ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลเมืองทอง ยูไนเต็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมืองทองยูไนเต็ด
Muangthong United
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลเมืองทอง ยูไนเต็ด
ฉายากิเลนผยอง
ก่อตั้งพ.ศ. 2532[1]
ในชื่อ ทีมโรงเรียนหนองจอกพิทยานุสสรณ์
สนามธันเดอร์โดม สเตเดียม
ความจุ15,000 ที่นั่ง
เจ้าของสยามสปอร์ตซินดิเคท
ประธานวิลักษณ์ โหลทอง
ผู้ฝึกสอนจีโน่ เล็ตติเอรี่
ลีกไทยลีก
2566–67อันดับที่ 5
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลเมืองทอง ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพของไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2532 ในชื่อ ทีมโรงเรียนหนองจอกพิทยานุสสรณ์ ปัจจุบันลงแข่งขันในไทยลีก

เมืองทองเป็นหนึ่งในสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของประเทศไทย พวกเขาเคยชนะเลิศลีกสามระดับในช่วงเวลาสามปีติดต่อกัน ได้แก่ ดิวิชัน 2 ในปี 2550, ดิวิชัน 1 ในปี 2551 และไทยพรีเมียร์ลีก ในปี 2552 สโมสรชนะเลิศไทยลีกทั้งหมด 4 สมัย และชนะเลิศไทยลีกคัพ 2 สมัย ฤดูกาลที่สโมสรประสบความสำเร็จมากที่สุดคือฤดูกาล 2555 ซึ่งพวกเขาคว้าแชมป์ลีกแบบไร้พ่าย และฤดูกาล 2559 ซึ่งพวกเขามีผู้เล่นทีมชาติไทยเป็นแกนหลัก และชนะในลีกติดต่อกันถึง 14 นัดจนคว้าแชมป์ลีกสมัยที่ 4 ได้สำเร็จ ในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกปี 2560 สโมสรชนะเกมเหย้าทั้งสามนัดในรอบแบ่งกลุ่ม จนได้ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายของการแข่งขันระดับทวีปเอเชียเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสร นอกจากนี้สโมสรยังไม่เคยตกชั้นนับตั้งแต่เลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุดในปี พ.ศ. 2551[2] โดยเป็นสโมสรฟุตบอลที่ได้รับความนิยมจากแฟนฟุตบอลชาวไทยมากที่สุดในปี 2559 และ 2560[3][4]

สีหลักของสโมสรคือสีแดง-ดำ สนามเหย้าของพวกเขาคือ ธันเดอร์โดมสเตเดียม ซึ่งมีความจุ 15,000 ที่นั่ง เปิดใช้งานใน พ.ศ. 2541 และก่อสร้างเพิ่มเติมในช่วง พ.ศ. 2552–2553 เมืองทองมีสโมสรคู่ปรับที่สำคัญหลายสโมสร ได้แก่ ชลบุรี, บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และการท่าเรือ

ประวัติสโมสร

[แก้]

ช่วงแรกของการก่อตั้ง

[แก้]

สโมสรก่อตั้งขึ้นในปี 2532 ชื่อแรกที่จดทะเบียนกับสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คือ ทีมฟุตบอลโรงเรียนหนองจอกพิทยานุสสรณ์ ก่อตั้งสโมสรโดย วรวีร์ มะกูดี ซึ่งต่อมาได้เป็นนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยและรองหัวหน้าพรรคประชาชาติ สโมสรแข่งจากฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. ซึ่งเป็นถ้วยที่เล็กที่สุด ในไทยลีกดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2546 สโมสรได้เปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลไข่มุกดำ หนองจอก บริหารงานโดยอดีตนักการเมือง วีระ มุสิกพงศ์ แต่ทำทีมได้เพียง 1 ฤดูกาลก็ไม่ประสบความสำเร็จ และออกจากทีมไป โดยสโมสรยังคงอยู่ในดิวิชั่น 1 ฤดูกาลถัดมาคือไทยลีกดิวิชั่น 1 ฤดูกาล พ.ศ. 2547 ได้เปลี่ยนชื่อทีมอีกครั้งตามกลุ่มที่บริหารสโมสรเป็น สโมสรฟุตบอลหลักทรัพย์โกลเบล็ก หนองจอก โดยมี สมศักดิ์ เซ็นเชาวนิช เป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ ปีนั้นทีมทำผลงานได้ไม่ดี สุดท้ายก็ต้องตกชั้นไปเล่นในฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. ในฤดูกาล 2548 โดยกลับไปใช้ชื่อเดิม แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร[5]

กิเลน 3 ปี 3 แชมป์

[แก้]

ในปี 2549 สมาคมฟุตบอลต้องการยกระดับการแข่งขันลีกในประเทศไทยจึงได้ก่อตั้งไทยลีกดิวิชัน 2 (ไทยลีก 4) โดยมีการรวมทีมถ้วยพระราชทานประเภท ข. และถ้วยพระราชทานประเภท ค. เข้าด้วยกันเพื่อแข่งขันในระบบลีกอาชีพ ซึ่งสโมสรฟุตบอลโรงเรียนหนองจอกพิทยานุสสรณ์ได้สิทธิ์เข้าแข่งขัน ในปี 2550 บริษัท สยามสปอร์ตซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์สยามกีฬารายวันและสตาร์ซอคเก้อร์รายวัน ภายใต้การนำของระวิ โหลทอง ประธานบริษัทสยามสปอร์ตซินดิเคทในขณะนั้นได้เข้าเทคโอเวอร์สโมสรและเปลี่ยนชื่อเป็นสโมสรฟุตบอลเมืองทองหนองจอกยูไนเต็ด และย้ายสนามไปอยู่ที่เมืองทองธานีเรียกว่าธันเดอร์โดมสเตเดียม ความสำเร็จครั้งแรกของสโมสรคือการคว้าแชมป์ไทยลีกดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2550 จากจุดนี้พวกเขาเลื่อนชั้นสู่ไทยลีกดิวิชั่น 1[6] จากนั้นทีมได้เลื่อนชั้นสู่ไทยลีกในฤดูกาล 2552 ทุกคนจึงยกย่องทีมเมืองทองหนองจอกยูไนเต็ด ใน 3 ปีนี้ว่า "3 ปี 3 แชมป์"

สโมสรได้เลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในไทยพรีเมียร์ลีกในปี 2552 หลังจากคว้าแชมป์ดิวิชั่น 1 ในฤดูกาล 2552 สโมสรมีผู้เล่นใหม่และมีชื่อเสียงในประเทศมากมาย แม้จะเริ่มต้นฤดูกาลได้ดี แต่ในเดือนเมษายน 2552 พวกเขาได้แต่งตั้ง อรรถพล บุษปาคม เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนใหม่แทน สุรศักดิ์ ตังสุรัตน์ ซึ่งพาทีมคว้าแชมป์ดิวิชั่น 1 สำหรับช่วงพักเบรกกลางฤดูกาล สโมสรเป็นไปตามที่กูรูทุกคนคาดไว้ คืออยู่ 1 ใน 5 อันดับแรกของตาราง และเล่นเพื่อลุ้นแชมป์ ปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนความสำเร็จของสโมสรคือความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสโมสรจากเบลเยียมอย่าง เลียร์เซอ เอส.กา. และการได้มาซึ่งนักเตะดาวรุ่งชาวไทยอย่างธีรเทพ วิโนทัย และรณชัย รังสิโย จากสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ร่วมกับธีรศิลป์ แดงดา จากราชประชา ทำให้ตอนนี้สโมสรมีกองหน้าที่มีพรสวรรค์มากที่สุดในประเทศ[7][8]

