ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง
ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง | |
---|---|
1939–1945 | |
พี่ใหญ่ทั้งสาม (The Big Three):
ประเทศที่ถูกยึดครองและตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น:
รัฐพันธมิตรอื่น ๆ:
อดีตอักษะหรือชาติที่มีอริร่วม
| |
สถานะ | พันธมิตรทางการทหาร |
ยุคประวัติศาสตร์ | สงครามโลกครั้งที่สอง |
ก.พ. 1921 | |
ส.ค. 1939 | |
ก.ย. 1939 – มิ.ย. 1940 | |
มิ.ย. 1941 | |
ก.ค. 1941 | |
ส.ค. 1941 | |
ม.ค. 1942 | |
พ.ค. 1942 | |
พ.ย–ธ.ค. 1943 | |
1–15 ก.ค. 1944 | |
4–11 ก.พ. 1945 | |
เม.ย.–มิ.ย. 1945 | |
ก.ค.–ส.ค. 1945 |
| ||
ผู้นำหลักสุดท้ายของฝ่ายสัมพันธมิตร: เคลเมนต์ แอตต์ลี (สหราชอาณาจักร), แฮร์รี เอส. ทรูแมน (สหรัฐ), โจเซฟ สตาลิน (สหภาพโซเวียต), เจียง ไคเชก (จีน) และชาร์ล เดอ โกล (ฝรั่งเศส) |
ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง (อังกฤษ: Allies; ฝรั่งเศส: Alliés; รัสเซีย: Союзники, Soyuzniki; จีน: 同盟國, Tóngméngguó) เป็นกลุ่มประเทศที่ต่อสู้กับฝ่ายอักษะช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ามาพัวพันในสงครามโลกครั้งที่สองเพราะประเทศเหล่านี้ถูกรุกรานก่อน ถูกคุกคามโดยตรงจากการรุกรานของฝ่ายอักษะหรือเพราะประเทศเหล่านี้กังวลว่าฝ่ายอักษะจะควบคุมโลกอย่างใดอย่างหนึ่ง[1]
แนวร่วมต่อสู้เยอรมนีช่วงสงครามเริ่มต้น (1 กันยายน ค.ศ. 1939) ประกอบด้วยฝรั่งเศส โปแลนด์ สหราชอาณาจักร ชาติเครือจักรภพอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพแอฟริกาใต้ (กำลังสหภาพแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่สู้รบภายใต้การบัญชาของเครือจักรภพแม้จะเป็นชาติอธิปไตยนับแต่ ค.ศ. 1931)[2] หลัง ค.ศ. 1941 ผู้นำสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพอังกฤษ, สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ซึ่งรู้จักกันในชื่อ "สามผู้ยิ่งใหญ่"[3] ถือความเป็นผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตร ในขณะนั้น จีนเองก็เป็นฝ่ายสัมพันธมิตรหลักเช่นกัน[4] ฝ่ายสัมพันธมิตรอื่นมีเบลเยียม บราซิล เชโกสโลวาเกีย เอธิโอเปีย กรีซ อินเดีย เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์และยูโกสลาเวีย[5]
ระหว่างเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 ประธานาธิบดีสหรัฐ แฟรงกลิน โรสเวลต์ เสนอชื่อ "สหประชาชาติ" สำหรับฝ่ายสัมพันธมิตร เขาเรียกผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสามและจีนว่า "หน้าที่พิทักษ์ของผู้ทรงพลัง" (trusteeship of the powerful) และภายหลังเรียกว่า "สี่ตำรวจ"[6] ปฏิญญาสหประชาชาติวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 เป็นรากฐานของสหประชาชาติสมัยใหม่[7] ที่การประชุมพอตสดัม เมื่อเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ค.ศ. 1945 ผู้สืบทอดของโรสเวลต์ แฮร์รี เอส. ทรูแมน เสนอว่ารัฐมนตรีต่างประเทศของจีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา "ควรร่างสนธิสัญญาสันติภาพและการตกลงเขตแดนของยุโรป" ซึ่งนำไปสู่สภารัฐมนตรีต่างประเทศ[8]
การเข้าร่วมของประเทศสมาชิก
[แก้]ตามช่วงเวลาการบุกครองโปแลนด์
[แก้]ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ การบุกครองโปแลนด์
- กันยายน 1939
- โปแลนด์: 1 กันยายน 1939
- ออสเตรเลีย: 3 กันยายน 1939
- ฝรั่งเศส: 3 กันยายน 1939 รวมไปถึง:
- นิวซีแลนด์: 3 กันยายน 1939
- จักรวรรดิอังกฤษ: 3 กันยายน 1939
- บริติชราช: 3 กันยายน 1939
- สหภาพแอฟริกาใต้: 6 กันยายน 1939
- แคนาดา: 10 กันยายน 1939
- เมษายน 1940
