ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธนาคารกสิกรไทย
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทย
ฉายาแบงค์รวงข้าว
ก่อตั้งพ.ศ. 2530
ยุบพ.ศ. 2543
ประธานชนะ รุ่งแสง
ผู้จัดการชาญวิทย์ ผลชีวิน
ฤดูกาลสุดท้าย
2543

อันดับที่ 3
(ยุบสโมสร)
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทย เป็นอดีตสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย และเป็นส่วนหนึ่งในสายงานของ ธนาคารกสิกรไทย โดยผลงานในอดีตของทีม นับว่าประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสโมสรฟุตบอลจากประเทศไทย โดยเป็นสโมสรเดียวที่ชนะเลิศการแข่งขันเอเชียนแชมเปียนส์คัพ ถึง 2 สมัย ซึ่งต่อมา สหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชียได้ทำการรวมการแข่งขันดังกล่าวกับเอเชียนคัพวินเนอร์คัพ และเปลี่ยนชื่อเป็น เอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก ในปัจจุบัน

ประวัติสโมสร

[แก้]

สโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยความคิดริเริ่มของ บัณฑูร ล่ำซำ ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารที่ต้องการส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลของ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ โดยเริ่มต้นจาก ถ้วยพระราชทาน ง. โดยได้ตั้ง ชนะ รุ่งแสง เป็นผู้จัดการทีม และ แก้ว โตอดิเทพย์ เป็นเฮดโค้ชคนแรกของสโมสร แต่ทว่าภายหลัง แก้ว โตอดิเทพย์ เสียชีวิตลง บอร์ดบริหารจึงได้แต่งตั้ง ชาญวิทย์ ผลชีวิน ขึ้นมาเป็นเฮดโค้ชแทน จากการชักชวนของ วิชิต แย้มบุญเรือง ที่ปรึกษาของสโมสรในขณะนั้น[1]

ยุคของชาญวิทย์

[แก้]

หลังจากที่ ชาญวิทย์ ผลชีวิน เข้ามารับตำแหน่งเฮดโค้ชของทีม ซึ่งตอนนั้นทีมอยู่ใน ถ้วยพระราชทาน ข. โดยมีนักเตะตัวหลักของทีมในเวลานั้นอย่าง สะสม พบประเสริฐ, สุรชัย จตุรภัทรพงษ์, ภาคภูมิ นพรัตน์, สัจจา ศิริเขต, สิงห์ โตทวี เป็นต้น พาทีมทำผลงานได้ดีจนสามารถเข้าชิงชนะเลิศกับ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 แต่จบด้วยรองชนะเลิศ อย่างไรก็ดีพวกเขาก็ยังได้เลื่อนชั้นมาเล่นใน ฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ก. ในที่สุด[1]

เลื่อนชั้นสู่ ถ้วย ก.

[แก้]

ปี พ.ศ. 2533 ถือว่าเป็นปีแรกที่ ธนาคารกสิกรไทยได้ขึ้นมาเล่นถ้วยพระราชทาน ก. ซึ่งถือว่าเป็นดิวิชั่นสูงสุดของฟุตบอลไทยในสมัยนั้น และเพียงปีแรกที่ขึ้นมาเล่น ธนาคารกสิกรไทยก็ได้ตำแหน่งชนะเลิศของฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ก.ในปีนั้น และได้สิทธิ์เป็นตัวแทนประเทศไทยลงแข่งขันในรายการ “เอเชียน คลับ แชมป์เปี้ยนชิพ” (ปัจจุบันคือรายการเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก) เป็นครั้งแรกในปี 2535 อีกด้วย[1]

สู่แชมป์เอเชีย

[แก้]

พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นปีแรกที่ทีมธนาคารกสิกรไทยเข้าร่วมแข่งขันนั้น ทีมเริ่มต้นรอบคัดเลือกรอบสามเจอกับทีม อาร์เซโต้ โซโล่ จาก อินโดนีเซีย โดยนัดแรกเอาชนะไปได้ 2-0 แต่นัดที่สองพวกเขาบุกไปแพ้ 3-0 ตกรอบด้วยสกอร์รวม 2 นัดแพ้ 2 - 3[1] ในปีต่อมา พ.ศ. 2535 สโมสรฯได้ลงแข่งขันในทัวร์นาเม้นนี้อีกครั้ง โดยรอบคัดเลือกรอบแรก โซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชนะผ่านปาหัง จากมาเลเซีย ที่ถอนตัว ก่อนที่รอบสองจะเอาชนะ อาเรม่า มาลัง จาก อินโดนีเซีย ด้วยสกอร์ 6 ประตูต่อ 3 ผ่านเข้ารอบแบ่งกลุ่มได้ ซึ่งพวกเขาได้อยู่กลุ่ม บี ซึ่งมีทีมอย่าง เหลินนิง เอฟซี จาก จีน และ มูฮาร์รัค คลับ จาก บาห์เรน โดยผลงานในรอบแบ่งกลุ่ม ทีมจบด้วยอันดับสอง ไปเจอกับ เวอร์ดี คาวาซากิ แชมป์ เจลีก ของ ญี่ปุ่น ในเวลานั้น โดยพวกเขาเอาชนะจุดโทษไปได้ 3-1 (เสมอในเวลาปกติ 1-1)[1] หลังจากที่พวกเขาเอาชนะทีมจากญี่ปุ่นมาได้ ในรอบชิงชนะเลิศ ทีมต้องเจอกับ โอมาน คลับ จาก โอมาน ซึ่งตัวผู้เล่นส่วนใหญ่เป็นนักเตะจากทีมชาติโอมานเกือบทั้งหมด และทีมสามารถเอาชนะไปได้ 2 ประตูต่อ 1 ได้สิทธิ์เป็นตัวแทนทีมจากเอเซียไปเล่นในการแข่งขัน รายการแอฟโร่-เอเชีย ซึ่งเป็นรายการที่เอาแชมป์สโมสรเอเชียมาแข่งกับแชมป์สโมสรของทวีปแอฟริกา โดยเจอกับ ซามาเลค โดยเกมแรก ซามาเลค เอาชนะไป 2-1 แต่ก็ยังกลับมาคว้าแชมป์ด้วยกฎประตูทีมเยือนคว้าแชมป์ไปในที่สุด หลังจากคว้าตำแหน่งชนะเลิศกลับมาได้ ในปี พ.ศ. 2537 พวกเขารักษาแชมป์ ควีนส์คัพ แต่เสียตำแหน่งชนะเลิศ ถ้วย ก. ให้ ทีมธนาคารกรุงเทพ แต่ปีต่อมา พวกเขากลับมาคว้าตำแหน่งชนะเลิศ ถ้วย ก. และ คว้าสิทธิ์ไปเล่นฟุตบอลเอเชียเป็นครั้งที่สอง

