สถานีรถไฟหัวหิน
หัวหิน Hua Hin | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สถานีรถไฟหัวหินหลังปัจจุบัน (ยกระดับ) | |||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนพระปกเกล้า ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ | ||||||||||||||||
พิกัด | 12°33′55″N 99°57′18″E / 12.5652640°N 99.9549296°E | ||||||||||||||||
ผู้ให้บริการ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||||||||||||||||
ผู้บริหาร | กระทรวงคมนาคม | ||||||||||||||||
สาย | |||||||||||||||||
ชานชาลา | 2 | ||||||||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ระดับดิน (สถานีเดิม), ยกระดับ (สถานีใหม่) | ||||||||||||||||
ระดับชานชาลา | 2 | ||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||||||||
รหัสสถานี | 4118 (หห.) | ||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 11 ธันวาคม พ.ศ. 2566 (สถานีใหม่) | (สถานีเดิม)||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
|
สถานีรถไฟหัวหิน (อังกฤษ: Hua Hin Railway Station) เป็นสถานีรถไฟระดับหนึ่งบนเส้นทางรถไฟสายใต้ (กรุงเทพ–สุไหงโกลก) ตั้งอยู่ระหว่างสถานีรถไฟห้วยทรายใต้ (เดิมระหว่างสถานีรถไฟหัวหินกับสถานีรถไฟห้วยทรายใต้เคยมีที่หยุดรถบ่อฝ้ายแต่ปัจจุบันได้ถูกยุบเลิกไปแล้ว) กับสถานีรถไฟหนองแก โดยเป็นสถานีรถไฟแรกในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อนั่งรถไฟเที่ยวไป และเป็นสถานีหนึ่งในโครงการรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม - ชุมพร
สถานีหัวหินก่อสร้างและเปิดเดินรถในสมัยรัชกาลที่ 6 ตัวสถานีและย่านเดิมมีจำนวนทาง 3 ทาง เป็นทางหลัก 1 ทาง ทางหลีก 2 ทาง โดยเป็นทางติดชานชาลา 2 ทาง ปัจจุบัน เป็นสถานียกระดับ ความสูง 2 ชั้น มีทางหลัก 2 ทาง ขนาบข้างด้วยชานชาลาด้านข้าง 2 ชานชาลา
สถานีรถไฟหัวหินเป็นสถานีหนึ่งในโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - ปาดังเบซาร์ ช่วงสถานีรถไฟกรุงเทพ - หัวหิน รหัสสถานี HS05 อยู่ระหว่างสถานีรถไฟเพชรบุรี กับสถานีรถไฟประจวบคีรีขันธ์ เปิดใช้งานประมาณปี พ.ศ. 2575
ประวัติ
[แก้]สถานีรถไฟหัวหิน สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2454 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาในพิธีเปิดการเดินรถระหว่างสถานีรถไฟชะอำ ถึงสถานีรถไฟหัวหินในวันที 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 หลังจากนั้นสถานีรถไฟหัวหินกลายเป็นสถานที่สำคัญสำหรับการลงมาท่องเที่ยวชายทะเลเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ สำหรับอาคารสถานีรถไฟหัวหินหลังแรกนั้นเป็นอาคารไม้ขนาดเล็ก ต่อมาใน พ.ศ. 2469 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ได้ทรงบัญชาการให้ยกอาคารไม้ที่ใช้สร้างศาลาในงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ ซึ่งมีแผนจะจัดที่สวนลุมพินีเมื่อปลายปี พ.ศ. 2468 แต่ไม่ได้มีการจัดงานจริงเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเสียก่อน และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งให้เลิกจัดงานดังกล่าว ศาลาหลังนี้จึงถูกถอดลงแล้วนำไปประกอบใหม่เป็นอาคารสถานีรถไฟหัวหินในปัจจุบัน[1]
สถานีรถไฟหัวหินเป็นสถานีชั้น 1 ภายในย่านสถานีรถไฟหัวหินมีอาคารและสิ่งปลูกสร้างทที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์หลายหลัง ได้แก่ อาคารสถานีรถไฟ พลับพลาพระมงกุฎเกล้า หอสัญญาณประแจกล อาคารที่ทำการต่างๆ และบ้านพักพนักงานการรถไฟ นอกจากนี้บริเวณด้านหน้าสถานีรถไฟมีห้องสมุดการรถไฟฯ หัวหินตั้งอยู่โดยห้องสมุดนี้สร้างขึ้นด้วยการดัดแปลงตู้รถไฟเก่า 2 คันมาเชื่อมต่อกันด้วยอาคารทางเข้าชั้นเดียวยกพื้นสูง และมีหัวรถจักรไอน้ำมิกาโด หมายเลข 305 ตั้งแสดงอยู่
