ข้ามไปเนื้อหา

ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี

พิกัด: 13°54′50″N 100°32′57″E / 13.913761°N 100.549107°E / 13.913761; 100.549107
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี
IMPACT Arena, Exhibition and Convention Center, Muang Thong Thani
ตราสัญลักษณ์ของอิมแพ็ค
อาคารอิมแพ็ค อารีน่า ของศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทศูนย์แสดงสินค้า
เมืองอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
ประเทศไทย ประเทศไทย
เริ่มสร้างพ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2541
ผู้สร้างบริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน)
เว็บไซต์
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี (อังกฤษ: IMPACT Arena, Exhibition and Convention Center, Muang Thong Thani) เป็นศูนย์จัดแสดงสินค้าและการประชุมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของเมืองทองธานี ในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยในแต่ละปีจะมีการจัดงานอีเวนท์ต่าง ๆ มากกว่า 400 งาน และมีผู้เยี่ยมชมมากกว่า 15 ล้านคนต่อปี

ประวัติ

[แก้]

บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินการจัดสร้างศูนย์กีฬาเมืองทองธานีขึ้น เพื่อสนับสนุนการแข่งขัน กีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ส่วนมากเป็นกีฬาในร่ม เช่นมวยสากลสมัครเล่น และยิมนาสติก หลังจากนั้น มีการพัฒนาขึ้นเป็นศูนย์แสดงสินค้า และจัดประชุมขนาดใหญ่ โดยตั้งชื่อว่า อิมแพ็ค เมืองทองธานี

พื้นที่จัดแสดง

[แก้]
สถานที่ รายละเอียด ความจุ
อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ (ฮอลล์ 1–3) อาคารขนาดใหญ่ที่สร้างแบบไม่มีเสากลางอาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลก พื้นที่รวม 60,000 ตารางเมตร ห้องรอยัล จูบิลี บอลรูม:
3,500 ที่นั่ง (รับรอง), 2,000 ที่นั่ง (จัดเลี้ยง)
อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น เซ็นเตอร์ (ฮอลล์ 5–13) พื้นที่รวมประมาณ 47,000 ตารางเมตร รองรับงานแสดงสินค้าและคอนเสิร์ต
อิมแพ็ค ฟอรั่ม (ฮอลล์ 4) อาคารแสดงสินค้า 4 และ ห้องประชุมย่อยแซฟไฟร์อีก 26 ห้อง ห้องแกรนด์ไดมอนด์บอลรูม: 2,160 ที่นั่ง
ฮอลล์จัดเลี้ยง: 2,891 ที่นั่ง
อิมแพ็ค อารีน่า สำหรับงานแสดงที่ต้องการเวที รวมทั้งใช้เป็นสนามกีฬาในร่ม ตัวอาคารเพดานสูง 24 เมตร แบบอารีน่า: 11,440 ที่นั่ง
แบบโรงละคร: 3,580 ที่นั่ง
อิมแพ็ค เลคไซด์ ลานอเนกประสงค์กลางแจ้งบริเวณริมทะเลสาบ
อิมแพ็ค เลคฟร้อนท์ ศูนย์ค้าปลีกกลางแจ้งและสถานที่จัดกิจกรรม
อิมแพ็ค สปีดพาร์ค สนามโกคาร์ทกลางแจ้ง
อิมแพค สปอร์ตสคลับ ศูนย์ออกกำลังกายและสถานที่ฝึกซ้อมเทนนิส
บีไฮฟ ไลฟ์สไตล์ มอลล์ อาคารศูนย์การค้า
คอสโม บาซาร์ อาคารศูนย์การค้า
เอาท์เล็ท สแควร์ ห้างสรรพสินค้า
คอสโม ออฟฟิศ พาร์ค อาคารพาณิชย์และสำนักงาน
โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ อิมแพ็ค ห้องพัก 380 ห้อง โรงแรม 4 ดาว บริหารโดยแอคคอร์โฮเทล
โรงแรมไอบิส กรุงเทพ อิมแพ็ค ห้องพัก 587 ห้อง โรงแรม 3 ดาว บริหารโดยแอคคอร์โฮเทล ห้องอาหาร TASTE: 100 ที่นั่ง
เดอะ พอร์ทอล ไลฟ์สไตล์ คอมเพล็กซ์ อาคารศูนย์การค้าและห้องจัดเลี้ยง เดอะ พอร์ทอลบอลรูม: 1,120 ที่นั่ง
แอคทีฟ สแควร์ ลานอเนกประสงค์ สถานที่จัดแสดงงานและกิจกรรมกลางแจ้ง 20,000 ที่นั่ง
ธันเดอร์โดม สถานที่แสดงดนตรีในร่ม 3,500 ที่นั่ง
ธันเดอร์โดมสเตเดียม สนามกีฬากลางแจ้ง สนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลเมืองทอง ยูไนเต็ด 15,000 ที่นั่ง

การเดินทาง

[แก้]

รถประจำทาง

[แก้]

เมืองทองธานีมีท่ารถประจำทาง ขสมก. สาย 166 รวมถึงรถเมล์เอกชนร่วมบริการ สาย 33, 51, 52, 90, 150 และ รถเมล์ชานเมือง สาย 356, ต.356, 359, 367, 646 มีรถสองแถว 3 สาย ได้แก่

  • สาย 1 คอนโดเมืองทองธานี - แจ้งวัฒนะ
  • สาย 2 คอนโดเมืองทองธานี - ติวานนท์
  • สาย 3 คอสโม่ บาซาร์ - MRT ศรีรัช

นอกจากนี้แล้ว เมืองทองธานี ยังมีบริการรถคิวตู้หลายสาย สำหรับให้บริการผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองทองธานี โดยเฉพาะในส่วนของป็อปปูล่า คอนโดมีเนียม ซึ่งมีผู้อาศัยอยู่อย่างหนาแน่น และรองรับผู้ที่มาใช้บริการที่ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพค เมืองทองธานี ประกอบด้วย

  • สายเมืองทองธานี - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • สายเมืองทองธานี - เดอะมอลล์งามวงศ์วาน
  • สายเมืองทองธานี - มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
  • สายเมืองทองธานี - เมเจอร์ ซินีเพล็กซ์ รังสิต
  • สายเมืองทองธานี - เดอะมอลล์บางกะปิ
  • สายเมืองทองธานี - สีลม (เฉพาะช่วงเช้าวันทำงาน)
  • สายเมืองทองธานี - เซ็นทรัลพลาซ่าปิ่นเกล้า

และยังมีรถโดยสารปรับอากาศสายพิเศษ สายเมืองทองธานี - อิมแพค เมืองทองธานี - สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต ซึ่งทางเมืองทอง ดำเนินการบริการด้วยตนเอง โดยจำหน่ายตั๋วโดยสารในรูปแบบคูปองใบละ 32 บาท เชื่อมต่อเส้นทางการเดินทางระหว่างสถานีรถไฟฟ้ามายังศูนย์แสดงสินค้าอิมแพคอีกด้วย

ถนนสายหลัก และ ทางด่วน

[แก้]

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ฐานเศรษฐกิจ (2023-10-13). "อิมแพ็คจ่อสร้างทางเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยายเมืองทองธานี". thansettakij.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°54′50″N 100°32′57″E / 13.913761°N 100.549107°E / 13.913761; 100.549107