ข้ามไปเนื้อหา

รหัสมอร์ส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Morse Code)
แผนผังอักษรและตัวเลขรหัสมอร์ส[1]

รหัสมอร์ส (อังกฤษ: Morse code) เป็นวิธีการส่งข้อความเป็นชุดสัญญาณเสียง, ไฟ หรือเสียงเคาะ และจะมีลักษณะเป็นขีด และจุด เป็นภาษาที่ใช้กันได้ทั่วโลก สามารถเทียบเคียงเสียงอักษรได้ เริ่มแรกรหัสนี้เริ่มต้นขึ้นในราวกลาง ค.ศ. 1830 โดย ซามูเอล เอฟ. บี. มอร์ส (Samuel F. B. Morse) และ อัลเฟรต เวล (Alfred Vail) ได้คิดค้นเครื่องส่งโทรเลขโดยใช้กระแสไฟฟ้าควบคุมสนามแม่เหล็กของเครื่องรับปลายทางผ่านทางสายส่งสัญญาณ แต่ไม่ค่อยนิยม เนื่องจากมีโอกาสผิดพลาดสูง

รหัสมอร์สในปัจจุบัน

[แก้]

ปัจจุบันยังมีการใช้งานรหัสมอร์สอย่างมากในวงการวิทยุสมัครเล่น การติดต่อบางรูปแบบรหัสมอร์สยังสามารถใช้งานได้ดีที่สุด เช่นการติดต่อ สะท้อนออโรรา เป็นต้น ข้อดีอีกประการของการติดต่อแบบรหัสมอร์สผ่านวิทยุสื่อสารคือ ใช้แถบความถี่น้อยมากเมื่อเทียบกับการสื่อสารระบบอื่น ๆ เป็นการประหยัดความถี่ สามารถใช้งานพร้อม ๆ กันได้โดยไม่มีการรบกวนกัน

ต้นไม้ทวิภาครหัสมอร์สสากล: ไปทางซ้ายแทนจุด และไปทางขวาแทนขีด จนกว่าจะถึงตัวอักษรที่แสดง

รหัสมอร์สมาตรฐานสากล

[แก้]

ตัวอักษรและตัวเลข

[แก้]
ตัวอักษร รหัสมอร์ส ตัวอักษร รหัสมอร์ส ตัวอักษร รหัสมอร์ส ตัวอักษร รหัสมอร์ส
A ·– J ·– – – S ··· 1 ·– – – –
B –··· K –·– T 2 ··– – –
C –·–· L ·–·· U ··– 3 ···– –
D –·· M – – V ···– 4 ····–
E · N –· W ·– – 5 ·····
F ··–· O – – – X –··– 6 –····
G – –· P ·– –· Y –·– – 7 – –···
H ···· Q – –·– Z – –·· 8 – – –··
I ·· R ·–· – – – – – 9 – – – –·

เครื่องหมาย

[แก้]
เครื่องหมาย รหัสมอร์ส เครื่องหมาย รหัสมอร์ส
มหัพภาค [.] ·–·–·– ทวิภาค [:] – – –···
จุลภาค [,] – –··– – อัฒภาค [;] –·–·–·
ปรัศนี [?] ··– –·· เสมอภาค [ = ] –···–
ฝนทอง ['] ·– – – –· เส้นแบ่งเศษส่วน –··–·
อัศเจรีย์ [!] –·–·– – ยัติภังค์ [-] –····–
ทับ [/] –··–· ขีดล่าง [_] ··– – ·–
วงเล็บเปิด [(] –·– –· อัญประกาศ ["] ·–··–·
วงเล็บปิด [)] –·– –·– เครื่องหมายดอลลาร์ [$] ···–··–
เครื่องหมายและ [&] ·–···[2] เครื่องหมาย At [@][3] ·– –·–·

รหัสมอร์สภาษาไทย

[แก้]

รหัสสัญญาณมอร์สภาษาไทย เกิดขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อแรกเริ่มกิจการโทรเลขในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยใช้วิธีการรับส่งโทรเลขด้วยรหัสสัญญาณมอร์สสากล อักษรโรมัน ข้อความที่ใช้ในการส่งโทรเลขจึงต้องเขียนด้วยภาษาอังกฤษเท่านั้น หากต้องการส่งข้อความเป็นภาษาไทย ก็ต้องแปลข้อความนั้นเป็นภาษาอังกฤษก่อน แล้วส่งไปเป็นตัวอักษรโรมัน หรือเขียนเป็นข้อความภาษาไทยด้วยตัวอักษรโรมัน ซึ่งวิธีดังกล่าวทำให้ล่าช้า และอาจคลาดเคลื่อนได้ง่าย

กรมไปรษณีย์โทรเลข จึงเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องใช้รหัสสัญญาณมอร์สภาษาไทย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน อีกทั้งทหารกับกรมรถไฟหลวง ก็จำเป็นต้องใช้รหัสสัญญาณโทรเลขแบบเดียวกัน จึงได้ตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ฝ่ายกลาโหม ฝ่ายกรมรถไฟหลวง และฝ่ายกรมไปรษณีย์โทรเลข เพื่อพิจารณาจัดทำรหัสสัญญาณมอร์สภาษาไทย กระทั่งสำเร็จและประกาศใช้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