สิ่งก่อสร้างที่สำคัญ
[แก้]อาคารสถานี
[แก้]อาคารสถานีเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นการผสมผสานระหว่างรูปแบบอาคารไม้แบบบังกะโลและศิลปะตะวันตก ผังพื้นสถานีเป็นรูปตัวอี(E) วางขนานไปกับทางรถไฟ ผังอาคารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนสถานีและส่วนชานชาลา แต่ละส่วนมีหลังคาคลุมของตนเอง โดยส่วนสถานีแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนด้านหน้าติดกับถนนทางเข้า ตรงกลางของส่วนนี้เป็นห้องรับรอง มุขปลายทั้ง 2 ด้านเป็นโถงโล่งเชื่อมต่อกันด้วยทางเดินยาวตลอด แนวอาคารส่วนด้านหลังงติดกับส่วนชานชาลาเป็นเป็นห้องต่างๆ เรียงต่อกันโดยห้องซ้ายสุดเป็นห้องขายตั๋ว ถัดมาเป็นโถงพักคอย ห้องทำงานนายสถานีห้องปฏิบัติการเดินรถ ห้องรับส่งสินค้า และห้องขวาสุดเป็นห้องประชุม ระหว่างห้องรับรองหัองทำงานนายสถานี ห้องปฏิบัติการเดินรถ และโถงโล่งปลายอาคาร ทั้ง 2 ด้าน มีห้องโถงแจกขนาดเล็กทำหน้าที่เชื่อมต่อห้องต่างๆ เหล่านี้เข้าด้วยกัน หลังคาส่วนสถานีเป็นหลังคาปั้นหยา ด้านหน้าอาคารมีมุขยื่น 3 มุข หลังคาลดชั้นมีจั่วขนาดเล็กด้านบน หนับันใต้จั่วมีลายฉลุตกแต่งสวยงาม ส่วนชานชาลาเป็นโครงสร้างไม้เซาะร่อง หลังคาจั่วหัวตัดบริเวณตรงกลาง และด้านข้างทั้งสอง ด้านหน้าบันใต้จั่วมีลายฉลุตกแต่ง หลังคาอาคารทั้งหมดมุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์รูปว่าว
พลับพลาพระมงกุฎเกล้าฯ
[แก้]พลับพลาพระมงกุฎเกล้าฯ เป็นพลับพลาจตุรมุขสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เดิมมีชื่อว่า พลับพลาสนามจันทร์ ตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม พลับพลานี้มีไว้ในการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯเสด็จประทับทอดพระเนตรกองเสือป่าและลูกเสือทั่วประเทศทำการฝึกซ้อมยุทธวิธีเป็นประจำทุกปี หลังจากสิ้นรัชสมัยของพระองค์ การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้รื้อถอนมาเก็บไว้ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์
ต่อมาในปีพ.ศ. 2511 สมัยพันเอกแสง จุละจาริตต์ เป็นผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้พิจารณาเห็นว่าควรนำเครื่องอุปกรณ์ก่อสร้างของพลับพลาสนามจันทร์มาปลูกสร้างขึ้นใหม่ที่สถานีรถไฟหัวหินเพื่อเป็นที่ประทับขึ้นและลงรถไฟของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช การดำเนินการก่อสร้างนี้ใช้ช่างฝีมือคนไทยและได้มีการทำพิธีเปิดพลับพลาซึ่งได้ตั้งชื่อใหม่ว่า พลับพลาพระมงกุฎเกล้าฯ เมื่อวันเสาร์ที่ 6 เมษายน 2517 โดยสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นองค์ประธาน
โรงแรมรถไฟหัวหิน
[แก้]โรงแรมหัวหิน (โฮเต็ลหัวหิน) สร้างขึ้นโดยกรมรถไฟเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนชายทะเล และเป็นที่รักษาสุขภาพของพระบรมวงศานุวงศ์ ชาวต่างประเทศและคหบดี ประกอบด้วยอาคารหลัก 1 หลัง กลุ่มบังกะโล และพื้นที่โดยรอบที่มีการจัดสวนอย่างสวยงาม มีการเปิดใช้โรงแรมอย่างไม่เป็นทางการ พร้อมกับสนามกอล์ฟหลวงหัวหิน 9 หลุมแรก ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2465 หลังจากนั้น ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2466 จึงเปิดโรงแรมอย่างเป็นทางการ
