อักษรลายตัย
อักษรลายตัย | |
---|---|
ศัพท์ "ไทญ้อ" เขียนด้วยอักษรลายตัย | |
ชนิด | |
ช่วงยุค | คริสต์ศตวรรษที่ 16[1] – ปัจจุบัน |
ทิศทาง | บนลงล่าง ซ้ายไปขวา |
ภาษาพูด | ภาษาญ้อ |
อักษรที่เกี่ยวข้อง | |
ระบบแม่ | |
ระบบพี่น้อง | สุโขทัย, ขอมไทย |
ISO 15924 | |
ISO 15924 | Tayo (380), Tai Yo |
อักษรลายตัย หรือ อักษรท้ายลายตัย (เวียดนาม: Chữ Thái Lai Tay) เป็นระบบการเขียนของชาวไทญ้อในจังหวัดเหงะอาน ประเทศเวียดนาม[2] ที่ใช้เขียนภาษาญ้อ รูปร่างคล้ายอักษรไทยฝักขามที่เคยใช้ในล้านนา
ชื่อ
[แก้]อักษรนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น อักษรญ้อลายตัย,[3] อักษรเหงะอาน, อักษรไทญ้อ, อักษรท้ายลายตัย, อักษรกวี่เจิว[4]
ต้นกำเนิด
[แก้]เบื้องต้นมีแชล แฟร์ลุส (Michel Ferlus) นักวิชาการชาวฝรั่งเศสจัดให้อักษรลายตัยอยู่ในกลุ่มอักษรเขมร โดยแยกออกเป็นสองกลุ่ม คือ อักษรสุโขทัยและฝักขาม (ซึ่งพัฒนาไปเป็นอักษรไทยและลาว) และอีกกลุ่มคือ อักษรไทเวียด ลายตัย และลายปาว ของชาวไทในเวียดนาม[4] แฟร์ลุสกล่าวอีกว่าชาวไทรับรูปแบบอักษรเขมรทั้งหมดไปใช้โดยขาดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ในเวลาต่อมาเมื่อชาวไทกระจายทั่วภาคพื้นทวีปอุษาคเนย์ พวกเขาก็ยังคงรักษาลักษณะดั้งเดิมของอักษรเขมรยุคก่อนพระนครไว้ได้ หากแต่ไม่มีการเรียงลำดับอักษร หรือการใช้ตัวเลข[4] อย่างไรก็ตาม ชาวไทในเวียดนามมีอักษรใช้ครั้งแรกตั้งแต่ช่วงต้นคริสต์ศวรรษที่ 16 เป็นต้นมา[1]
รูปลักษณ์
[แก้]อักษรลายตัยมี 29 พยัญชนะ โดยมี 8 ตัวที่สามารถพบในตำแหน่งท้ายพยางค์ และมีสัญลักษณ์สระ 13 แบบ ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งใต้พยัญชนะ หรือบางส่วนตั้งอยู่ทางขวาของพยัญชนะ[4][3] อักษรลายตัยยังคงเป็นอักษรสระประกอบแท้ และพยัญชนะที่ไม่มีรูปสระจะออกเสียงด้วยสระลดรูป <o>, [ɔ] ซึ่งต่างจากระบบการเขียนอักษรไทอื่น ๆ[3] อักษรนี้ยังมีตัวแฝดสำหรับสระและตัวผสมพยัญชนะท้ายอีก 9 ตัว[3]
อักษรนี้เขียนจากบนลงล่างและจากขวาไปซ้าย แบบเดียวกับอักษรจีน เพราะชาวไทเหล่านี้เคยใช้อักษรจีนเขียนภาษาของตนมาก่อนที่จะรับรูปแบบการเขียนอักษรฝักขามจากล้านนาและลาว
อักษรลายตัยไม่มีวรรณยุกต์ ส่วนใหญ่มักเขียนโดยไม่มีเครื่องหมายวรรคตอน แต่อาจพบในเอกสารตัวเขียนบางอันที่มีเครื่องหมายวรรคตอนเหมือนกับของจีน อักษรนี้ไม่มีตัวเลข โดยจะเขียนตัวเลขเป็นรูปตัวอักษร[3]
-
ข้อความในอักษรลายตัย
-
ข้อความที่ตัดตอนมาจากเอกสารตัวเขียนอักษรลายตัย
-
เอกสารตัวเขียนในอักษรลายตัย
การใช้งาน
[แก้]ปัจจุบันไม่ค่อยมีการใช้งานอักษรนี้แล้ว แต่มีเอกสารตัวเขียนมากพอที่จะให้นักภาษาศาสตร์ศึกษาได้ นักวิชาการไทญ้อที่มีอายุมากบางคนสามารถอ่านเอกสารเหล่านี้ได้[4] ชุมชนไทญ้อในปัจจุบันมีการสอนและศึกษาอักษรนี้ โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลท้องถิ่นและบรรดาครู[3]
ยูนิโคด
[แก้]ทางยูนิโคดเสนอให้ลงรหัสอักษรนี้ลงไป[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Mukdawijitra, Yukti. "LANGUAGE IDEOLOGIES OF ETHNIC ORTHOGRAPHY IN A MULTILINGUAL STATE: THE CASE OF ETHNIC THÁI ORTHOGRAPHIES IN VIETNAM" (PDF). p. 95. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มกราคม 2023. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2024.
- ↑ Sầm Công Danh (2020). "Summarized version of Tai Yo script (updated)". Academia.edu. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2021.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Nguyen, Viet Khoi; Sam, Cong Danh; van de Kasteelen, Frank (13 กรกฎาคม 2022). "Preliminary Proposal to encode the Yo Lai Tay Script" (PDF). สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2022.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Ferlus, Michel (กันยายน 1999). "Sur l'ancienneté des écritures thai d'origine indo-khmère".
บรรณานุกรม
[แก้]- ประเสริฐ ณ นคร (2006). ตัวอักษรไทเหนือและไทอาหม. อักษร ภาษา จารึก วรรณกรรม. กทม.: มติชน. p. 66. ISBN 974-323-588-4.