ข้ามไปเนื้อหา

สงครามไครเมีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามไครเมีย
ส่วนหนึ่งของ สงครามออตโตมันในยุโรปและสงครามรัสเซีย-ตุรกี

รายละเอียดภาพวาดพาโนรามา การล้อมเซวัสโตปอล (1904) โดย Franz Roubaud
วันที่16 ตุลาคม ค.ศ. 1853 – 30 มีนาคม ค.ศ. 1856 (1853-10-16 – 1856-03-30)
(2 ปี, 5 เดือน, 2 สัปดาห์)[ต้องการอ้างอิง]
สถานที่
ผล สนธิสัญญาปารีส
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
รัสเซียสูญเสียสามเหลี่ยมปากแม่น้ำดานูบและเบสซาราเบียตอนใต้
คู่สงคราม
 จักรวรรดิออตโตมัน
 ฝรั่งเศส[a]
 สหราชอาณาจักร[a]
 ซาร์ดีเนีย[b]
สนับสนุนโดย:
 ออสเตรีย
รัฐอิหม่ามคอเคซัส[c]
 รัสเซีย
 กรีซ[d]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
รวม: 673,900 นาย
จักรวรรดิออตโตมัน 235,568 นาย[1]
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง 309,268 นาย[2]
สหราชอาณาจักร 107,864 นาย[2]
พีดมอนต์-ซาร์ดิเนีย 21,000 นาย[2]
รวม: 889,000 นาย[2]

ระดมพล 888,000 นาย
ใช้งาน 324,478 นาย
ความสูญเสีย

รวม: 223,513 นาย

  • จักรวรรดิออตโตมัน 45,400 นาย[2]
  • 135,485 นาย[2]
  • สหราชอาณาจักร 40,462 นาย[2]
  • พีดมอนต์-ซาร์ดิเนีย 2,166 นาย[2]
รวม: 450,125 นาย[3][2]
ความสูญเสียรวมผู้เสียชีวิตจากโรค ในทุกกรณี ผู้เสียชีวิตจากโรคมีมากกว่าผลรวมของ "เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่" หรือ "เสียชีวิตจากบาดแผล".

สงครามไครเมีย (อังกฤษ: Crimean War) เป็นการสู้รบตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1853 – กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1856 ระหว่างรัสเซียและฝ่ายสัมพันธมิตรที่เป็นฝ่ายได้รับชนะในตอนท้ายของจักรวรรดิออตโตมัน ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย-ปีเยมอน

สาเหตุทางภูมิรัฐศาสตร์ของสงครามรวมทั้งความเสื่อมถอยของจักรวรรดิออตโตมัน การขยายอาณาเขตของจักรวรรดิรัสเซียในสงครามรัสเซีย-ตุรกีที่ผ่านมา และบริติชและฝรั่งเศสให้ความสำคัญในการปกป้องจักรวรรดิออตโตมันเพื่อรักษาสมดุลแห่งอำนาจในความร่วมมือแห่งยุโรป จุดลุกเป็นไฟคือความไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับสิทธิของชนกลุ่มน้อยชาวคริสเตียนในปาเลสไตน์ ในตอนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน ร่วมกับฝรั่งเศสได้สนับสนุนสิทธิของชาวนิกายโรมันคาทอลิก และรัสเซียได้สนับสนุนสิทธิของชาวนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

คริสตจักรหาทางจัดการความขัดแย้งของพวกเขากับออตโตมัน และเข้ามาทำข้อตลง แต่ทั้งจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศสและจักรพรรดิซาร์นิโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซียได้ปฏิเสธที่จะล่าถอยกลับ จักรพรรดินีโคลัสได้ยื่นคำขาดโดยเรียกร้องให้พลเมืองชาวนิกายออร์ทอดอกซ์ในจักรวรรดิออตโตมันมาอยู่ภายใต้การคุ้มครองของพระองค์ บริติชได้พยายามไกล่เกลี่ยและจัดการประนีประนอมซึ่งจักรพรรดินีโคลัสทรงเห็นด้วย เมื่อออตโตมันได้เรียกร้องให้เปลี่ยงแปลงข้อตกลง จักรพรรดินีโคลัสทรงปฏิเสธและเตรียมพร้อมสำหรับสงคราม

