ข้ามไปเนื้อหา

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน

พิกัด: 50°27′N 30°30′E / 50.450°N 30.500°E / 50.450; 30.500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน

Українська Радянська Соціалістична Республіка
Украинская Советская Социалистическая Республика
1919–1991
ตราแผ่นดิน (1949–1991)ของยูเครน Ukraine SSR
ตราแผ่นดิน (1949–1991)
คำขวัญПролетарі всіх країн, єднайтеся!   (Ukrainian)
Proletari vsikh krayin, yednaitesia!   (transliteration)
"ชนชั้นกรรมาชีพทั่วโลกจงสามัคคีกัน"
เพลงชาติІнтернаціонал (ยูเครน)
สามัคคีนานาชาติ

Державний гімн Української Радянської Соціалістичної Республіки (ยูเครน)
เพลงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนอันเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนอันเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต
เมืองหลวงฮาร์คอฟ (1919–1934)[1]
เคียฟ (1934–1991)[2]
ภาษาทั่วไปภาษายูเครน, ภาษารัสเซีย[3]
การปกครองรัฐเดี่ยว ลัทธิมากซ์-เลนิน รัฐพรรคการเมืองเดียว สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต
เลขาธิการคณะกรรมการกลาง 
• 1918-1919
Emanuel Kviring (คนแรก)
• 1990-1991
Stanislav Hurenko (คนสุดท้าย)
หัวหน้ารัฐบาล 
• 1919-1923
Christian Rakovsky (คนแรก)
• 1918-1991
Vitold Fokin (คนสุดท้าย)
ประมุขแห่งรัฐ 
• 1919-1938
Grigory Petrovsky (คนแรก)
• 1990-1991
Leonid Kravchuk (คนสุดท้าย)
สภานิติบัญญัติแวร์คอว์นาราดา
ยุคประวัติศาสตร์สงครามกลางเมืองรัสเซีย, สงครามโลกครั้งที่สอง, สงครามเย็น
• การประกาศสาธารณรัฐ
10 มีนาคม 1919
30 ธันวาคม 1922
15 พฤศจิกายน 1939
24 ตุลาคม 1945
24 สิงหาคม 1991
25 ธันวาคม 1991
ประชากร
51,706,746 คน
สกุลเงินSoviet karbovanets
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง
แคว้นไครเมีย
สาธารณรัฐประชาชนยูเครน
การยึดครองเบสซาราเบียและนอร์เทิร์นบูโควินาของโซเวียต
ซาการ์ปาเตีย
การโอนผ่านยุคหลังโซเวียตของยูเครน
สหพันธรัฐรัสเซีย
สาธารณรัฐเบลารุส
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ ยูเครน
 รัสเซีย
 มอลโดวา
 โปแลนด์
 โรมาเนีย

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน (ยูเครน: Українська Радянська Соціалістична Республіка, Українська РСР; รัสเซีย: Украинская Советская Социалистическая Республика, Украинская ССР) หรือ ยูเครนโซเวียต เป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐองค์ประกอบของสหภาพโซเวียต ก่อตั้งขึ้นในปี 1922 และล่มสลายในปี 1991[4] ในเพลงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน สาธารณรัฐถูกเรียกง่าย ๆ ว่า ยูเครน สาธารณรัฐถูกปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตผ่านพรรคลูก นั่นคือ พรรคคอมมิวนิสต์ยูเครน ในฐานะสาธารณรัฐสหภาพของสหภาพโซเวียต ซึ่งมีสถานะเป็นรัฐพรรคเดียวที่มีการรวมศูนย์อย่างสูง

สาธารณรัฐยูเครนก่อตั้งขึ้นโดยบอลเชวิคภายหลังความพ่ายแพ้ของสาธารณรัฐประชาชนยูเครนในช่วงสงครามโซเวียต-ยูเครนระหว่างสงครามกลางเมืองรัสเซีย ในฐานะที่เป็นองค์การกึ่งรัฐ (Proto-state) ของสหภาพโซเวียต สาธารณรัฐยูเครนได้กลายเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งสหประชาชาติพร้อมกับสาธารณรัฐเบียโลรัสเซีย[5] แม้ว่าพวกเขาจะเป็นตัวแทนของรัฐมวลสหภาพอย่างถูกต้องตามกฎหมายในกิจการต่างประเทศของสหภาพโซเวียต หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต สาธารณรัฐยูเครนก็ถูกแปลงเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ยูเครน[6]

ตลอดประวัติศาสตร์ 72 ปี พรมแดนของสาธารณรัฐเปลี่ยนแปลงไปหลายครั้ง โดยส่วนสำคัญคือยูเครนตะวันตกที่ถูกผนวกโดยกองกำลังโซเวียตในปี 1939 จากสาธารณรัฐโปแลนด์ และการเพิ่มคาร์เพเทียนรูทีเนียจากเชโกสโลวาเกียในปี 1945 นครฮาร์คอฟทางตะวันออกเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐตั้งแต่ก่อตั้ง อย่างไรก็ตาม ในปี 1934 รัฐบาลได้ย้ายเมืองหลวงไปยังกรุงเคียฟ เมืองหลวงประวัติศาสตร์ของยูเครน เคียฟยังคงเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐยูเครนในช่วงเวลาที่เหลือ และยังคงเป็นเมืองหลวงของยูเครนที่แยกตัวเป็นเอกราชหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย

ในทางภูมิศาสตร์ สาธารณรัฐยูเครนตั้งอยู่ในยุโรปตะวันออกทางเหนือของทะเลดำ ล้อมรอบด้วยมอลเดเวีย เบียโลรัสเซียและรัสเซีย พรมแดนระหว่างสาธารณรัฐยูเครนกับเชโกสโลวาเกียก่อให้เกิดจุดชายแดนด้านตะวันตกสุดของสหภาพโซเวียต จากการสำรวจสำมะโนของสหภาพโซเวียตในปี 1989 สาธารณรัฐมีประชากร 51,706,746 คน ซึ่งลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "History" (ภาษายูเครน). Kharkiv Oblast Government Administration. สืบค้นเมื่อ 16 April 2011.
  2. Soviet Encyclopedia of the History of Ukraine (ภาษายูเครน). Academy of Sciences of the Ukrainian SSR. 1969–1972.{{cite book}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  3. Language Policy in the Soviet Union by Lenore Grenoble, Springer Science+Business Media, 2003, ISBN 978-1-4020-1298-3
  4. Lee, Gary (27 October 1986). "Soviets Begin Recovery From Disaster's Damage". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 25 April 2017.
  5. "Activities of the Member States – Ukraine". United Nations. สืบค้นเมื่อ 17 January 2011.
  6. "Ukraine: vie politique depuis 1991". Larousse.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

50°27′N 30°30′E / 50.450°N 30.500°E / 50.450; 30.500