ไทยพรีเมียร์ลีกและแชมป์ไร้พ่าย (2553–2555)

[แก้]

จากนั้นก็ได้แชมป์ ถ้วยพระราชทานประเภท ก (ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ ในปัจจุบัน) ที่สามารถชนะการท่าเรือไทย ได้ 2-0 ส่วนถ้วยอื่น ๆ อย่างเอเอฟซีคัพ และไทยคม เอฟเอคัพ ได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ

ฤดูกาล 2554 สโมสรฟุตบอลเมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ดได้ลงป้องกันแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีกติดต่อกันเป็นปีที่ 3 ครั้งนี้ทีมพยายามอย่างเต็มที่เพื่อจะได้เป็นแชมป์ 3 สมัยติดต่อกัน แต่ด้วยการไปเล่นเอเอฟซีคัพ ทำให้มีการเหนื่อยล้าของนักเตะ[9]รวมถึงการเปลี่ยนผู้ฝึกสอนใหม่จากเรอเน เดอซาแยร์ ชาวเบลเยี่ยมมาเป็น การ์ลูส โรเบร์ตู จี การ์วัลยูสโมสรฟุตบอลเมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ด ที่ได้แชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก 2552 ในฤดูกาลก่อนได้ลงป้องกันแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก โดยตลอดทั้งฤดูกาลก็ทำผลงานได้ดีจนได้แชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก 2553 เป็นสมัยที่สองติดต่อกัน ซึ่งการได้ 2 สมัยนั้นทำให้มีสถิติเทียบเท่าบีอีซี เทโรศาสน, ธนาคารกรุงไทย และทหารอากาศ (หรือแอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล ในปัจจุบัน) [10] ส่วนก่อนฤดูกาลแข่งการ์ลูส โรเบร์ตู จี การ์วัลยู ชาวบราซิลและเฮ็นริเก คาลิสโต ชาวโปรตุเกสในช่วงเลก 2 ของฤดูกาลมีการเซ็นสัญญาซื้อร็อบบี ฟาวเลอร์ ตำนานกองหน้าของ ลิเวอร์พูล เข้าร่วมทีม ต่อมาในเดือนกันยายน คาลิสโต ที่พาทีมตกรอบเอเอฟซีคัพ ถูกทางสโมสรปลดออก และร็อบบี ฟาวเลอร์ ตำแหน่งเพลเยอร์-เมเนเจอร์ (เป็นทั้งผู้จัดการทีมและผู้เล่น) โดยทำการคุมทีมนัดแรกในนัดที่พบกับเอสซีจี สมุทรสงคราม หลังจากนั้นอีกไม่นาน เมื่อเมืองทอง ยูไนเต็ด ได้เพียงอันดับ 3 ในฤดูกาลนี้ ทำให้ฟาวเลอร์ ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง[11]

ในฤดูกาล 2555 เอสซีจี ได้เซ็นสัญญาเพื่อมาเป็นผู้สนับสนุนของทีม โดยมีมูลค่าสัญญามากถึง 600 ล้านบาท[12] และได้ทำการเปลี่ยนชื่อสนาม จาก ยามาฮ่า สเตเดียม มาเป็น เอสซีจี สเตเดียม และชื่อทีมจาก เมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ด มาเป็น เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ส่วนโลโก้ของสโมสรก็มีการเปลี่ยนให้ตัวกิเลนทั้ง 2 ตัว มีขาชิดกันมากขึ้นกว่าเดิม ช่วงก่อนเปิดฤดูกาลก็ได้มีการซื้อเอกภูมิ โพธารุ่งโรจน์, มงคล นามนวด, อัดนัน บาราคัท และมารีโอ ยูโรฟสกี มิดฟิลด์ทีมชาติมาซิโดเนียเข้ามาร่วมทีม รวมถึงการเซ็นสัญญาผู้ฝึกสอนคนใหม่ คือ สลาวีชา วอคานอวิช ชาวเซอร์เบียโดยผลงานจบเลกแรก ด้วยการเป็นอันดับที่ 1 ของตารางไทยพรีเมียร์ลีก 2555 หลังจากนั้นก่อนเปิดเลกที่ 2 ก็ได้มีการซื้อนักเตะเพิ่มเติม โดยมีเอดีบัลโด โรคัซ เอร์โมซา ปีกทีมชาติโบลิเวีย และเปาโล เรนเกิล นักเตะบราซิล ต่อมาในช่วงเดือนกันยายน ทีมได้ตกรอบโตโยต้า ลีกคัพ ด้วยการแพ้ทีโอที เอสซี และตกรอบไทยคม เอฟเอคัพด้วยการแพ้อาร์มี ยูไนเต็ด แต่ทีมยังรักษาอันดับ 1 ไว้ได้ตั้งแต่เลกแรก และจนถึงช่วงปลายเลกที่ 2 ทีมก็ยังรักษาฟอร์มที่ดีไว้ได้ จนเหลือ 3 นัดสุดท้าย เมื่อแต้มได้ทิ้งห่าง ชลบุรี เอฟซี ทีมอันดับที่ 2 มากพอที่จะได้เป็นแชมป์อย่างเป็นทางการตั้งแต่ยังไม่จบฤดูกาล โดยมีการฉลองแชมป์ที่เอสซีจี สเตเดียม ในนัดที่พบกับชัยนาท ฮอร์นบิล โดยหลังจบเกม ทางสโมสรให้แฟนบอลได้ฉลองกันอย่างเต็มที่ และให้ลงมาสัมผัสสนามหญ้าของเอสซีจี สเตเดียม รวมไปถึงให้พบกับนักฟุตบอลของทีมอย่างใกล้ชิดและเป็นกันเอง และในปีนี้เองที่ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ได้ทำสถิติไร้พ่ายเป็นครั้งแรกของสโมสรในประเทศไทย พร้อมกับได้สิทธิ์ไปเล่นเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกในรอบแบ่งกลุ่มในฤดูกาลหน้า

ไร้ความสำเร็จ (2556–2558)

[แก้]