- เดนมาร์ก: 9 เมษายน 1940 (วางตัวเป็นกลางในสงครามโลกครั้งที่สองจนกระทั่ง 29 สิงหาคม 1943)
- นอร์เวย์: 9 เมษายน 1940 (แต่ยังไม่มีความร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตรจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1941)
ระหว่างและหลังสงครามลวง
[แก้]ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ สงครามลวง
- เบลเยียม: 10 พฤษภาคม 1940, รวมไปถึง:
- ลักเซมเบิร์ก: 10 พฤษภาคม 1940
- เนเธอร์แลนด์: 10 พฤษภาคม 1940, รวมไปถึง:
- กรีซ: 28 ตุลาคม 1940
- ยูโกสลาเวีย : 6 เมษายน 1941
หลังจากการรุกรานสหภาพโซเวียต
[แก้]ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ ปฏิบัติการบาร์บารอสซา
- สหภาพโซเวียต: 22 มิถุนายน 1941
หลังจากการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์
[แก้]ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์
- ปานามา: 7 ธันวาคม 1941
- สหรัฐ: 8 ธันวาคม 1941
- เครือรัฐฟิลิปปินส์: 9 ธันวาคม 1941
- คอสตาริกา: 8 ธันวาคม 1941
- สาธารณรัฐโดมินิกัน: 8 ธันวาคม 1941
- เอลซัลวาดอร์: 8 ธันวาคม 1941
- เฮติ: 8 ธันวาคม 1941
- ฮอนดูรัส: 8 ธันวาคม1941
- นิการากัว: 8 ธันวาคม1941
- สาธารณรัฐจีน : 9 ธันวาคม 1941 (ทำสงครามกับจักรวรรดิญี่ปุ่นมาตั้งแต่ ค.ศ. 1937)
- คิวบา: 9 ธันวาคม 1941
- กัวเตมาลา: 9 ธันวาคม 1941
- เสรีเช็ก: 16 ธันวาคม 1941[9]
หลังจากประกาศก่อตั้งสหประชาชาติ
[แก้]ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ ปฏิญญาก่อตั้งสหประชาชาติ
- เม็กซิโก: 22 พฤษภาคม 1942
- บราซิล: 22 สิงหาคม 1942
- เอธิโอเปีย: 14 ธันวาคม 1942 (ก่อนหน้านั้นอยู่ภายใต้การยึดครองของ อิตาลี)
- โบลิเวีย: 7 เมษายน 1943
- โคลอมเบีย: 26 กรกฎาคม 1943
- อิหร่าน: 9 กันยายน 1943 (ถูกยึกครองโดยกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรตั้งแต่ปี ค.ศ. 1941)
- ไลบีเรีย: 27 มกราคม 1944
- เปรู: 12 กุมภาพันธ์ 1944
หลังจากปฏิบัติการบากราติออนและวันดีเดย์
[แก้]ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ ปฏิบัติการบากราติออน และ ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด
- เอกวาดอร์: 2 กุมภาพันธ์ 1945 (แต่ว่าเคยให้ความช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตรมาแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1943 ในการป้องกัน หมู่เกาะกาลาปาโกส)
- ปารากวัย: 7 กุมภาพันธ์ 1945
- อุรุกวัย: 15 กุมภาพันธ์ 1945
- เวเนซุเอลา: 15 กุมภาพันธ์ 1945
- ไทย: 20 กุมภาพันธ์ 1944
- ตุรกี: 23 กุมภาพันธ์ 1945
- อียิปต์: 27 กุมภาพันธ์ 1945
- เลบานอน: 27 กุมภาพันธ์ 1945
- ซีเรีย: 27 กุมภาพันธ์ 1945
- ซาอุดีอาระเบีย: 1 มีนาคม 1945
- อาร์เจนตินา: 27 มีนาคม 1945
- ชิลี: 11 เมษายน 1945
ประวัติ
[แก้]ฝ่ายสัมพันธมิตรดั้งเดิม
[แก้]ประเทศสัมพันธมิตรดั้งเดิม คือ กลุ่มประเทศที่ประกาศสงครามต่อนาซีเยอรมนี ในช่วงการบุกครองในปี 1939 อันประกอบด้วย
ซึ่งกลุ่มประเทศเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันจากเครือข่ายสนธิสัญญาป้องกันร่วมกัน และสนธิสัญญาในความร่วมมือพันธมิตรทางการทหารก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนความร่วมมือกันระหว่างสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสสามารถย้อนไปได้ถึง ความเข้าใจระหว่างอังกฤษ-ฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1904 และฝ่ายไตรภาคี ในปี ค.ศ. 1907 และดำเนินการร่วมกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่วนพันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์ได้รับการลงนาม ในปีค.ศ. 1921 ซึ่งได้รับการแก้ไขในปี ค.ศ. 1927 และอีกครั้งในปี ค.ศ. 1939 ส่วนพันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์ ได้รับการลงนามในวันที่ 25 สิงหาคม 1939 ซึ่งประกอบไปด้วยสัญญาในการให้ความร่วมมือทางการทหารร่วมกันระหว่างชาติในกรณีถูกรุกรานโดยนาซีเยอรมนี
ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก
[แก้]ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีได้เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสประกาศสงครามต่อเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน ในวันเดียวกัน ประเทศเครือจักรภพประกาศสงครามเข้ากับสหราชอาณาจักรด้วยเช่นกัน ต่อมาประเทศบางส่วนในยุโรปตะวันตกได้เข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรหลังจากถูกกองทัพเยอรมันเข้ามารุกราน ได้แก่ เดนมาร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และลักเซมเบิร์ก
ในวันที่ 17 กันยายน สหภาพโซเวียตบุกครองโปแลนด์ทางทิศตะวันออก ต่อมา ในวันที่ 30 กันยายน สหภาพโซเวียตโจมตีฟินแลนด์ ภายในปีต่อมา สหภาพโซเวียตได้ผนวกเอาดินแดนของรัฐบอลติก ซึ่งประกอบด้วยเอสโตเนีย ลัตเวียและลิทัวเนีย ต่อมาสนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนี-โซเวียตยุติลงภายหลังจากการรุกรานสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี ในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 จึงได้เข้าร่วมฝ่ายกับสัมพันธมิตรและทำการต่อสู้ในแนวรบตะวันออก
ส่วนสหรัฐได้ตั้งอยู่ในสถานะความเป็นกลางไม่ยุ่งกับสงครามแต่คอยช่วยเหลือสนับสนุนสัมพันธมิตรและสหภาพโซเวียตด้วยการให้ทรัพยากรต่าง ๆ และอาวุธยุโธปกณ์ต่าง ๆ แต่หลังจากการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ของจักรวรรดิญี่ปุ่นทำให้อเมริกาตัดสินใจเข้าร่วมสงคราม เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ต่อมาปฏิญญาแห่งสหประชาชาติในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกร่วมลงนามจำนวน 26 ประเทศ ถือได้ว่าเป็นประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม ประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรจำนวน 3 ประเทศ สหราชอาณาจักร สหรัฐและสหภาพโซเวียตถือได้ว่าเป็น ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสาม อย่างไม่เป็นทางการ
ประเทศสมาชิกหลัก
[แก้]สหราชอาณาจักร
[แก้]สหราชอาณาจักรได้เข้าร่วมสงครามเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรหลังจากที่เยอรมนีบุกโปแลนด์ในปี ค.ศ. 1939 ซึ่งสหราชอาณาจักรเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรเพียงไม่กี่ประเทศในยุโรปที่รอดพ้นจากการถูกเยอรมนียึดครองจนสิ้นสุดสงคราม
-
British Supermarine Spitfire fighter aircraft (bottom) flying past a German Heinkel He 111 bomber aircraft (top) during the Battle of Britain (1940)
-
British Crusader tanks during the North African Campaign
-
British aircraft carrier HMS Ark Royal under attack from Italian aircraft during the Battle of Cape Spartivento (Nov. 27, 1940)
-
British soldiers of the King's Own Yorkshire Light Infantry in Elst, Netherlands on 2 March 1945]]
สหรัฐ
[แก้]สหรัฐได้วางตัวเป็นกลาง แต่ก็ส่งเสบียงให้กับฝ่ายสัมพันธมิตร จนกระทั่งถูกญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล สหรัฐจึงเข้าร่วมสงครามเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรในปี ค.ศ. 1941 โดยทำสงครามต่อญี่ปุ่นและเยอรมนีจนสิ้นสุดสงคราม
-
Yorktown is hit on the port side, amidships, by a Japanese Type 91 aerial torpedo during the mid-afternoon attack by planes from the carrier Hiryu.
