จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2014รายละเอียดการแข่งขัน |
---|
วันที่ | 29 มกราคม – 1 พฤศจิกายน 2014 |
---|
ทีม | 47 (จาก 19 สมาคม) |
---|
อันดับเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน |
---|
ชนะเลิศ | เวสเทิร์น ซิดนีย์ วันเดอร์เรอส์ (สมัยที่ 1st) |
---|
รองชนะเลิศ | อัล-ฮิลาล |
---|
สถิติการแข่งขัน |
---|
จำนวนนัดที่แข่งขัน | 141 |
---|
จำนวนประตู | 374 (2.65 ประตูต่อนัด) |
---|
ผู้ชม | 1,975,439 (14,010 คนต่อนัด) |
---|
ผู้ทำประตูสูงสุด | กียาน อซาโมอาห์ (12 ประตู) |
---|
ผู้เล่นยอดเยี่ยม | อันเต โควิค |
---|
|
เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2014 เป็นการแข่งขันชิงแชมป์สโมสรถ้วยสูงสุดของทวีปเอเชีย จัดโดยสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย โดยการแข่งขันครั้งนี้ถือเป็นการแข่งขั้นครั้งที่ 12 ภายใต้ชื่อเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก และเป็นการแข่งขันครั้งที่ 33 ของบอลถ้วยสูงสุดของเอเชีย โดยสโมสรที่ชนะเลิศจะได้รับสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2014 สำหรับทีมที่ชนะเลิศในรายการนี้เมื่อปี 2013 คือสโมสรฟุตบอลกว่างโจว เอเวอร์แกรนด์
การจัดสรรทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัน
[แก้]
เอเอฟซีจะประกาศจำนวนทีมที่ได้เข้าแข่งขันในปีนี้ โดยจะประกาศในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 โดยคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้ยึดหลักการดังนี้[1]
- สมาคมฟุตบอลในสังกัด AFC ที่มีอันดับสูงสุด 23 อันดับแรกสามารถยื่นความจำนงขอเข้าร่วมรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกได้
- สมาชิกในภาคตะวันออกและตะวันตกของสมาพันธ์จะได้รับการจัดสรรทีมเข้าร่วมแข่งขันภาคละ 14 ทีม โดยอีก 2 ทีมของแต่ละภาคจะได้มาจากการเพลย์ออฟ
- ผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศในรายการเอเอฟซี คัพจะได้สิทธิ์เข้าร่วมเพลย์ออฟ
การประเมินสำหรับเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2014[2]
|
|
ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด (> 600 คะแนน)
|
|
ผ่านเกณฑ์บางส่วน
|
|
ไม่ได้รับการประเมิน แต่ได้รับสิทธิ์
|
^ สโมสรจากคูเวตได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน 2 สโมสรในฐานะผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศรายการเอเอฟซีคัพ 2013
^ สมาคมฟุตบอลอินเดียสังกัดโซนตะวันตก แต่ในการแข่งขันครั้งนี้ให้เข้าร่วมการแข่งขันในโซนตะวันออก[3]
- หมายเหตุ
^ India (IND) : สโมสรปูนได้ลงเล่นในรายการเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีกแทนที่สโมสรเชอร์ชิล บราเธอร์ เนื่องจากเชอร์ชิล บราเธอร์ส่งเอกสารคลับไลเซนส์ซิงไม่ทันเวลา สโมสรปูนจึงได้สิทธิ์ลงเล่นแทน[4]
^ Bahrain (BHR) : อัล-ฮิด จะเป็นตัวแทนของลีกประเทศบาห์เรน เนื่องจากผ่านคลับไลเซนส์ซิง.[5]
- จำนวนครั้งที่เข้าร่วมแข่งขัน นับตั้งแต่เปลี่ยนชื่อรายการเป็นเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีกเท่านั้น
สำหรับการกำหนดตารางการแข่งขันและการจับสลากจะประกาศและทำการจับ ณ สำนักงานสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย[6][7]
