรรมชาติ
ภายหลังจากที่ญี่ปุ่นได้ชัยชนะทางการทหารในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มีการเผยแพร่ลัทธิความรักชาติครั้งใหญ่ และขยายแนวความคิดไปสู่การครอบครองโลก มีการนำเอาความเชื่อในชินโตแห่งรัฐมาเป็นอุดมการณ์สร้างลัทธิทางการทหารขึ้นในประเทศ ดังข้อความตอนหนึ่งว่า พระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นจะได้ทรงปกครองโลกทั้งฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักร การครอบครองโลกนี้จะกระทำด้วยสันติวิธี แต่ถ้าวิธีดังกล่าวไร้ผล ก็มีเหตุผลทีเดียวที่จะกระทำด้วยการใช้กำลังอาวุธ[1]
ญี่ปุ่นแผ่ขยายอำนาจทางการทหารในประเทศแถบเอเชียกลายเป็นสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งในที่สุดญี่ปุ่นประสบกับความพ่ายแพ้สงครามในปี พ.ศ. 2488 ความเชื่อตามลัทธิชินโตถูกล้มล้างอย่างสิ้นเชิงโดยฝ่ายสัมพันธมิตร องค์จักรพรรดิโชวะแห่งญี่ปุ่นมีรับสั่งว่า สายใยแห่งความผูกพันระหว่างเรากับประชาชนของเรา มิอาจจะขึ้นอยู่กับเพียงตำนานและเทพนิยายเท่านั้น จะต้องไม่มีการกล่าวอ้างต่อไปอีกถึงแนวความเชื่อผิด ๆ ที่ว่าพระจักรพรรดิคือเทพเจ้า และชนชาติญี่ปุ่นสูงส่งกว่าชนชาติอื่นและถูกกำหนดมาให้ปกครองโลก พระจักรพรรดิมิใช่เทพเจ้า
เมื่อสหรัฐเข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดการภายในของประเทศญี่ปุ่น ได้กำหนดให้ทางการญี่ปุ่นเลือกว่าศาลเจ้าแห่งนี้เป็นของรัฐหรือจะให้เป็นอิสระจากรัฐ ซึ่งญี่ปุ่นเลือกที่จะให้เป็นอิสระจากรัฐบาล หลังจากนั้นศาลเจ้ายาซูกูนิถูกใช้เพื่อเป็นที่สถิตให้แก่เหล่าดวงวิญญาณของทหารญี่ปุ่นที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 2 กว่า 2,466,000 คนด้วย ภายในศาลมีป้ายชื่อทหารที่เสียชีวิตระหว่างสงคราม บางคนมีชื่อเป็นอาชญากรสงครามรวมอยู่ด้วยกว่า 12 คน รวมทั้งนายฮิเดกิ โทโจ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บัญชาการให้กองทัพญี่ปุ่นโจมตีอ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์ ของสหรัฐอเมริกา ก็ได้รับการอัญเชิญดวงวิญญาณให้มาที่สถิตอยู่ในศาลเจ้าแห่งนี้ด้วยเช่นกัน[2]
ในเวลากว่า 100 ปี ตั้งแต่ยุคเมจิ ยุคไทโช ยุคโชวะ องค์จักรพรรดิญี่ปุ่นเสด็จเยือนศาลเจ้ายาซูกูนิ รวมทั้งสิ้น 77 ครั้ง ไม่รวมการเสด็จเยือนขององค์จักรพรรดินี มกุฎราชกุมาร ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ ต่างก็เสด็จเยือนศาลเจ้าแห่งนี้เช่นกัน นอกจากนี้เหล่าญาติของทหารที่เสียชีวิตในสงครามต่างก็มาเยือนศาลเจ้าแห่งนี้เป็นประจำ ซึ่งแต่ละปีจะมีการจัดสักการะปีละ 2 ครั้ง คือช่วงวันที่ 21 - 23 เมษายน และ 17 - 20 ตุลาคม ของทุกปี[1]
บริเวณ
[แก้]
|
ความขัดแย้ง
[แก้]ศาลเจ้ายาซูกูนิเป็นสัญลักษณ์แห่งความโหดร้ายของสงครามในสายตาของชาวเอเชียตะวันออกอย่างจีนและเกาหลีใต้ เป็นประเด็นความขัดแย้งระหว่างประเทศมาโดยตลอด และตกเป็นข่าวดังภายหลังจากจุนอิจิโร โคอิซูมิ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นในขณะนั้นเดินทางไปสักการะศาลเจ้า ซึ่งถือเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกในรอบหลายปีของญี่ปุ่นที่เดินทางไปสักการะ แม้การกระทำดังกล่าวสร้างความไม่พอใจแก่ประเทศจีนและเกาหลีใต้เป็นอย่างมาก แต่จุนอิจิโรก็ยังคงปฏิบัติเช่นเดิมตลอดวาระของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกว่า 6 ปี มีเพียงปีเดียวเท่านั้นที่ไม่ได้ไปเนื่องจากการประชุมเอเชีย-แอฟริกา[2] [3]
การท่องเที่ยว
[แก้]ในด้านการท่องเที่ยวศาลเจ้ายาซูกูนิ เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางเข้าชม และมีการจัดงานฉลองเกือบทั้งปี[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ยะซุกุนิ
- ↑ 2.0 2.1 ศาลเจ้าต้องห้าม 'ยะซุกุนิ'[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ยาสุกุนิ ศาลเจ้าประเด็นความขัดแย้ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-29. สืบค้นเมื่อ 2011-12-25.
- ↑ Festivals (Matsuri Rituals)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- ศาสนาชินโต ภาพศาลเจ้ายะสุคุนิ เก็บถาวร 2012-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ข้อมูลการท่องเที่ยวญี่ปุ่น เก็บถาวร 2011-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ศาลเจ้ายาซูกูนิ
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
35°41′39″N 139°44′35″E / 35.694167°N 139.743056°E{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้