หลังจากที่คว้าแชมป์ไร้พ่ายได้ในฤดูกาลที่แล้ว เมืองทองประเดิมฤดูกาล 2556 ในการแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ก. ซึ่งพวกเขาพ่ายแพ้ต่อแชมป์เอฟเอคัพฤดูกาลที่แล้วอย่างบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 0–2 ส่วนในการแข่งขันเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2013 เมืองทองอยู่ในกลุ่มเอฟ ร่วมกับกว่างโจวจากจีน, ช็อนบุกฮุนไดมอเตอส์จากเกาหลีใต้ และอูราวะ เรดไดมอนส์จากญี่ปุ่น ซึ่งเมืองทองเก็บได้เพียงคะแนนเดียวจากการเปิดบ้านเสมอกับช็อนบุก ทำให้จบอันดับสุดท้ายของกลุ่ม ไม่สามารถผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกได้ สำหรับการแข่งขันภายในประเทศ เมืองทองคว้ารองแชมป์ลีกด้วยการมีคะแนนตามหลังบุรีรัมย์ 7 คะแนน ซึ่งในกลางฤดูกาลนั้นเอง สโมสรได้ปลดสลาวีชา วอคานอวิชออกจากตำแหน่งเนื่องจากทำผลงานได้ไม่ดี และวินฟรีด เชเฟอร์เข้ามาคุมทีมต่อ แต่เชเฟอร์คุมทีมได้เพียงเดือนเดียวก็แยกทางกับสโมสรไปคุมทีมชาติจาเมกา ทำให้สโมสรแต่งตั้งเรอเน เดอซาแยร์กลับมาเข้าคุมทีมอีกครั้งหนึ่ง เมืองทองตกรอบโตโยต้า ลีกคัพ 2556 ในรอบ 16 ทีมสุดท้ายด้วยการบุกไปแพ้ต่อนครราชสีมา มาสด้าในช่วงต่อเวลาพิเศษ 1–2 และตกรอบมูลนิธิไทยคม เอฟเอคัพ 2556 ในรอบรองชนะเลิศด้วยการแพ้ต่อบุรีรัมย์ที่สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต ทำให้จบฤดูกาล 2556 เมืองทองไม่สามารถคว้าแชมป์รายการใดได้ เดอซาแยร์แยกทางหลังจากหมดสัญญากับสโมสร โดยมีสก็อตต์ คูเปอร์เข้ามาคุมทีมต่อ

ต่อมาในฤดูกาล 2557 เมืองทองได้ปล่อยยืมตัวธีรศิลป์ แดงดาให้แก่อูเด อัลเมริอาในลาลิกาของสเปน ทีมประเดิมการแข่งขันเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2014 ในรอบคัดเลือกรอบสอง ด้วยการเปิดบ้านเอาชนะฮานอย ทีแอนด์ทีจากเวียดนาม 2–0 แต่ในรอบเพลย์ออฟ พวกเขาบุกไปแพ้เมลเบิร์นวิกตอรีที่ออสเตรเลีย 2–1 ไม่สามารถผ่านเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่มได้ สโมสรได้แต่งตั้งดราแกน ทาลาจิคเข้ามาคุมทีมกลางฤดูกาล ซึ่งผลงานในลีกฤดูกาลนั้น ทีมแพ้ในบ้านมากถึง 5 นัด อีกทั้งยังถูกหัก 9 คะแนนจากเหตุทะเลาะวิวาทของแฟนบอลเมืองทองกับการท่าเรือ ทำให้ทีมจบเพียงอันดับที่ 5 ของตาราง ส่วนในการแข่งขันฟุตบอลถ้วย ทีมตกรอบก่อนรองชนะเลิศของโตโยต้า ลีกคัพ 2557 ด้วยการพ่ายแพ้ต่อบุรีรัมย์ด้วยผลประตูรวมสองนัด 0–1 และตกรอบก่อนรองชนะเลิศของมูลนิธิไทยคม เอฟเอคัพ 2557 ด้วยการบุกไปแพ้บางกอกกล๊าส 2–1 ทำให้จบฤดูกาล เมืองทองไม่สามารถคว้าแชมป์รายการใด ๆ และไม่ได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลระดับทวีปในฤดูกาลหน้า

ในฤดูกาล 2558 เมืองทองที่ได้ธีรศิลป์กลับมาจากยืมตัว สามารถลุ้นแย่งแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีกกับบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดได้อย่างสนุก แม้ว่าสุดท้ายทีมจะจบแค่รองแชมป์ แต่ได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกรอบคัดเลือกในฤดูกาลหน้า ส่วนในการแข่งขันโตโยต้า ลีกคัพ 2558 ทีมตกรอบ 32 ทีมสุดท้ายด้วยการบุกไปแพ้เพื่อนตำรวจในช่วงต่อเวลาพิเศษ 2–0 แต่ในการแข่งขันช้าง เอฟเอคัพ 2558 ทีมสามารถเข้าไปชิงชนะเลิศกับบุรีรัมย์ที่สนามศุภชลาศัย แม้ว่าสุดท้ายแล้วทีมจะฝ่ายแพ้ไป 3–1 ก็ตาม ทาลาจิคถูกปลดจากตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอนหลังจากไม่สามารถพาทีมคว้าแชมป์ในรายการใด ๆ ได้ และสโมสรได้แต่งตั้งธชตวัน ศรีปานเข้ามาคุมทีมต่อ

ยุคดรีมทีมและส่งออกนักเตะไปต่างประเทศ (2559–2560)

[แก้]

ก่อนเปิดฤดูกาล 2559 สโมสรได้ขายกองหน้าคนสำคัญอย่างมารีโอ ยูโรฟสกีให้แก่แบงค็อก ยูไนเต็ด แต่ก็ได้คว้าตัวผู้เล่นระดับทีมชาติไทยมาร่วมทีมหลายคน ได้แก่ อดิศักดิ์ ไกรษร, ทริสตอง โด, พีระพัฒน์ โน๊ตชัยยา, ธนบูรณ์ เกษารัตน์ และชนาธิป สรงกระสินธ์ ซึ่งทั้งห้าคนนี้ย้ายมาจากบีอีซี เทโรศาสน (พีระพัฒน์, ธนบูรณ์ และชนาธิป ย้ายมาแบบยืมตัวก่อนที่จะซื้อขาดในเวลาต่อมา) ทีมประเดิมการแข่งขันเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2016 ในรอบคัดเลือกรอบสอง ด้วยการเปิดบ้านชนะการดวลลูกโทษเหนือโจโฮร์ดารุลตักซิมจากมาเลเซีย แต่ในรอบเพลย์ออฟ พวกเขาบุกไปแพ้เซี่ยงไฮ้พอร์ตที่จีน 3–0 ทีมประเดิมการแข่งขันในประเทศในฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ก. 2559 ซึ่งทีมได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันด้วยเป็นรองแชมป์ลีกฤดูกาลที่แล้ว สุดท้าย เมืองทองพ่ายแพ้ต่อคู่ปรับตลอดกาลอย่างบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 3–1 ต่อมาในไทยลีก ฤดูกาล 2559 ทีมประเดิมชัยชนะสามนัดรวด ก่อนที่จะสะดุดแพ้ในบ้านสองนัดให้แก่บีอีซี เทโรศาสนและแบงค็อก ยูไนเต็ด แต่หลังจากนั้น ทีมสามารถคว้าชัยชนะได้ถึง 14 นัดติดต่อกัน หนึ่งในนั้นมีนัดที่ทีมบุกไปเอาชนะบุรีรัมย์ที่สนามไอ-โมบาย 3–0 นับเป็นการยุติสถิติที่ไม่เคยเอาชนะคู่ปรับทีมนี้ได้สำเร็จ

