ข้ามไปเนื้อหา

เอ็นเคเอฟ (รถดีเซลราง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Railcar NKF
ขบวนรถธรรมดาที่ 279 ที่สถานีคลองตัน
ประจำการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้ผลิตโตกิวคาร์ คอร์เปอเรชัน, ฮิตาชิ, ฟูจิ เฮฟวี อินดัสทรีส์, คาวาซากิ เรลคาร์ เมนูแฟคเจอริ่ง, นีงาตะ เอนจิเนียริ่ง และคิงกิ ชาเรียว
เข้าประจำการพ.ศ. 2528
จำนวนที่ผลิต64 คัน
จำนวนในประจำการ60 คัน
จำนวนที่เก็บรักษาไว้4 คัน
หมายเลขตัวรถกซข.1201 - 1264
ความจุผู้โดยสาร74 ที่นั่ง/คัน
คุณลักษณะ
วัสดุตัวถังสแตนเลสสตีล
ความยาว20.800 m (68 ft 2.9 in)
ความกว้าง2.815 m (9 ft 2.8 in)
ความสูง3.730 m (12 ft 2.9 in)
จำนวนประตู4 ประตู
รูปแบบการจัดวางล้อ1A-2
ความเร็วสูงสุด105 km/h (65 mph)
น้ำหนัก33.50 ตัน
น้ำหนักกดเพลา8.83 ตัน
เครื่องยนต์Cummins N855-R2
กำลังขับเคลื่อน235 แรงม้า ที่ 2,100 รอบ/นาที
แรงฉุดลากไฮดรอลิก
ชุดส่งกำลังVoith T211R
ระบบเบรกลมอัด 2 สูบ
มาตรฐานทางกว้าง1,000 mm (3 ft 3 38 in)

เอ็นเคเอฟ (NKF) เป็นรถดีเซลรางของการรถไฟแห่งประเทศไทย ใช้สำหรับการทำขบวนรถโดยสาร และ ขบวนรถชานเมือง สั่งซื้อจากบริษัท Nippon Sharyo, Ltd. (หมายเลข 1201-1212 และ 1217-1224) , Hitachi, Ltd. (หมายเลข 1213-1216) , Fuji Heavy Industries Ltd (หมายเลข 1225-1233) , Kawasaki Railcar Manufacturing Co., Ltd. (หมายเลข 1234-1244) , Niigata Engineering Co., Ltd. (หมายเลข 1245-1254) และ The Kinki Sharyo Co., Ltd. (หมายเลข 1255-1264) ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2528 โดยได้ถอดแบบมาจาก ทีเอชเอ็น (THN) เพื่อนำมาผลิตเพิ่มซึ่งมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย

ประวัติ

[แก้]

หลังจากการใช้งาน ทีเอชเอ็น (THN) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่ารถดีเซลรางรุ่นก่อน ๆ ทั้งในแง่ความคล่องตัว และ ความเร็ว ประกอบกับช่วงเวลานั้นจำนวนผู้ใช้รถไฟชานเมืองค่อนข้างหนาแน่น การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงมีโครงการที่จะสั่งซื้อรถดีเซลรางเพิ่ม เพื่อนำมาใช้งานสำหรับรถชานเมืองโดยเฉพาะ และได้ออกมาเป็น เอ็นเคเอฟ (NKF) ใน พ.ศ.2528 โดยได้ปรับแบบจาก ทีเอชเอ็น (THN) บางส่วน เช่น ใช้เบาะนั่งแบบพลาสติกแข็ง เพื่อความคงทน และ รักษาความสะอาดได้ง่าย เหมาะกับการนั่งระยะทางสั้นๆ ได้มีการนำหิ้งวางสำภาระบริเวณที่นั่งเลขที่ 65-74 ออก และมีการเพิ่มฝาสำหรับเปิดดูเครื่องยนต์ได้จากบนพื้นรถ

รถดีเซลรางNKF ที่โรงรถดีเซลรางกรุงเทพ

เมื่อรับมอบ เอ็นเคเอฟ (NKF) ใน พ.ศ.2528 การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟก็ได้ใช้ เอ็นเคเอฟ (NKF) ในการทำขบวนรถชานเมืองและรถโดยสารเป็นหลัก และในปี พ.ศ. 2539 ก็ยังได้เริ่มนำไปใช้ใน ทางรถไฟสายชานเมืองแม่กลองอีกด้วย