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1853 กองทหารรัสเซียเข้ายึดดานูเบียนพรินซิพาลิตี (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของโรมาเนีย แต่ตอนนั้นอยู่ภายใต้อำนาจซูเซอเรนทีของออตโตมัน) วันที่ 16 ตุลาคม[ปฏิทินแบบเก่าคือ 4 ตุลาคม] ค.ศ. 1853 ได้รับคำมั่นสัญญาของการสนับสนุนจากฝรั่งเศสและอังกฤษ ออตโตมันได้ประกาศสงครามกับรัสเซีย นำโดยโอมาร์พาช่า ออตโตมานได้ต่อสู้รบการทัพป้องกันอย่างหนักแน่น และหยุดยั้งการรุกคืบของรัสเซียที่ซิลิสตรา (ปัจจุบันในบัลแกเรีย) ปฏิบัติการที่แบ่งแยกในเมืองป้อมของการ์ส ในจักรวรรดิออตโตมันนำไปสู่การล้อม และความพยายามของออตโตมันในการเสริมกำลังกองทหารรักษาการณ์ได้ถูกทำลายโดยกองเรือรัสเซียที่ยุทธการที่ซีโนปในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1853

ด้วยความกลัวว่าออตโตมันถึงคราวล่มสลาย กองเรือบริติชและฝรั่งเศสได้เข้าสู่ทะเลดำในเดือนมกราคม ค.ศ. 1854 พวกเขามุ่งทางเหนือสู่วาร์นาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1854 และมาถึงทันเวลาที่รัสเซียจะละทิ้งซิลิสตรา ในทะเลบอลติก ใกล้กับเมืองหลวงของรัสเซียอย่างเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก กองเรืออังกฤษ-ฝรั่งเศสได้จัดตั้งการปิดล้อมทางทะเลและปิดกั้นกองเรือบอลติกของรัสเซียที่มีจำนวนมากกว่า ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียโดยการปิดกั้นการค้า ในขณะเดียวกันยังได้บีบบังคับให้รัสเซียเก็บกองทัพขนาดใหญ่ไว้เพื่อพิทักษ์เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กจากการโจมตีของฝ่ายสัมพันธมิตรที่อาจเป็นไปได้

ภายหลังจากการสู้รบปะทะเล็กน้อยที่ Kustenge (กอนสตันซาในปัจจุบัน) ผู้บัญชาการฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตัดสินใจในการโจมตีฐานทัพเรือหลักของรัสเซียในทะเลดำ เซวัสโตปอลในไครเมีย ภายหลังจากการเตรียมการที่ยืดยาวออกไป กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรได้ยกพลขึ้นบกที่คาบสมุทรในเดือนกันยายน ค.ศ. 1854 และเคลื่อนทัพไปยังจุดทางใต้ของเซวัสโตปอล ภายหลังจากพวกเขาได้รับชัยชนะในยุทธการที่แม่น้ำอัลมา เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1854 รัสเซียได้ตอบโต้กลับ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ในสิ่งที่กลายเป็นยุทธการที่บาลาคลาวาและถูกขับไล่ แต่กองกำลังของกองทัพอังกฤษได้หมดกำลังอย่างร้ายแรงจากผลที่ตามมา การตอบโต้กลับของรัสเซียครั้งที่สองที่อิงเกอร์แมน (เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1854) จบลงในภาวะจนมุมเช่นกัน

ใน ค.ศ. 1855 ราชอาณาจักรซาร์ดิเนียของอิตาลีได้ส่งกองกำลังรบนอกประเทศไปยังไครเมีย เข้าข้างกับฝรั่งเศส บริติชและจักรวรรดิออตโตมัน แนวหน้าตั้งอยู่ที่การล้อมเซวัสโตปอล เกี่ยวข้องกับสภาพที่โหดร้ายสำหรับกองทหารทั้งสองฝ่าย ปฏิบัติการทางทหารขนาดเล็กเกิดขึ้นในคอเคซัส(ค.ศ. 1853-1855) ทะเลขาว (เดือนกรกฏาคม-สิงหาคม ค.ศ. 1854) และแปซิฟิกเหนือ (ค.ศ. 1854-1855)