แชมป์เอเชียสมัยที่สอง

[แก้]

ปี พ.ศ. 2538 ในการแข่งขัน เอเชียน คลับ แชมป์เปี้ยนชิพ ธนาคารกสิกรไทยอยู่ร่วมสายเดียวกับ อิลวา ชุนม่า (หรือ ซองนัม อิลวา ในปัจจุบัน) จาก เกาหลีใต้, เวอร์ดี้ คาวาซากิ จาก ญี่ปุ่น และ เหลินนิง เอฟซี จาก จีน ซึ่งพวกเขาต้องไปเล่นที่เกาหลีใต้[1] แต่ก็ยังทำผลงานได้ดี โดยจบเป็นอันดับที่สองในสาย เจอกับ เอฟเค นาฟเซ่ ทีมจาก อุซเบกิสถาน ซึ่งทีมเอาชนะได้ในการดวลจุดโทษตัดสิน โดยรอบชิงชนะเลิศ พวกเขาต้องเจอกับทีม อัล- อาราบี้ จาก กาตาร์ และสามารถเอาชนะได้ จากประตูของ เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์ ในนาทีที่ 82[1] และได้สิทธิ์ไปแข่งรายการแอฟโร่-เอเชีย อีกหนึ่งสมัยโดยเจอกับทีมเอสเปแรนซ์ จาก ตูนิเซีย และได้รองแชมป์ในครั้งนั้น

เข้าสู่ฟุตบอลอาชีพ และ ยุบสโมสร

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2539 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้ก่อตั้งลีกอาชีพขึ้น ในชื่อ “จอห์นนีวอล์กเกอร์ไทยแลนด์ซอกเกอร์ลีก 2539” หรือไทยลีกครั้งที่ 1 ปีนั้นธนาคารกสิกรไทยนับเป็นสโมสรที่มีการพัฒนาแฟนคลับอย่างเป็นเรื่องเป็นราวและพยายามพัฒนาสู่การเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพ โดยใช้หลักการทำธุรกิจกีฬาควบคู่กับการดำเนินงานของธนาคาร ในฤดูกาลนี้ธนาคารกสิกรไทยจบฤดูกาลลีกด้วยอันดับที่ 1 แต่ในปีนั้นมีการเอาสี่อันดับแรกในตาราง มาเพลย์ออฟหาแชมป์ ซึ่งผลสุดท้ายธนาคารกสิกรไทยพลาดตกรอบในรอบเพลย์ออฟ แต่พวกเขายังสามารถคว้าแชมป์ควีนส์คัพได้เป็นสมัยที่สามติดต่อกัน อย่างไรก็ดี แม้ทีมเองจะทำผลงานได้ดี แต่เพราะ วิกฤตการณ์การเงินในปี 2540 ทำให้ประสบปัญหาหนักด้านการเงิน โดยทางทีมเองได้ปรึกษาหาหรือกัน จนมีข่าวที่ว่าจะมีการยุบสโมสร แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม ผลงานของทีมก็อยู่ในขั้นที่ว่าไม่แย่จนเกินไปนัก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2543 ธนาคารกสิกรไทยประกาศยุบทีมด้วยสาเหตุมาจากวิกฤตการณ์การเงินในปี 2540 ซึ่งทำให้ต้องยุบสโมสรกีฬาทั้งหมดของทางธนาคารกสิกรไทย[1]

ผลงานความสำเร็จ

[แก้]
  • เอเชียนแชมเปียนส์คัพ - ชนะเลิศ 2 ครั้ง - 2537, 2538
  • เอเชียนซูเปอร์คัพ - รองชนะเลิศ 1 ครั้ง - 2538
  • ควีนส์คัพ - ชนะเลิศ 4 ครั้ง - 2537, 2538, 2539, 2540
  • ถ้วย ก - ชนะเลิศ 5 ครั้ง - 2534, 2535, 2536, 2538, 2543
  • ถ้วย ข - ชนะเลิศ 1 ครั้ง - 2533
  • แอโฟร-เอเชียนคลับแชมเปียนชิพ - ชนะเลิศ 1 ครั้ง - 2537
  • เอฟเอคัพ - 1 ครั้ง - 2543

อดีตผู้เล่นของทีม

[แก้]

อดีตทีมสตาฟ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 http://www.fourfourtwo.com/th/features/eruuengelaakhngsomsrthiihaayaip-thai-farmer-ehr-khuneaachaawnaamaaelnhruueyaangair เก็บถาวร 2018-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Thai Farmer เหรอ... คุณเอาชาวนามาเล่นหรืออย่างไร?-FourFourTwo Thailand