ก่อนเริ่มเลกที่สองของฤดูกาล 2559 ทีมได้คว้าตัวผู้เล่นระดับทีมชาติไทยมาเสริมทัพอีกสองราย ได้แก่ ธีราทร บุญมาทัน ที่แยกทางกับทีมคู่ปรับอย่างบุรีรัมย์ และอดิศร พรหมรักษ์ จากบีอีซี เทโรศาสน ต่อมาในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2559 แม้ว่าทีมจะสะดุดไม่ชนะใครสามนัด (แพ้ 1 นัดตามด้วยเสมออีก 2 นัด) แต่หลังจากนั้น ทีมก็กลับมาชนะรวดอีก 9 นัด โดยหนึ่งในนั้นมีนัดที่ทีมสามารถเปิดบ้านเอาชนะบุรีรัมย์ 3–2 นับเป็นการเอาชนะทีมคู่ปรับทีมนี้ในลีกได้ทั้งไปและกลับ เมืองทองคว้าแชมป์ลีกเป็นสมัยที่ 4 ได้สำเร็จจากการลงเล่นในลีก 31 นัด เก็บได้ 80 คะแนน (การแข่งขันถูกตัดจบทั้งที่ยังเหลืออีกสามนัด สืบเนื่องจากการไว้อาลัยการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช) ยิงได้ถึง 73 ประตู เป็นทีมที่ยิงประตูได้มากที่สุดในฤดูกาลนี้ ส่วนในการแข่งขันฟุตบอลถ้วย ทีมตกรอบ 8 ทีมสุดท้ายของช้าง เอฟเอคัพ 2559 ด้วยการพ่ายแพ้ต่อชลบุรี 3–0 แต่ในการแข่งขันโตโยต้า ลีกคัพ 2559 ทีมสามารถเข้าชิงชนะเลิศ พบกับบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แม้ว่าสุดท้ายแล้วการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศจะถูกยกเลิกก็ตาม

ผู้เล่นของเมืองทองที่ไปค้าแข้งในต่างประเทศ, ด้านบนจากซ้าย, ชนาธิป สรงกระสินธ์ (ย้ายไปคอนซาโดเล ซัปโปโระในปี 2560), ธีรศิลป์ แดงดา (ย้ายไปซานเฟรชเช ฮิโรชิมะแบบยืมตัวในปี 2561); ล่างจากซ้าย ธีราทร บุญมาทัน (ย้ายไปวิสเซล โคเบะแบบยืมตัวในปี 2561) และกวินทร์ ธรรมสัจจานันท์ (ย้ายไปโอฮา เลอเฟินในปี 2561)

ก่อนเปิดฤดูกาล 2560 ทีมได้บรรลุข้อตกลงในการปล่อยยืมตัวชนาธิป สรงกระสินธ์ให้แก่คอนซาโดเล ซัปโปโระ ทีมในเจลีกที่เพิ่งเลื่อนชั้นขึ้นมา โดยชนาธิปจะย้ายไปเล่นให้แก่ซัปโปโระในช่วงเลกที่สอง เมืองทองประเดิมฤดูกาล 2560 ด้วยการถล่มเอาชนะสุโขทัยในไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 5–0 เป็นทีมแรกที่คว้าแชมป์รายการนี้ได้สำเร็จ ต่อมา ทีมได้ไปแข่งขันเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2017 รอบแบ่งกลุ่ม โดยเมืองทองอยู่ในกลุ่มอี ร่วมกับคาชิมะ แอนต์เลอส์ รองแชมป์สโมสรโลกเมื่อปีที่แล้วจากญี่ปุ่น, อุลซันฮุนไดจากเกาหลีใต้ และบริสเบนรอร์จากออสเตรเลีย แม้ว่าทีมจะไม่ชนะในเกมเยือนเลย แต่ก็สามารถเปิดบ้านเอาชนะคู่แข่งได้ทั้งสามนัด ทำให้ทีมจบอันดับที่สองของกลุ่ม ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้าย ก่อนที่จะตกรอบด้วยการพ่ายแพ้ต่อคาวาซากิ ฟรอนตาเล แชมป์เจลีกในปีนั้น ด้วยผลประตูรวม 7–2

ในไทยลีก ฤดูกาล 2560 ทีมเริ่มต้นด้วยการชนะ 6 นัดรวดแบบไม่เสียประตู ทำให้ทีมสร้างสถิติใหม่ เป็นทีมที่ชนะติดต่อกันในลีกมากที่สุดที่ 15 นัด (โดยนับรวมชัยชนะ 9 นัดติดต่อกันเมื่อฤดูกาลที่แล้ว) อย่างไรก็ตาม ผลงานทีมเริ่มสะดุดหลังจากนั้น พวกเขาบุกไปแพ้บุรีรัมย์ 2–0 และแพ้ให้แก่ทีมน้องใหม่ทั้งสามทีมอย่างไทยฮอนด้า, การท่าเรือ และอุบล ยูไนเต็ด และหลังจากที่ชนาธิปได้ย้ายไปเล่นในเจลีก ทีมก็สะดุดเสมอหลายนัดในเลกที่สอง จนทำให้บุรีรัมย์ทำคะแนนแซงหน้าจนคว้าแชมป์ลีก เมื่อจบฤดูกาล แม้ว่าเมืองทองจะจบอันดับที่สอง แต่ก็มีคะแนนตามหลังทีมแชมป์อย่างบุรีรัมย์มากถึง 14 คะแนน แต่ในการแข่งขันโตโยต้า ลีกคัพ 2560 เมืองทองสามารถเอาคืนบุรีรัมย์ด้วยการบุกไปชนะ 2–0 ในรอบก่อนรองชนะเลิศ ก่อนที่จะเอาชนะบีอีซี เทโรศาสนในรอบรองชนะเลิศ และชนะสิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ดในนัดชิงชนะเลิศ คว้าแชมป์รายการนี้เป็นสมัยที่สองได้สำเร็จ ส่วนในช้าง เอฟเอคัพ 2560 ทีมตกรอบด้วยการแพ้การดวลลูกโทษต่อสิงห์ เชียงรายในรอบรองชนะเลิศ

หลังจบฤดูกาล ทีมได้บรรลุข้อตกลงในปล่อยตัวธีรศิลป์ แดงดาให้แก่ซานเฟรชเช ฮิโรชิมะ (ยืมตัว), ธีราทร บุญมาทันให้แก่วิสเซล โคเบะ (ยืมตัว) และกวินทร์ ธรรมสัจจานันท์ให้แก่โอฮา เลอเฟิน ซึ่งหากนับรวมชนาธิปด้วยแล้ว จะมีผู้เล่นของเมืองทองที่ไปค้าแข้งในต่างประเทศถึงสี่คนด้วยกัน

สร้างทีมใหม่ (2561–ปัจจุบัน)

[แก้]

