ข้ามไปเนื้อหา

อดิศักดิ์ ไกรษร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อดิศักดิ์ ไกรษร
อดิศักดิ์ กับทีมชาติไทย ในปี พ.ศ. 2562
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม อดิศักดิ์ ไกรษร
วันเกิด 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 (33 ปี)
สถานที่เกิด สุรินทร์, ประเทศไทย ไทย
ส่วนสูง 1.82 m (5 ft 11 12 in)
ตำแหน่ง กองหน้าตัวเป้า
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หมายเลข 9
สโมสรเยาวชน
2006–2008 กรุงเทพคริสเตียน
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2009–2010 เมืองทอง ยูไนเต็ด 2 (0)
2009–2010ภูเก็ต (ยืมตัว) 18 (6)
2011–2014 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด[1] 70 (12)
2015 บีอีซี เทโรศาสน 33 (10)
2016–2022 เมืองทอง ยูไนเต็ด 98 (31)
2020–2021การท่าเรือ (ยืมตัว) 29 (11)
2022การท่าเรือ (ยืมตัว) 13 (1)
2023 ตรังกานู 19 (3)
2024 แบงค็อก ยูไนเต็ด 11 (1)
2024– มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 12 (10)
ทีมชาติ
2009–2010 ไทย U19 7 (5)
2011–2014 ไทย U23 17 (11)
2013–2023 ทีมชาติไทย 56 (21)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 4 มกราคม 2024
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด
ณ วันที่ 16 มกราคม 2023

อดิศักดิ์ ไกรษร ชื่อเล่น กอล์ฟ; เกิด 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991) เป็นนักฟุตบอลชาวไทย ปัจจุบันลงเล่นในตำแหน่งกองหน้า ให้กับชลบุรี เอฟซี ในไทยลีก 2 และทีมชาติไทย

ประวัติ

[แก้]

อดิศักดิ์ ไกรษร เกิดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 จังหวัดบุรีรัมย์ประเทศไทย เริ่มต้นมีชื่อเสียงกับการเป็นนักฟุตบอลของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และพาทีม กรุงเทพคริสเตียน คว้าแชมป์ระดับขาสั้นมากมาย ก่อนที่จะถูก สโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ทีมยักษ์ใหญ่ของไทยพรีเมียร์ลีก คว้าตัวไปร่วมทีมในฐานะนักเตะเยาวชนในปี พ.ศ. 2552 แต่ด้วยวัยเพียง 18 ปี อดิศักดิ์จึงไม่สามารถสอดแทรกขึ้นเบียดสู่ทีมชุดใหญ่ของ กิเลนผยอง ได้ ทำให้ถูกปล่อยตัวไปอยู่กับ ภูเก็ต ซึ่งตอนนั้นเพิ่งเริ่มสร้างทีมเพื่อเล่นใน ลีกภูมิภาค ภาคใต้ แม้ปีแรกจะยังไม่สามารถพาทีม กิเลนทะเลใต้ ให้ยิ่งใหญ่ได้ แต่ในปีต่อมา เขาสามารถพา ภูเก็ต เลื่อนชั้นขึ้นสู่ไทยลีกดิวิชั่น 1 ได้สำเร็จ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด มีความต้องการที่จะได้อดิศักดิ์ไปร่วมทีมจึงไปทำเรื่องขอไปยัง สโมสรฟุตบอลเมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ด จนในที่สุดอดิศักดิ์ก็ต้องจำใจอำลา ภูเก็ต ไปร่วมทัพ ปราสาทสายฟ้า นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และมีส่วนร่วมกับความสำเร็จของ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อีกมากมายนับไม่ถ้วน แต่พอมาในปี พ.ศ. 2557 หลังจบฤดูกาลได้มีการประกาศแลกตัวนักเตะระหว่าง บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด กับ บีอีซี-เทโรศาสน ซึ่งตัวนักเตะที่แลกก็คืออดิศักดิ์กับ นฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม ทำให้ในฤดูกาล 2558 อดิศักดิ์เล่นอยู่กับสโมสร บีอีซี-เทโรศาสน แต่ในที่สุดก็พา มังกรไฟ ตกชั้นลงไปเล่นในไทยลีกดิวิชั่น 1 หลังจบฤดูกาลที่เพียง 35 คะแนน ก่อนที่ มังกรไฟ จะได้สิทธิ์กลับมาเล่นหลัง สระบุรี เอฟซี นำโดย วีระพล อดิเรกสาร ประกาศถอนทีม ขุนศึก ออกจาก บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด จากปัญหาเรื่องผู้สนับสนุน