การจัดทำรหัสสัญญาณมอร์สภาษาไทยนั้น คณะกรรมการได้อาศัยรหัสสัญญาณมอร์สสากลเป็นหลัก โดยเพิ่มเติมรหัสสัญญาณให้มากขึ้น เนื่องจากภาษาไทยมีจำนวนตัวพยัญชนะและสระมากกว่าตัวอักษรโรมันในภาษาอังกฤษ รหัสสัญญาณมอร์สภาษาไทยจึงมีพยัญชนะ 30 ตัว สระและวรรณยุกต์ 21 ตัว ทั้งนี้ คณะกรรมการมิได้กำหนดรหัสสัญญาณประจำทุกตัวพยัญชนะและสระในภาษาไทย เพราะหากพยัญชนะหรือสระตัวใดมีเสียงเหมือนกัน เช่น ค – ฆ , ด – ฎ , ส – ศ – ษ , ท – ธ – ฑ – ฒ , สระ ไ - ไ ก็จะกำหนดให้ใช้สัญญาณเดียวกัน ส่วนตัวเลขและเครื่องหมายวรรคตอน ยังคงใช้อย่างรหัสสัญญาณมอร์สสากล

กิจการโทรเลขของไทย ได้มีระบบวิธีการรับส่งด้วยรหัสสัญญาณมอร์สภาษาไทยที่ครบถ้วนสมบูรณ์เป็นครั้งแรก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ช่วยให้หน่วยงานราชการ และประชาชน สามารถติดต่อสื่อสารด้วยโทรคมนาคมสมัยใหม่ได้อย่างสะดวกรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น

พยัญชนะ

[แก้]

โปรดสังเกตว่ารหัสมอร์สอักษรไทยบางตัวตรงกับอักษรโรมัน โดยเฉพาะอักษรที่อ่านออกเสียงอย่างเดียวกัน เช่น M กับ ม หรือ N กับ น เป็นต้น

ตัวอักษร รหัสมอร์ส สากล ตัวอักษร รหัสมอร์ส สากล ตัวอักษร รหัสมอร์ส สากล ตัวอักษร รหัสมอร์ส สากล
--. g ขฃ -.-. c คฅฆ -.- k -.--. n+g
-..-. x. ---- ch ชฌ -..- x .--- j
ตัวอักษร รหัสมอร์ส สากล ศษส s --.. z
ฎด -.. d ฏต - t ฐถ -.-.. t.-.. ฑฒทธ -..-- t..-- ณน -. n
-… b .--. p --.- q พภ .--.. p. -- m
-.-.- ..-. f
-.-- y .-. r ฤ ฤๅ .-.-- r-- ลฬ .-.. l .-- w
…. h -…- = --.-- q-

สระ

[แก้]
สระ รหัสมอร์ส สากล สระ รหัสมอร์ส สากล สระ รหัสมอร์ส สากล สระ รหัสมอร์ส สากล
◌ะ .-... & ◌า .- a ◌ิ ..-.. é ◌ี .. i
◌ึ ..--. ü. ◌ื ..-- ü ◌ุ ..-.- u.- ◌ู ---. ö
เ◌ . e แ◌ .-.- ä โ◌ --- o ไ◌ใ◌ .-..- è
◌ั .--.- à ◌็ ---.. 8 ◌ำ ...-.

วรรณยุกต์

[แก้]
ตัวอักษร รหัสมอร์ส สากล
◌่ ..- u
◌้ ...- v
◌๊ --... 7
◌๋ .-.-. +

เครื่องหมาย

[แก้]
ตัวอักษร รหัสมอร์ส
◌์ --..-
-.---
" " .-..-.
( ) -.--.-
--.-.
ฯลฯ ---.-

รหัสมอร์สญี่ปุ่น

[แก้]

รหัสมอร์สสำหรับตัวอักษรญี่ปุ่นเรียกว่า 和文モールス符号(วาบุนโมรุซุฟุโก) เมื่อต้องใช้ร่วมกับรหัสมอร์สสากล ให้ใช้ DO  ▄▄▄ ▄ ▄ ▄▄▄ ▄▄▄ ▄▄▄  เพื่อบอกเริ่มรหัสวาบุน และใช้ SN  ▄ ▄ ▄ ▄▄▄ ▄  เพื่อกลับไปรหัสมอร์สสากล