เซวัสโตปอลถูกตีแตกในที่สุดหลังสิบเอ็ดเดือน ภายหลังจากฝรั่งเศสได้เข้าโจมตีป้อมมาลาคอฟฟ์ ด้วยความโดดเดี่ยวและเผชิญหน้ากับการคาดการณ์อันมืดมัวของการบุกครองโดยตะวันตกหากสงครามดำเนินต่อไป รัสเซียได้ร้องขอสันติภาพในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1856 ฝรั่งเศสและบริเตนได้ยินดีกับสถานการณ์ เนื่องจากความขัดแย้งของประเทศของตนไม่เป็นที่นิยม สนธิสัญญาปารีส ได้ถูกลงนาม เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1856 ซึ่งเป็นอันสิ้นสุดสงคราม มันเป็นการสั่งห้ามรัสเซียตั้งฐานทัพเรือในทะเลดำ รัฐประเทศราชของออตโตมันแห่งวอลเลเกียและมอลดาเวียได้รับอิสรภาพอย่างมากมาย ชาวคริสเตียนในจักรวรรดิออตโตมันได้รับฐานะที่เสมอภาคอย่างเป็นทางการ และคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ได้เข้าควบคุมคริสจักรคริสเตียนในข้อพิพาทอีกครั้ง

สงครามไครเมียเป็นหนึ่งในความขัดแย้งครั้งแรกที่กองกำลังทหารใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น กระสุนระเบิดปืนใหญ่ของกองทัพเรือ ทางรถไฟ และโทรเลข สงครามไครเมียเป็นหนึ่งในสงครามครั้งแรก ๆ ที่มีการบันทึกอย่างกว้างขวาง ทั้งเป็นลายลักษณ์อักษรและภาพถ่าย สงครามกลายเป็นสัญลักษณ์ของความล้มเหลวทางด้านโลจิสติกส์ การแพทย์ และยุทธวิธีอย่างรวดเร็ว และการจัดการที่ไม่ดี การตอบสนองในบริเตนได้นำไปสู่ความต้องการวิชาชีพด้านการแพทย์ ความสำเร็จที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ผู้ซึ่งได้รับความสนใจจากทั่วโลกในการบุกเบิกพยาบาลศาสตร์สมัยใหม่ในขณะที่เธอรักษาผู้บาดเจ็บ

สงครามไครเมียได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนอย่างชัดเจนสำหรับจักรวรรดิรัสเซีย สงครามทำให้กองทัพบกจักรวรรดิรัสเซียอ่อนแอ ทำให้ท้องพระคลังหมดลงและทำลายอิทธิพลในยุโรปของรัสเซีย จักรวรรดิจะต้องใช้เวลาสิบปีในการฟื้นฟู ความอัปยศอดสูของรัสเซียได้บีบบังคับให้ชนชั้นสูงที่มีการศึกษาต้องบ่งบอกปัญหาและตระหนักถึงความจำเป็นในการปฏิรูปขั้นพื้นฐาน พวกเขาเห็นว่าการปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างรวดเร็วเป็นหนทางเดียวในการกอบกู้สถานะของจักรวรรดิในฐานะมหาอำนาจของยุโรป สงครามจึงกลายเป็นตัวกระตุ้นสำหรับการปฏิรูปสถาบันทางสังคมของรัสเซีย รวมทั้งการยกเลิกทาสติดที่ดินและปรับปรุงระบบยุติธรรม การปกครองตนเองในท้องถิ่น การศึกษา และการรับราชการทหาร

หมายเหตุ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ตั้งแต่ ค.ศ. 1854
  2. ตั้งแต่ ค.ศ. 1855
  3. จนถึง ค.ศ. 1855
  4. จนถึง ค.ศ. 1854

อ้างอิง

[แก้]
  1. Badem 2010, p. 180.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 Clodfelter 2017, p. 180.
  3. Mara Kozelsky, "The Crimean War, 1853–56." Kritika: Explorations in Russian and Eurasian History 13.4 (2012): 903–917 online.

ข้อมูล

[แก้]
  • Badem, Candan (2010). The Ottoman Crimean War (1853–1856). Leiden: Brill. ISBN 978-90-04-18205-9.
  • Clodfelter, M. (2017). Warfare and Armed Conflicts: A Statistical Encyclopedia of Casualty and Other Figures, 1492-2015 (4th ed.). Jefferson, North Carolina: McFarland. ISBN 978-0786474707.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Crimean War