อาคารหลักของโรงแรมออกแบบโดย เอ. ริกาซซิ (Mr. A. Rigassi) สถาปนิกชาวอิตาลี เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น หลังคาทรงปั้นหยา มุงด้วยกระเบื้องว่าวสีแดง ผังพื้นอาคารเป็นรูปตัวแอล (L) ประกอบด้วยโถงกลางรูปกลม สองข้างของโถงกลางเป็นปีกรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทำมุมฉากกัน พื้นที่ชั้นล่างเป็นส่วนต้อนรับและบริการ ห้องอาหาร และเดอะมิเซียมคอฟฟี่แอนด์ทีคอร์เนอร์ พื้นที่ชั้นบนเป็นส่วนห้องพักทั้งหมด โดยมีระเบียงและทางเดินกว้างขนาบทั้งด้านหน้าและด้านหลังของพื้นที่ใช้สอยส่วนต่าง ๆ ระหว่างเสาระเบียงแต่ละช่วงมีแผงกันแดดบานเกล็ดไม้ แสดงให้เห็นถึงการประยุกต์สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกให้เข้ากับภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศไทย สำหรับบังกะโลเป็นอาคารไม้ยกพื้นสูง หลังคาเป็นทรงจั่ว ด้านหน้าเป็นระเบียงทางขึ้นขนาดใหญ่ พื้นที่ภายในมีลักษณะโปร่งโล่งทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ให้โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์บีช รีสอร์ท แอนด์ วิลล่า หัวหิน (Centara Grand Beach Resort & Villas Hua Hin) เป็นผู้เช่า ซึ่งได้มีการอนุรักษ์และพัฒนาอาคารหลัก กลุ่มบังกะโล และสวนไม้ดัดอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถรักษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมที่สำคัญไว้ได้[1]
ซึ่งในอดีตเคยมีทางรถไฟแยกเข้าไปทางโรงแรมแห่งนี้
แผนผังสถานี
[แก้]สถานีเดิม
[แก้]ถนนพระปกเกล้า |
มุ่งหน้า ห้วยทรายใต้ ----------|----------|----------|----------|------------|----------|----------|----------|----------|---------- มุ่งหน้า หนองแก |
----------------|----------|----------|----------|----------|------ รางหลีก ------|----------|----------|----------|----------|---------------- |
----------------|----------|----------|----------|----------|------ รางหลีก ------|----------|----------|----------|----------|---------------- |
หอประแจ (ถูกรื้อถอนแล้ว), สนามกอล์ฟรอยัลหัวหิน |
สถานีปัจจุบัน
[แก้]U1 ชานชาลารถไฟทางไกล |
||
ชานชาลา 1 | สายใต้ มุ่งหน้า สุไหงโก-ลก (หนองแก) | |
ชานชาลา 2 | สายใต้ มุ่งหน้า กรุงเทพ (หัวลำโพง) หรือ กรุงเทพอภิวัฒน์ หรือ ธนบุรี (ห้วยทรายใต้) | |
G ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า |
G ระดับถนน |
- | ทางหลวงชนบท ปข.2043, ทางข้ามทางรถไฟเดิมไปยังสถานีรถไฟเดิมและถนนพระปกเกล้า |
ตารางเดินรถ
[แก้]- ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567
เที่ยวไป
[แก้]ขบวนรถ | ต้นทาง | หัวหิน | ปลายทาง | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | ||||
ดพ39 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 22.50 | 02.04 | สุราษฎร์ธานี | 07.50 | ||
ดพ41 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 22.50 | 02.04 | ยะลา | 13.40 | งดเดินรถ | |
ดพ43 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 07.30 | 10.31 | สุราษฎร์ธานี | 16.20 | ||
น911 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 06.30 | 10.54 | สวนสนประดิพัทธ์ | 11.33 | เฉพาะวันหยุดราชการ | |
ธ255 | ธนบุรี | 07.20 | 11.46 | หลังสวน | 18.10 | ||
ธ261 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 09.20 | 13.50 | สวนสนประดิพัทธ์ | 14.00 | ||
ธ251 | ธนบุรี | 13.10 | 17.31 | ประจวบคีรีขันธ์ | 19.10 | ||
ร171 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 15.10 | 18.44 | สุไหงโก-ลก | 10.10 | ||
ดพ45 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 16.10 | 19.45 | ปาดังเบซาร์ | 08.05 | ||
ดพ37 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 16.10 | 19.45 | สุไหงโก-ลก | 10.35 | ||
ดพ31 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 16.50 | 20.20 | ชุมทางหาดใหญ่ | 07.05 | ||