แต่เนื่องจากการตรึงตัวในการใช้งาน การรถไฟแห่งประเทศไทย เลยมักจะนำ เอ็นเคเอฟ (NKF) ไปใช้ทำขบวนรถด่วน และ รถทางไกล ร่วมกับ ทีเอชเอ็น (THN) และ เอทีอาร์ (ATR) ด้วย โดยในปัจจุบัน เอ็นเคเอฟ (NKF) ก็ยังคงใช้งานเป็นกำลังหลักของการรถไฟแห่งประเทศไทย และ เอ็นเคเอฟ (NKF) หลายคันก็ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนเบาะนั่งใหม่เป็นเบาะนวมและหนังเทียมเหมือนที่ใช้ใน ทีเอชเอ็น (THN)

การใช้งาน

[แก้]

เอ็นเคเอฟ (NKF)เป็นรถดีเซลรางที่มีรูปแบบการใช้งานได้หลายรูปแบบ และใช้งานร่วมกับรุ่นอื่น ๆ ได้หลายรุ่น ไม่จำกัดวิธีการพ่วงรถเหมือนอาร์เอชเอ็น (RHN) ที่ต้องใช้งานเป็นคู่ โดยทั่วไปจะใช้งานร่วมกับ ทีเอชเอ็น (THN) และ เอทีอาร์ (ATR) แต่ก็ยังสามารถใช้งานร่วมกับ อาร์เอช (RH) และ อาร์เอชเอ็น (RHN) ได้อีกด้วย

รถดีเซลรางATRใช้งานร่วมกับNKF

เอ็นเคเอฟในสายชานเมืองแม่กลอง

[แก้]
รถดีเซลราง NKF ในสายวงเวียนใหญ่ - มหาชัย
รถดีเซลราง NKF สีแดงคาดเขียวในสายบ้านแหลม-แม่กลอง

เอ็นเคเอฟ (NKF) ถูกส่งไปใช้งานในสายวงเวียนใหญ่ - มหาชัย และ สายบ้านแหลม-แม่กลอง เพื่อทดแทนรถดีเซลรางรุ่นเก่าอย่าง อาร์เอชเอ็น (RHN) และยังคงใช้งานเป็นหลักจนถึงปัจจุบัน

สายวงเวียนใหญ่ - มหาชัย

[แก้]
  • พ.ศ. 2539 เริ่มนำ เอ็นเคเอฟ (NKF) และ เอทีอาร์ (ATR) จากเส้นทางหลักมาใช้งานที่ สายวงเวียนใหญ่ - มหาชัย
    • กซข.1203, กซข.1204, กซข.1206, กซข.1207 และ กซม.ป.2101
  • พ.ศ. 2540 ได้นำ เอ็นเคเอฟ (NKF) มาใช้งานเพิ่มอีก 4 คัน
    • กซข.1202, กซข.1205, กซข.1208 และกซข.1215
  • พ.ศ. 2542 ได้นำ เอ็นเคเอฟ (NKF) มาใช้งานเพิ่มอีก 4 คัน
    • กซข.1201, กซข.1211, กซข.1212 และ กซข.1214

(ปัจจุบัน กซข.1212 ถูกย้ายไปใช้งานในบ้านแหลม-แม่กลอง)

  • พ.ศ. 2549 ได้นำ เอ็นเคเอฟ (NKF) มาใช้งานเพิ่มอีก 4 คัน เพื่อทดแทน อาร์ทีเอส (RTS) ที่ถยอยปลดระวางในขณะนั้น
    • กซข.1234, กซข.1248, กซข.1255 และ กซข.1260
รถดีเซลราง RTS


สายบ้านแหลม-แม่กลอง

[แก้]
รถดีเซลรางNKF ขณะกำลังวิ่งผ่านตลาดร่มหุบ
  • พ.ศ. 2540 เริ่มนำ เอ็นเคเอฟ (NKF) มาใช้งาน 2 คัน
    • กซข.1210, กซข.1213
  • พ.ศ. 2552 ได้นำ เอ็นเคเอฟ (NKF) มาใช้งานเพิ่มอีก 2 คัน เพื่อนำมาเปิดรถนำเที่ยวสายแม่กลอง
    • กซข.1221 และ กซข.1241
  • พ.ศ. 2554 ได้นำ เอ็นเคเอฟ (NKF) มาใช้งานเพิ่มอีก 2 คัน เพื่อนำมาทดแทน กซข.1210 และ กซข.1213 ที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมจากการใช้งานหนัก
    • กซข.1216 และ กซข.1227
  • พ.ศ. 2567 ได้ย้ายรถมาจากสายวงเวียนใหญ่ - มหาชัย 1 คัน เพื่อนำมาใช้งานเพิ่ม
    • กซข.1212


