ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไอ-โมบาย สเตเดี้ยม)
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
ฉายาปราสาทสายฟ้า
ก่อตั้งพ.ศ. 2513 ในชื่อ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
พ.ศ. 2553 ในชื่อ บุรีรัมย์ พีอีเอ
พ.ศ. 2555 ในชื่อ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
สนามช้างอารีนา
ความจุ32,600 ที่นั่ง
เจ้าของบริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด
ประธานเนวิน ชิดชอบ
ผู้จัดการบริพัทธ์ สูนรอด
ผู้ฝึกสอนออสมาร์ ลอส
ลีกไทยลีก
2566–67ไทยลีก, อันดับที่ 1
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน
ทีมของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
ฟุตบอล (ชาย) ฟุตบอลบี (ชาย) อีสปอร์ต

สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพที่ตั้งอยู่ที่ประเทศไทย ก่อตั้งใน พ.ศ. 2513 ในชื่อ "สโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค" และประสบความสำเร็จอย่างมากโดยชนะเลิศไทยลีก 9 สมัย และจบรองชนะเลิศ 3 ครั้ง (หากไม่นับรวมยุคการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) สีประจำสโมสรคือ สีกรมท่า

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เข้าร่วมไทยลีกในฤดูกาล 2553 ในชื่อ "บุรีรัมย์ พีอีเอ" หลังจากที่ เนวิน ชิดชอบ ซื้อกิจการสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในปลายปี 2552 และแข่งขันในลีกสูงสุดครบทุกฤดูกาล โดยเคยคว้าแชมป์ไทยลีกถึงสามฤดูกาลติดต่อกันตั้งแต่ปี 2556–2558 และทำสถิติเก็บคะแนนสูงสุดของไทยลีกในฤดูกาล 2561 ที่ 87 คะแนน[1] นอกจากนี้ ยังเคยเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกปี 2556 ซึ่งนับเป็นผลงานที่ดีที่สุดในระดับทวีปของสโมสร

ปัจจุบัน สโมสรลงเล่นเกมเหย้าที่ช้างอารีนา[2] สนามแห่งนี้มีความจุ 32,600 ที่นั่ง ถือเป็นสนามฟุตบอลเพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทยที่มีสโมสรฟุตบอลเป็นเจ้าของ[3] บุรีรัมย์มีสโมสรคู่ปรับที่สำคัญคือ เมืองทอง ยูไนเต็ด โดยทั้งคู่เป็นเพียงสองสโมสรที่คว้าแชมป์ลีกในช่วงปี 2553 ถึง 2561

ประวัติสโมสร

[แก้]

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2513–2552

[แก้]
ตราสโมสรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ใช้ถึงปี 2552

สโมสรก่อตั้งขึ้นในปี 2513 จากนั้นสโมสรได้เลื่อนชั้นขึ้นสู่ไทยลีกดิวิชั่น 1 (ปัจจุบันคือไทยลีก 2) ในฤดูกาล 2546 สโมสรจบอันดับ 3 ในไทยลีกดิวิชั่น 1 จากนั้นพวกเขาแข่งขันเพลย์ออฟเลื่อนชั้น-ตกชั้นไทยลีก แต่แพ้ 0–1 ให้กับสโมสรฟุตบอลพนักงานยาสูบ อีกหนึ่งปีต่อมาพวกเขาประสบความสำเร็จเมื่อจบฤดูกาล 2547 ด้วยการคว้ารองแชมป์และเลื่อนชั้นสู่ไทยพรีเมียร์ลีก สโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสร้างความประหลาดใจให้กับทุกคนด้วยการเป็นรองแชมป์ลีกเมื่อจบฤดูกาลแรกของพวกเขาในไทยพรีเมียร์ลีก การเป็นรองแชมป์ลีกทำให้สโมสรได้สิทธิ์เข้าร่วมเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก เป็นการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติครั้งแรกของสโมสร แม้กระนั้น สโมสรตกรอบจากการแข่งขัน[4] ใน 2 ฤดูกาลต่อมา คือ 2549 และ 2550 สโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทำได้เพียงอันดับ 10 และ 8 เมื่อจบฤดูกาล

ในปี 2551 สโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ย้ายถิ่นฐานมาที่อยุธยาและเล่นที่สนามกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำให้พวกเขามีฐานแฟนบอลเพิ่มขึ้น สโมสรเล่นภายใต้ฉายา ไฟฟ้า อยุธยา จากสื่อและแฟน ๆ ภายใต้การคุมทีมของ ประพล พงษ์พานิช หรือ โค้ชเหม่ง ในที่สุด สโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคก็คว้าแชมป์ไทยลีกสมัยแรกได้สำเร็จ สโมสรยังผ่านเข้ารอบ เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2009 รอบคัดเลือก

ในปี 2552 สโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคตกรอบจากการแข่งขันเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2009 หลังจากแพ้ทีมสิงคโปร์อาร์มฟอร์ซ 1–4 ในช่วงต่อเวลาพิเศษที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน สโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเริ่มต้นการป้องกันแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีกด้วยผลงานที่ย่ำแย่ ประพล พงษ์พานิช ถูกปลดออกกลางฤดูกาลและแทนที่ด้วยทองสุข สัมปหังสิต อดีตเฮดโค้ชทีมชาติไทย สโมสรจบอันดับที่ 9 จากทั้งหมด 16 อันดับ

ลมหายใจแห่งบุรีรัมย์

[แก้]

ในเดือนธันวาคม 2552 มีการประกาศว่าเนวิน ชิดชอบ นักการเมืองชื่อดังเข้ามาเทคโอเวอร์สโมสร เขาพยายามที่จะเทคโอเวอร์ทีโอที เอสซี และสโมสรฟุตบอลทหารบก แต่ไม่สำเร็จ[5] เนวินย้ายสโมสรไปที่บุรีรัมย์ บ้านเกิดของเขา และรีแบรนด์เป็น สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ พีอีเอ บุรีรัมย์ พีอีเอ มีผู้เล่นส่วนใหญ่มาจากสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รวมถึงดาวดังอย่าง รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค, อภิเชษฐ์ พุฒตาล, ธีราทร บุญมาทัน และสุเชาว์ นุชนุ่ม นักเตะทีมชาติไทยที่เซ็นสัญญาย้ายมาจากทีโอที เอส.ซี.

บุรีรัมย์ พีอีเอ จบฤดูกาลแรกหลังเปลี่ยนผ่านด้วยการเป็นรองแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2553 สโมสรยังเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศของ ลีกคัพ 2553 แต่แพ้ การท่าเรือไทย 1–2 ที่ สนามศุภชลาศัย

ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

[แก้]
บุรีรัมย์ยูไนเต็ดเป็นแชมป์เอฟเอคัพในปี พ.ศ. 2554

ในปี 2554 บุรีรัมย์ พีอีเอ ภายใต้การฝึกสอนของ อรรถพล บุษปาคม หรือ โค้ชแต๊ก อดีตผู้เล่นทีมชาติไทย จบฤดูกาล 2554 ด้วยการคว้าเทรเบิลแชมป์ภายในประเทศ ได้แก่ ไทยพรีเมียร์ลีก เอฟเอคัพ และลีกคัพ บุรีรัมย์ คว้าแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2554 ด้วยคะแนน 85 คะแนน สูงสุดในประวัติศาสตร์ของลีก พวกเขาเอาชนะคู่ปรับสำคัญอย่าง เมืองทองยูไนเต็ด ในนัดชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ 2554 และคว้าแชมป์เอฟเอคัพสมัยแรกของพวกเขา หลังประสบความสำเร็จมา 2 รายการ บุรีรัมย์ล้างแค้นด้วยการเอาชนะ การท่าเรือไทย ที่คว้าแชมป์ลีกคัพปี 2553 ในรอบชิงชนะเลิศ ทำให้บุรีรัมย์ พีอีเอ กลายเป็นสโมสรฟุตบอลไทยทีมแรกที่คว้าเทรเบิลแชมป์ได้ในฤดูกาลเดียว

สนามบุรีรัมย์ ปราสาทสายฟ้า สร้างขึ้นในปี 2554 ได้รับการบันทึกในบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ ว่าเป็นสนามฟุตบอลมาตรฐานฟีฟ่าที่ใช้เวลาก่อสร้างสั้นที่สุดเพียง 256 วัน[6]

ฤดูกาล 2555–2557: ปรับโครงสร้างทีมและผลงานระดับทวีปอันโดดเด่น

[แก้]

ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ฝ่ายเจ้าของสิทธิ์ของสโมสรเดิม คือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งเดิมอยู่ในการกำกับดูแลของนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล จาก พรรคภูมิใจไทย ได้เปลี่ยนมาอยู่ในการกำกับดูแลของนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ จาก พรรคเพื่อไทย ได้มีนโยบายที่จะย้ายสโมสรออกจากจังหวัดบุรีรัมย์ ผลการเจรจาได้ข้อสรุปว่าฝ่ายนายเนวินจะขายหุ้น 70% [7] ที่ตนถืออยู่ออกไป จะแยกทีมการไฟฟ้าออกจากจังหวัดบุรีรัมย์และย้ายไปอยู่จังหวัดอื่น ส่วนนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทีมบุรีรัมย์-พีอีเอเดิม จะไปรวมกับสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ เอฟซี ที่ได้แชมป์ ดิวิชั่น 1 และเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2555 พร้อมกับเปลี่ยนชื่อทีมเป็น "สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด"

นายเนวินกล่าวว่า ในฤดูกาล 2555 สโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (บุรีรัมย์ เอฟซีเดิม) จะลงเล่นในไทยพรีเมียร์ลีก และเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ด้วยโควตาชนะเลิศฤดูกาล 2554 ของบุรีรัมย์-พีอีเอ [8]

เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555 นายเนวินได้เปิดแถลงข่าวว่า ได้ซื้อหุ้นอีก 30% ของสโมสรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มาบริหารจัดการเองทั้งหมด รวมทั้งสิทธิทั้งหมดในนามการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จากนั้นจะเปลี่ยนชื่อทีมเป็น "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด" ตามแผนเดิม ส่วนสิทธิการเล่นในไทยพรีเมียร์ลีกของบุรีรัมย์ เอฟซีนั้น จะโอนให้กับ สงขลา เอฟซี ของนายนิพนธ์ บุญญามณี ส่วนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้น จะไม่มีการส่งทีมเข้าแข่งขันรายการของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยอีกต่อไป [9]

ในฤดูกาล 2555 บุรีรัมย์จบอันดับ 4 ใน ไทยพรีเมียร์ลีก 2555 และคว้าแชมป์ ไทยคม เอฟเอคัพ 2555 ด้วยการชนะอาร์มี่ ยูไนเต็ด ไป 2–1 ซึ่งได้สิทธิไปเล่น เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2013 รอบคัดเลือก[10] และคว้าแชมป์ โตโยต้า ลีกคัพ 2555 ด้วยการชนะ ราชบุรี มิตรผล เอฟซี ไป 4–1[11] ซึ่งเป็นดับเบิ้ลแชมป์บอลถ้วยและบุรีรัมย์ยูไนเต็ดสามารถป้องกันแชมป์ทั้งสองรายการได้อีกหนึ่งสมัยอีกด้วย

ฆาบิเอร์ ปาติญโญ เป็นผู้ทำประตูสูงสุดอันดับที่ 2 ของสโมสรในฤดูกาล 2556 โดยเป็นรองเพียงการ์เมโล กอนซาเลซ

ในฤดูกาล 2556 บุรีรัมย์จบอันดับ 1ใน ไทยพรีเมียร์ลีก 2556 และคว้าแชมป์ ไทยคม เอฟเอคัพ 2556ด้วยการชนะ สโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส ไป 3–1 ซึ่งได้สิทธิไปเล่น เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2014 รอบแบ่งกลุ่ม[12] และคว้าแชมป์ โตโยต้า ลีกคัพ 2556 สมัยที่3 ด้วยการชนะ ราชบุรี มิตรผล เอฟซี ไป 2–1[13] ซึ่งเป็นดับเบิ้ลแชมป์บอลถ้วยและบุรีรัมย์ยูไนเต็ดสามารถป้องกันแชมป์ทั้งสองรายการได้อีกหนึ่งสมัยอีกด้วย เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2013 ผ่านเข้ารอบ 8 ทีม

ในฤดูกาล 2557 บุรีรัมย์คว้าแชมป์ ถ้วยพระราชทาน ก. และ แชมป์ โตโยต้า พรีเมียร์ คัพ 2557 พร้อมกับจบที่อันดับ 1 ใน ไทยพรีเมียร์ลีก 2557

ฤดูกาล 2558: คว้าแชมป์ห้ารายการ

[แก้]
สนามศุภชลาศัยเป็นสนามแข่งขันที่บุรีรัมย์คว้าแชมป์ถึง 4 รายการ (ถ้วย ก., ลีกคัพ, แม่โขง และเอฟเอคัพ) ในปี 2558

ถือเป็นปีทองของทัพ ปราสาทสายฟ้า เมื่อสามารถคว้าแชมป์มาประดับตู้โชว์ได้ถึง 5 รายการ แม้ว่าจะตกรอบแบ่งกลุ่มของศึกเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกก็ตาม ซึ่งก่อนที่ฤดูกาลนี้จะเริ่มต้น ปราสาทสายฟ้า เสริมทัพนักเตะเข้าสู่ทีมหลายราย ไม่ว่าจะเป็น นฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม, กรวิทย์ นามวิเศษ, นฤพล อารมณ์สวะ, โก ซุล-กิ, กิลแบร์โต มาเชนา, ดิโอโก้ หลุยส์ ซานโต ซึ่งถือว่าเป็นขุมกำลังของทีมในฤดูกาล 2558

เปิดฉากความยิ่งใหญ่ด้วยแชมป์แรก ฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ก. ด้วยการเอาชนะ กระต่ายแก้ว บางกอกกล๊าส เอฟซี ไป 1-0 จากประตูชัยของ ดิโอโก้ หลุยส์ ซานโต ในนาทีที่ 56[15]

เดินหน้าต่อกับแชมป์ที่ 2 โตโยต้า ลีกคัพ สมัย 4 สามารถเอาชนะ กูปรีอันตราย ศรีสะเกษ เอฟซี ที่เพิ่งเข้าชิงรายการนี้เป็นครั้งแรก ไป 1-0 จากประตูชัยของ โก ซุล-กิ ในนาทีที่ 18[16]

สานต่อความสำเร็จในปีนี้ ด้วยแชมป์ที่ 3 ไทยพรีเมียร์ลีก และเป็นแชมป์ไร้พ่ายอีกด้วย โดยไม่แพ้ใครตลอด 34 นัด ชนะ 25 นัด และเสมอไป 9 นัด ทำประตูได้ถึง 98 ลูก มากที่สุดในลีก และเสียไปเพียง 24 ประตู ซึ่งน้อยที่สุดในลีก แถมจบซีซั่นด้วยการมีแต้มมากกว่า กิเลนผยอง เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ทีมรองแชมป์ถึง 13 คะแนนเลยทีเดียว ซึ่งการคว้าแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีกในครั้งนี้ เป็นการคว้าแชมป์สมัยที่ 3 ติดต่อกันของ ปราสาทสายฟ้า นอกจากนี้ ดิโอโก้ หลุยส์ ซานโต ยังคว้าตำแหน่งดาวซัลโวสูงสุดในไทยพรีเมียร์ลีกฤดูกาลนี้ไปครอง หลังโชว์ฟอร์มสุดโหดเหี้ยม ซัดไป 33 ประตูอีกด้วย ส่วนคู่หู่ในแนวรุกของเขาอย่าง กิลแบร์โต มาเชนา ก็ยิงไป 21 ประตู ได้อันดับ 3 ขณะที่ ธีราทร บุญมาทัน แบ็กซ้ายทีมชาติไทย ก็ทำแอสซิสต์ ไป 19 ครั้ง ซึ่งสูงสุดในลีกปีนี้

ตามมาติด ๆ กับแชมป์ที่ 4 แม่โขงคลับแชมเปียนชิพ ปราสาทสายฟ้า ในฐานะแชมป์ โตโยต้า ลีกคัพ พบกับ สิงห์ร้ายแห่งนครวัด เบิงเกต อังกอร์ ทีมชั้นนำแห่งศึกฟุตบอลลีกกัมพูชา ในศึกฟุตบอลแห่งศักดิ์ศรีเพื่อชิงความเป็นเจ้าสโมสรแห่งภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยเอาชนะไปได้ 1-0 จากลูกจุดโทษของ อันเดรส ตุญเญซ ในนาทีที่ 67 ช่วยให้ ปราสาทสายฟ้า คว้าแชมป์รายการนี้ไปครอง[17]

และปิดท้ายปี พ.ศ. 2558 อย่างสมบูรณ์แบบ กับแชมป์ที่ 5 ช้าง เอฟเอคัพ โดยการเอาชนะ กิเลนผยอง เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด คู่ปรับเก่าสมัยไทยพรีเมียร์ลีกไป 3-1 จากลูกจุดโทษของ อันเดรส ตุญเญซ ในนาทีที่ 45, โก ซุล-กิ ในนาทีที่ 51 และ จักรพันธ์ แก้วพรม ในนาทีที่ 70 คว้าแชมป์รายการนี้ไปครองเป็นสมัยที่ 4[18] และเป็นถ้วยแชมป์ที่ 5 ในปีนี้ รวมทั้งกลายเป็นสโมสรแรกจากทวีปเอเชีย ที่คว้าถ้วยรางวัล 5 ใบได้สำเร็จในฤดูกาลเดียวอีกด้วย[19]

ฤดูกาล 2559: ตกอับและเสียผู้เล่นตัวหลัก

[แก้]

หลังฤดูกาลที่แล้วสามารถคว้าแชมป์ได้ถึง 5 รายการ ปราสาทสายฟ้า ก็ได้มีการเสริมทัพนักเตะเข้าสู่ทีมเพิ่มอีกหลายรายเพื่อป้องกันทั้ง 5 แชมป์ในฤดูกาล 2559 และคว้าแชมป์ เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ให้ได้ ไม่ว่าจะเป็น อดุล หละโสะ, อังเดร ฟรานซิสโก้ โมริตซ์, ดานิโล ซิลิโน่ เดอ โอลิเวียร่า, สถาพร แดงสี, อนันต์ บัวแสง, เอมิเลียโน่ อัลฟาโร่ และได้จัดการแข่งขันรายการ ช้าง บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เอเชียนทัวร์ 2016 ขึ้นในวันที่ 22 - 31 มกราคม โดยรายได้มอบให้กับการกุศล โดยนัดแรกไปเยือน กัมพูชา ออลสตาร์ ในวันที่ 22 มกราคม จบ 90 นาทีเสมอกันที่ 2-2 โดยฝั่ง ปราสาทสายฟ้า ได้ประตูจาก สุเชาว์ นุชนุ่ม กัปตันทีมในนาทีที่ 45 และ ดิโอโก หลุยส์ ซานโต ซึ่งลงมาเป็นตัวสำรองในภายหลังในนาทีที่ 83 ส่งผลให้ต้องดวลจุดโทษกันและเป็น กัมพูชา ออลสตาร์ ที่ชนะไป 4-3 รวมผลสกอร์ 6-5[20] แต่หลังจากนันก็มาพลิกล็อกใน 2 นัดสุดท้าย ซึ่งชนะทั้งหมด โดยเปิดบ้านชนะ โปฮัง สตีลเลอส์ ยอดทีมจาก เคลีก ในประเทศเกาหลีใต้ ไป 2-1 จาก อังเดร ฟรานซิสโก้ โมริทซ์ ในนาทีที่ 9 และ ดานิโล ซิลิโน่ เดอ โอลิเวียร่า ในนาทีที่ 33[21] และบุกไปชนะ ออลสตาร์ ลาว ไป 3-1 จาก อังเดร ฟรานซิสโก้ โมริทซ์ ในนาทีที่ 2 และ 30 และจุดโทษโดย อันเดรส ตุญเญซ ในนาทีที่ 24[22] หลังจากนั้น ดานิโล ซิลิโน่ เดอ โอลิเวียร่า ย้ายทีมแต่ก็ได้กองหน้าคนใหม่ คือ ไคโอะ ฟิลิปเป้ กอนซาเวซ รวมทั้ง คิม ซึง ยอง และ เวสลีย์ เฟย์โตซ่า

