ข้ามไปเนื้อหา

แม่น้ำลัดเกร็ด

พิกัด: 13°54′01.0″N 100°29′21.2″E / 13.900278°N 100.489222°E / 13.900278; 100.489222
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่น้ำลัดเกร็ด
คลองลัดเกร็ด
แม่น้ำลัดเกร็ดบริเวณหน้าวัดกลางเกร็ด
ที่ตั้ง
ประเทศ ไทย
จังหวัดนนทบุรี
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา
 • ตำแหน่งตำบลปากเกร็ดและตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด
 • พิกัด13°54′48.2″N 100°29′28.5″E / 13.913389°N 100.491250°E / 13.913389; 100.491250
ปากน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา
 • ตำแหน่ง
ตำบลบางตลาดและตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด
 • พิกัด
13°54′01.0″N 100°29′21.2″E / 13.900278°N 100.489222°E / 13.900278; 100.489222
ความยาว1.6 กิโลเมตร (0.99 ไมล์)
ลุ่มน้ำ
ระบบแม่น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา
ลำน้ำสาขา 
 • ซ้ายคลองกลางเกร็ด, คลองบางตลาดน้อย, คลองปากด่าน
 • ขวาคลองวัดปรมัยยิกาวาส, คลองวัดฉิมพลีสุทธาวาส

แม่น้ำลัดเกร็ด[1][2] เป็นทางน้ำสายหนึ่งในเขตจังหวัดนนทบุรี เกิดจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณบ้านแหลมซึ่งโค้งวกเข้าไปทางบางบัวทองจนถึงท่าอิฐ ขุดในสมัยสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระเมื่อ พ.ศ. 2265 ขนาดคลองกว้าง 6 วา ยาว 39 เส้น ลึก 6 ศอก[3] ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียมตอนหนึ่งว่า

"...ในปีขาล จัตวาศก ทรงพระกรุณาโปรดให้พระธนบุรีเป็นแม่กอง เกณฑ์พลนิกายคนหัวเมืองปากใต้ให้ได้คน ๑๐,๐๐๐ เศษ ให้ขุดคลองเตร็ดน้อย ลัดคุ้งบางบัวทองนั้นคดอ้อมนัก ขุดลัดตัดให้ตรง พระธนบุรีรับสั่งแล้วถวายบังคมลามา ให้เกณฑ์พลนิกายในบรรดาหัวเมืองปากใต้ได้คน ๑๐,๐๐๐ เศษ ให้ขุดคลองเตร็ดน้อยนั้นลึก ๖ ศอก กว้าง ๓ วา ยาวทางไกลได้ ๒๙ เส้นเศษ ขุดเดือนเศษจึ่งแล้ว..."[4]

แต่เดิมเรียกว่า คลองลัดเตร็ดน้อย[4] หรือ คลองลัดเกร็ดน้อย ต่อมาจึงกร่อนเหลือเพียง คลองลัดเกร็ด และเมื่อถูกน้ำเซาะตลิ่งจนกว้างขึ้นก็เรียกกันว่า แม่น้ำลัดเกร็ด บริเวณที่กลายเป็นเกาะเรียกว่าเกาะเกร็ด และบริเวณปากคลองลัดนี้จึงเรียกว่าปากเกร็ด[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ลัดเกร็ด" เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.
  2. "ลัดเกร็ด"
  3. "ข้อมูลเกาะเกร็ด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-03. สืบค้นเมื่อ 2011-11-23.
  4. 4.0 4.1 พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม. อ้างถึงใน คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 41.
  5. ประวัติตำบลเกาะเกร็ด