ข้ามไปเนื้อหา

คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 14

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะรัฐมนตรีควง 2
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 14 แห่งราชอาณาจักรไทย
มกราคม - มีนาคม พ.ศ. 2489
วันแต่งตั้ง2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.​ 2489
วันสิ้นสุด24 มีนาคม พ.ศ.​ 2489
(0 ปี 50 วัน)
บุคคลและองค์กร
พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
ประวัติ
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 13
ถัดไปคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 15

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 14 (31 มกราคม พ.ศ. 2489 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2489)

พันตรี ควง อภัยวงศ์ เป็น นายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2489

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นผู้ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ

พระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา) ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

รายชื่อคณะรัฐมนตรี คณะที่ 14

[แก้]

ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้[1]

  1. พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  2. หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  3. พระสุทธิอรรถนฤมนตร์ (สุข เลขยานนท์) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  4. พลโท ชิต มั่นศิลป์ สินาดโยธารักษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  5. พระยาอัชราชทรงสิริ (แม้น อรุณลักษณ์) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
  6. พลโท หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (ค้วน จินตะคุณ) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  7. นายประจวบ บุนนาค เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  8. นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  9. พันตรี ควง อภัยวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  10. เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  11. พลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพานิชย์
  12. นายศรีเสนา สมบัติศิริ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  13. พระตีรณสารวิศวกรรม (ตรี ตีรณสาร) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  14. นายชม จารุรัตน์ เป็น รัฐมนตรี
  15. พันเอก น้อม เกตุนุติ เป็น รัฐมนตรี
  16. นายเลียง ไชยกาล เป็น รัฐมนตรี
  17. หลวงอังคณานุรักษ์ (สมถวิล เทพาคำ) เป็น รัฐมนตรี
  18. นายสุวิชช พันธเศรษฐ เป็น รัฐมนตรี
  19. นายใหญ่ ศวิตชาติ เป็น รัฐมนตรี
  20. นายฟอง สิทธิธรรม เป็นรัฐมนตรี
  21. นายกองใหญ่บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรี

การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 14

[แก้]

คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎร ระหว่างวันที่ 7 ถึง 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 และได้รับความไว้วางใจ ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะนี้ ปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2489 เล่ม 63 ตอน 9 หน้า 161

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 14

[แก้]

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 14 ของไทยสิ้นสุดลง เพราะเหตุที่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณา ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายของประชาชนในภาวะคับขัน พ.ศ. 2489 (พ.ร.บ.ปักป้ายข้าวเหนียว) ซึ่ง นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ (ส.ส.จังหวัดอุบลราชธานี) เป็นผู้เสนอ คณะรัฐมนตรีได้แถลงให้สภาทราบแล้วว่า คณะรัฐมนตรีไม่สามารถปฏิบัติตาม ร่างพระราชบัญญัตินั้นได้ และเกรงจะเป็นการเดือดร้อน แก่ประชาชนทั่วไป แต่สภาฯได้ลงมติรับหลักการ ด้วยคะแนนเสียง 65 ต่อ 63 รัฐมนตรีทั้งคณะ จึงได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2489 ประกาศเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2489

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]