หลังจากเตรียมทีมมา 1 เดือน ปราสาทสายฟ้า ก็สามารถคว้าแชมป์ โตโยต้า พรีเมียร์คัพ 2015 เป็นแชมป์แรกได้สำเร็จ โดยเอาชนะ อัลบิเร็กซ์ นีงะตะ จากเจลีกไปได้ 2-1 จากลูกเตะมุมของ ธีราทร บุญมาทัน เปิดให้กับ โก ซุล-กิ โหม่งในนาทีที่ 50 และ 79[23] ต่อมาอีกหนึ่งสัปดาห์ ปราสาทสายฟ้า ก็สามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ก. ได้อีกสมัย โดยสามารถเอาชนะคู่ปรับที่ยังไม่เคยชนะ ปราสาทสายฟ้า ได้เลย คือ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ไปได้ถึง 3-1 จาก ดิโอโก้ หลุยส์ ซานโต ในนาทีที่ 14, จุดโทษของอันเดรส ตุญเญซ ในนาทีที่ 66 และ จักรพันธ์ แก้วพรม ในนาทีที่ 83[24]

กลางฤดูกาล 2559 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ปล่อยตัวธีราทร บุญมาทันให้แก่เมืองทอง ยูไนเต็ด สโมสรคู่ปรับตลอดกาล

ในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกรอบแบ่งกลุ่ม ปราสาทสายฟ้า ซึ่งถูกจับอยู่ในกลุ่มเอฟร่วมกับ เอฟซี โซล, ซานตงลู่เนิ่งไท่ชาน และซานเฟรซ ฮิโรชิมะ ปรากฏว่าทำผลงานได้ย่ำแย่มาก ไม่ชนะใครเลย เสมอ 1 และแพ้ 5 ตกรอบแบ่งกลุ่ม โดยเป็นทีมอันดับสุดท้ายของกลุ่ม และเป็นทีมที่สถิติที่แย่ที่สุดของเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกในปีนี้อีกด้วย[25] และเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 แฟนเพจอย่างเป็นทางการของ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด [26] เปิดเผยแถลงข่าวการขาย ธีราทร บุญมาทัน ให้กับทีมร่วมลีกอย่าง เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีข้อเสนอซื้อจากหลายทีม

หลังจบฤดูกาล 2559 ที่ไม่ค่อยสวยงาม ในไทยลีก ปราสาทสายฟ้า แข่งทั้งหมด 30 นัด มี 55 คะแนน ชนะ 15 เสมอ 10 แพ้ 5 อยู่อันดับที่ 4 ไม่สามารถไปเล่นเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ฤดูกาล 2553[27] ส่วนในการแข่งขันฟุตบอล ในโตโยต้า ลีกคัพ ปราสาทสายฟ้า คว้าแชมป์ร่วมกับ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด โดย ปราสาทสายฟ้า เลือกลงแข่งขันแม่โขงคลับแชมเปียนชิพ ส่วนในช้าง เอฟเอคัพ ปราสาทสายฟ้า ยุติเส้นทางไว้ที่รอบ 16 ทีมสุดท้าย หลังบุกไปแพ้คู่ปรับตลอดกาลอย่าง เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด 3-1[28] และเมื่อเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด แพ้ชลบุรี เอฟซี 3-0 จึงทำให้ไม่สามารถไปเล่นเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ฤดูกาล 2553[29]

2560–2561: ทวงคืนแชมป์ลีกและสร้างสถิติใหม่สองปีซ้อน

[แก้]
สนามไอ-โมบาย

ในเดือนมกราคม 2560 เนวิน ชิดชอบได้เปิดตัวสโมสรด้วยสโลแกน "สไตรค์แบ็ค" หรือทวงคืนทุกแชมป์[30] สโมสรประเดิมฤดูกาล 2560 ในรายการแม่โขงคลับแชมเปียนชิพ แม้ว่าในเลกแรกจะบุกไปแพ้ล้านช้าง ยูไนเต็ดที่ประเทศลาว 1–0[31] แต่ในเลกที่สอง บุรีรัมย์กลับมาเอาชนะไปได้ 2–0 นับผลประตูรวม 2–1 ทำให้ทีมป้องกันแชมป์ได้สำเร็จ[32] ต่อมาในการแข่งขันรายการหลักอย่างไทยลีก บุรีรัมย์ประเดิมสนามได้ไม่ดีนัก พวกเขาต้องเปิดบ้านไล่ตามตีเสมอชลบุรี 2–2 หลังจากที่โดนนำ 0–2 ในครึ่งแรก แต่หลังจากนั้น ทีมไม่แพ้ใครใน 11 นัดแรก โดยหนึ่งในนั้นมีเกมที่บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะคู่ปรับตลอดกาลอย่างเอสซีจี เมืองทองด้วยผล 2–0 จากประตูของฌาฌาและสุเชาว์ นุชนุ่ม[33] ทีมเก็บคะแนนอย่างต่อเนื่องจนสามารถทำคะแนนเทียบเท่าเมืองทองหลังจบเลกแรก โดยเป็นรองเพียงแค่ผลต่างประตูได้-เสีย อย่างไรก็ตาม รันกอ ปอปอวิช ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอน[34] โดยมีโบซีดาร์ บันโดวิช เข้ามาคุมทีมต่อ[35] ในเลกที่สอง บุรีรัมย์ชนะถึง 16 นัดและเสมอเพียงนัดเดียวในการพบกับเมืองทอง พวกเขาคว้าแชมป์ไทยลีกอย่างเป็นทางการในเกมนัดที่ 32 ที่เปิดบ้านเอาชนะโปลิศ เทโร 4–0 และยังสามารถทำสถิติเก็บคะแนนในลีกมากที่สุดที่ 86 คะแนน หลังจากบุกไปชนะชลบุรี 2–1 ในเกมนัดสุดท้ายของฤดูกาล อย่างไรก็ตาม ในการแข่งขันฟุตบอลถ้วย บุรีรัมย์ตกรอบก่อนรองชนะเลิศของทั้งโตโยต้า ลีกคัพ (แพ้เมืองทอง 0–2)[36] และช้าง เอฟเอคัพ (แพ้เชียงราย ยูไนเต็ด 1–0)

บุรีรัมย์ประเดิมฤดูกาล 2561 ด้วยการแข่งขันไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ เป็นการพบกันระหว่างแชมป์ไทยลีก บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และแชมป์เอฟเอคัพ สิงห์เชียงราย ยูไนเต็ด ผลการแข่งขันในเวลาจบลงด้วยผลเสมอ 2–2 ก่อนที่บุรีรัมย์จะพ่ายจุดโทษ 7–8 ต่อมาในการแข่งขันเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก บุรีรัมย์อยู่ในกลุ่มจี ร่วมกับกว่างโจวเอเวอร์แกรนด์, เซเรซโซ โอซากะ และเชจูยูไนเต็ด ซึ่งบุรีรัมย์สามารถผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จหลังจากที่บุกไปเอาชนะเชจูยูไนเต็ด 1–0 ทำให้บุรีรัมย์เป็นสโมสรแรกจากไทยที่สามารถบุกไปเอาชนะสโมสรเกาหลีใต้ได้อีกด้วย[37] ต่อมาในรอบ 16 ทีมสุดท้าย บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะช็อนบุกฮุนไดมอเตอส์จากเกาหลีใต้ในเลกแรกไปได้ 3–2 ก่อนที่จะบุกไปแพ้ในเลกที่สอง 0–2 ทำให้บุรีรัมย์แพ้ด้วยผลประตูรวม 3–4 สิ้นสุดเส้นทางในรอบ 16 ทีมสุดท้าย ส่วนในการแข่งขันไทยลีก บุรีรัมย์ประเดิมสนามด้วยการเอาชนะราชบุรี มิตรผลไปได้ 2–1 ทีมคว้าแชมป์ไทยลีกสมัยที่ 6 ในเกมนัดที่ 31 ที่เปิดบ้านเอาชนะโปลิศ เทโรไปได้ 2–0 และในนัดสุดท้ายที่บุกไปชนะราชบุรี มิตรผล 1–0 นั้น บุรีรัมย์เก็บคะแนนในลีกมากที่สุดที่ 87 คะแนน ทำลายสถิติเดิมของตนเองเมื่อฤดูกาลที่แล้ว[1] แต่ในการแข่งขันฟุตบอลถ้วย บุรีรัมย์ตกรอบรองชนะเลิศของโตโยต้า ลีกคัพด้วยการพ่ายแพ้ต่อบางกอกกล๊าส 1–2 ที่สนามบุณยะจินดา[38] ส่วนในช้าง เอฟเอคัพ บุรีรัมย์ได้เข้าชิงชนะเลิศเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี แต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้ต่อสิงห์เชียงราย 2–3

2562–2564: ไร้ความสำเร็จ

[แก้]
ป้ายโฆษณาชุดแข่งขันของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดประจำฤดูกาล 2562 ที่ช้างอารีนา