เมืองทอง ยูไนเต็ดประเดิมปี 2561 ด้วยการคว้าแชมป์แม่โขงคลับแชมเปียนชิพ 2017 จากการเอาชนะสโมสรซันนาคั้ญฮหว่าจากเวียดนามด้วยผลประตูรวม 7–1 ต่อมาทีมได้เข้าร่วมแข่งขันเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2018 ในรอบคัดเลือกรอบสอง ซึ่งทีมสามารถเปิดบ้านเอาชนะโจโฮร์ดารุลตักซิมจากมาเลเซีย 5–2 แต่ในรอบเพลย์ออฟ พวกเขาบุกไปแพ้คาชิวะ เรย์โซล 3–0 ไม่สามารถผ่านเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่มได้ หลังจากที่ตกรอบ ทั้งธีราทรและธีรศิลป์ได้ออกจากสโมสรเพื่อไปเล่นในเจลีกแบบยืมตัว การขาดผู้เล่นแกนหลักที่สำคัญ ส่งผลให้สโมสรทำผลงานในลีกได้อย่างย่ำแย่ ธชตวันลาออกจากตำแหน่งผู้ฝึกสอนหลังจากที่คุมทีมบุกไปแพ้ทีมน้องใหม่อย่างพีที ประจวบ 6–1 โดยมีสันติ ไชยเผือกเข้ามาคุมทีมแบบรักษาการต่อ สันติคุมทีมไม่แพ้ใครในลีกถึง 8 นัดติดต่อกัน แต่ก็เสมอไปถึง 5 นัด ก่อนที่สโมสรจะแต่งตั้งราโดวาน เคอร์ซิซเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนใหม่ เคอร์ซิซประเดิมคุมทีมนัดแรกด้วยการบุกไปแพ้คู่ปรับตลอดกาลอย่างบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดถึง 4–0 หลังจากนั้น แม้ว่าทีมจะมีช่วงเวลาที่ชนะรวดหลายนัดติดต่อกัน แต่ผลงานของทีมก็ยังคงไม่สม่ำเสมอ โดยมีนัดที่บุกไปแพ้บางกอกกล๊าส 3–1 และเปิดบ้านแพ้บุรีรัมย์ 0–3 นับเป็นความพ่ายแพ้ต่อบุรีรัมย์ทั้งไปและกลับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสร เคอร์ซิซถูกปลดและอุทัย บุญเหมาะเข้ามาคุมทีมแบบรักษาการจนจบฤดูกาล สุดท้าย ทีมจบอันดับที่ 4 ของตาราง เก็บได้เพียง 59 คะแนนและเสียประตูมากถึง 53 ประตู ส่วนในฟุตบอลถ้วย ทีมตกรอบ 16 ทีมสุดท้ายของโตโยต้า ลีกคัพ 2561 ด้วยการพ่ายแพ้ต่อชลบุรี 5–1 และตกรอบ 16 ทีมสุดท้ายของช้าง เอฟเอคัพ 2561 ด้วยการพ่ายแพ้ในการดวลลูกโทษกับสิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด ที่เป็นแชมป์ในฤดูกาลนั้น

หลังจบฤดูกาล 2561 ทีมได้ปล่อยตัวผู้เล่นคนสำคัญอย่างทริสตอง โดและพีระพัฒน์ โน๊ตชัยยาให้แก่ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด แต่ทีมก็ได้เซ็นสัญญาผู้เล่นรายใหม่อย่างดั่ง วัน เลิม ผู้รักษาประตูทีมชาติเวียดนามชุดชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018 และได้คว้าตัวมารีโอ ยูโรฟสกี อดีตกองหน้าระดับตำนานของสโมสร กลับคืนสู่ทีม นอกจากนี้ ยังได้ธีรศิลป์ แดงดากลับมาจากการยืมตัวที่ซานเฟรชเช ฮิโรชิมะ ส่วนธีราทร บุญมาทัน ที่กลับจากวิสเซล โคเบะ ก็ถูกปล่อยยืมตัวให้แก่โยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอสในเจลีก สโมสรได้แต่งตั้งไพโรจน์ บวรวัฒนดิลก ผู้ฝึกสอนที่มีประสบการณ์ในการคุมทีมเล็กหนีตกชั้นจากไทยลีก เข้ามาคุมทีมในฤดูกาล 2562 อย่างไรก็ตาม ไพโรจน์ลาออกจากตำแหน่งหลังคุมทีมแพ้ราชบุรี มิตรผล 2–0 โดยมียุน จง-ฮวัน ผู้ฝึกสอนชาวเกาหลีใต้ที่เคยพาเซเรซโซ โอซากะประสบความสำเร็จ เข้ามาคุมทีมต่อ แต่ผลงานของทีมก็ยังไม่ดีขึ้น โดยเมื่อผ่านไป 12 นัดแรกในลีก ทีมชนะเพียงแค่ 2 นัด เก็บได้เพียงแค่ 8 คะแนน และอยู่ในอันดับสุดท้ายของตารางซึ่งเป็นพื้นที่ตกชั้น จง-ฮวันถูกปลดและสโมสรได้แต่งตั้งอาเลชังดรี กามา ผู้ฝึกสอนชาวบราซิลที่เคยพาบุรีรัมย์และเชียงรายประสบความสำเร็จ เข้ามาคุมทีมต่อ กามาคุมทีมชนะถึง 11 จาก 17 นัดหลังจากนั้น พลิกสถานการณ์ของทีมจากที่เคยอยู่ในโซนตกชั้น ขึ้นมาจบอันดับที่ 5 ของตารางได้สำเร็จ อย่างไรก็ตาม ทีมยังคงไม่ประสบความสำเร็จในฟุตบอลถ้วย พวกเขาตกรอบ 32 ทีมสุดท้ายของโตโยต้า ลีกคัพ 2562 ด้วยการบุกไปแพ้โปลิศ เทโร 1–0 และตกรอบ 16 ทีมสุดท้ายของช้าง เอฟเอคัพ 2562 ด้วยการเปิดบ้านแพ้การท่าเรือซึ่งเป็นแชมป์ในปีนั้น

ก่อนเปิดฤดูกาล 2563 สโมสรได้ปล่อยตัวธีราทรให้แก่โยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอสด้วยสัญญาถาวร และได้ขายธีรศิลป์ให้แก่ชิมิซุ เอส-พัลส์ด้วยสัญญาถาวรเช่นกัน นอกจากนี้ ในช่วงที่ลีกหยุดพักไปเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 สารัช อยู่เย็น กัปตันทีม ณ ขณะนั้น ได้แยกทางกับสโมสรและย้ายไปบีจี ปทุม ยูไนเต็ด นั่นทำให้ทีมเหลือเพียงแค่ผู้เล่นชาวต่างชาติและผู้เล่นชาวไทยที่เป็นดาวรุ่งเสียส่วนใหญ่ ส่งผลให้ทีมทำผลงานในลีกได้ไม่ดีอีกครั้ง กามาลาออกจากตำแหน่งผู้ฝึกสอนหลังจากที่คุมทีมเปิดบ้านแพ้ตราด 0–1 และย้ายไปคุมทีมบุรีรัมย์แทนที่ของโบซีดาร์ บันโดวิช สโมสรเมืองทองจึงได้แต่งตั้งอดีตผู้เล่นระดับตำนานของทีมอย่างมารีโอ ยูโรฟสกีขึ้นมาเป็นผู้ฝึกสอน โดยยูโรฟสกีเปลี่ยนรูปแบบการเล่นของทีมที่เน้นการใช้ผู้เล่นดาวรุ่งให้ดูน่าสนุกตื่นเต้นขึ้น แม้ว่าสุดท้ายแล้ว ทีมจะจบอันดับที่ 7 ของตาราง ซึ่งเป็นอันดับที่ต่ำที่สุดในการลงเล่นบนลีกสูงสุดของสโมสร และตกรอบก่อนรองชนะเลิศของช้าง เอฟเอคัพ 2563–64 ด้วยการบุกไปแพ้บุรีรัมย์ 0–2 แต่ยูโรฟสกียังคงได้รับโอกาสคุมทีมต่อในฤดูกาล 2564–2565 ซึ่งเขาพาทีมจบในอันดับที่ 4

คู่แข่ง

[แก้]

ชลบุรี

[แก้]

หลังจากที่เมืองทอง ยูไนเต็ด สามารถขึ้นชั้นและได้แชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก 2552 ก็ได้แข่งขันแย่งตำแหน่งแชมป์กับชลบุรี มาโดยตลอด ทำให้เมื่อพบกันจึงได้รับขนานนามว่า "เอลกลาซีโกเมืองไทย"[13] ในปี พ.ศ. 2554 มีการแข่งขันนัดสำคัญคือการแข่งขัน ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก โดยชลบุรีชนะ 2–1 และต่อมาเมื่อทั้งสองทีมลงแข่งขันกัน ก็จะมีแฟนบอลให้ความสนใจติดตามเป็นจำนวนมาก ปัจจุบัน เริ่มมีความสนใจลดน้อยลง เพราะ ช่วงนั้น บุรีรัมย์มาแรงมาก ทีมชลบุรีก็เริ่มดร็อปลงตามลำดับ