รอบ
|
การแข่งขัน
|
วันจับสลาก
|
นักแรก
|
นัดที่สอง
|
รอบคัดเลือกเพลย์ออฟ
|
รอบแรก
|
10 ธันวาคม 2013
|
2 กุมภาพันธ์ 2014
|
รอบที่สอง
|
8 กุมภาพันธ์ 2014
|
รอบที่สาม
|
15 กุมภาพันธ์ 2014
|
รอบแบ่งกลุ่ม
|
นัดที่ 1
|
10 ธันวาคม 2013[8]
|
25–26 กุมภาพันธ์ 2014
|
นัดที่ 2
|
11–12 มีนาคม 2014
|
นัดที่ 3
|
18–19 มีนาคม 2014
|
นัดที่ 4
|
1–2 เมษายน 2014
|
นัดที่ 5
|
15–16 เมษายน 2014
|
นัดที่ 6
|
22–23 เมษายน 2014
|
รอบแพ้คัดออก
|
รอบ 16 ทีมสุดท้าย
|
6–7 พฤษภาคม 2014
|
13–14 พฤษภาคม 2014
|
รอบก่อนรองชนะเลิศ
|
TBA
|
17 กันยายน 2014
|
30 กันยายน–1 ตุลาคม 2014
|
รอบรองชนะเลิศ
|
22 ตุลาคม 2014
|
29 ตุลาคม 2014
|
รอบชิงชนะเลิศ
|
TBA
|
TBA
|
ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2013, คณะกรรมการจัดการแข่งขันพิจารณาให้มีการจัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในรูปแบบเหย้าและเยือน (ซึ่งแต่เดิมเคยมีมติจะให้แข่งนัดเดียว)[1][9] รวมถึงให้จัดการแข่งขันแยกโซนระหว่างตะวันออกและตะวันตก ส่งผลให้ในรอบชิงชนะเลิศจะมีตัวแทนทั้งจากฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกเข้าชิง[10]
สำหรับวงเล็บในรอบคัดเลือกเพลย์ออฟจะถูกกำหนดโดยคะแนนประเมินสมาคมของแต่ละประเทศ หากสโมสรใดมาจากสมาคมที่มีคะแนนสูงจะได้เล่นในรอบที่ 2 และรอบที่ 3[7] การแข่งขันในแต่ละรอบนั้นเป็นการแข่งขันเพียงนัดเดียว โดยสโมสรที่มาจากสมาคมที่มีคะแนนสูงกว่าสโมสรที่พบกันจะได้เป็นเจ้าบ้าน หากในการแข่งขันไม่สามารถหาผู้ชนะได้ในเวลาปกติจะใช้การต่อเวลาพิเศษและการยิงจุดโทษตามลำดับเพื่อหาผู้ชนะเลิศเข้าสู่รอบต่อไป สโมสรที่ชนะเลิศในรอบที่ 3 จะได้สิทธิ์เข้าไปแข่งขันต่อในรอบแบ่งกลุ่ม โดยรอบนี้จะคัด 4 สโมสรเข้าไปรวมกับ 28 สโมสรที่ได้เข้ารอบมาโดยอัตโนมัติ สำหรับสโมสรของสมาคมฟุตบอลแห่งใดที่ได้สิทธิ์เข้าแข่งขันเฉพาะรอบนี้เท่านั้น หากตกรอบจะได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันเอเอฟซี คัพต่อไป แต่ถ้าหากเข้ารอบแบ่งกลุ่มได้สโมสรในอันดับต่อไปในลีกจะได้สิทธิ์เล่นเอเอฟซีคัพแทน
โดยรอบแบ่งกลุ่มมีการจับสลากแบ่งกลุ่มในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556[11] ซึ่งสโมสรจากประเทศเดียวกันจะไม่สามารถอยู่ในกลุ่มเดียวกันได้ โดยอันดับที่ 1 และ 2 ของกลุ่มจะได้ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก
การจับสลากประกบคู่สำหรับรอบก่อนรองชนะเลิศ (รอบ 8 ทีมสุดท้าย), รอบรองชนะเลิศ, และรอบชิงชนะเลิศ (ในการตัดสินทั้งสองนัด) จะมีขึ้นในวันที่ 28 พฤษภาคม 2014. ในการจับสลากครั้งนี้, ทีมที่มาจากแตกต่างโซนจะไม่สามารถเจอะเจอกันได้จนกระทั่งถึงนัดชิงชนะเลิศ, และรอบนี้เป็นต้นไปจะไม่มีทีมวางหรือ "ทีมจากประเทศเดียวกันพบกันได้", ดังนั้นทีมจากสมาคมเดียวกันสามารถจับสลากโคจรมาพบกันได้.[12]
|
---|
สมัยเอเชียนคลับแชมเปียนชิพ (ค.ศ. 1967–2002) | ฤดูกาล | |
---|
รอบชิงชนะเลิศ | |
---|
|
สมัยแชมเปียนส์ลีก (ค.ศ. 2002–2024) | ฤดูกาล | |
---|
รอบชิงชนะเลิศ | |
---|
|
สมัยแชมเปียนส์ลีกอีลิท (ค.ศ. 2024–ปัจจุบัน) | ฤดูกาล | |
---|
รอบชิงชนะเลิศ | |
---|
การแข่งขันอื่นที่รวมเข้ากับแชมเปียนส์ลีกอีลิท |
---|
| |
|
|
|