ในฤดูกาล 2562 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ประเดิมแชมป์ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพสมัยแรก ด้วยการล้างตาเอาชนะสิงห์เชียงราย 3–1[39] อย่างไรก็ตาม สโมสรทำผลงานในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกได้ไม่ดีนัก โดยเก็บได้เพียง 4 คะแนนจากการแข่ง 6 นัดในรอบแบ่งกลุ่ม ไม่สามารถผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกได้[40] เช่นเดียวกันกับในไทยลีกที่สโมสรก็ทำผลงานได้ไม่ค่อยดีเช่นกัน พวกเขาต้องลุ้นแย่งแชมป์กับสิงห์เชียงราย และการท่าเรือจนถึงช่วงสุดท้ายของฤดูกาล และในเกมลีกนัดสุดท้ายของฤดูกาล บุรีรัมย์บุกไปเยือนเชียงใหม่ โดยในนัดนี้ ถ้าบุรีรัมย์ชนะ หรือ บุรีรัมย์ เสมอหรือแพ้ แล้วสิงห์เชียงรายไม่ชนะ บุรีรัมย์จะคว้าแชมป์ไทยลีกสมัยที่ 7 ทันที แต่สุดท้าย บุรีรัมย์ทำได้เพียงเสมอเชียงใหม่ 1–1 ส่วน สิงห์เชียงราย บุกไปเอาชนะ สุพรรณบุรี 5–2 ทำให้ทั้งสองทีมมีคะแนนเท่ากัน แต่สิงห์ เชียงราย มีสถิติการพบกันตัวต่อตัว (เฮด-ทู-เฮด) เหนือกว่าบุรีรัมย์ ทำให้บุรีรัมย์พลาดการคว้าแชมป์ไทยลีกสมัยที่ 7[41] ส่วนในการแข่งขันฟุตบอลถ้วยในประเทศ บุรีรัมย์ตกรอบ ช้าง เอฟเอคัพ ด้วยการพ่ายแพ้ต่อ ราชบุรี มิตรผล ในรอบรองชนะเลิศ[42] และในโตโยต้า ลีกคัพ บุรีรัมย์เข้าชิงชนะเลิศกับ พีที ประจวบ ที่สนามกลางอย่างเอสซีจีสเตเดียม แต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้ในการยิงลูกโทษ[43] ทำให้ในฤดูกาลนั้น ถ้าไม่นับไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพแล้ว บุรีรัมย์ไม่สามารถคว้าแชมป์ได้เลยแม้แต่รายการเดียว[44]

"ธันเด้อ" มาสคอตประจำสโมสร

ในฤดูกาล 2563 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ประเดิมการแข่งขันในรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือกรอบสอง โดยพวกเขาสามารถเปิดบ้านเอาชนะนครโฮจิมินห์ไปได้ 2–1[45] แต่ในรอบเพลย์ออฟ พวกเขาบุกไปพ่ายเซี่ยงไฮ้ เอสไอพีจี 0–3 ทำให้ไม่สามารถผ่านเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่มได้[46] ส่วนในลีก บุรีรัมย์ก็ทำผลงานได้ไม่ดีเช่นกัน พวกเขาอยู่ในอันดับที่ 11 จาก 16 ทีม มีเพียง 4 คะแนนจากการลงเล่น 4 นัดก่อนพักลีกเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 อีกทั้งในช่วงพักลีก สโมสรได้ยกเลิกสัญญาผู้เล่นต่างชาติแทบทั้งหมด ซึ่งรวมถึงอันเดรส ตุญเญซ ผู้เล่นแนวรับที่ลงเล่นให้กับสโมสรมาตั้งแต่ฤดูกาล 2557[47] และเมื่อลีกกลับมาแข่งขันอีกได้ไม่กี่นัด โบซีดาร์ บันโดวิช ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอนหลังจากที่คุมทีมเปิดบ้านแพ้นครราชสีมา มาสด้า 1–2 และอาเลชังดรี กามา ซึ่งเคยเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนของสโมสรในช่วงปี 2557–2559 ได้กลับเข้ามาคุมทีมต่อ ทำให้บุรีรัมย์กลับมามีผลงานในลีกที่ดีขึ้น จากที่เคยอยู่อันดับที่ 12 ก็สามารถขึ้นมาจบอันดับที่ 2 หลังจบฤดูกาลได้ อย่างไรก็ตาม สโมสรตกรอบฟุตบอลถ้วยรายการสำคัญอย่างช้าง เอฟเอคัพด้วยการพ่ายแพ้ต่อชลบุรี 2–1 ในรอบรองชนะเลิศ[48] ทำให้บุรีรัมย์ไม่สามารถคว้าแชมป์รายการหลักได้เป็นฤดูกาลที่สองติดต่อกัน

2564-2566: อิชิอิกับทริปเปิลแชมป์สองปีซ้อน

[แก้]
รายชื่อผู้เล่นของบุรีรัมย์ใน ไทยลีก ฤดูกาล 2565–66 แผนการเล่นที่มาซาตาดะ อิชิอิ ใช้มากที่สุดคือแผน 4-2-3-1

ในฤดูกาล 2564–65 แม้ว่าสโมสรจะเริ่มต้นด้วยการทำผลงานในไทยลีกได้ดี โดยมีช่วงที่ชนะติดต่อกันถึง 6 นัด แต่พวกเขาก็มีสถิติที่ไม่ดีในการออกไปเยือนทีมใหญ่ด้วยกันเอง โดยในนัดที่ออกไปเยือนทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด, บีจี ปทุม ยูไนเต็ด และชลบุรี ซึ่งเป็นคู่แข่งหัวตารางโดยตรง พวกเขาแพ้ทั้งสามนัดและยิงประตูไม่ได้เลย ทำให้สโมสรตัดสินใจแยกทางกับกามาหลังจบการแข่งขันนัดสุดท้ายของเลกแรกที่ทีมบุกไปเอาชนะลีโอ เชียงราย[49] โดยมีมาซาตาดะ อิชิอิ ผู้ฝึกสอนชาวญี่ปุ่นที่เพิ่งแยกทางกับสมุทรปราการ ซิตี้ เข้ามาคุมทีมต่อ[50] นอกจากนี้ ธีราทร บุญมาทัน อดีตผู้เล่นของทีมและผู้เล่นชาวไทยคนแรกที่ชนะเลิศลีกสูงสุดของญี่ปุ่นกับโยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอส ก็ได้ย้ายกลับมาเล่นให้แก่สโมสรในรอบ 5 ปีด้วย[51] สุดท้าย บุรีรัมย์กลับมาประสบความสำเร็จด้วยการคว้าทริปเปิลแชมป์ในประเทศ ซึ่งประกอบด้วยไทยลีก เอฟเอคัพ และลีกคัพ[52][53][54] นับเป็นการคว้าทริปเปิลแชมป์ในประเทศครั้งแรกของสโมสรนับตั้งแต่ฤดูกาล 2558 ต่อมาในฤดูกาล 2565–66 สโมสรชนะเลิศไทยลีกสมัยที่ 8 และป้องกันทริปเปิลแชมป์ได้อีกครั้ง นับเป็นสโมสรแรกในไทยที่ชนะเลิศทริปเปิลแชมป์ถึงสองฤดูกาลติดต่อกัน

2566–67: คว้าแชมป์ไทยลีก 3 สมัยติดต่อกัน

[แก้]

ก่อนเปิดฤดูกาล 2566–67 สโมสรแพ้ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ดในการแข่งขันไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ ทำให้เกิดการแยกทางกับอิชิอิ โดยสโมสรได้แต่งตั้งอาเธอร์ ปาปัส ผู้ฝึกสอนชาวออสเตรเลีย เข้ามาคุมทีมต่อ ในการแข่งขันช้าง เอฟเอคัพ รอบ 16 ทีมสุดท้าย บุรีรัมย์บุกไปแพ้บางกอก สโมสรจากไทยลีก 3 5–4 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสรที่ตกรอบฟุตบอลถ้วยในประเทศด้วยการแพ้ทีมจากลีกระดับต่ำกว่า
และในวันที่ 26 พฤษภาคม 2567 บุรีรัมย์ ได้ฉลองแชมป์ไทยลีก ในบ้านอย่างยิ่งใหญ่ หลังเปิดบ้านชนะขอนแก่น ยูไนเต็ด ไปด้วยสกอร์ 8–2 เป็นแชมป์ไทยลีกสมัยที่ 9 ในนามบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และคว้าแชมป์ไทยลีกได้ 3 สมัย ติดต่อกันได้เป็นครั้งที่ 2

2567–68

[แก้]
รายชื่อผู้เล่นของบุรีรัมย์ในนัดแรกที่พบกับหนองบัว พิชญในไทยลีกฤดูกาล 2567–68 ภายใต้การทำทีมของออสมาร์ ลอส โดยแผนที่เขาใช้คือ 3-5-2

ก่อนเปิดไทยลีก ฤดูกาล 2567–68 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ได้เสริมตัวผู้เล่นเข้ามาถึง 10 คน เพื่อสู้ศึกในการแข่งขันทั้งไทยลีก, ช้าง เอฟเอคัพ, รีโว่คัพ, เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีลิท 2024–25 และ ช็อปปี้คัพ 2024/25 ทั้งยังมีการอุ่นเครื่องหลายเกมเพื่อให้นักเตะคุ้นชินกับแท็คติกของเฮดโค้ชคนใหม่ และเมื่อไทยลีกฤดูกาล 2567–68 ได้เปิดฉากขึ้นบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แชมป์เก่า 3 สมัยซ้อน ได้กุนซือใหม่อย่างออสมาร์ ลอส ต้องนำทีมออกไปเยือนหนองบัว พิชญ ในเกมแรก ผลปรากฏว่าเป็นทัพปราสาทสายฟ้าบุกไปชนะเจ้าถิ่นขาดลอย 0-4 โดยได้ประตูจาก ดิออน คูลส์ , ลูคัส คริสปิม , กิลแยร์เม่ บิสโซลี และศุภชัย ใจเด็ด นับเป็นการเริ่มต้นได้อย่างสวยงามของสโมสรและนักเตะภายในทีม