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

[แก้]

ภายหลังการเข้าซื้อทีมการไฟฟ้าของเนวิน ชิดชอบ สำหรับการแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีก 2553 ในชื่อ "บุรีรัมย์ พีอีเอ" ด้วยทุนมหาศาล ทำให้บุรีรัมย์ขึ้นมาเป็นทีมแถวหน้าในการแข่งขันไทยลีก และเป็นคู่แข่งกับเมืองทอง ยูไนเต็ด จนถึงปัจจุบัน โดยมีการแข่งขันสำคัญมากมาย เช่น ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก. ในปี พ.ศ. 2556, 2557 และ 2559 ซึ่งตั้งแต่การเข้าซื้อทีมและเปลี่ยนเป็นชื่อเป็นบุรีรัมย์นั้น เมืองทองยังไม่สามารถชนะบุรีรัมย์ได้ จนถึงในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559 เมืองทอง ยูไนเต็ด สามารถบุกไปเอาชนะบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ได้ 3-0 ถือเป็นครั้งแรกที่เมืองทองสามารถเอาชนะบุรีรัมย์ได้[14]

ตราสัญลักษณ์และชุดแข่งขัน

[แก้]

ผู้ผลิตชุดแข่งขัน

[แก้]
ฤดูกาล เสื้อ ผู้สนับสนุน
2008 แกรนด์ สปอร์ต ยามาฮ่า
2009–2010 อาดิดาส ยามาฮ่า
2011 แกรนด์ สปอร์ต ยามาฮ่า
2012–2019 แกรนด์ สปอร์ต เอสซีจี, ยามาฮ่า
2020 ซู้ต เอสซีจี, ยามาฮ่า
2021– ซู้ต ยามาฮ่า, มิตซูบิชิ
2024–2025 อีโก้ สปอร์ต ยามาฮ่า, มิตซูบิชิ

สนาม

[แก้]
ธันเดอร์โดม สเตเดียม

สโมสรฟุตบอลเมืองทองยูไนเต็ด ใช้สนามธันเดอร์โดมสเตเดียม เป็นสนามเหย้า โดยสนามแห่งนี้อยู่หลังอาคารชาเลนเจอร์ นอกจากนี้ยังมีห้องวีไอพีบ็อก ให้บริการ และพื้นที่สำหรับผู้สื่อข่าว รวมถึงห้องแถลงข่าว

สำหรับสนามธันเดอร์โดม สเตเดียม นั้นปัจจุบันมีความจุ 15,000 ที่นั่ง ได้มาตรฐานสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย[15] ย้อนกลับไปปี พ.ศ 2550 สภาพสนามธันเดอร์โดมสเตเดียม แสดงพัฒนาการให้เห็นขึ้นตามลำดับ ไล่มาตั้งแต่การคว้าแชมป์ดิวิชัน 2 ในปี 2550 ก่อนจะก้าวไปอีกขั้นกับ แชมปืดิวิชัน 1 ในปี 2551 ต่อด้วย แชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก ในปี 2552 จนแฟนคลับมีจำนวนเพื่มขึ้นตามลำดับ จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อสนามเป็น ยามาฮ่า สเตเดี้ยม พร้อมลงมือก่อสร้างอัฒจรรย์ทั้ง 3 ด้าน รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและในปี 2553 ได้ทำการปรับปรุงพื้นสนาม โดยใช้หญ้าพันธุ์ดีอย่าง "พาสพาลัม" ขณะที่ส่วนอัฒจรรย์ ที่นั่งของสนามยามาฮ่าสเตเดียม ยังติดตั้งเก้าอี้ จำนวน 9,000 ที่นั้ง ในอัฒจรรย์ฝั่งทิศตะวันออกและตะวันตก ปี 2555 ได้เปลี่ยนชื่อตามสปอนเซอร์ใหม่เป็น "เอสซีจี สเตเดียม"

อนาคตทางเมืองทอง ยูไนเต็ดมีแผน 2 แผนคือ ต่อเติมให้มีความจุ 40,000 คน หรือสร้างสนามใหม่เพื่อรองรับแฟนบอล 35,000 คน ซึ่งใช้งบราว 500-700 ล้านบาท[16]

เกียรติประวัติ

[แก้]

ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย กิตติพงศ์ ภูแถวเชือก (ยืมตัวจาก บีจี ปทุม ยูไนเต็ด)
3 DF ไทย ชาติชาย แสงดาว
5 DF อุซเบกิสถาน อับบอส โอทาโคนอฟ
6 MF ไทย ธีระพล เยาะเย้ย
8 MF สิงคโปร์ ยาคอบ มาห์เลอร์
10 FW ไทย ปรเมศย์ อาจวิไล
11 FW สวีเดน เอมิล โรบัค
13 DF ไทย สถาพร แดงสี
14 MF ไทย สรวิทย์ พานทอง
15 DF ไทย ชยพล ทรัพย์มา
17 DF ไทย ธีรภัทร เลาหบุตร
18 FW ไทย กรวิชญ์ ทะสา
19 DF ไทย ทริสตอง โด (กัปตันทีมคนที่ 3)
20 DF ฟิลิปปินส์ ย็อฮ์น-พัททริค ชเตราสส์
21 MF ไทย ปุรเชษฐ์ ทอดสนิท
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
22 DF ฝรั่งเศส อาลี ซีซอโก
24 MF ไทย วงศกร ชัยกุลเทวินทร์
25 GK ไทย โสภณวิชญ์ รักญาติ
27 FW อินโดนีเซีย โรนัลโด กวาเต็ฮ์
29 DF ไทย ทรงวุฒิ ใคร่ครวญ
30 GK ไทย พีระพงษ์ เรือนนินทร์
31 GK ไทย คณพศ กาดี
33 DF ไทย ธีรภัทร์ นันทโกวัฒน์
34 MF ไทย คคนะ คำยก
36 MF ไทย ปิยณัฐ ทอดสนิท
37 MF ไทย พิชา อุทรา (กัปตันทีม)
40 MF ไทย กษิดิ์เดช เวทยาวงศ์
DF ไทย จตุรพัช สัทธรรม
FW เยอรมนี เมลวิน ลอเรนเซน (ยืมตัวจาก บีจี ปทุม ยูไนเต็ด)
FW บราซิล วีลียัง ป๊อปป์
DF เกาหลีใต้ ฮง เชือง-อึน

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
25 DF ไทย ณัฐวัฒน์ โทบ้านซ้ง (ไป ตราด จนจบฤดูกาล)
27 FW ไทย เจษฎากร น้อยศรี (ไป สุพรรณบุรี จนจบฤดูกาล)
33 GK ไทย กรกฎ พิพัฒน์นัดดา (ไป ระยอง จนจบฤดูกาล)
67 MF ไทย นิติศักดิ์ อนุลุน (ไป อัสสัมชัญ ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
87 FW ไทย ศรายุทธ อยู่สืบเชื้อ (ไป มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
MF ไทย นฤเบศ อุตส่าห์ (ไป สระบุรี ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
FW ไทย ปรุฬฤทธิ์ สิงห์โนน (ไป ยะลา จนจบฤดูกาล)
DF ไทย กฤตนัย ปุลันรัมย์ (ไป ศรีสะเกษ ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
DF ไทย ชุติคม กลิ่นจำปาศรี (ไป ราชนาวี จนจบฤดูกาล)