-
American Douglas SBD Dauntless dive-bomber aircraft attacking the Japanese cruiser Mikuma during the Battle of Midway in June 1942
-
American Marines during the Guadalcanal Campaign in November 1942
-
American Consolidated B-24 Liberator bomber aircraft during the bombing of oil refineries in Ploiești, Romania on 1 August 1943 during Operation Tidal Wave
-
American soldiers depart landing craft during the Normandy landings on 6 June 1944 known as D-Day, in the Battle of Normandy.
-
M4 Sherman Medium tank
สหภาพโซเวียต
[แก้]สหภาพโซเวียตได้ร่วมมือกับนาซีเยอรมันในเรื่องการบุกเข้ายึดประเทศโปแลนด์ในปี ค.ศ. 1939 โดยนาซีเยอรมันจะบุกจากทางตะวันตก ส่วนสหภาพโซเวียตบุกมาทางด้านตะวันออก ทำให้ประเทศโปแลนด์ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนโดยนาซีเยอรมันครอบครองโปแลนด์ทางตะวันตก ส่วนสหภาพโซเวียตครอบครองโปแลนด์ทางตะวันออก ต่อมาทั้งสองประเทศได้ทำสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพคือ การไม่รุกรานกัน เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 1939 เพื่อหลังจากยึดโปแลนด์แล้ว นาซีเยอรมันก็จะทำสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรที่แนวรบตะวันตกได้เต็มที่โดยโซเวียตไม่ยุ่งเกี่ยวด้วย แต่ทว่านาซีเยอรมันกลับฉีกสันธิสัญญาฉบับนี้ไป เมื่อส่งกองทัพบุกโจมตีสหภาพโซเวียตในปฏิบัติการบาร์บารอสซา โซเวียตจึงได้เปลี่ยนฝ่ายเป็นสัมพันธมิตร
-
Soviet soldiers and T-34 tanks advance in skirmish near Bryansk in 1942.
-
Soviet soldiers fighting in the ruins of Stalingrad during the Battle of Stalingrad
-
Soviet Il-2 ground attack aircraft attacking German ground forces during the Battle of Kursk (1943)
จีน
[แก้]ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 รัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋งนำโดยจอมทัพเจียง ไคเช็คซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต และยังได้มีการช่วยเหลือการปรับปรุงภายในพรรคในเป็นไปตามแนวคิดลัทธิเลนิน อันประกอบด้วยการผสมกันอย่างลงตัวระหว่างพรรค รัฐและกองทัพ อย่างไรก็ตาม หลังจากการประกาศรวมชาติเมื่อปี ค.ศ. 1928 เจียง ไคเช็คได้กวาดล้างเอานักการเมืองหัวเอียงซ้ายออกจากพรรคและต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ขุนศึกในอดีตและฝ่ายอื่น ๆ ประเทศจีนในเวลานั้นมีความขัดแย้งกันและเปิดโอกาสให้ญี่ปุ่นกลืนกินดินแดนทีละน้อยโดยไม่สูญเสียกำลังทหารมากนัก จากเหตุการณ์กรณีมุกเดนในปี ค.ศ. 1931 นำไปสู่การจัดตั้งแมนจูกัว แต่รัฐบาลจีนยังคงมุ่งความสนใจไปยังการกำจัดพรรคคอมมิวนิสต์และขุนศึกต่อไป โดยแบ่งกองทัพเพียงส่วนน้อยมาทำการรบเพื่อต้านทานกองทัพญี่ปุ่น
ในช่วงต้นของคริสต์ทศวรรษ 1930 เยอรมนีและจีนได้ให้ความร่วมมือระหว่างกันทางทหารและอุตสาหกรรม โดยนาซีเยอรมนีได้กลายมาเป็นคู่ค้าอาวุธและวิทยาการรายใหญ่ของจีน หลังจากเหตุการณ์สะพานมาร์โค โปโล เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 จีนและญี่ปุ่นจึงเข้าสู่การทำสงครามเบ็ดเสร็จ ซึ่งดำเนินต่อไปจนกระทั่งยุติลงในปี ค.ศ. 1945 สหภาพโซเวียตต้องการให้จีนต่อสู้กับญี่ปุ่น จึงให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่จีนจนถึงปี ค.ศ. 1941 หลังจากการลงนามในสนธิสัญญาความเป็นกลางญี่ปุ่น เพื่อเตรียมตัวทำสงครามกับเยอรมนีในแนวรบด้านตะวันออก