สนาม

[แก้]

เขากระโดง สเตเดียม (2553–2554)

[แก้]

เขากระโดง สเตเดียม เป็นสนามเหย้าเดิมของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด มีความจุทั้งหมด 15,000 ที่นั่ง สนามนี้เคยเป็นสนามขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และถูกปรับปรุงใหม่ทั้งหมดเพื่อใช้รองรับการใช้งานไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2553 ของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์-การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยย้ายไปสนามแห่งใหม่ของตัวเองซึ่งมีความจุ 32,600 คน คือ สนาม นิว ไอ-โมบาย สเตเดี้ยม (ช้างอารีนา) ปัจจุบันก็ได้โอนสนามนี้ให้เป็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์เหมือนเดิมและบริเวณที่ว่างข้างสนามได้สร้างศูนย์ราชการศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์แห่งใหม่

ช้างอารีนา (2554–ปัจจุบัน)

[แก้]

ช้างอารีนา หรือชื่อที่ใช้ในการแข่งขันระดับทวีปว่า บุรีรัมย์ สเตเดียม (อังกฤษ: Chang ARENA, Buriram Stadium) ตั้งอยู่ที่ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สนามแห่งนี้มีความจุ 35,000 ที่นั่ง โครงสร้างประกอบด้วยเหล็กและไฟเบอร์ ซึ่งสร้างด้วยงบประมาณกว่า 500 ล้านบาท โดยเป็นเงินสนับสนุนของไอ-โมบาย และบางส่วนของนายเนวิน ชิดชอบ และจัดเป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีลู่วิ่งคั่นสนามและผ่านมาตรฐานฟีฟ่า, เอเอฟซี และเอเอฟเอฟ และยังผ่านมาตรฐานระดับเอคลาสสเตเดียมจากเอเอฟซี และยังผ่านมาตรฐานระดับเวิลด์คลาสจากฟีฟ่า และยังได้บันทึกลงกินเนสบุค ว่าเป็นสนามฟุตบอลในระดับฟีฟ่าที่ใช้เวลาก่อสร้างน้อยที่สุดในโลกคือ 256 วัน[55]

ภาพพาโนรามาของช้างอารีนา

สโมสรคู่ปรับ

[แก้]

เมืองทอง ยูไนเต็ด

[แก้]

ภายหลังจากที่เนวิน ชิดชอบซื้อกิจการสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บุรีรัมย์ได้กลายเป็นทีมชั้นนำและเป็นคู่แข่งในการแย่งแชมป์ไทยลีกกับเมืองทอง ยูไนเต็ดตั้งแต่ฤดูกาล 2553 ถึง 2560 โดยมีนัดการแข่งขันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญอยู่หลายนัด และการพบกันของทั้งคู่ได้รับความสนใจจากแฟนบอลเป็นอย่างมาก

ก่อนฤดูกาล 2559 บุรีรัมย์มีสถิติที่ดีในการพบกับเมืองทองโดยพวกเขาไม่เคยแพ้เลย รวมถึงยังมีสถิติที่ธีรศิลป์ แดงดา กองหน้าคนสำคัญของเมืองทองไม่เคยยิงประตูใส่บุรีรัมย์ได้จนมีวลีที่กล่าวว่า "แพ้ใครแพ้ได้ แต่ไม่แพ้เมืองทอง" แต่ในการแข่งขันไทยลีก ฤดูกาล 2559 เลกแรก บุรีรัมย์ก็เสียสถิติไร้พ่ายนี้ เมื่อเมืองทอง ยูไนเต็ดสามารถบุกไปเอาชนะได้ 3-0 ซึ่งได้ 2 ประตูจากเคลย์ตง ซิลวา และอีก 1 ประตูจากอดิศักดิ์ ไกรษร ซึ่งเป็นอดีตผู้เล่นของบุรีรัมย์[56] หลังจากนั้นในฤดูกาลเดียวกัน บุรีรัมย์ก็แพ้ให้กับเมืองทองอีกสองนัด ได้แก่ เกมลีกเลกที่สองที่บุรีรัมย์บุกไปแพ้ 3–2 ซึ่งในนัดนั้นก็มีจังหวะจุดโทษที่เป็นปัญหาระหว่างจีโอกูและธีราทร บุญมาทัน และอีกนัดคือนัดที่บุรีรัมย์บุกแพ้ 3–1 ในการแข่งขันช้าง เอฟเอคัพ รอบ 16 ทีมสุดท้าย ทำให้บุรีรัมย์พลาดโอกาสคว้าแชมป์ในรายการนี้ นอกจากนี้ ทั้งสองทีมยังได้เข้าชิงชนะเลิศโตโยต้า ลีกคัพ 2559 แต่การแข่งขันถูกยกเลิกเพื่อไว้อาลัยแด่การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อย่างไรก็ตาม ทั้งคู่ได้กลับมาพบกันในรอบ 8 ทีมสุดท้ายของโตโยต้า ลีกคัพ 2560 และเป็นเมืองทองที่เป็นฝ่ายบุกชนะ 2–0 ซึ่งธีราทรสามารถยิงประตูใส่ทีมเก่าได้ ส่วนในไทยลีกฤดูกาลเดียวกันนั้น บุรีรัมย์ไม่แพ้ในการเจอกับเมืองทอง โดยในเลกแรก พวกเขาเป็นฝ่ายเปิดบ้านเอาชนะไปได้ 2–0 ยุติสถิติชนะรวด 15 นัดของเมืองทอง ส่วนในเลกที่สอง ก็เสมอกันที่ธันเดอร์โดมสเตเดียม 1–1

สถิติ

[แก้]

ผลงานตามฤดูกาลแข่งขัน

[แก้]
ฤดูกาล ลีก[57] เอฟเอคัพ ลีกคัพ โตโยต้าพรีเมียร์คัพ ควีนสคัพ ถ้วย ก/แชมเปียนส์คัพ เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก เอเอฟซีคัพ อาเซียนคลับ แม่โขงคลับ ผู้ทำประตูสูงสุด
ระดับลีก แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย แต้ม อันดับ ชื่อ ประตู
2547/48 TPL 18 9 5 4 23 19 32 2  –  –  –  –  –  –  – GR  – ศุภกิจ จินะใจ 10
2549 TPL 22 6 4 12 23 32 22 10  –  –  –  –  – DQ  –  –  – ศุภกิจ จินะใจ 7
2550 TPL 30 13 3 14 35 40 42 8  –  –  –  –  –  –  –  –  – ธนา ชะนะบุตร 7
2551 TPL 30 18 7 5 38 15 61 1  –  –  –  –  –  –  –  –  – รณชัย รังสิโย 16
2552 TPL 30 9 9 12 37 41 36 9 R4  –  – รอบน็อคเอ้าท์ RU QR1 GR  –  – สุริยา ดอมไธสง 9
2553 TPL 30 17 12 1 51 19 63 2 R4 RU  – ไม่ได้เข้าร่วม  –  –  –  –  – สุเชาว์ นุชนุ่ม 11
2554 TPL 34 26 7 1 64 15 85 1 W W  –  –  –  –  –  –  – แฟรงค์ โอฮานด์ซา 19
2555 TPL 34 14 12 8 60 40 54 4 W W W  – RU GR  –  –  – แฟรงค์ อาเชียมปง 12
2556 TPL 32 23 9 0 73 23 78 1 W W RU  – W QF  –  –  – การ์เมโล กอนซาเลซ 23
2557 TPL 38 23 10 5 69 26 79 1 R4 RU W  – W GR  –  –  – คาเบียร์ ปาตีโญ 21
2558 TPL 34 25 9 0 98 24 84 1 W W W  – W GR  –  – W ดิโอโก้ หลุยส์ซานโต 33
2559 TL 30 15 10 5 55 38 55 4 R4 W W  – W GR  –  – W อันเดรส ตุญเญซ 9
2560 T1 34 27 5 2 85 22 86 1 QF QF  –  –  –  –  –  –  – ฌาฌา 34
2561 T1 34 28 3 3 76 25 51 1 RU SF  –  – RU R16  –  –  – ดิโอโก้ หลุยส์ซานโต 34
2562 T1 30 16 10 4 51 25 58 2 SF RU  –  – W GS  –  –  – สุภโชค สารชาติ 9
2563–64 T1 30 20 3 7 63 26 63 2 SF ยกเลิกการแข่งขัน  –  –  – PO  –  –  – สุภโชค สารชาติ 10
2564–65 T1 30 19 5 6 48 19 62 1 W W  –  –  –  –  –  –  – ศุภชัย ใจเด็ด 14
2565–66 T1 30 23 5 2 75 27 74 1 W W  –  – RU PO  –  –  – ศุภชัย ใจเด็ด 19
2566–67 T1 30 20 9 1 70 27 69 1 R16 SF  –  – RU GS  –  –  – ศุภชัย ใจเด็ด 21
2567–68 T1  –  –  –  –  –
แชมเปียนส์ รองชนะเลิศ อันดับที่ 3 เลื่อนชั้น ตกชั้น กำลังแข่งขัน