มอรา รหัส ละติน มอรา รหัส ละติน มอรา รหัส ละติน มอรา รหัส ละติน
い อิ   ▄ ▄▄▄  A わ วะ   ▄▄▄ ▄ ▄▄▄  K ゐ วิ   ▄ ▄▄▄ ▄ ▄ ▄▄▄  Ł さ สะ   ▄▄▄ ▄ ▄▄▄ ▄ ▄▄▄ 
ろ โระ   ▄ ▄▄▄ ▄ ▄▄▄  Ä か กะ   ▄ ▄▄▄ ▄ ▄  L の โนะ   ▄ ▄ ▄▄▄ ▄▄▄  Ü き กิ   ▄▄▄ ▄ ▄▄▄ ▄ ▄  Ç
は ฮะ   ▄▄▄ ▄ ▄ ▄  B よ โยะ   ▄▄▄ ▄▄▄  M お โอะ   ▄ ▄▄▄ ▄ ▄ ▄  & ゆ ยุ   ▄▄▄ ▄ ▄ ▄▄▄ ▄▄▄ 
に นิ   ▄▄▄ ▄ ▄▄▄ ▄  C た ตะ   ▄▄▄ ▄  N く กุ   ▄ ▄ ▄ ▄▄▄  V め เมะ   ▄▄▄ ▄ ▄ ▄ ▄▄▄  =
ほ โฮะ   ▄▄▄ ▄ ▄  D れ เระ   ▄▄▄ ▄▄▄ ▄▄▄  O や ยะ   ▄ ▄▄▄ ▄▄▄  W み มิ   ▄ ▄ ▄▄▄ ▄ ▄▄▄ 
へ เฮะ   ▄  E そ โซะ   ▄▄▄ ▄▄▄ ▄▄▄ ▄  Ö ま มะ   ▄▄▄ ▄ ▄ ▄▄▄  X し ฌิ   ▄▄▄ ▄▄▄ ▄ ▄▄▄ ▄  Ĝ
と โตะ   ▄ ▄ ▄▄▄ ▄ ▄  É つ สึ   ▄ ▄▄▄ ▄▄▄ ▄  P け ke   ▄▄▄ ▄ ▄▄▄ ▄▄▄  Y ゑ เวะ   ▄ ▄▄▄ ▄▄▄ ▄ ▄  Þ
ち ชิ   ▄ ▄ ▄▄▄ ▄  F ね เนะ   ▄▄▄ ▄▄▄ ▄ ▄▄▄  Q ふ fu   ▄▄▄ ▄▄▄ ▄ ▄  Z ひ hi   ▄▄▄ ▄▄▄ ▄ ▄ ▄▄▄  Ż
り ริ   ▄▄▄ ▄▄▄ ▄  G な นะ   ▄ ▄▄▄ ▄  R こ โกะ   ▄▄▄ ▄▄▄ ▄▄▄ ▄▄▄  Š も mo   ▄▄▄ ▄ ▄ ▄▄▄ ▄  /
ぬ นุ   ▄ ▄ ▄ ▄  H ら ระ   ▄ ▄ ▄  S え เอะ   ▄▄▄ ▄ ▄▄▄ ▄▄▄ ▄▄▄  せ se   ▄ ▄▄▄ ▄▄▄ ▄▄▄ ▄  Ĵ
る รุ   ▄▄▄ ▄ ▄▄▄ ▄▄▄ ▄  ( む มุ   ▄▄▄  T て เตะ   ▄ ▄▄▄ ▄ ▄▄▄ ▄▄▄  す สุ   ▄▄▄ ▄▄▄ ▄▄▄ ▄ ▄▄▄ 
を โวะ   ▄ ▄▄▄ ▄▄▄ ▄▄▄  J う อุ   ▄ ▄ ▄▄▄  U あ อะ   ▄▄▄ ▄▄▄ ▄ ▄▄▄ ▄▄▄  Ñ ん ง   ▄ ▄▄▄ ▄ ▄▄▄ ▄  +
อักษร รหัส ละติน
ดะกุเต็น ◌゛   ▄ ▄  I
ฮันดะกุเต็น ◌゜   ▄ ▄ ▄▄▄ ▄▄▄ ▄  Ð
โชองปุ   ▄ ▄▄▄ ▄▄▄ ▄ ▄▄▄  Å
จุลภาค 、   ▄ ▄▄▄ ▄ ▄▄▄ ▄ ▄▄▄  .
มหัพภาค 。   ▄ ▄▄▄ ▄ ▄▄▄ ▄ ▄ 
วงเล็บเปิด(   ▄▄▄ ▄ ▄▄▄ ▄▄▄ ▄ ▄▄▄  )
วงเล็บปิด )   ▄ ▄▄▄ ▄ ▄ ▄▄▄ ▄  "

อ้างอิง

[แก้]
  1. "International Morse code Recommendation ITU-R M.1677-1". itu.int. Internationals Telecommunication Union. ตุลาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2011.
  2. เดิมเครื่องหมายและ [&] จะใช้รหัสว่า · ··· ซึ่งจะมีการเว้นช่วงภายในที่ยาวกว่าปกติ โดยถูกกำหนดไว้ใน รหัสมอร์สอเมริกัน
  3. เครื่องหมาย At [@] ถูกกำหนดเพิ่มเข้ามาในปี ค.ศ. 2004 โดยรวมเอาอักษร A และ C เข้าไว้ด้วยกัน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]