ถึงแม้ว่าจีนจะเป็นประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรที่ทำการรบเป็นเวลายาวนานที่สุด แต่จีนได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเป็นทางการภายหลังการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ โดยจอมทัพเจียง ไคเช็คมีความเชื่อมั่นว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะสามารถชนะสงครามได้หลังจากการเข้าสู่สงครามของสหรัฐ
-
Soldiers of the National Revolutionary Army associated with Nationalist China, during the Second Sino-Japanese War
-
Victorious Chinese Communist soldiers holding the flag of the Republic of China during the Hundred Regiments Offensive
ฝรั่งเศส
[แก้]ฝรั่งเศสมีส่วนร่วมกับการรบในแนวรบด้านตะวันตก นับตั้งแต่สงครามลวง และยุทธการฝรั่งเศส หลังจากความพ่ายแพ้ต่อกองทัพเยอรมัน ดินแดนฝรั่งเศสถูกแบ่งออกเป็น "ฝรั่งเศสเขตยึดครอง" และ "วิชีฝรั่งเศส" ขณะที่รัฐบาลฝรั่งเศสลี้ภัยไปยังอังกฤษ และมีการก่อตั้งฝรั่งเศสเสรี ซึ่งมีส่วนร่วมในการปลดปล่อยฝรั่งเศสจนกระทั่งสงครามยุติ
-
Free French forces at the Battle of Bir Hakeim (1942)
-
FAFL Free French GC II/5 "LaFayette" receiving ex-USAAF Curtiss P-40 fighters at Casablanca, French Morocco
-
The French fleet scuttled itself rather than fall into the hands of the Axis after their invasion of Vichy France on 11 November 1942.
ประเทศสมาชิกรอง
[แก้]โปแลนด์
[แก้]สงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรปเริ่มต้นขึ้นเมื่อการบุกครองโปแลนด์ ในขณะนั้น กองทัพโปแลนด์มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สามของบรรดาประเทศในทวีปยุโรป รองจากสหภาพโซเวียตและสหราชอาณาจักร โปแลนด์ไม่เคยยอมจำนนอย่างเป็นทางการต่อนาซีเยอรมนี และทำสงครามต่อภายใต้คณะรัฐบาลพลัดถิ่นโปแลนด์
กองทัพบ้านเกิดซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรปนอกอาณาเขตของสหภาพโซเวียต และมีขบวนการเคลื่อนไหวใต้ดินอื่น ๆ ที่ได้ให้ข้อมูลข่าวกรองซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติการให้สำเร็จในสงครามระยะต่อมา และได้เปิดเผยการก่อาชญากรรมสงครามของนาซีเยอรมนีต่อฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก นอกจากนี้ กองกำลังโปแลนด์ยังได้มีส่วนช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตรในแนวรบด้านตะวันตก แนวรบทะเลทราย และแนวรบด้านตะวันออกอีกด้วย
-
Pilots of the No. 303 "Kościuszko" Polish Fighter Squadron during the Battle of Britain
-
Polish Home Army resistance fighters from the "Kiliński" Battalion during the Warsaw Uprising (1944)
เบลเยียม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
-
Members of the Belgian Resistance with a Canadian soldier in Bruges, September 1944 during the Battle of the Scheldt
เนเธอร์แลนด์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
-
Dutch troops close the barrier of the Nijmegen Waal bridge during the Albania crisis.
ลักเซมเบิร์ก
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
-
Soldiers from Luxembourg training in Britain, 1943
นอร์เวย์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
-
Norwegian soldiers on the Narvik front, May 1940
เชโกสโลวาเกีย
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กรีซ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
-
Greek soldiers in March 1941 during the Greco-Italian War
ยูโกสลาเวีย
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
-
The Partisans and the Chetniks carried captured Germans through Užice, autumn 1941.