ร169 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 17.30 | 21.20 | ยะลา | 11.05 | ||
ด83 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 18.50 | 22.29 | ตรัง | 08.15 | ||
ด85 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 19.50 | 23.42 | นครศรีธรรมราช | 09.40 | ||
ร167 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 20.30 | 00.18 | กันตัง | 11.25 | ||
ร173 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 21.10 | 00.45 | นครศรีธรรมราช | 10.15 | งดเดินรถ | |
หมายเหตุขบวนรถ: ■ = สายเหนือ / ■ = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / ■ = สายใต้ / ■ = สายตะวันออก / ■ = สายแม่กลอง ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า |
เที่ยวกลับ
[แก้]ขบวนรถ | ต้นทาง | หัวหิน | ปลายทาง | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | ||||
ดพ44 | สุราษฎร์ธานี | 18.25 | 00.14 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 03.45 | ||
ร174 | นครศรีธรรมราช | 15.10 | 00.58 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 04.40 | งดเดินรถ | |
ร168 | กันตัง | 14.15 | 01.26 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 05.10 | ||
ด86 | นครศรีธรรมราช | 16.00 | 02.20 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 06.10 | ||
ด84 | ตรัง | 17.00 | 03.07 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 07.05 | ||
ดพ42 | ยะลา | 15.35 | 03.23 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 06.50 | งดเดินรถ | |
ร172 | สุไหงโก-ลก | 12.10 | 03.51 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 07.30 | ||
ดพ32 | ชุมทางหาดใหญ่ | 17.45 | 04.27 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 08.10 | ||
ดพ38 | สุไหงโก-ลก | 14.15 | 05.17 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 09.05 | ||
ดพ46 | ปาดังเบซาร์ | 17.00 | 05.17 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 09.05 | ||
ธ252 | ประจวบคีรีขันธ์ | 04.40 | 06.14 | ธนบุรี | 10.30 | ||
ร170 | ยะลา | 16.30 | 06.40 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 10.50 | ||
ธ254 | หลังสวน | 06.30 | 12.47 | ธนบุรี | 17.25 | ||
ดพ40 | สุราษฎร์ธานี | 09.00 | 14.36 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 18.05 | ||
ธ262 | สวนสนประดิพัทธ์ | 14.35 | 14.46 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 19.20 | ||
น912 | สวนสนประดิพัทธ์ | 16.28 | 16.38 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 21.40 | เฉพาะวันหยุดราชการ | |
หมายเหตุขบวนรถ: ■ = สายเหนือ / ■ = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / ■ = สายใต้ / ■ = สายตะวันออก / ■ = สายแม่กลอง ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า |
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ผู้คนกับสถานีรถไฟหัวหินในช่วงยุคแรก
-
สถานีรถไฟหัวหินในปี พ.ศ. 2456 ซึ่งทำให้เห็นทางแยกรถไฟไปโรงแรมรถไฟหัวหินที่ปัจจุบันไม่มีแล้ว
-
อาคารสถานีรถไฟหัวหินในอดีต
-
ป้ายบอกสถานีข้างเคียง
-
ลิฟต์ลงไปชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร (สถานีใหม่)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ชูแก้ว, ปริญญา (2014). "การอนุรักษ์และพัฒนาอาคารสถานีรถไฟ ในฐานะมรดกทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมของไทย" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2022-01-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)