ผู้เล่นชุดเยาวชน

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
GK ไทย ฤทธิศักดิ์ กัลยา
GK ไทย กนกชัย ตลอดไธสง
GK ไทย ภาธรธฤต โหสุวรรณ
MF ไทย ทิวา ผิวใส
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
MF ไทย ณัฐพงค์ ช้างพลี
FW ไทย ทัศนกวี เพชรประสงค์
MF ไทย สุทธิภัทร สานคล่อง
MF ไทย อนันตยศ อินทรกำเนิด

สถิติ

[แก้]

ผลงานตามฤดูกาลแข่งขัน

[แก้]
ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ถ้วย ก เอเอฟซี
แชมเปียนส์ลีก
เอเอฟซีคัพ/เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกทู อาเซียน
คลับ
ผู้ทำประตูสูงสุด
ระดับแข่งขัน แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย แต้ม อันดับ ชื่อผู้ทำประตู ประตู
2550 ดิวิชัน 2 22 15 5 2 39 19 50 1
2551 ดิวิชัน 1 30 19 8 3 58 17 65 1 ยาย่า 12
2552 ไทยลีก 30 19 8 3 48 20 65 1 รอบ 3 ดาโน 10
2553 ไทยลีก 30 20 7 3 64 19 67 1 รอบ 2 รอบ 3 ชนะเลิศ รอบคัดเลือก รอบรองชนะเลิศ ดาโน 15
2554 ไทยลีก 34 17 9 8 54 32 60 3 รองชนะเลิศ รอบ 5 รองชนะเลิศ คัดเลือก ก่อนรองชนะเลิศ ธีรศิลป์ 13
2555 ไทยลีก 34 25 9 0 78 31 84 1 รอบก่อนรองชนะเลิศ รอบ 5 ธีรศิลป์ 24
2556 ไทยลีก 32 21 8 3 61 33 71 2 รอบรองชนะเลิศ รอบ 16 ทีม รองชนะเลิศ แบ่งกลุ่ม ธีรศิลป์ 18
2557 ไทยลีก 38 20 11 7 66 36 62 5 รอบ 8 ทีม รอบ 8 ทีม รองชนะเลิศ เพลย์ออฟ มารีโอ 13
2558 ไทยลีก 34 21 8 5 81 35 71 2 รองชนะเลิศ รอบ 32 ทีม เคลย์ตง 25
2559 ไทยลีก 31 26 2 3 73 24 80 1 รอบ 8 ทีม ชนะเลิศ รองชนะเลิศ รอบคัดเลือกรอบที่ 3  –  – เคลย์ตง 27
2560 ไทยลีก 34 22 6 6 79 29 72 2 รอบ 4 ทีม ชนะเลิศ ชนะเลิศ รอบ 16 ทีม  –  – ธีรศิลป์ 14
2561 ไทยลีก 34 16 11 7 65 53 59 4 รอบ 16 ทีม รอบ 16 ทีม  – รอบเพลย์ออฟ  –  – เอเบร์ชี 26
2562 ไทยลีก 30 14 4 12 45 42 46 5 รอบ 16 ทีม รอบ 32 ทีม  –  –  –  – เอเบร์ชี 13
2563–64 ไทยลีก 30 14 5 11 52 43 47 7 รอบ 8 ทีม  –  –  –  –  – มีร์ซาเยฟ 13
2564–65 ไทยลีก 30 13 10 7 46 35 49 4 รอบ 16 ทีม รอบ 32 ทีม  –  –  –  – ป๊อปป์ 15
2565–2566 ไทยลีก 30 14 8 8 56 37 50 4 รอบ 16 ทีม รอบ 16 ทีม  –  –  –  – ป๊อปป์ 14
2566–2567 ไทยลีก 30 16 4 10 64 45 52 5 รอบ 32 ทีม รองชนะเลิศ  –  –  –  – ป๊อปป์ 17
2567–2568 ไทยลีก รอบ 32 ทีมสุดท้าย  –  –  –
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ตกชั้น เลื่อนชั้น

ผลงานระดับทวีป

[แก้]
ฤดูกาล การแข่งขัน รอบ คู่แข่ง เหย้า เยือน รวม
2553 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบเพลย์ออฟ เวียดนาม เอสเอชบี ดานัง 3–0
สิงคโปร์ กองทัพสิงคโปร์ 0–0
(ต่อเวลา)
(3–4 ลูกโทษ)
เอเอฟซีคัพ กลุ่ม จี ฮ่องกง เซาท์ไชนา 0–1 0–0 อันดับที่ 2
มัลดีฟส์ วีบีสปอร์ตคลับ 3–1 3–2
อินโดนีเซีย เปอร์ซิวา วาเมนา 4–1 2–2
รอบ 16 ทีมสุดท้าย ประเทศกาตาร์ Al-Rayyan 1–1
(ต่อเวลา)
(4–2 ลูกโทษ)
รอบก่อนรองชนะเลิศ ซีเรีย Al-Karamah 2–0 0–1 2–1
รอบรองชนะเลิศ ซีเรีย Al-Ittihad 1–0 0–2 1–2
2554 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบเพลย์ออฟ อินโดนีเซีย ศรีวิชัย 2–2
(ต่อเวลา)
(6–7 ลูกโทษ)
เอเอฟซีคัพ กลุ่ม จี เวียดนาม ฮานอย ทีแอนด์ที 4–0 0–0 อันดับที่ 1
สิงคโปร์ ทัมปิเนสโรเวอร์ 4–0 1–1
มัลดีฟส์ วิกตอรี 1–0 4–0
รอบ 16 ทีมสุดท้าย เลบานอน Al-Rayyan 4–0
รอบก่อนรองชนะเลิศ คูเวต คูเวต 0–0 0–1 0–1
2556 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก กลุ่ม เอฟ เกาหลีใต้ ช็อนบุกฮุนไดมอเตอส์ 2–2 0–2 อันดับที่ 4
ญี่ปุ่น อูราวะ เรดไดมอนส์ 0–1 1–4
จีน กว่างโจว 1–4 0–4
2557 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบเพลย์ออฟรอบ 2 เวียดนาม ฮานอย ทีแอนด์ที 2–0
รอบเพลย์ออฟรอบ 3 ออสเตรเลีย เมลเบิร์นวิกตอรี 1–2
2559 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือกรอบ 2 มาเลเซีย โจโฮร์ดารุลตักซิม 0–0
(ต่อเวลา)
(3–0 ลูกโทษ)
รอบเพลย์ออฟ จีน เซี่ยงไฮ้พอร์ต 0–3
2560 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก กลุ่ม อี ออสเตรเลีย บริสเบนรอร์ 3–0 0–0 อันดับที่ 2
ญี่ปุ่น คาชิมะ แอนต์เลอส์ 2–1 1–2
เกาหลีใต้ อุลซันฮุนได 1–0 0–0
รอบ 16 ทีมสุดท้าย ญี่ปุ่น คาวาซากิ ฟรอนตาเล 1–3 1–4 2–7
แม่โขงคลับแชมเปียนชิพ รอบชิงชนะเลิศ เวียดนาม คั้ญฮหว่า 4–0 3–1 7–1
2561 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือกรอบ 2 มาเลเซีย โจโฮร์ดารุลตักซิม 5–2
รอบเพลย์ออฟ ญี่ปุ่น คาชิวะ เรย์โซล 0–3
2567–68 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกทู กลุ่ม เอช มาเลเซีย เซอลาโงร์ 1–1 2–1 อันดับที่ 2
เกาหลีใต้ ช็อนบุกฮุนไดมอเตอส์ 1–0 1–4
ฟิลิปปินส์ เซบู 2–2 9–2
รอบ 16 ทีมสุดท้าย สิงคโปร์ ไลออนซิตีเซเลอส์