-
Partisan leader Marshal Josip Broz Tito with Winston Churchill in 1944
-
Chetniks leader General Mihailovic with the members of the US military mission, Operation Halyard 1944
แคนาดา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
-
Several soldiers from the 48th Highlanders of Canada at the Battle of Ortona, December 1943.
ออสเตรเลีย
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
-
Australian troops land in Alexandria after their evacuation from Greece
นิวซีแลนด์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
-
Soldiers of the New Zealand Expeditionary Force, 20th Battalion, C Company marching in Baggush, Egypt, September 1941.
แอฟริกาใต้
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
-
South African infantry on parade prior to the Union of South Africa's entry into World War II
เม็กซิโก
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
-
Mexican air force Capt. Radames Gaxiola Andrade stands in front of his P-47D with his maintenance team after he returned from a combat mission
คิวบา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สาธารณรัฐโดมินิกัน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บราซิล
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
-
Brazilian soldiers of the Brazilian Expeditionary Force greet civilians in the city of Massarosa, Italy, September 1944.
กลุ่มออสโล
[แก้]กลุ่มออสโลเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศที่เป็นกลางระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งในภายหลังได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในฐานะรัฐบาลพลัดถิ่น อันประกอบด้วย นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยมและลักเซมเบิร์ก
ฟินแลนด์ถูกรุกรานโดยสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1939 ในภายหลังฟินแลนด์และเดนมาร์กได้เข้าร่วมกับสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลร่วมกับฝ่ายอักษะ ส่วนสวีเดนยังคงดำรงตนเป็นกลางตลอดช่วงเวลาของสงคราม หลังจากสนธิสัญญาสงบศึกในกรุงมอสโกเมื่อปี ค.ศ. 1944 ฟินแลนด์ได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรและหันมาต่อสู้กับเยอรมนีแทน และเกิดเป็นสงครามแลปแลนด์
ส่วนเดนมาร์กซึ่งถูกรุกรานโดยเยอรมนีเมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1940 รัฐบาลเดนมาร์กไม่ได้ประกาศสงครามกับเยอรมนีและยอมจำนนในวันเดียวกัน เนื่องจากว่ารัฐบาลยังคงมีอำนาจในการจัดการกิจการภายในประเทศได้อยู่ เดนมาร์กไม่ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นมา ชาวเดนมาร์กรบโดยอยู่ทั้งฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ ไอซ์แลนด์ หมู่เกาะแฟโรและกรีนแลนด์ซึ่งถือว่าเป็นอาณานิคมของเดนมาร์ก ถูกยึดครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตรตลอดช่วงเวลาส่วนใหญ่ของสงคราม กองทัพอังกฤษรุกรานเกาะไอซ์แลนด์ในวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 และใช้อำนวยความสะดวกให้กับนโยบายให้กู้-ยืม ส่วนกองกำลังจากสหรัฐอเมริกาได้ยึดครองเกาะกรีนแลนด์เมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1941 หลังจากนั้นก็ได้ยึดครองเกาะไอซ์แลนด์ในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 แม้ว่าจะคงดำรงตนเป็นกลางในสงครามก็ตาม ต่อมาไอซ์แลนด์ประกาศตนเป็นเอกราชจากเดนมาร์กในปี ค.ศ. 1944 แต่ไม่ได้ประกาศสงครามกับประเทศฝ่ายอักษะใด ๆ
เครือจักรภพแห่งประชาชาติ
[แก้]ประเทศเหล่านี้ถูกดึงเข้าสู่สงครามหลังจากการประกาศสงครามของสหราชอาณาจักร ซึ่งประเทศเหล่านี้ประกอบด้วย ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์และแอฟริกาใต้
สหภาพรวมอเมริกา