ย้ายกลับสายหลัก

[แก้]
รถดีเซลรางNKF1210 จอดหมดสภาพการใช้งานที่โรงงานมักกะสัน
  • พ.ศ. 2554 ได้นำ เอ็นเคเอฟ (NKF) กซข.1210 และ กซข.1213 กลับสายหลัก เนื่องจากมีสภาพชำรุดทรุดโทรมจากการใช้งานหนัก (ปัจจุบันทั้งสองคันหมดสภาพการใช้งาน และ ถูกเสนอตัดบัญชี)
  • พ.ศ. 2564 ได้นำ เอ็นเคเอฟ (NKF) กซข.1214 และ กซข.1248 กลับสายหลัก เนื่องจากมีสภาพชำรุดการใช้งาน เพื่อนำไปซ่อมบำรุง โดยมีทีเอชเอ็น (THN) กซข.1102 และ กซข.1125 มาทดแทน (ปัจจุบันทั้งสองคันอยู่ระหว่างรอการซ่อมบำรุงที่โรงงานมักกะสัน)
  • พ.ศ. 2565 ได้นำ เอ็นเคเอฟ (NKF) กซข.1204 และ กซข.1234 กลับสายหลัก เนื่องจากมีสภาพชำรุดการใช้งาน เพื่อนำไปซ่อมบำรุง โดยมีทีเอชเอ็น (THN) กซข.1121 และ กซข.1140 มาทดแทน (ปัจจุบัน กซข.1234 กลับมาใช้งานต่อในสายหลักแล้ว ส่วน กซข.1204 ยังอยู่ระหว่างรอการซ่อมบำรุงที่โรงงานมักกะสัน)

ปรับปรุงเพื่อรองรับชานชาลาสูง

[แก้]

ใน พ.ศ. 2562 ได้มีการปรับปรุงประตูทางขึ้น-ลง รถดีเซลรางเอ็นเคเอฟ (NKF) เพื่อรองรับสถานีรถไฟทางคู่ที่กำลังก่อสร้างในหลายเส้นทาง[1]

รถดีเซลรางNKF ที่ดัดแปลงประตูเพื่อรองรับชานชาลาสูง

รถดีเซลราง NKF ที่ตัดบัญชี

[แก้]
หมายเลข สาเหตุการเสียหาย ขบวนที่ทำ เวลา สถานที่ ความเสียหาย สถานะปัจจุบัน
1209 พุ่งชนท้ายขบวนรถเร็วที่ 48 นครศรีธรรมราช - กรุงเทพ ขบวนรถดีเซลรางขบวนที่ 170 หลังสวน - ธนบุรี 27 กรกฎาคม พ.ศ.2532 สถานีรถไฟห้วยทรายเหนือ ตัวรถได้รับความเสียหายตัวถังและโครงประธานฉีกขาด ตัดบัญชี
1261 ชนประสานงากับ ขบวน 63 กรุงเทพ - อุบลราชธานี ขบวนรถดีเซลรางขบวนที่ 206 ขอนแก่น - สระบุรี 12 มิถุนายน พ.ศ.2532 ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ตัวรถได้รับความเสียหายโครงประธานหักกลางบิดผิดรูป ตัดบัญชี
1210 และ 1213 หมดสภาพจากการใช้งาน ขบวนรถธรรมดาสายบ้านแหลม–แม่กลอง ใช้งานครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2554 ทางรถไฟสายบ้านแหลม–แม่กลอง หมดสภาพจากการใช้งาน เสนอตัดบัญชี

รายละเอียดเพิ่มเติม

[แก้]
  • หมายเลข 1202 1206 1216 1217 1218 1219 1220 1222 1223 1224 1225 1226 1227 1229 1230 1231 1233 1235 1236 1237 1238 1239 1240 1242 1243 1244 1245 1249 1251 1254 1257 1258 1262 และ 1264 เป็นรถดีเซลรางที่มีการติดตั้งหวีดยี่ห้อ Nathan AirChime รุ่น K3LA
  • หมายเลข 1201 1212 1215 1234 1239 1242 1243 1251 1256 1257 1262 และ 1264 เป็นรถดีเซลรางที่มีการเปลี่ยนเบาะจากแบบพลาสติกแข็งมาเป็นเบาะนวม
  • หมายเลข 1202 1203 1204 1205 1206 1207 1208 1211 1214 1223 1228 1236 1242 1248 1255 1260 เป็นรถดีเซลรางที่ยังคงใช้สีแบบเก่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2554
  • หมายเลข 1212 1216 1221 1227 1241 เป็นรถดีเซลรางสีแบบแดงคาดเขียวซึ่งใช้ในเส้นทางสายบ้านแหลม-แม่กลองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559