ผลงานระดับทวีป

[แก้]
ฤดูกาล การแข่งขัน รอบ คู่แข่ง เหย้า เยือน รวม
2552 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบเพลย์ออฟ สิงคโปร์ กองทัพสิงคโปร์ 1–4
(ต่อเวลา)
เอเอฟซีคัพ กลุ่ม เอช เวียดนาม บิ่ญเซือง 1–3 1–1 อันดับที่ 3
สิงคโปร์ โฮม ยูไนเต็ด 2–1 1–3
มัลดีฟส์ วาเลนเซีย 4–1 3–1
2555 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก กลุ่ม เอช ญี่ปุ่น คาชิวะ เรย์โซล 3–2 0–1 อันดับที่ 4
จีน กว่างโจว 1–2 2–1
เกาหลีใต้ ช็อนบุกฮุนไดมอเตอส์ 0–2 2–3
2556 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบเพลย์ออฟ ออสเตรเลีย บริสเบนรอร์ 0–0
(ต่อเวลา)
(3–0 ลูกโทษ)
กลุ่ม อี ญี่ปุ่น เวกัลตะ เซ็นได 1–1 1–1 อันดับที่ 2
เกาหลีใต้ เอฟซีโซล 0–0 2–2
จีน เจียงซู 2–0 0–2
รอบ 16 ทีมสุดท้าย อุซเบกิสถาน บุนยอดกอร์ 2–1 0–0 2–1
รอบก่อนรองชนะเลิศ อิหร่าน เอสเทกลอล 1–2 0–1 1–3
2557 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก กลุ่ม อี จีน ชานตงไท่ชาน 1–0 1–1 อันดับที่ 3
เกาหลีใต้ โปฮัง สตีลเลอร์ส 1–2 0–0
ญี่ปุ่น เซเรโซ โอซะกะ 2–2 0–4
2558 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก กลุ่ม เอฟ เกาหลีใต้ ซ็องนัม 2–1 1–2 อันดับที่ 3
จีน กว่างโจวซิตี 5–0 2–1
ญี่ปุ่น กัมบะ โอซากะ 1–2 1–1
แม่โขงคลับแชมเปียนชิพ รอบชิงชนะเลิศ กัมพูชา เบืองเกตอังกอร์ 1–0
2559 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก กลุ่ม เอฟ เกาหลีใต้ เอฟซีโซล 0–6 1–2 อันดับที่ 4
จีน ชานตงไท่ชาน 0–0 0–3
ญี่ปุ่น ซานเฟรชเช ฮิโรชิมะ 0–2 0–3
แม่โขงคลับแชมเปียนชิพ รอบชิงชนะเลิศ ลาว ล้านช้าง ยูไนเต็ด 2–0 0–1 2–1
2561 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก กลุ่ม จี เกาหลีใต้ เชจูยูไนเต็ด 0–2 1–0 อันดับที่ 2
จีน กว่างโจว 1–1 1–1
ญี่ปุ่น เซเรซโซ โอซากะ 2–0 2–2
รอบ 16 ทีมสุดท้าย เกาหลีใต้ ช็อนบุกฮุนไดมอเตอส์ 3–2 0–2 3–4
2562 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก กลุ่ม จี ญี่ปุ่น อูราวะ เรดไดมอนส์ 1–2 0–3 อันดับที่ 4
เกาหลีใต้ ช็อนบุกฮุนไดมอเตอส์ 1–0 0–0
จีน เป่ย์จิงกั๋วอัน 1–3 0–2
2563 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือกรอบ 2 เวียดนาม โฮจิมินห์ซิตี 2–1
รอบเพลย์ออฟ จีน เซี่ยงไฮ้พอร์ต 0–3
2565 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบเพลย์ออฟ เกาหลีใต้ แทกู 1–1
(ต่อเวลา)
(2–3 ลูกโทษ)
2566–67 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก กลุ่มเอช จีน เจ้อเจียง 4–1 3–2 อันดับที่ 4
ญี่ปุ่น เวนท์ฟอเรท โคฟุ 2–3 0–1
ออสเตรเลีย เมลเบิร์นซิตี 0–2 1–0
2567–68 ชิงแชมป์สโมสรอาเซียน กลุ่ม บี เวียดนาม กงอันฮานอย 1–2
ฟิลิปปินส์ คายา–อีโลอีโล 7–0
อินโดนีเซีย บอร์เนียว ซามารินดา 4-0
สิงคโปร์ ไลออนซิตีเซเลอส์
มาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์ ซิตี
2567–68 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีลิท กลุ่ม เอ ญี่ปุ่น วิสเซล โคเบะ 0–0
ออสเตรเลีย เซนทรัลโคส มาริเนอรส์ 1–2
เกาหลีใต้ โพฮัง สตีลเลอส์ 1–0
ญี่ปุ่น โยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอส 0–5
ญี่ปุ่น คาวาซากิ ฟรอนตาเล 0–3
มาเลเซีย โจโฮร์ดารุลตักซิม 0–0
เกาหลีใต้ อุลซันฮุนได
เกาหลีใต้ ควังจู เอฟซี

ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย ศิวรักษ์ เทศสูงเนิน
2 MF ไทย ศศลักษณ์ ไหประโคน
3 DF ไทย พรรษา เหมวิบูลย์
4 MF ไทย ลีออน เจมส์
5 DF ไทย ธีราทร บุญมาทัน (รองกัปตันทีม)
6 DF ออสเตรเลีย เคอร์ติส กู๊ด
7 FW บราซิล กิลแยร์เม่ บิสโซลี
8 MF ไทย รัตนากร ใหม่คามิ
9 FW ไทย ศุภชัย ใจเด็ด
10 MF บราซิล ลูกัส คริสปิม
11 DF มาเลเซีย ดียง กูลส์
13 GK ฟิลิปปินส์ นีล เอเธอริดจ์
15 DF ไทย นฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม (กัปตันทีม)
16 MF ไทย เคนเน็ต ดูกัล
18 MF ไทย อาทิตย์ เบิร์ก
20 DF กินี-บิสเซา มาร์เซโล ญาโล
21 FW ไทย ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา
22 DF เกาหลีใต้ โก มย็อง-ซอค
23 MF เซอร์เบีย โกรัน เคาซิช
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
27 MF ไทย พิธิวัตต์ สุขจิตธรรมกุล
28 DF ไทย แม็กซ์ ปีเตอร์ ครีเวย์
34 GK ไทย ฉัตรชัย บุตรพรม
35 GK ไทย กิตติพงศ์ บุญมาก
40 DF ฟิลิปปินส์ เจฟเฟอร์สัน ทาบินาส
44 MF ออสเตรีย ปีเตอร์ ซูลจ์
45 FW อิตาลี มาร์ติน โบอัคเย่
50 DF ไทย สิงหา มาระสะ
70 MF ไทย จิระพงษ์ พึ่งวีระวงศ์
75 GK ไทย ภูมิวรพล วรรณบุตร
89 MF ไทย พงศกร หาญรัตนะ
91 DF ไทย ภูมินทร์ วิลเลี่ยม บูรส์
92 DF เกาหลีใต้ คิม มิน-ฮย็อก
95 MF ไทย เสกสรรค์ ราตรี
98 GK ไทย อานัส สำราญ
MF ไทย ธนกฤต โชติเมืองปัก

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
19 FW บราซิล ครีกอร์ โมราเอส (ไป พีที ประจวบ จนจบฤดูกาล)
21 FW ไทย เคแลน ไรอัน (ไป ศรีสะเกษ ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
22 FW ไทย สยาม แยปป์ (ไป นครราชสีมา มาสด้า จนจบฤดูกาล)
25 DF ไทย สุพร ปีนะกาตาโพธิ์ (ไป ราชบุรี จนจบฤดูกาล)
29 FW ไทย อาทิตย์ บุตรจินดา (ไป ระยอง จนจบฤดูกาล)
48 DF ไทย วรรณธญาวุฒิ นุชกระแสร์ (ไป เมืองเลย ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
49 DF ไทย ปิยวัฒน์ เปตรา (ไป พลังกาญจน์ จนจบฤดูกาล)
59 GK ไทย นพพล ละครพล (ไป นครศรี ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
63 DF ไทย เจตน์สพัชญ์ ควรถนอม (ไป พลังกาญจน์ จนจบฤดูกาล)
71 MF ไทย รัฐภูมิ พานเขจร (ไป โปลิศ เทโร จนจบฤดูกาล)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
72 FW ไทย ชโนทัย คงเหม็ง (ไป เชียงใหม่ จนจบฤดูกาล)
77 MF ไทย ปริพรรห์ วงษา (ไป ศรีสะเกษ ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
80 MF ไทย นวพรรษ เทียนไชย (ไป พลังกาญจน์ จนจบฤดูกาล)
82 DF ไทย ธนิศร ไพบูลย์กิจเจริญ (ไป นครราชสีมา มาสด้า จนจบฤดูกาล)
DF ไทย กฤษณะ ดาวกระจาย (ไป นครศรีฯ ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
MF ไทย พีรวิชญ์ คิดรอบ (ไป เมืองเลย ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
FW ไทย ธีรภักดิ์ เปรื่องนา (ไป เชียงใหม่ ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
DF ไทย จิรพล แซ่ลิ่ว (ไป มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ จนจบฤดูกาล)
MF ไทย ณัฐปคัลภ์ พรมทองมี (ไป มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ จนจบฤดูกาล)

ผู้เล่นชุดรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
4 MF ไทย ลีออน เจมส์ (รองกัปตันทีมคนที่ 1)
35 GK ไทย กิตติพงศ์ บุญมาก
44 MF ไทย ธนกฤต โชติเมืองปัก
47 MF ไทย ศักดิเสกข์ โกศล (รองกัปตันทีมคนที่ 2)
48 DF ไทย วรรณธญาวุฒิ นุชกระแสร์
49 MF ไทย ปิยวัตร เปตรา
50 DF ไทย สิงหา มาระสะ
54 FW ไทย ณฐกร รัตนสุวรรณ
55 MF ไทย ธัญกรณ์ แสวงสุข
66 DF ไทย พิฆเนศ เลาหวิวัฒน์
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
70 MF ไทย จิระพงศ์ พึ่งวีระวงศ์
75 GK ไทย ภูมิวรพล วรรณบุตร
78 DF ไทย ศุภณัฐ มหาไวย์
88 MF ไทย ดุษฎี บูรณะจุฑานนท์
89 MF ไทย พงศกร หาญรัตนะ
90 FW ไทย ภาณุพงศ์ วงศ์พิลา (กัปตันทีม)
91 DF ไทย ภูมินทร์ วิลเลี่ยม บรูส์ (รองกัปตันทีมคนที่ 3)
95 MF ไทย เสกสรรค์ ราตรี
99 FW ไทย ชานนท์ ดวงศรี