[แก้]สมาชิกของสหภาพรวมอเมริกายังคงดำรงตนเป็นกลางในช่วงปี ค.ศ. 1939-1941 ได้สร้างสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันในที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่กรุงอาบานา ระหว่างวันที่ 21-30 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 โดยมีตัวแทนประเทศ 21 ประเทศร่วมลงนาม อันประกอบด้วย
- โบลิเวีย
- บราซิล
- ชิลี
- โคลัมเบีย
- คอสตาริกา
- คิวบา
- สาธารณรัฐโดมินิกัน
- เอลซัลวาดอร์
- กัวเตมาลา
- เฮติ
- ฮอนดูรัส
- เม็กซิโก
- นิการากัว
- ปานามา
- สหรัฐ
องค์การคอมมิวนิสต์สากล
[แก้]- แนวราษฎร
- แอลเบเนีย
- มาเลเซีย
- มองโกเลีย
- สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต
- สาธารณรัฐประชาชนตูวา
- เวียดนาม - เวียดมินห์
- ยูโกสลาเวีย
องค์การสหประชาชาติ
[แก้]หลังจากได้มีการลงนามในปฏิญญาสหประชาชาติเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 โดยมีตัวแทนจาก 27 ประเทศร่วมลงนาม ประกอบด้วย
ส่วนประเทศที่ลงนามในภายหลังได้แก่
- เครือจักรภพฟิลิปปินส์ (ค.ศ. 1942)
- เอธิโอเปีย (ค.ศ. 1942)
- อิรัก (ค.ศ. 1943)
- อิหร่าน (ค.ศ. 1943)
- บราซิล (ค.ศ. 1943)
- โบลิเวีย (ค.ศ. 1943)
- ไลบีเรีย (ค.ศ. 1944)
- ฝรั่งเศส (ค.ศ. 1944)
- เปรู (ค.ศ. 1945)
- ชิลี (ค.ศ. 1945)
- ปารากวัย (ค.ศ. 1945)
- เวเนซุเอลา (ค.ศ. 1945)
- อุรุกวัย (ค.ศ. 1945)
- ตุรกี (ค.ศ. 1945)
- อียิปต์ (ค.ศ. 1945)
- ซาอุดีอาระเบีย (ค.ศ. 1945)
- เลบานอน (ค.ศ. 1945)
- ซีเรีย (ค.ศ. 1945)
การยอมแพ้ส่วนน้อย
[แก้]ธง | ชื่อ | วันยอมแพ้ |
---|---|---|
โปแลนด์ | 10 ตุลาคม 1939 | |
เดนมาร์ก | 10 เมษายน 1940 | |
เนเธอร์แลนด์ | 15 พฤษภาคม 1940 | |
เบลเยียม | 28 พฤษภาคม 1940 | |
นอร์เวย์ | 10 มิถุนายน 1940 | |
ฝรั่งเศส | 22 มิถุนายน 1940 | |
อินโดจีนของฝรั่งเศส | 26 กันยายน 1940 | |
ยูโกสลาเวีย | 17 เมษายน 1941 | |
กรีซ | 1 มิถุนายน 1941 | |
ฮ่องกง | 25 ธันวาคม 1941 | |
บริติชมาลายา | 31 มกราคม 1942 | |
หมู่เกาะอินเดียตะวันออก ของเนเธอร์แลนด์ |
9 มีนาคม 1942 | |
ฟิลิปปินส์ | 8 พฤษภาคม 1942 | |
พม่า | 20 พฤษภาคม 1942 |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Allies". U. S. Army Center of Military History and World War II History. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-16. สืบค้นเมื่อ 17 September 2009.
- ↑ Davies 2006, pp 150–151.
- ↑ The Real History of World War II: A ... – Google Books. books.google.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2009-09-02.
- ↑ Kwan Yuk Pan (2005). "Polish veterans to take pride of place in victory parade". Financial Times, UK.
- ↑ A Decade of American Foreign Policy 1941–1949
- ↑ Doenecke, Justus D.; Stoler, Mark A. (2005). Debating Franklin D. Roosevelt's foreign policies, 1933–1945. Rowman & Littlefield. ISBN 0-8476-9416-X. สืบค้นเมื่อ 7 September 2009.
- ↑ Douglas Brinkley, FDR & the Making of the U.N.
- ↑ Churchill, Winston S. (1981) [1953]. The Second World War, Volume VI: Triumph and Tragedy. Houghton-Mifflin Company. p. 561.
- ↑ Dear and Foot, Oxford Companion to World War II pp 279-80
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- พันธมิตรที่เปลี่ยนแปลงบนเวทีโลก
- การประชุมแอตแลนติก มติแห่งวันที่ 24 กันยายน 1941 เก็บถาวร 2006-08-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ฝ่ายสัมพันธมิตร (สงครามโลกครั้งที่สอง)
- ฝ่ายสัมพันธมิตร
- การเมืองในสงครามโลกครั้งที่สอง
- สงครามโลกครั้งที่สอง
- พันธมิตรทางการทหาร
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับสหราชอาณาจักร
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับสหรัฐ
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับสหภาพโซเวียต
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับจีน
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับฝรั่งเศส
- บทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์