อดิศักดิ์เป็นตัวหลักในทีมชาติไทย ชุดคว้าแชมป์ เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2014 ภายใต้การคุมทีมของ ซิโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง โดยสามารถทำประตูได้ 2 ประตู ในรอบแบ่งกลุ่ม พาทีมชาติไทยชนะทีมชาติมาเลเซีย 3-2

ในปี พ.ศ. 2559 อดิศักดิ์ได้ย้ายสโมสรกลับมาเล่นให้กับ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ภายใต้การคุมทีมของ ธชตวัน ศรีปาน [2] และสามารถทำประตูให้กับ กิเลนผยอง ได้ในฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ก. ซึ่ง กิเลนผยอง แพ้ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ไป 1-3 ล่าสุด อดิศักดิ์ เปลี่ยนมาใส่เสื้อหมายเลข 9 ในฤดูกาล 2018[3]

ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 การแข่งขันชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน อดิศักดิ์สร้างสถิติใหม่ด้วยการทำประตูคนเดียวถึง 6 ประตู ในนัดที่ไทยเอาชนะติมอร์-เลสเต 7–0 ที่ราชมังคลากีฬาสถาน

การทำประตูในนามทีมชาติ

[แก้]
# วันที่ สนาม คู่แข่ง ทำประตู ผลการแข่งขัน รายการ
1. 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556 สนามเหอเฝย์โอลิมปิกสปอร์ตเซ็นเตอร์, เหอเฝย์, ประเทศจีน ธงชาติจีน จีน 2–0 5–1 กระชับมิตร
2. 3–1
3. 5 มีนาคม พ.ศ. 2557 ราชมังคลากีฬาสถาน, กรุงเทพมหานคร, ไทย ธงชาติเลบานอน เลบานอน 2–5 2–5 2015 AFC Asian Cup qualification
4. 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 80th Birthday Stadium, Nakhon Ratchasima, ไทย ธงชาตินิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ 2–0 2–0 กระชับมิตร
5. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 Jalan Besar Stadium, Jalan Besar, Singapore ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย 1–1 3–2 2014 AFF Championship
6. 3–2
7. 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ราชมังคลากีฬาสถาน, กรุงเทพมหานคร, ไทย ธงชาติจีนไทเป จีนไทเป 3–2 4–2 2018 FIFA World Cup qualification
8. 24 มีนาคม พ.ศ. 2559 Shahid Dastgerdi Stadium, Tehran, Iran ธงชาติอิรัก อิรัก 2–1 2–2
9. 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ราชมังคลากีฬาสถาน, กรุงเทพมหานคร, ไทย ธงชาติติมอร์-เลสเต ติมอร์-เลสเต 1–0 7–0 2018 AFF Championship
10. 2–0
11. 3–0
12. 4–0
13. 5–0
14. 6–0
15. 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 3–1 4–2
16. 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์ 3–0 3–0
17. 3 มิถุนายน พ.ศ. 2564 สนามกีฬาอาลมักตูม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 2-1 2-2 ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2
18. 1 มกราคม พ.ศ. 2565 สนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์, สิงคโปร์ ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 1–1 2–2 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2020
19. 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 สนามกีฬากลางจังหวัดศรีสะเกษ, ศรีสะเกษ, ไทย ธงชาติเติร์กเมนิสถาน เติร์กเมนิสถาน 1–0 1–0 กระชับมิตร
20. 26 ธันวาคม พ.ศ. 2565 สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต จังหวัดปทุมธานี, ไทย ธงชาติฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ 3–0 4–0 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2022
21. 10 มกราคม พ.ศ. 2566 ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย 3–0 3–0

เกียรติประวัติ

[แก้]

สโมสร

[แก้]

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

เมืองทอง ยูไนเต็ด

ตรังกานู

แบงค็อก ยูไนเต็ด

ทีมชาติ

[แก้]
ไทย รุ่นไม่เกิน 23 ปี
ไทย

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

อดิศักดิ์ มีสโมสรฟุตบอลที่ชื่นชอบ คือ สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Thunder storm to 3-0 win to stay unbeaten". Bangkok Post. 17 April 2011. สืบค้นเมื่อ 20 January 2012.
  2. กิเลนเปิดตัว"AK9"อดิศักดิ์สวมเบอร์11ล่าตาข่าย
  3. ไม่กลัวอาถรรพ์! "อดิศักดิ์" ปลื้มประเดิมเบอร์ 9 กิเลนสวย

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]