บุคลากร

[แก้]

ผู้บริหาร

[แก้]
เนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรคนปัจจุบัน
กรุณา ชิดชอบ รองประธานสโมสรคนปัจจุบัน
ตำแหน่ง ชื่อ
ประธานสโมสร ไทย เนวิน ชิดชอบ
รองประธานสโมสร ไทย กรุณา ชิดชอบ
ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด ไทย กนกศักดิ์ ปิ่นแสง
ผู้จัดการทีม ไทย บริพัทธ์ สูนรอด
ผู้อำนวยการสายงานบัญชีและการเงิน ไทย อุสา สุวรรณชาตรี
ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการ ไทย ประมูลชัย นพสุวรรณวงศ์
ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร ไทย ศศิรดา สุทธิลักษณ์
ผู้อำนวยการฝ่ายสินค้าที่ระลึก ไทย ชิดชนก ชิดชอบ
ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเยาวชน ไทย ชนม์ชนก ชิดชอบ
แพทย์ประจำสโมสร ไทย ผศ.ดร.นพ.ประวีร์ สิริเธียรทรรศน์

ทีมงานผู้ฝึกสอน

[แก้]
ตำแหน่ง ชื่อ
หัวหน้าผู้ฝึกสอน บราซิล ออสมาร์ ลอส
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ออสเตรเลีย จอร์แดน แมนนิง
บราซิล ราฟาเอล โตเลโต้
บราซิล อุนเดล มาเชโด ซิลวา
บราซิล เอเมอร์สัน เปไรร่า (U-23)
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู เซอร์เบีย โซรัน มิจาโนวิช
ผู้ฝึกสอนฟิตเนส ไทย สัตยา ภูสีน้อย
ไทย วีระชัย ไทยแท้
ไทย วิริยะ ลีประโคน
ไทย อดิศร ไชยโย
ไทย เฉลิมชัย นวลพริ้ง
บราซิล จูเลียโน่ วาลลิม
นักกายภาพ ไทย สุริยา จักรวาโชติ
บราซิล โจเซ เลรา
ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเยาวชน ไทย ชนน์ชนก ชิดชอบ
ไทย จิตราวุธ ฉัตรชัยพลรัตน์ (ผู้จัดการทีมอะคาเดมี)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนชุดเยาวชน ไทย อานนท์ แก้วพฤกษ์
ไทย สุริยา ดอมไธสง
ไทย ฐาพล วันทายุทธ
ไทย ภาณุพงษ์ สุวัฒน์ศรีสกุล
ไทย ศักดา ปัญญาใส
ไทย พีระพล ลายนวล
ไทย สุมล กล้าครบ
ไทย นักรบ กล้าศึก
ไทย มนัส ผายผัน
ไทย สญชัย เมนขุนทด
ไทย เอกสถา ธัญญกรรม
ไทย ยศพล เทียงดาห์

ทำเนียบผู้ฝึกสอน

[แก้]

รายชื่อผู้ฝึกสอน (2550 - ปัจจุบัน)

ออสมาร์ ลอส หัวหน้าผู้ฝึกสอนคนปัจจุบัน
อรรถพล บุษปาคม หนึ่งในผู้ฝึกสอนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดกับสโมสร
ชื่อ สัญชาติ ระยะเวลา ความสำเร็จ
โชเซ อัลเวส เบอร์วิส บราซิล 2550
ประพล พงษ์พาณิชย์ ไทย 2551 – พฤษภาคม 2552 ชนะเลิศ ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2551
ทองสุข สัมปหังสิต ไทย พฤษภาคม 2552 – ตุลาคม 2552
ธนเดช ฟูประเสริฐ ไทย พฤศจิกายน 2552 – พฤษภาคม 2553
อรรถพล บุษปาคม ไทย 2 พฤษภาคม 2553 – 2 พฤษภาคม 2556 รองชนะเลิศ ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2553
รองชนะเลิศ โตโยต้า ลีกคัพ 2553
ชนะเลิศ ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2554
ชนะเลิศ ไทยคม เอฟเอคัพ 2554
ชนะเลิศ โตโยต้า ลีกคัพ 2554
ชนะเลิศ โตโยต้า พรีเมียร์คัพ 2555
รองชนะเลิศ ถ้วยพระราชทาน ก. 2555
ชนะเลิศ ไทยคม เอฟเอคัพ 2555
ชนะเลิศ โตโยต้า ลีกคัพ 2555
ชนะเลิศ ถ้วยพระราชทาน ก. 2556
สกอตต์ คูเปอร์ อังกฤษ 2 พฤษภาคม 2556 – 10 กันยายน 2556
อาเลคันโดร เมเนนเดส การ์ซีอา สเปน 10 กันยายน 2556 – 11 เมษายน 2557 ชนะเลิศ ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2556
ชนะเลิศ ไทยคม เอฟเอคัพ 2556
ชนะเลิศ โตโยต้า ลีกคัพ 2556
ชนะเลิศ ถ้วยพระราชทาน ก. 2557
ชนะเลิศ โตโยต้า พรีเมียร์ คัพ 2557
โบซีดาร์ บันโดวิช มอนเตเนโกร 11 เมษายน 2557 – 8 มิถุนายน 2557
อาเลชังดรี กามา บราซิล 8 มิถุนายน 2557 – 22 พฤษภาคม 2559 ชนะเลิศ ไทยพรีเมียร์ลีก 2557, 2558
ชนะเลิศ ฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ก. 2558, 2559
ชนะเลิศ โตโยต้า ลีกคัพ 2558
ชนะเลิศ แม่โขงคลับแชมเปียนชิพ 2558
ชนะเลิศ ช้าง เอฟเอคัพ 2558
ชนะเลิศ โตโยต้า พรีเมียร์ คัพ 2558
อัฟชิน ก็อตบี อิหร่าน 24 พฤษภาคม 2559 – 20 สิงหาคม 2559
รันกอ ปอปอวิช เซอร์เบีย 25 สิงหาคม 2559 – 13 มิถุนายน 2560 ชนะเลิศ โตโยต้า ลีกคัพ 2559
ชนะเลิศ แม่โขงคลับแชมเปียนชิพ 2559
โบซีดาร์ บันโดวิช มอนเตเนโกร 13 มิถุนายน 2560 – 19 ตุลาคม 2563 ชนะเลิศ ไทยลีก ฤดูกาล 2560, 2561
ชนะเลิศ ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2562
รองชนะเลิศ ไทยลีก 2562
รองชนะเลิศ โตโยต้า ลีกคัพ 2562
อาเลชังดรี กามา บราซิล 22 ตุลาคม 2563 – 28 พฤศจิกายน 2564 รองชนะเลิศ ไทยลีก 2563–64
มาซาตาดะ อิชิอิ ญี่ปุ่น 1 ธันวาคม 2564 – 13 สิงหาคม 2566 ชนะเลิศ ไทยลีก 2564–65, 2565–66
ชนะเลิศ ช้าง เอฟเอคัพ 2564–65, 2565–66
ชนะเลิศ รีโว่ ลีกคัพ 2564–65, 2565–66
รองชนะเลิศ ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2565, 2566
อาเธอร์ ปาปัส ออสเตรเลีย 14 สิงหาคม 2566 – 21 มีนาคม 2567
จอร์จิญโญ่ คัมโปส บราซิล 25 มีนาคม 2567 – 21 พฤษภาคม 2567 ชนะเลิศ ไทยลีก 2566–67
เอเมอร์สัน เปไรร่า บราซิล 22 พฤษภาคม 2567 – 6 มิถุนายน 2567
ออสมาร์ ลอส บราซิล 26 มิถุนายน 2567 – ปัจจุบัน

เกียรติประวัติ

[แก้]
รายการ ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ปีชนะเลิศ ปีรองชนะเลิศ ปีที่เข้ารอบสูงสุด รอบ
เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีลิท 0 0 - - 2013 รอบก่อนรองชนะเลิศ
เอเอฟซีคัพ 0 0 - - 2004 รอบเพลย์ออฟ
ไทยลีก 10 4 2551, 2554, 2556, 2557, 2558, 2560, 2561, 2564–65, 2565–66, 2566–67 2547/48, 2553, 2562, 2563–64 - -
ไทยเอฟเอคัพ 6 1 2554, 2555, 2556, 2558, 2564–65,2565–66, 2561 2554, 2555, 2556, 2543, 2561, 2565 รอบชิงชนะเลิศ
ไทยลีกคัพ 7 3 2554, 2555, 2556, 2558, 2559, 2564–65, 2565–66 2553, 2557, 2562 2553, 2554, 2555, 2556, 2557, 2558, 2559, 2562, 2565 รอบชิงชนะเลิศ
ถ้วยพระราชทาน ก 4 2 2556, 2557, 2558, 2559 2552, 2555 2552, 2555, 2556, 2557, 2558, 2559 รอบชิงชนะเลิศ
ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 1 2 2562 2561, 2565 2561, 2562, 2565 รอบชิงชนะเลิศ
ไทยลีกดิวิชั่น 1 0 1 - 2546 - -
แม่โขงคลับแชมเปียนชิพ 2 0 2015, 2016 - - รอบชิงชนะเลิศ

ผู้สนับสนุน

[แก้]

สโมสรพันธมิตร

[แก้]

พันธมิตรในประเทศ

[แก้]

