อำเภอพลับพลาชัย
อำเภอพลับพลาชัย | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Phlapphla Chai |
คำขวัญ: ตำนานหลักหิน ถิ่นมโหรี มีผ้าไหมงาม ลุ่มลำตาเตียว | |
แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์ เน้นอำเภอพลับพลาชัย | |
พิกัด: 14°43′48″N 103°10′6″E / 14.73000°N 103.16833°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | บุรีรัมย์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 306.67 ตร.กม. (118.41 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 44,971 คน |
• ความหนาแน่น | 146.64 คน/ตร.กม. (379.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 31250 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3115 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอพลับพลาชัย หมู่ที่ 9 ถนนประโคนชัย-กระสัง ตำบลสะเดา อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ 31250 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
พลับพลาชัย เป็นอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอประโคนชัย
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอพลับพลาชัย มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองบุรีรัมย์และอำเภอกระสัง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอปราสาท (จังหวัดสุรินทร์)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอประโคนชัย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอประโคนชัย
ประวัติ
[แก้]ในปี พ.ศ. 2530 พื้นที่ด้านทิศเหนือของอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่กว้างขวาง อยู่ห่างไกลจากอำเภอเดิม มีประชากรจำนวนมาก ยากแก่การปกครองและพัฒนา เจ้าหน้าที่ของรัฐออกตรวจตราและเยี่ยมเยียนราษฎรไม่ทั่วถึง และเป็นชุมชนที่มีแนวโน้มว่าจะมีความเจริญต่อไปในอนาคต และเพื่อเป็นการอำนวยความความสะดวก และ ให้บริการแก่ประชาชนในด้านต่างๆ และมีสถานที่เพียงพอที่จะจัดตั้งสถานที่ราชการได้ กระทรวงมหาดไทยและผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์มีความเห็นสอดคล้องต้องกันว่าควรจัดตั้งกิ่งอำเภอขึ้น ปีต่อมา พ.ศ. 2531 กรมการปกครองได้พิจารณาดำเนินการจัดตั้งกิ่งอำเภอ ซึ่งจังหวัดบุรีรัมย์ได้เสนอขอตั้งกิ่งอำเภอพลับพลาชัยในท้องที่อำเภอประโคนชัย ซึ่งกรมการปกครองได้บรรจุเข้าแผนการจัดตั้งกิ่งอำเภอและอำเภอระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2532 - 2537)
จนเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2532 ทางราชการได้ประกาศแยกพื้นที่ตำบลจันดุม ตำบลโคกขมิ้น ตำบลป่าชัน ตำบลสะเดา และตำบลสำโรง ของอำเภอประโคนชัย ออกเป็น กิ่งอำเภอพลับพลาชัย[1] และจังหวัดบุรีรัมย์ได้ทำพิธีเปิดป้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอพลับพลาชัย เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2532 โดยใช้ สถานที่คือ ศาลาการเปรียญวัดบ้านสะเดา เป็นที่ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอพลับพลาชัย (ชั่วคราว) โดยใช้ชื่อกิ่งอำเภอว่า "พลับพลาชัย" เป็นการนำคำว่า พลับพลา ซึ่งมาจากชื่อหมู่บ้านพลับพลา มาผนวกกับคำว่า "ชัย" ซึ่ง เป็นนามคำท้ายของอำเภอประโคนชัย ซึ่งเป็นอำเภอเดิมนำมารวมกันเป็น "พลับพลาชัย"
ในปี พ.ศ. 2537 เมื่อพื้นที่มีความเจริญ เป็นที่ตั้งของสถานีตำรวจ ไปรษณีย์โทรเลข[2] รวมทั้งศูนย์ราชการ และเป็นที่ประชุมชนมากขึ้น จึงกำหนดเขตพื้นที่หมู่ 2 บ้านพลับพลา หมู่ 1,9,12 บ้านสะเดา หมู่ 4,10 บ้านนกเกรียน หมู่ 5 บ้านโคกกี่ หมู่ 7 บ้านโคกตะเคียน ตั้งเป็น สุขาภิบาลพลับพลาชัย[3] ก่อนที่ในวันที่ 3 มิถุนายน ปีเดียวกัน มีพระราชกฤษฎีกาฯ ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอพลับพลาชัย[4] เป็นอำเภอลำดับที่ 15 ของจังหวัดบุรีรัมย์
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอพลับพลาชัยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 67 หมู่บ้าน
1. | จันดุม | (Chan Dum) | 18 หมู่บ้าน | ||||||
2. | โคกขมิ้น | (Khok Khamin) | 15 หมู่บ้าน | ||||||
3. | ป่าชัน | (Pa Chan) | 10 หมู่บ้าน | ||||||
4. | สะเดา | (Sadao) | 13 หมู่บ้าน | ||||||
5. | สำโรง | (Samrong) | 11 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอพลับพลาชัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลพลับพลาชัย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสะเดา
- เทศบาลตำบลจันดุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจันดุมทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลโคกขมิ้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกขมิ้นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลป่าชัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าชันทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสะเดา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะเดา (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลพลับพลาชัย)
- องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำโรงทั้งตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอพลับพลาชัย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (40 ง): 1887. วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2532
- ↑ "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขบ้านพลับพลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (6 ง): 119. วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2535
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลพลับพลาชัย กิ่งอำเภอพลับพลาชัย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (36 ง): 16–18. วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2537
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเปือยน้อย อำเภอภูผาม่าน อำเภอราชสาส์น อำเภอเกาะสีชัง อำเภอไชยปราการ อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข อำเภอพลับพลาชัย อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม อำเภอท่าแพ อำเภอชัยบุรี และอำเภอศรีวิไล พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21 ก): 32–34. วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537