ขบวนรถที่ให้บริการ

[แก้]
  • ขบวนรถด่วนที่ 71/72 กรุงเทพอภิวัฒน์–อุบลราชธานี–กรุงเทพอภิวัฒน์
  • ขบวนรถด่วนที่ 75/76 กรุงเทพอภิวัฒน์–หนองคาย–กรุงเทพอภิวัฒน์
  • ขบวนรถด่วนที่ 77/78 กรุงเทพอภิวัฒน์–หนองคาย–กรุงเทพอภิวัฒน์[a] (ปัจจุบันงดให้บริการชั่วคราว)
  • ขบวนรถเร็วที่ 105/106 กรุงเทพอภิวัฒน์–ศิลาอาสน์–กรุงเทพอภิวัฒน์ (ปัจจุบันงดให้บริการชั่วคราว)
  • ขบวนรถธรรมดาที่ 209/210 กรุงเทพ–บ้านตาคลี–กรุงเทพ
  • ขบวนรถธรรมดาที่ 261/262 กรุงเทพ–สวนสนประดิพัทธ์–กรุงเทพ
  • ขบวนรถธรรมดาที่ 279/280 กรุงเทพ–ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก–กรุงเทพ
  • ขบวนรถธรรมดาที่ 281/282 กรุงเทพ–กบินทร์บุรี–กรุงเทพ
  • ขบวนรถชานเมืองที่ 303/304 กรุงเทพ–ลพบุรี–กรุงเทพ
  • ขบวนรถชานเมืองที่ 311/376/378 กรุงเทพ–รังสิต–หัวตะเข้–กรุงเทพ[b] (ปัจจุบันงดให้บริการชั่วคราว)
  • ขบวนรถชานเมืองที่ 317/318 กรุงเทพ–ลพบุรี–กรุงเทพ[c]
  • ขบวนรถชานเมืองที่ 355/356 กรุงเทพ–ชุมทางหนองปลาดุก–กรุงเทพ (วันอาทิตย์ปลายทางสุพรรณบุรี, วันจันทร์ต้นทางสุพรรณบุรี)
  • ขบวนรถชานเมืองที่ 383/384 และ 389/390 กรุงเทพ–ชุมทางฉะเชิงเทรา–กรุงเทพ
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 401/402 ลพบุรี–พิษณุโลก–ลพบุรี
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 405/406 ศิลาอาสน์–สวรรคโลก–ศิลาอาสน์
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 403/410 พิษณุโลก–ศิลาอาสน์–พิษณุโลก
  • ขบวนรถท้องถิ่นที่ 407/408 นครสวรรค์–เชียงใหม่–นครสวรรค์
  • ขบวนรถพิเศษนำเที่ยวที่ 909/910 กรุงเทพ–น้ำตกไทรโยคน้อย–กรุงเทพ[d]
  • ขบวนรถพิเศษนำเที่ยวที่ 911/912 กรุงเทพ–สวนสนประดิพัทธ์–กรุงเทพ[e]
  • ขบวนรถพิเศษชานเมืองเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง ธนบุรี-นครปฐม-ธนบุรี
  • ขบวนรถชานเมืองในสายวงเวียนใหญ่ - มหาชัย
  • ขบวนรถชานเมืองในสายบ้านแหลม-แม่กลอง

สมุดภาพ

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. ขบวนที่ 77/78 ใช้เส้นทางชุมทางแก่งคอย–นครราชสีมา–ชุมทางบัวใหญ่ โดยปกติจะใช้ชุดขบวนรถสลับกับ ขบวนที่ 75/76
  2. ขบวนที่ 311/376/378 เดินเฉพาะวันทำงาน
  3. ขบวนที่ 317/318 เดินเฉพาะวันทำงาน
  4. ขบวนที่ 909/910 เดินเฉพาะวันหยุดเสาร์–อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
  5. ขบวนที่ 911/912 เดินเฉพาะวันหยุดเสาร์–อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

อ้างอิง

[แก้]
  1. "รถไฟปรับปรุงชานบันไดแบบใหม่รถโดยสารสูง 1.10 เมตร เร่งสายอีสานให้เสร็จเม.ย.นี้". สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]