พันธมิตรต่างประเทศ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "87 คะแนน! บุรีรัมย์ทุบราชันมังกร 1-0 ทำลายสถิติแต้มสูงสุดไทยลีก". MThai. 7 ตุลาคม 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-03. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "เมื่อ "CHANG ARENA" คือชื่อใหม่ของ "I-mobile stadium" เหตุใดไอโมบายฯถึงไม่ได้ไปต่อ". บุรีรัมย์เวิลด์. 4 ธันวาคม 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-03. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "สโมสรไทยลีกฤดูกาล 2017 มีสนามเป็นของตัวเองแค่ 5 สโมสรเท่านั้น". BigHoyLive. 20 มกราคม 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-04. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "Asian Champions League 2006 Details". rsssf. สืบค้นเมื่อ 30 October 2014.
  5. "เนวินนำบุรีรัมย์ควบรวมทีโอทีบู๊ไทยลีก". siamsport. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2009. สืบค้นเมื่อ 11 August 2015.
  6. "Buri Ram: Visit world-class stadiums". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-21. สืบค้นเมื่อ 2023-07-08.
  7. "ศึก AFC แชมเปียนส์ลีก สิทธิ์นี้ตกเป็นของใคร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-04. สืบค้นเมื่อ 2012-01-09.
  8. "บิ๊กเน" ยันสิทธิ์เตะ "แชมเปียนส์ลีก" เป็นของบุรีรัมย์
  9. ""เนวิน"ทุ่มซื้อสิทธิ์"พีอีเอ"ยุติปัญหาทั้งหมด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-22. สืบค้นเมื่อ 2012-01-09.
  10. เยอร์โควิชเบิ้ล!บุรีรัมย์ป้องแชมป์ดับอาร์มี่2-1
  11. เยอร์โควิชซัดเบิ้ล!บุรีรัมย์รัวราชบุรี4-1ป้องแชมป์ลีกคัพ
  12. เยอร์โควิชเบิ้ล!บุรีรัมย์ป้องแชมป์ดับบางกอกกล็ส3-1
  13. เยอร์โควิชซัดเบิ้ล!บุรีรัมย์รัวราชบุรี2-1ป้องแชมป์ลีกคัพ
  14. "Report from Siamsport.co.th". Buriram United vs Muangthong United. Retrieved 26 December 2015.
  15. ซานโต้ยิงโทน! 'บุรีรัมย์' เฉือน 'บีจี' 1-0 คว้าแชมป์ถ้วย ก จาก ไทยรัฐ
  16. บุรีรัมย์เฉือนกูปรีคว้าแชมป์โตโยต้าลีกคัพ จาก โพสต์ทูเดย์
  17. "บุรีรัมย์" คว้าแชมป์แม่โขงคลับ จาก โพสต์ทูเดย์
  18. ปราสาทแกร่งจริง!ทุบกิเลน 3-1 ซิวแชมป์ช้าง เอฟเอ คัพ จาก สยามกีฬารายวัน
  19. ประวัติศาสตร์ต้องจารึก! “บุรีรัมย์” 5 แชมป์ ทีมแรกเอเชีย จาก สนุก.คอม
  20. พลิกล็อก! "บุรีรัมย์" พ่ายจุดโทษออลสตาร์เขมร "กิเลน" แพ้เหงียน เก็บถาวร 2016-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก ผู้จัดการออนไลน์
  21. โมริตซ์-ดานิโลปลดล็อก! บุรีรัมย์อุ่นเชือดโปฮัง 2-1
  22. 'โมริตซ์' เบิ้ล! 'บุรีรัมย์' อัด 'ออลสตาร์ลีกลาว' 3-1 จาก ไทยรัฐ
  23. "โกซุลกิ" เหมา2ปราสาทแซงคว้าแชมป์พรีเมียร์คัพ จาก เดลินิวส์
  24. ปราสาทผ่ากิเลน 3-1 ซิวถ้วย ก 4 สมัยติด
  25. "เนวินขอบคุณGU12ยืนหยัดข้างบุรีรัมย์แม้จบACLด้วยสถิติแย่สุด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-05. สืบค้นเมื่อ 2016-05-10.
  26. แถลงการณ์จากสโมสร บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
  27. ตารางคะแนนไทยลีก
  28. "เมืองทองฯ 3 - 1 บุรีรัมย์ : กิเลนฝังแค้นลึกลงใจปราสาท 10 คน". FourFourTwo. 3 สิงหาคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  29. "ฝันสลาย!"บุรีรัมย์-บีจี"หมดลุ้น"ACL"หลังกิเลนร่วงช้างเอฟเอคัพ". Goal Thailand. 21 กันยายน 2559. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  30. ""ปฏิบัติการทวงคืน-STRIKE BACK"บุรีรัมย์ ยูไนเต็ดเปิดตัวยิ่งใหญ่สู้ศึกฤดูกาลใหม่". ข่าวสด.คอม. 13 มกราคม 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  31. "ล้านช้าง 1 - 0 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด : ปราสาทเสียท่านัดแรกศึกชิงแม่โขง". โฟร์โฟร์ทู. 4 มกราคม 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-07. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  32. "บุรีรัมย์อัดล้านช้าง 2-0 พลิกซิวแชมป์แม่โขง 2 สมัยซ้อน". โกล.คอม. 8 ม.ค. 2560. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  33. "บุรีรัมย์ 2-0 เมืองทอง : กิเลนแพ้นัดแรกร่วงจ่าฝูง". โฟร์โฟร์ทู. 3 เมษายน 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-21. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. รันกอ ปอปอวิช ลาออก
  35. บุรีรัมย์ตั้งโบซีดาร์ บันโดวิช คุมทีม
  36. "บุรีรัมย์ 0-2 เมืองทอง : ปราสาทตกรอบ 8 ทีมลีกคัพครั้งแรก". โฟร์โฟร์ทู. 11 ตุลาคม 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-11. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  37. ""บุรีรัมย์" ทีมแรกจากไทยปักธงชัยที่เกาหลีใต้ACL". โกล.คอม. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  38. "'บุรีรัมย์' พ่าย 'บางกอกกล๊าส เอฟซี' 1-2 ชวดเข้าชิงลีกคัพ". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  39. "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ถอนแค้นเชือด เชียงราย 3-1 เถลิงแชมป์ไทยแลนด์ แชมเปี้ยนส์ คัพ 2019". สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  40. ""บุรีรัมย์" เปิดรังพ่าย "อูราวะ" 1-2 จอดป้ายรอบแบ่งกลุ่ม ACL". สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  41. "บุรีรัมย์น้ำตาร่วงบุกเสมอเชียงใหม่1-1จบฤดูกาลมือเปล่า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-27. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  42. "ราชบุรีน็อคบุรีรัมย์ 2-1 ผงาดชิงช้างเอฟเอคัพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-27. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  43. "'ประจวบ'ดวลเป้าโหด 9 คน ก่อนล้ม 'บุรีรัมย์' ซิวแชมป์ลีกคัพสมัยแรก". สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  44. "ฉลอง10ปีจืด! 'บุรีรัมย์'วืดแชมป์เมเจอร์ครั้งแรกใน9ปี". สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  45. "บุรีรัมย์ ไม่พลาด เฉือนโฮจิมินห์ 2-1 ลิ่วชนเซี่ยงไฮ้ ลุ้นตั๋วรอบแบ่งกลุ่ม ACL". สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  46. "ไฮไลท์ เซี่ยงไฮ้ เอสไอพีจี 3-0 บุรีรัมย์, โดนรัวครึ่งหลัง พังตกรอบ-ในศึก ACL 2020 รอบเพลย์ออฟ". สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  47. "บุรีรัมย์ แยกทาง "ตูเญซ" ปิดฉาก7ปี". สืบค้นเมื่อ December 2, 2021.
  48. ""ชลบุรี" เฉือน "บุรีรัมย์" 2-1 ทะลุชิง "ช้าง เอฟเอคัพ"". สืบค้นเมื่อ December 2, 2021.
  49. "กาม่ายืนยันแยกทางบุรีรัมย์แล้ว-เผยความรู้สึกทิ้งท้ายก่อนออกจากทีม". สืบค้นเมื่อ December 2, 2021.
  50. ""บุรีรัมย์" ประกาศดึง "อิชิอิ" เข้านั่งกุนซือล่าแชมป์ไทยลีกสมัย 8". สืบค้นเมื่อ December 2, 2021.
  51. "ตำนานคืนถิ่น! มารินอส แถลงปล่อย ธีราทร ซบ บุรีรัมย์". สืบค้นเมื่อ 18 December 2021.
  52. "ปราสาทสายฟ้า รับแชมป์สมัยที่ 7 ปิดท้ายไทยลีกฤดูกาล 2021/22". สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2022.
  53. "ปราสาทสายฟ้า ผงาดคว้าแชมป์ช้างเอฟเอ คัพ สมัยที่ 5". สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2022.
  54. "เทรเบิ้ลแชมป์!บุรีรัมย์ ซิวถ้วยรีโว่ ลีกคัพ สมัย 6". สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2022.
  55. "ยลโฉมสนามไอ-โมบาย สเตเดียม อลังการมาตรฐานสุดจะบรรยาย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-10-02.
  56. "ปลดล็อก!คลีตันเบิ้ลนำกิเลนผยองบุกอัดบุรีรัมย์3-0". สยามกีฬา. 27 เมษายน 2559. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  57. King, Ian; Schöggl, Hans & Stokkermans, Karel (20 มีนาคม 2014). "Thailand – List of Champions". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2014. Select link to season required from chronological list.
  58. "ก้าวสำคัญ! บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จับมือ ดอร์ทมุนด์ สู่การเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพระดับโลก". Butitam United. สืบค้นเมื่อ 11 October 2018.
  59. "Borussia Dortmund partner up with Thai Champions Buriram United". 25 October 2018. สืบค้นเมื่อ 25 October 2018.
  60. "ระดับโลก! บุรีรัมย์จับมือดอร์ทมุนด์ร่วมพันธมิตรลูกหนัง".
  61. "BURIRAM UNITED FC LEICESTER CITY FC2 Football Clubs in Collaboration". kingpower.com.
  62. ปราสาทสายฟ้า บรรลุข้อตกลงส่ง‘สุภโชค’ลุยเจลีก ร่วมทัพคอนซาโดเล

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]