บุคลากร

[แก้]

หัวหน้าผู้ฝึกสอน

[แก้]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ถึงปัจจุบัน

วันที่ ชื่อ สัญชาติ
2550 นพพร เอกศาสตรา ไทย ไทย
2551 สุรศักดิ์ ตังสุรัตน์ ไทย ไทย
2552 อรรถพล ปุษปาคม ไทย ไทย
11 ม.ค. 2553 – 7 ม.ค. 2554 เรอเน เดอซาแยร์ เบลเยียม เบลเยียม
31 ธ.ค. 2553 – 28 ก.พ. 2554 การ์ลูส โรเบร์ตู จี การ์วัลยู บราซิล บราซิล
6 มี.ค. 2554 – 29 พ.ย. 2554 เอนรีเก กาลิสตู โปรตุเกส โปรตุเกส
1 ต.ค. 2554 – 31 ม.ค. 2555 ร็อบบี ฟาวเลอร์ อังกฤษ อังกฤษ
27 ก.พ. 2555 – 4 มิ.ย. 2556 สลาวีชา ยอคานอวิช เซอร์เบีย เซอร์เบีย
5 มิ.ย. 2556 – 16 ก.ค. 2556 วินฟรีด เชเฟอร์ เยอรมนี เยอรมนี
19 ก.ค. 2556 – 31 ธ.ค. 2556 เรอเน เดอซาแยร์ เบลเยียม เบลเยียม
2 ม.ค .2557 – 30 มี.ค. 2557 สก็อตต์ คูเปอร์ อังกฤษ อังกฤษ
2 ก.ค. 2557 – ม.ค. 2559 ดราแกน ทาลายิช โครเอเชีย โครเอเชีย
21 ม.ค. 2559 – 12 มี.ค. 2561 ธชตวัน ศรีปาน ไทย ไทย
30 เม.ย. 2561 – 5 ต.ค. 2561 ราโดวาน เคอร์ซิซ เซอร์เบีย เซอร์เบีย
22 พ.ย. 2561 – 31 มี.ค. 2562 ไพโรจน์ บวรวัฒนดิลก ไทย ไทย
9 เม.ย. 2562 – 12 มิ.ย. 2562 ยุน จง-ฮวัน เกาหลีใต้ เกาหลีใต้
13 มิ.ย. 2562 – 17 ต.ค. 2563 อาเลชังดรี กามา บราซิล บราซิล
19 ต.ค. 2563 –18 ก.ย.2566 มารีโอ ยูโรฟสกี เซอร์เบีย เซอเบียร์ มาซิโดเนียเหนือ มาซิโดเนียเหนือ
18 ก.ย. 2566 – 26 พ.ย. 2566 อุทัย บุญเหมาะ ไทย ไทย
27 พ.ย. 2566 – 23 มิ.ย. 2567 มีลอช ยอกซิช (รักษาการ) เซอร์เบีย เซอเบียร์
6 ก.ค. 2567 – จีโน่ เล็ตติเอรี่ อิตาลี อิตาลี

เจ้าหน้าที่สโมสร

[แก้]
ตำแหน่ง ชื่อ
ประธานที่ปรึกษาสโมสร ไทย ระวิ โหลทอง
ประธานสโมสร ไทย วิลักษณ์ โหลทอง
รองประธานสโมสร ไทย วรรคสร โหลทอง
ผู้อำนวยการสโมสร ไทย รณฤทธิ์ ซื่อวาจา
ผู้จัดการทั่วไป ไทย วสุ โหลทอง
หัวหน้าผู้ฝึกสอน อิตาลี จีโน่ เล็ตติเอรี่
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน โกตดิวัวร์ ดาโน เซียกา
ไทย เจษฎา จิตสวัสดิ์

ไทย อุทัย บุญเหมาะ
ลิทัวเนีย โตมัส คาเชเราส์คัส(นักวิเคราะห์เกมส์)

ผู้ฝึกสอนการรักษาประตู ไทย นิพนธ์ มาลานนท์
โค้ชฟิตเนสสโมสร ไทย ฐเดช กุลศิริ
แพทย์ประจำสโมสร ไทย นท.นพ.พรเทพ ม้ามณี
แพทย์กายภาพสโมสร ไทย วินวัฒน์ คงสุข
นักกายภาพประจำสโมสร ไทย ชาตรี ทองโคตร
ไทย รมิดา วรเตชิน

สโมสรพันธมิตร

[แก้]

พันธมิตรต่างประเทศ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ข้อมูลจำเพาะสโมสร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-20. สืบค้นเมื่อ 2012-10-18.
  2. "ปิดตำนาน เมืองทอง ดรีมทีม แชมป์ไทยลีก 2016 ไม่เหลือแล้ว". SMM Sport. 27 พฤษภาคม 2563. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-03. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "นิด้าโพลชี้ "เมืองทอง" คือทีมโปรดคนไทย". เดลินิวส์. 31 กรกฎาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "'นิด้าโพล'เผยคอบอลไทยเชียร์'เมืองทองฯ'มากสุด". นิด้า. 15 พฤษภาคม 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-04. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. https://mtutd.com/en/overview เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน OVERVIEW
  6. "Muangthong United History". mtufc.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2009. สืบค้นเมื่อ 4 March 2009.
  7. "Muangthong United Face Club Versus Country Battle". sports.yahoo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2011.
  8. "Muangthong's king-size worries". afcchampionsleague.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2012.
  9. กิเลนเลือดใหม่! เมืองทองฯ ดัน 2 ดาวรุ่ง "ธีรภัทร์-ดลธชัย" ขึ้นชุดใหญ่
  10. "ประวัติความเป็นมา แอร์ฟอร์ซยูไนเต็ด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-25. สืบค้นเมื่อ 2012-10-20.
  11. "ชัดเจน!ฟาวเลอร์ประกาศลาออกจากกิเลนไปกินโรตี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2012-10-20.
  12. 'กิเลน'จับมือ'เอสซีจี'ทุ่มงบ600ล้าน 5 ปี เปลี่ยนชื่อทีม-รังเหย้า
  13. "Toyota Thai League Preview : ไทยแลนด์ กลาซิโก้ (ยกแรก)". โกล ประเทศไทย. 30 เมษายน 2559. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "เมืองทองฯ คว้าชัย 3 นัดติด "ปรเมศย์ อาจวิไล"ซัดดับ ขอนแก่น ยูฯ". สยามกีฬา. 10 Aug 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. AFC ตรวจสนาม YAMAHA ผ่านฉลุย
  16. กิเลน เตรียมสร้างรังเหย้าใหม่จุ 3 หมื่น
  17. มุ่งมั่นก้าวไปอีกขั้น! "อุทัย" เชื่อพลังศรัทธาช่วยเมืองทองซิวแชมป์ลีกคัพ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]